1 / 42

การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม. ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ onipon@yahoo.com. ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety). แนวความคิดในเรื่องของความปลอดภัย เมื่อพูดถึงความปลอดภัย = safety นึกถึงอะไร.

dallon
Download Presentation

การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมการประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ onipon@yahoo.com

  2. ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) แนวความคิดในเรื่องของความปลอดภัย เมื่อพูดถึงความปลอดภัย = safety นึกถึงอะไร การกระทำใดๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย คำถาม มีไหมในโลกนี้ที่ทำอะไรแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อไม่มี แล้วเราจะคุยในเรื่องของความปลอดภัยอย่างไร

  3. ความเสี่ยง (Risk) = โอกาสที่จะเกิด และขนาดที่เกิด นั่นคือ ถ้าเราสามารถลดความเสี่ยงได้มากเท่าไร ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเพียงนั้น

  4. การประเมินความเสี่ยง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยงที่มีต่อสุขอนามัยมนุษย์ (อาหาร)

  5. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง จะต้องอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความคุ้ยเคย จะต้องอยู่บนพื้นฐานของแต่ละกรณีๆ ไป จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินเป็นขั้นตอน จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่สาธารณชนได้มีส่วนร่วม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเทียบเท่า

  6. จำแนกอันตรายที่อาจส่งผลจำแนกอันตรายที่อาจส่งผล กระทบที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ประเมินผลทางลบที่จะตามมา ประเมินความน่าจะเป็น ประเมินหรือกำหนด ลักษณะความเสี่ยงทั้งหมด ให้คำแนะนำในการลด หรือจัดการความเสี่ยง

  7. www.thinkquest.org www.departmentresults.state.mn.us www.usep.edu.ph ตัวอย่างพืชเทคโนชีวภาพ • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • ต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืชและต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • ต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืชและต้านทานแมลงศัตรูพืช • ต้านทานเชื้อไวรัส ใบด่างจุดวงแหวน • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • เพิ่มปริมาณกรดไขมัน ที่เป็นประโยชน์

  8. ทางด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินอะไรบ้าง 1. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิด 2. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น 3. ศักยภาพที่จะเป็นวัชพืช 4. ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมาย

  9. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิดการเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิด สิ่งที่เป็นกังวลคือ พืชป่ากลายเป็นวัชพืชที่ไม่สามารถกำจัดได้ (ในกรณีของยีนที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช) มีความเป็นไปได้ แต่โอกาสน้อย จัดการได้โดยใช้วิธีกลอื่นๆ

  10. พืช GM อาจจะสามารถอยู่รอดที่ได้ดีกว่าพืชปกติ และอาจบุกรุกขยายพันธุ์เข้าไปในพื้นที่ของพืชปกติได้ ถ้ามีค่า fitnessที่สูงกว่าเช่น ต้านทานแมลง เชื้อโรค หรือสิ่งแวดล้อมที่จำกัดการเจริญได้ ยีนจากพืช GM อาจหลุดออกไปผสมข้ามกับพืชท้องถิ่นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน ถ้าเกิดการผสมข้ามหลายรอบ พืชลูกผสมอาจเข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่นที่หายาก จนอาจสูญพันธุ์ได้ (Ellstrand et al., 1999) แต่ไม่พบว่าผลกระทบดังกล่าวมีค่าสูงกว่าผลจากพืชไร่ปกติที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้

  11. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชปกติที่การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชปกติที่ ไม่ใช่พืชเทคโนชีวภาพ สิ่งที่เป็นกังวลคือ ผลผลิตที่ได้ของพืชปกติไม่สามารถ จำหน่ายได้ในลักษณะของผลิตผลอินทรีย์ เป็นเรื่องของการจัดการ ในข้าวโพดพบว่า ในระยะห่าง 100 ฟุต จะมีโอกาสผสมข้าม เพียง 1% และที่ระยะห่าง 1000 ฟุต ไม่พบว่ามีการผสมข้าม

  12. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นการเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งที่เป็นกังวลคือ การเคลื่อนย้ายของยีนที่ต้านทานสารปฏิชีวนะไปสู่ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ส่งผลให้ไม่สามารถรักษาได้ มีความเป็นไปได้ในห้องปฏิบัติการ ในธรรมชาติคาดว่าจะเกิดได้เพียง 10-17 สิ่งที่ต้องคำนึง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้จุลินทรีย์นั้นอยู่รอด และยีนที่เคลื่อนย้ายไปนั้นเป็นยีนตัวใหม่หรือไม่

  13. ศักยภาพที่จะเป็นวัชพืชศักยภาพที่จะเป็นวัชพืช ลักษณะวัชพืช เมล็ดมีชีวิตนาน เจริญเติบโตเร็ว ผลิตเมล็ดได้มาก แข่งขันกับพืชอื่นได้ดี พืชเทคโนชีวภาพ ไม่ได้ทำให้มีลักษณะ ดังกล่าว สิ่งที่กังวลคือ การกลายเป็นวัชพืชของ พืชเทคโนชีวภาพ

  14. เมล็ดของ GM canola อาจหลงเหลือในแปลงเพาะปลูก มันอาจผสมกับ canola ปกติที่ปลูกต่อมา กลายเป็นพืชลูกผสมที่ยีนต้านยากำจัดวัชพืช และอาจเจริญเป็นวัชพืชต่อพืชอื่นได้ ในอีกหลายปีต่อมา (Pekrun et al., 1997 &1998)

  15. ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมายผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมาย สิ่งที่เป็นกังวลคือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีประโยชน์จะได้รับผลกระทบ ทางลบ สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ แมงมุม ด้วงเต่าลาย ผึ้งน้ำหวาน และไส้เดือน เป็นต้น

  16. ผลกระทบโดยตรง– พืช GM ที่วางแผนสร้างอย่างดีแล้ว จะเป็นพิษจำเพาะต่อแมลงศัตรูพืชมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นเป้าหมาย สารพิษจากพืช GM อาจส่งผลที่คาดไม่ถึงต่อแมลงอื่น โดยเฉพาะกับแมลงผู้ล่า ที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารหลัก (Hilbeck et al., 1998a)

  17. กรณีเด่น: เปรียบเทียบการเจริญระหว่างแมลงผู้ล่าที่อาศัยเหยื่อซึ่งที่กินพืช GM กับพวกที่เหยื่อกินพืชปกติ • ส่วนใหญ่พบว่า ผู้ล่าของแมลงที่กินพืช GM จะเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่า • อาจถูกตีความผิดว่าเกิดจากความเป็นพิษโดยตรงของ GM crop • แต่ผลวิเคราะห์โดยละเอียดพบว่า เกิดจากการผลกระทบทางอ้อมของ GM crop ที่มีต่อปริมาณของอาหาร (จำนวนของแมลงที่เป็นเหยื่อ) และคุณภาพของอาหาร (สภาพของเหยื่อ) ของผู้ล่าและปรสิตนั้น (Conner et al., 2003)

  18. Ex.(Birch et al., 1999) การเจริญพันธุ์/ จำนวนไข่ที่วาง/ ช่วงอายุของแมลงเต่าทองtwo-spot ladybird ลดลงชัดเจน หลังเลี้ยงด้วยเพลี้ยที่กินมันฝรั่ง GM ที่มียีนสร้างโปรตีน snowdrop lectin หรือ GNA • การทดลองภายหลังพบว่า ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น ถ้าน้ำหนักของเพลี้ยที่กินมันฝรั่ง GNA มีค่าเท่ากับเพลี้ยปกติในชุดควบคุม • พัฒนาการที่ลดลงของแมลงเต่าทองน่าจะเกิดจากน้ำหนักที่ลดลงของเพลี้ยซึ่งเลี้ยงด้วยมันฝรั่ง GNA--> “ตีความผิด”

  19. กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อแมลง lacewing • Ex. (Hilbeck et al., 1998)ตัวอ่อนของแมลง lacewing ซึ่งเป็นแมลงผู้ล่าที่มีประโยชน์ต่อข้าวโพด จะตายได้ถ้ากินสารพิษ BT ที่ละลายน้ำ และย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซินแล้ว หรือถ้ากินเหยื่อที่เติบโตบนข้าวโพด BT • ถูกแย้งว่า ตัวอ่อนแมลงในธรรมชาติไม่น่าจะกินสาร BT โดยตรงได้ และเหยื่อที่มันกินมักจะเป็นเพลี้ย มากกว่าแมลง ที่ใช้เป็นเหยื่อในการทดลอง • (Lozzia et al., 1998) ต่อมาพบว่า การตายหรือพัฒนาการของตัวอ่อนแมลง lacewing ไม่ได้ถูกกระทบ แม้จะให้กินเพลี้ยที่โตบนข้าวโพด BT

  20. กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อนก skylark • Ex.(Watkinson et al., 2000)ศึกษาผลกระทบทางอ้อมของ sugar beet GM ต่อนก skylark ที่กินวัชพืชของต้น sugar beet พบว่าจะส่งผลกระทบต่อเมื่อจำนวนประชากรวัชพืชต้องลดลงเป็นอย่างมากเท่านั้น • จริงๆ แล้ว จำนวนของวัชพืชจะมากน้อยขึ้นกับการจัดการของเกษตรกร • นอกจากนี้ การจัดการเกษตรที่ดี พร้อมการนำเอาพืช GM มาใช้แทนยากำจัดวัชพืชสังเคราะห์ อาจทำให้ประชากรของนกเพิ่มขึ้นได้ เพราะช่วยลดการทำลายห่วงโซ่อาหารของนก จากยากำจัดวัชพืช (NRC, 2002)

  21. กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผึ้งพันธุ์ • Ex.เป็นที่กังวลกันว่า ละอองเรณูของพืช GM จะส่งผลกระทบต่อผึ้งพันธุ์ (Apis melifera) ได้ แต่ผลการศึกษาโปรตีนที่สกัดจากผึ้ง พบว่าแทบไม่มีความเป็นพิษโดยตรงอยู่เลย และไม่พบผลกระทบใดต่อความสามารถในการสร้างรังของผึ้ง (Malone & Pham-Delegue, 2001) • แต่พบด้วยว่า สาร serine protease inhibitor จากเรณูของพืช GM ไปยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสในกระเพาะของผึ้งได้ และถ้ามีมากพอ จะทำให้ผึ้งตัวเต็มวัยมีอายุสั้นลง

  22. กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผึ้งพันธุ์ (ต่อ) • Ex.ละอองเรณูที่มียีนสร้างสาร cowpea trypsin (CpTi) inhibitorจะลดความสามารถในการเรียนรู้ของผึ้ง เพื่อตอบสนองต่อกลิ่นของดอกไม้ได้ (Picard-Nizouet al., 1997)--> แต่ การแสดงออกของยีนนี้ในละอองเรณูไม่น่าจะสูงพอจะทำให้เกิดผลเสียดังกล่าว • การศึกษาต่อมา (Girard et al., 1998; Jouanin et al., 1998)พบว่าสาร serine protease inhibitor อีกสองชนิด และสาร oryzacystatin ซึ่งเป็นสาร cystein proteaseinhibitor ไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้หรือการเก็บละอองเรณูของผึ้ง

  23. กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผีเสื้อ monarch • Ex.(Losey et al.,1999) ประชากรผีเสื้อลดลงถึง 44 % เมื่อให้กินใบต้น milkweedที่ปนเปื้อนด้วยเกสรจากข้าวโพด BT --> ถูกโต้แย้งอย่างมากว่าไม่น่าเชื่อถือ การทดลองใน lab ไม่น่าเกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ • การวิจัยต่อมา (Searset al., 2001; Wraight et al., 2000; Hellmich et al., 2001; Oberhauser et al., 2001; Pleasants et al., 2001; Stanley-Harn et al., 2001) สรุปว่า สาร BT จากละอองเกสรข้าวโพด GM แทบจะไม่ส่งผลกระทบตามธรรมชาติต่อผีเสื้อโมนาร์กเลย

  24. Ex.(Gathmann et al., 2006) ติดตามผลกระทบของเรณูของข้าวโพด BT ต่อผีเสื้อโมนาร์กในภาคสนามถึง 3 ปี ใช้พื้นที่ 6 เฮกตาร์ ทำ 8 ซ้ำช่วงข้าวโพดออกดอก • ไม่พบความแตกต่างของจำนวนตัวอ่อนผีเสื้อ บนไม้พุ่มซึ่งเป็นที่อยู่ปกติของผีเสื้อ ระหว่างแปลงควบคุมและแปลงที่อยู่ติดกับข้าวโพด BT เลย • ต่างจากจำนวนของตัวอ่อนผีเสื้อโมนาร์กในแปลงที่อยู่ติดกับข้าวโพดที่ใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

  25. กรณีเด่น: อัตราการดื้อของแมลงต่อสารพิษจากพืช GM • Ex.(Tabashnik et al., 2000 & 2003) ปี 1997 พบว่ามีตัวอ่อนของหนอน pink ballwormในอะริโซน่าถึง 3.2 % ที่ต้านทานสารพิษฝ้าย BTได้ • แม้ค่าจะคงที่ไปอีกหลายปี แต่ก็ได้วิตกกันมาก เพราะมีค่าสูงกว่าที่คาดไว้ • อย่างไรก็ตาม แมลงเป้าหมายนี้จะต้องมีค่า fitness สูงมาก จึงจะสามารถถ่ายทอดลักษณะการดื้อสาร BT ต่อไปได้ • สรุปว่า สิ่งมีชีวิตเป้าหมายสามารถวิวัฒนาการให้ดื้อต่อสารพิษจากพืช GM ได้ และไม่มีพืช GM ใดที่จะแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชได้อย่างถาวร (Ervin et al., 2001; NRC, 2002)

  26. ในด้านการเกษตรอาจจะต้องดูถึงในด้านการเกษตรอาจจะต้องดูถึง ผลของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีต่อการปลูกพืชหมุนเวียน ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในแปลง ผลที่มีต่อจุลินทรีย์ดิน ผลที่มีต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ และ แผนการจัดการที่เป็นไปได้ต่อความต้านทานของแมลง

  27. ผลกระทบของพืช GM ต่อจุลินทรีย์ในดินนั้นน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก (Kowalchuk et al.,2003)โดยถ้าจะเกิดอาจจะมี 2 ลักษณะคือ • 1. พืช GM อาจสร้างสารผลิตภัณฑ์ขึ้น แล้วสารนี้อาจซึมผ่านออกมาทางรากของพืช แล้วจึงส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในดิน • 2. การดัดแปลงพันธุกรรมของพืชอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเนื้อเยื่อพืช แล้วคุณภาพของเนื้อเยื่อพืชที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจส่งผลกระทบต่อไปยังจุลินทรีย์ที่กินมันเข้าไป

  28. มีรายงานถึงการรั่วไหลของโปรตีนที่พืชสร้างขึ้น ผ่านทางรากพืชออกสู่ดินได้ โปรตีนนี้ได้กลายเป็นสารอาหารให้จุลินทรีย์บางกลุ่มใช้ในการเจริญเติบโตได้ (Angle, 1994)

  29. สารพิษ BTจากดินรอบต้นพืช GM มีค่าhalf lifeสูง 10 – 30 วัน • อัตราการย่อยสลายของสาร BT ขึ้นกับลักษณะของดินเป็นหลัก (Crecchio &Stotzky, 1998; Glandorf et al., 1997) คือ ถ้าดินมีอนุภาคของดินเหนียว (clay) อยู่สูง จะจับและหยุดปฏิกิริยาของสาร BT ได้ถาวร โดยไม่ถูกดูดซึมไปเก็บสะสมในพืชต้นอื่น (Saxzena &Stotzky, 2001) • (Dunfield &Germida, 2004) มีโอกาสมากที่โปรตีนจากพืช GMและจุลินทรีย์ในดินจะสัมผัสกันหลังฤดูกาลการเก็บเกี่ยว • หลังการเก็บเกี่ยว พืชจะเริ่มถูกย่อยสลาย และอาจจะปลดปล่อยโปรตีน ออกมาสู่ดิน

  30. ถ้าไม่มีการไถพรวนดิน จะทำให้โปรตีนเหล่านั้นตกค้างอยู่ตามหน้าดิน โอกาสที่จุลินทรีย์ในดินจะสัมผัสถูกโปรตีนนั้นจึงมีน้อยมาก • แต่ถ้ามีการไถพรวนดินเกิดขึ้น กลับจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกันระหว่างเชื้อจุลินทรีย์และโปรตีนจากพืช GM ให้มากขึ้นไปด้วย • Dunfield และ Germida (2004) รวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของพืช GM ด้วยวิธีการต่างๆต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รอบราก (rhizosphere) ของมัน

  31. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • แนวโน้มของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช GM กับสังคมของสิ่งมีชีวิตในดิน (ดัดแปลงจาก Dunfield &Germida, 2004)

  32. ส่วนใหญ่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลชีพในแนวดินรอบรากของพืช GM(Griffithset al., 2000) • มีเพียงส่วนน้อยที่พบการเปลี่ยนแปลงของประชากรแบคทีเรีย เชื้อรา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน • Ex.ปริมาณแบคทีเรียและเชื้อราในดินรอบต้นฝ้าย BTมีเพิ่มขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับฝ้ายที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม (Donegan et al., 1995) • แต่ผลการใช้เชื้อBacillus thuringiensisเป็นสารปราบศัตรูพืชทางชีวภาพโดยตรง กลับไม่แสดงปรากฏการณ์นี้ (Glare &O’Callaghan, 2000)

  33. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • อีกปัญหาใหญ่ของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช GM และเชื้อจุลินทรีย์ในดิน คือ โอกาสของการถ่ายทอดยีนในแนวราบหรือ HGT(horizontal gene transfer) • Nielsen et al. (1998) ได้เสนอแผนภาพของความเป็นไปได้แบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อ DNA จากพืช GM ได้หลุดรอดออกมาสู่ดิน

  34. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • ปัญหาใหญ่ของ HGT คือ การที่ยีนพิเศษในพืช GM อาจถ่ายทอดไปยังจุลินทรีย์ในดิน หรือจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของคนและปศุสัตว์ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายใหญ่หลวงทางสาธารณะสุข • เช่น เชื้อโรคอาจได้รับยีน marker ต้านยาปฏิชีวนะจากพืช GM จนทำให้สามารถดื้อต่อยาได้ • ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการพบกลไกที่จะทำให้เกิด HGT จากพืชไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้ แต่มีการทดลองเป็นอันมากเพื่อพิสูจน์ว่าจะเกิด HGT จากพืช GM ไปสู่แบคทีเรียได้หรือไม่

  35. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • ผลการทดลองส่วนใหญ่ สรุปว่า HGT ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ (Bertolla &Simonet, 1999; Gebhard &Smalla, 1999; Nielsen et al., 1998; Schlüter และคณะ, 1995) เพราะ DNAที่ถูกถ่ายทอดไปจากพืชจะต้องมีลำดับคล้ายกับของแบคทีเรีย จึงจะคงอยู่ในจีโนมของเชื้อได้ • แม้ว่าต่อมา จะมีการทดลองดัดแปลงให้ยีนต้านยา kanamycin จากข้าวโพด GM ถ่ายทอดไปอยู่ในเชื้อ Acinetobacterได้ ด้วยเทคนิค marker rescueซึ่งเป็นการเพิ่มลำดับ DNA ที่เหมือนกับของแบคทีเรียเข้าไป --> แต่ถ้าไม่มีการดัดแปลงนี้แล้ว จะไม่สามารถทำให้เกิด HGT เช่นนี้ได้

  36. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • งานวิจัยช่วงหลัง ได้ค้นพบว่าอาจจะเกิด HGTระหว่างพืชและจุลินทรีย์ในดินได้บ้างถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม • Ex.(Kay et al., 2002) อาจมี HGT ของยีนจากต้นยาสูบ GMไปยังจุลินทรีย์บางชนิดที่มีลำดับเบสเหมือนกับDNA ของคลอโรพลาสต์ • Ex.(Kurtland et al., 2003) HGT ที่เกิดขึ้นอาจถูกกำจัดออกไปจากจีโนมได้ ถ้าไม่มีความกดดันของการคัดเลือก (selection pressure) • สรุปว่า HGT ระหว่างสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จริง แต่เป็นไปได้น้อยมาก (Conneret al., 2003)

  37. 1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • นอกจากการทดลองในแบคทีเรียนี้แล้ว ยังมีการทดลองที่พบ HGT จากพืชไปสู่เชื้อราที่อาศัยอยู่กับพืชได้ แต่ยังขาดหลักฐานที่แสดงถึงความเสถียรของการถ่ายทอดยีนและการแสดงออกของยีน • นอกจากนี้ ยังมีการรายงานถึงการคงอยู่ของ DNA จากพืช GM ในดิน แต่กลับไม่พบว่ามีการแลกเปลี่ยนยีนซึ่งกันและกันระหว่างจุลินทรีย์ในดินเลย (Widmer et al., 1997; Paget et al., 1998; Gebhard &Smalla, 1999)

  38. แนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตรแนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตร แบ่งการตรวจสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาทดลองในโรงเรือนและ/หรือห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาทดลองในแปลงทดลอง ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาทดสอบในสภาพไร่ สภาพโรงเรือนและ/หรือห้องปฏิบัติการต้องผ่านการตรวจสอบและ รับรองจากคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนาม ของกรมวิชาการเกษตร

  39. แนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตรแนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตร • กำหนดให้ทำการศึกษา • ลักษณะทาง พฤกศาสตร์ • ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ • การเกิดโรค การทำลายของแมลงและการเป็นวัชพืช • ผลกระทบต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ • ผลกระทบต่อจุลินทรีย์ดิน • ผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น • ผลกระทบต่อพืชและวัชพืชข้างเคียง และพืชปลูกตามหลัง • อื่นๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดวิธีดำเนินงานและข้อปฏิบัติในเรื่องของความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การเผาทำลายต้นพืชและชิ้นส่วนต่างๆ เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง เป็นต้น

  40. 3.  ผลกระทบต่อพืชและวัชพืช                    หลังการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตมะละกอจีเอ็มโอนักวิจัยได้ปลูกพืชอื่นอีก 6 ชนิด คือ ถั่วลิสง ผักบุ้ง ข้าวโพด ผักกาด ถั่วฝักยาว และวัชพืช พบว่าพืชดังกล่าวข้างต้นมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ และมะละกอไม่กลายพันธุ์เป็นวัชพืชในแปลง4.  ผลกระทบต่อผึ้ง                    ผึ้งที่ได้รับสารอาหารเหลวจากมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอ มีเปอร์เซ็นต์การรอดตาย การเจริญเติบโตของตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยเหมือนกัน และผึ้งเต็มวัยมีรูปร่างลักษณะที่เป็นปกติ5.  ผลกระทบต่อหนูนอร์เวย์                    หนูนอร์เวย์ที่กินมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอต่างมีน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตรวมทั้งการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างกัน

  41. 6.  การศึกษาการปลิวของละอองเกสร                    ละอองเกสรของมะละกอจีเอ็มโอ สามารถแพร่กระจายและปลิวได้ในระยะ 2 – 2.5 เมตร แต่ในระยะ 10 – 20 เมตรไม่พบยีนของมะละกอจีเอ็มโอ7.  จุลินทรีย์                    ดินที่ปลูกมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอ ต่างมีจำนวนจุลินทรีย์ และจำนวนสายพันธุ์ของจุลินทรีย์เท่ากันและมีจำนวนจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยชีวภาพไม่ว่าจะเป็นเชื้อไรโซเบียม หรือเชื้อไมโคไร่ซ่า ในดินทั้งก่อนปลูกและหลังปลูกเท่ากันอีกด้วย http://www.doa.go.th/th/ShowArticles.aspx?id=1249

  42. การวิเคราะห์ความปลอดภัยทางชีวภาพการวิเคราะห์ความปลอดภัยทางชีวภาพ 1 2 การประเมิน ความเสี่ยง การจัดการ ความเสี่ยง 3 4 การสื่อสาร ความเสี่ยง การพิจารณา เพื่อการตัดสินใจ สัมมนาวิชาการเกษตรปี 2546, (27 ม.ค.)คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

More Related