1 / 33

และ เครื่องสำอาง

ผลิตภัณฑ์ซักล้าง. และ เครื่องสำอาง. นายพัชร กุลโกวิท ม.6/3 ว2นายภิฏฐา สุรพัฒน์ ม.6/6 ว2. สบู่. โครงสร้างสบู่. GO. ปฏิกิริยาการเกิดสบู่. GO. สารบัญ. ชนิดของสบู่. GO. การทำงานของสบู่. GO. ผงซักฟอก. โครงสร้างผงซักฟอก. GO. ปฏิกิริยาการเกิดผงซักฟอก. GO. ส่วนประกอบของผงซักฟอก.

Download Presentation

และ เครื่องสำอาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลิตภัณฑ์ซักล้าง และ เครื่องสำอาง นายพัชร กุลโกวิท ม.6/3 ว2นายภิฏฐา สุรพัฒน์ ม.6/6 ว2

  2. สบู่ โครงสร้างสบู่ GO ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ GO สารบัญ ชนิดของสบู่ GO การทำงานของสบู่ GO ผงซักฟอก โครงสร้างผงซักฟอก GO ปฏิกิริยาการเกิดผงซักฟอก GO ส่วนประกอบของผงซักฟอก GO ผลเสียจากการใช้ผงซักฟอก GO การตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตในน้ำ GO เครื่องสำอาง ความหมายของเครื่องสำอาง GO กำเนิดและวิวัฒนาการ GO ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง GO ประเภทของเครื่องสำอาง GO สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  3. สบู่

  4. สบู่ คือ เกลือโซเดียมของกรดไขมัน มีสูตรโครงสร้างทั่วไปคือ โครงสร้างของสบู่ โมเลกุลของสบู่ประกอบด้วย2ส่วนได้แก่ 1.)ส่วนที่ไม่มีขั้วเป็นด้านของไฮโดรคาร์บอน 2.)ส่วนที่มีขั้วเป็นด้านของโซเดียมคาร์บอกซิเลต (-COO-Na+) สบู่ที่ดีควรมีจำนวน Cอะตอมในหมู่ Rพอเหมาะ จะเป็นสบู่ที่ละลายน้ำได้ดี สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  5. ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ เรียกว่า ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน (Saponification) เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสไขมันและน้ำมันด้วยเบส เกิดเกลือของกรดไขมัน (สบู่) กับกลีเซอรอล ดังนี้ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  6. กระบวนการผลิตสบู่ในอุตสาหกรรมทำได้โดยผสมไขมันหรือน้ำมันกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และให้ความร้อนโดยการผ่านไอน้ำลงไปในสารผสมเป็นเวลา 12 – 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงเติมโซเดียมคลอไรด์ลงไปเพื่อแยกสบู่ออกจากสารละลาย ทำสบู่ให้บริสุทธิ์ ผสมน้ำหอมหรือสีลงไปเพื่อให้ได้กลิ่นหรือสีตามที่ต้องการ แล้วทำให้เป็นก้อนเพื่อจำหน่ายต่อไป กลีเซอรอลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการทำสบู่จะแยกออกจากสารละลายและนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง พลาสติก และใช้เป็นสารให้รสหวานในอาหารหรือยา สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  7. ชนิดของสบู่ สบู่มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้โดยทั่วไปจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)อยู่ระหว่าง9.0-10.0 1.) สบู่ก้อน(Hard soap)ลักษณะเป็นก้อนสีขาวหรือเทาขาวเมื่อเวลาแห้งและเย็นมีโซดาเป็นส่วนประกอบหลักและมีเกลือโปแตสเซี่ยมของกรดไขมันใช้สำหรับภายนอกเท่านั้น 2.) สบู่ชนิดอ่อน(soft soap)ลักษณะคล้ายน้ำผึ้งหรือเยลลี่(Jelly)สีเหลืองใสทำด้วยน้ำมันมะกอกและโซดา สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  8. 3.) สบู่เหลว(liquid soap)มีส่วนผสมของเกลือโปแตสเซี่ยมของกรดไขมันและอาจมีส่วนผสมของน้ำมันมะกอกเมล็ดถั่วเมล็ดฝ้าย 4.) ซินเดท(synndet)เป็นสบู่ที่มีส่วนผสมของสาร ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง นอกจากนี้อาจมีสบู่ชนิดต่างๆซึ่งจะมีส่วนประกอบแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้ เช่นสบู่ยาที่มีส่วนผสมของไทรโคลซาน(triclosan)และไทรโคคาร์บอน(trichocarbon)ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของแบคทีเรียสบู่ที่มีส่วนผสมของ lanolinเพื่อทำให้มีความชุ่มชื้นมากขึ้นซึ่งการเลือกใช้สบู่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวหนังและวัตถุประสงค์ของการใช้ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  9. การทำงานของสบู่ เมื่อสบู่ละลายน้ำ จะแตกตัวให้ไอออนบวกและไอออนลบ ส่วนที่เป็นไอออนลบจะเป็นตัวที่ใช้ชำระล้างสิ่งต่างๆได้ โดยหันด้านที่มีขั้วละลายในน้ำที่ล้อมรอบ และด้านที่ไม่มีขั้วล้อมรอบหยดน้ำมันและสิ่งสกปรก ทำให้สิ่งสกปรกนั้นหลุดออกมาและแพร่กระจายอยู่ในน้ำในรูปของอิมัลชัน สบู่จึงใช้ทำความสะอาดได้ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  10. สบู่กับน้ำกระด้าง น้ำกระด้าง เป็นน้ำที่ประกอบด้วย Fe2+, Mg2+และCa2+ของHCO3-, Cl-และSO42- Mg2+และCa2+จะเข้าไปแทนที่ Na+ในสบู่ ทำให้เกิดสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำลอยขึ้นมาเป็นฝ้าอยู่บนผิวน้ำเรียกว่า “ไคลสบู่” เนื่องจากสบู่จะเกิดตะกอนไอออนในน้ำกระด้างทำให้เกิดการสิ้นเปลืองในการใช้สบู่ จึงได้มี การสังเคราะห์สารอื่นใช้ชำระล้างซักฟอกได้เช่นเดียวกับสบู่ สารสังเคราะห์นั้นก็คือ ผงซักฟอก ซึ่งไม่ตกตะกอนในน้ำกระด้าง สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  11. ผงซักฟอก

  12. ผงซักฟอก คือ เกลือโซเดียมซัลโฟเนตของสารไฮโดรคาร์บอน มีสมบัติชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายได้เช่นเดียวกับสบู่ มีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ โครงสร้างของผงซักฟอก โมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1.) ส่วนที่ไม่มีขั้ว เป็นด้านของไฮโดรคาร์บอน 2.) ส่วนที่มีขั้ว เป็นด้านของโซเดียมซัลโฟเนต สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  13. โดยผงซักฟอกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีโครงสร้างแตกต่างกันในส่วนที่ไม่มีขั้ว ดังนี้ 1.) ส่วนที่ไม่มีขั้วเป็นไฮโดรคาร์บอนชนิดโซ่ตรงทั้งหมด ผงซักฟอกชนิดนี้ จุลินทรีย์ในน้ำสามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ ถ้ามีออกซิเจนอยู่ในน้ำอย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมได้น้อย 2.) ส่วนที่ไม่มีขั้วเป็นไฮโดรคาร์บอนชนิดโซ่ตรงเกือบทั้งหมด มีโซ่กิ่งและเบนซีนบ้าง จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายผงซักฟอกได้เป็นส่วนใหญ่ เหลือตกค้างอยู่บ้าง ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมได้ 3.) ส่วนที่ไม่มีขั้วเป็นไฮโดรคาร์บอนชนิดโซ่กิ่งเป็นส่วนใหญ่ และมีเบนซีน ระบบเอนไซม์ของจุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมมาก สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  14. ปฏิกิริยาการเกิดผงซักฟอกปฏิกิริยาการเกิดผงซักฟอก 1.) แอลกอฮอล์โซ่ยาวทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก ดังสมการ 2.) ผลิตภัณฑ์ของสารปิโตรเลียมทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก ดังสมการ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  15. ส่วนประกอบของผงซักฟอก 1.)สารลดแรงตึงผิว เป็นพวกสารอินทรีย์ ทำหน้าที่เป็นตัวละลายไขมัน ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้น้ำซึมเข้าไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้ จึงสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกออกมาได้ทั้งในน้ำกระด้างและน้ำธรรมดา สารนี้ต้องเป็นสารเคมีประเภทมีประจุลบ (anionic) ประจุบวก (cationic) หรือไม่มีประจุ (nonionic) ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือผสมกัน สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  16. ในกรณีที่เป็นสารเคมีประเภทมีประจุลบ ต้องไม่เป็นแอลคิลเบนซีนซัลโฟเนตที่มีโครงสร้างแบบกิ่ง (branched alkylbenzenesulphonate) ตัวอย่างเช่นโซเดียมแอลคิลอะริลซัลโฟเนต (sodium alkyl aryl sulphonate) ส่วนสารลดแรงตึงผิวประเภทมีประจุบวก เช่น เซทิลไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์(cetyl trimethylammonium bronide) และสารลดแรงตึงผิวประเภทไม่มีประจุ เช่นเอทิลินออกไซด์คอนเดนเซตออฟแอลคิลแฟตตีแอลกอฮอล์ (ethylene oxide condonsatc of alkyl fatty alcohols) สารเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำหน้าที่ชำระล้างสิ่งสกปรก สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  17. 2.) สารลดความกระด้างของน้ำ เช่น โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต (sodiumtripolyphosphare, STPP) โซเดียมไพโรฟอสเฟต (sodiumpyrophosphate) เกลือของกรดไนทริโลไตรแอซีติค (nitrilotriacetic acid, NTA) เกลือของกรดเอทิลีนไดแอมีนเททระ แอซีติก(ethylenediaminetetracetic acid, EDTA) สารใดสารหนึ่ง หรือผสมกัน สารพวกนี้ไม่ช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากเสื้อผ้าหรือจากของใช้โดยตรง แต่ทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิว โดยทำให้น้ำเป็นด่างเหมาะแก่การปฏิบัติงานของผงซักฟอก สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  18. สารลดความกระด้างมีหน้าที่ช่วยแก้ความกระด้างของน้ำ เนื่องจากความกระด้างของน้ำ Ca+2,Mg+2) จะรบกวนการทำงานของสารลดแรงตึงผิวที่จะดึงสิ่งสกปรกออกจากผ้า นอกจากนี้ สารลดความกระด้าง ยังช่วยควบคุมสมดุลของค่า ความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และคงที่ได้ด้วย สารลดความกระด้างมีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น สารโซเดียมไตรโพลิฟอสเฟต สารทดแทนสารประกอบ STPP 3.) สารรักษาระดับความเป็นด่าง (alkaline buider) เป็นสารที่รักษาระดับความเป็นด่างให้คงที่ตลอดช่วงการใช้งาน ได้แก่ โซเดียมซิลิเกต (sodium silicatc) โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate) โซเดียมเซสควิ-คาร์บอเนต (sodiumsesquicarbonate) สารใดสารหนึ่ง หรือผสมกัน ช่วยให้ผงซักฟอกไม่กัดภาชนะที่ใช้ซัก กันสนิม และช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิว สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  19. 4.) สารกันคราบคืน (anti soilredeposition agent) เช่น โซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (sodiumcarboxymethyl cellulose) เป็นตัวกันไม่ให้เกิดตะกอนขึ้นในระหว่างองค์ประกอบต่างๆ 5.) สารเพิ่มความสดใส (optical brightening agentof opticalbrightener) เป็นสารที่มีสมบัติดูดแสงอัลตราไวโอเลตไว้ ทำให้เกิดการเรืองแสงสะท้อนเข้าตาและทำให้เสื้อผ้าแลดูขาวนิยมใช้กันมากได้แก่ Stibene derivative สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  20. ผลเสียที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอกผลเสียที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอก 1.) มีการเติมสารจำพวกฟอสเฟตเช่น โซเดียมไตรพอลิฟอสเฟต ลงไปในผงซักฟอก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดและลดความกระด้างของน้ำ สารฟอสเฟตที่ตกค้างอยู่ในน้ำทิ้งจากการซักล้าง เมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโต รวดเร็ว ทำให้ขวางทางคมนาคมทางน้ำ ทำลายทัศนียภาพ ทำให้ O2 ละลายลงสู่น้ำไม่ได้ เมื่อพืชน้ำตายจะเกิดการย่อยสลายซึ่งต้องใช้ o2ในน้ำมาก ทำให้สิ่งมีชีวิตขาด O2และล้มตายได้ ทำให้น้ำขาด O2เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย 2.) ผงซักฟอกชนิดที่ C อะตอม ใน R แตกกิ่งก้านสาขามาก จุลินทรีย์ในน้ำย่อยสลายไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในน้ำ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  21. การตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตในน้ำการตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตในน้ำ การตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตในน้ำ สามารถทำได้โดย เติมสารละลายแอมโมเนียมโมลิบเดต (NH4)2MoO4 ลงไปในน้ำตัวอย่าง จะเกิดตะกอนสีเหลืองดังสมการ 3NH4+ + 12MoO42- + PO43- + 24H+ (NH4)3PO4.12MoO3 + 12H2O สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  22. เครื่องสำอาง

  23. เครื่องสำอาง เครื่องสำอางหมายถึงผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหึ่งของร่างกายโดยใช้ทาถูนวดพ่นหรือโรยมีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดหรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามหรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ คำว่าcosmeticsมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่าkosmetikosซึ่งมีความหมายว่าตกแต่งให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็น ( คำว่า komosแปลว่าเครื่องประดับ) โดยในสมัยแรกๆนั้นใช้เครื่องสำอางเนื่องจากความจำเป็นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือธรรมชาติ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  24. กำเนิดและวิวัฒนาการ เท่าที่ปรากฎในโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงมีการใช้เครื่องหอมในพิธีศาสนาสำหรับบูชาพระเจ้าโดยการเผาใช้น้ำมันพืชทาตัวหรือใช้อาบศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อยมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันจากประเทศตะวันออกและใช้เครื่องหอมนี้ไม่ต่ำกว่า5000ปีเชื่อว่าอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักศิลปะการตกแต่งและการใช้เครื่องสำอางและแพร่ไปถึงแลสซีเรียบาบีโลนเปอร์เซียและกรีกเมื่อคราวที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพเข้ายึดประเทศอียิปต์ประเทศในยุโรปบางส่วนตลอดจนถึงกรีกทำให้ความรู้เรื่องเครื่องสำอางแพร่หลาย สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  25. ศูนย์การของความเจริญอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรียจนถึงสมัยจูเลียสซีซาร์รบชนะกรีกก็ได้รับศิลปวิทยาการต่างๆมาจากกรีกศูนย์การของศิลปวิทยาการต่างๆได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงโรมมีการอาบน้ำหอมในระยะที่โรมันกำลังรุ่งเรืองซีซาร์ได้ยกกองทัพไปตีอียิปต์ซึ่งมีพระนางคลีโอพัตราเป็นราชินีรู้จักวิธีการใช้ศิลปะการตกแต่งใบหน้าและร่างกายทำให้การใช้เครื่องสำอางเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่2 Galenบิดาแห่งเภสัชกรรมกายวิภาคอายุศาสตร์และปรัชญาได้ประดิษฐ์coldcreamขึ้นเป็นครั้งแรกต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันอ่อนกำลังลงประเทศที่นำหน้าเรื่องเครื่องสำอางคือฝรั่งเศสและมีสเปนเป็นคู่แข่ง สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  26. ส่วนประกอบของเครื่องสำอางส่วนประกอบของเครื่องสำอาง 1.หัวน้ำหอม  1.1หัวน้ำหอมที่ได้จากธรรมชาติ1.2หัวน้ำหอมที่ได้จากการสังเคราะห์ 2.ไขมัน2.1ไขมันที่ได้จากสัตว์หรือแมลง  2.2ไขมันที่ได้จากพืช 2.3ไขมันที่ได้จากน้ำมันแร่2.4ไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  27. 3.น้ำมัน3.1น้ำมันที่ได้จากสัตว์3.2น้ำมันที่ได้จากพืช3.3น้ำมันที่ได้จากน้ำมันแร่3.4น้ำมันที่ได้จากการสังเคราะห์3.น้ำมัน3.1น้ำมันที่ได้จากสัตว์3.2น้ำมันที่ได้จากพืช3.3น้ำมันที่ได้จากน้ำมันแร่3.4น้ำมันที่ได้จากการสังเคราะห์ 4.ตัวทำละลาย4.1น้ำ4.2แอลกอฮอล์4.3เอสเทอร์4.4คีโตน 5.สี สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  28. เครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวันจำแนกเป็นประเภทตามวัตถุประสงค์ของการใช้เป็น 2ประเภทคือ 1.) เครื่องสำอางประเภทบำรุงรักษาได้แก่เครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาดและบำรุง รักษาผมใบหน้าและลำตัว 2.)เครื่องสำอางประเภทเสริมแต่งได้แก่เครื่องสำอางที่ใช้เพื่อประโยชน์ในทางส่งเสริม ให้ผู้ใช้สวยงามขึ้นโดยช่วยแก้ไขจุดบกพร่องและเน้นส่วนที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้น สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  29. ประเภทของเครื่องสำอางประเภทของเครื่องสำอาง 1.เครื่องสำอางสำหรับผมได้แก่1.1แชมพู1.2น้ำยาโกรกผม1.3น้ำยาจัดลอนผม1.4น้ำยาดัดผม1.5สิ่งปรุงแต่งเพื่อกำจัดรังแค1.6สิ่งปรุงแต่งสีของเส้นผมและขน1.7สิ่งปรุงแต่งปรับสภาพเส้นผม1.8สิ่งปรุงแต่งทรงผม สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  30. 2.เครื่องสำอางแอโรซอล 3.เครื่องสำอางสำหรับใบหน้าได้แก่3.1ครีม และโลชั่นล้างหน้า3.2สิ่งปรุงสมานผิวและ สิ่งปรุงทำให้ผิวสดชื่น3.3สิ่งปรุงรองพื้น3.4สิ่งปรุงผัดหน้า3.5สิ่งปรุงแต่งตา3.6รูจ3.7ลิปสติก3.8อีโมเลียนต์ สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  31. 4.เครื่องสำอางสำหรับลำตัวได้แก่4.1ครีม และโลชั่นทาผิว4.2ครีม และโลชั่นทามือ ทาตัว4.3สิ่งปรุงป้องกันแดด และ แต่งผิวให้คล้ำ4.4น้ำยาทาเล็บ และ น้ำยาล้างเล็บ4.5สิ่งปรุงระงับเหงื่อ และ กลิ่นตัว 5.เครื่องหอมได้แก่5.1น้ำหอม5.2ครีมหอม สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  32. 6.เบ็ดเตล็ดได้แก่6.1สิ่งปรุงสำหรับทา โกน6.2สิ่งปรุงที่ทำให้สีผิวจาง และ ฟอกสีผิว6.3สิ่งปรุงผสมน้ำอาบ6.4ฝุ่นโรยตัว6.5สิ่งปรุงที่ทำให้ขนร่วง สารบัญ ย้อนกลับ ถัดไป

  33. จบการรายงานเพียงเท่านี้ครับจบการรายงานเพียงเท่านี้ครับ กลับหน้าแรก

More Related