1 / 33

การ วางแผน ทินกร พูล พุฒ

การ วางแผน ทินกร พูล พุฒ. การ วิเคราะห์สวอท ( SWOT analysis).

Download Presentation

การ วางแผน ทินกร พูล พุฒ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวางแผน ทินกร พูลพุฒ

  2. การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นวิธีการบริหารที่คำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมขององค์การกับสภาวะแวดล้อม ฉะนั้นขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการพิจารณาสภาวะแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร หรือเรียกว่า การวิเคราะห์สวอท(SWOT analysis) ซึ่งมีการวิเคราะห์แยกแยะปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้

  3. 1. ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่องค์กรสามารถควบคุมได้1.1 จุดแข็ง (Strengths)1.2 จุดอ่อน (Weaknesses)

  4. 2. ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กร2.1 โอกาส (Opportunities)2.2 อุปสรรค (Threats)

  5. การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) เป็นการคัดเลือกและจัดระบบข้อมูลที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร หากองค์กรมีการจัดระบบข้อมูลที่ดียอมส่งผลให้การกำหนดกลยุทธ์กระทำได้ง่ายและสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์ดังนี้

  6. 1. ควรวิเคราะห์แยกแยะให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญ เป็นมูลเหตุของปัญหาจริง ๆ คือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในเชิงนโยบาย สามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้

  7. 2.การกำหนดปัจจัยไม่ควรนิยามของเขตของความหมายของปัจจัยให้มีความหมายคาบเกี่ยวกันระหว่างการเป็นปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยใน หรือระหว่างการเป็นจุดอ่อน หรือจุดแข็ง หรือโอกาส หรืออุปสรรค จำเป็นต้องตัดสินใจและชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยต่างกลุ่ม(S,W,O,T) ก็ต้องการการกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันไป

  8. การพัฒนากลยุทธ์ กลยุทธ์ที่องค์กรจะนำไปปฏิบัติควรเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและ/หรือเป็นกลยุทธ์ที่มีความเป็นไปได้สำหรับองค์กร โดยพิจารณาจากกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สวอท

  9. 1. กลยุทธ์ เอส-โอ (SO strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้าไปฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

  10. 2. กลยุทธ์ เอส-ที (ST strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการลบล้างอุปสรรคจากสภาวะแวดล้อมภายนอก

  11. 3. กลยุทธ์ ดับบลิว-โอ (WO strategies) ป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร และพยายามฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

  12. 4. กลยุทธ์ ดับบลิว-ที (WT strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร เพื่อลบล้างอุปสรรค

  13. การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) • การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน - จุดแข็ง (Strengths)- จุดอ่อน (Weaknesses) • การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก- โอกาส (Opportunities)- อุปสรรค์ (Threats)

  14. การพัฒนากลยุทธ์ • การกำหนดกลยุทธ์1.1 กลยุทธ์ เอส-โอ (SO strategies)1.2 กลยุทธ์ เอส-ที (ST strategies)1.3 กลยุทธ์ ดับบลิว-โอ (WO strategies)1.4 กลยุทธ์ ดับบลิว-ที (WT strategies) • การคัดเลือกกลยุทธ์

  15. การวางแผน

  16. ความหมายการวางแผน หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

  17. ประโยชน์ของการวางแผน • 1. ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด • 2. ทำให้องค์การมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน • 3. ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร • 4. ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ • 5.ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงาน ได้ง่าย

  18. องค์ประกอบของการวางแผนองค์ประกอบของการวางแผน • การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ 1.1จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals) 1.2 วัตถุประสงค์ (Objective) 1.3 เป้าหมาย(Targets)

  19. 2วิธีการและกระบวนการ(Means and Process) 2.1 กลวิธีการปฏิบัติ หรือมาตรการ (Strategy) 2.2แผนงาน (Programs) และโครงการ (Projects) 3 ทรัพยากร (Resources) และค่าใช้จ่าย (Cost) • การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation) • การประเมินผลแผน (Evaluation)

  20. การวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planning)

  21. ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์ การวางแผนยุทธศาสตร์ หรือ การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ

  22. การวางแผนกลยุทธ์ 1. องค์กรกำลังจะก้าวไปทางไหน (Where are you going?) 2. สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร (What is the environment?) 3. องค์กรจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร (How do you get there?)

  23. กระบวนการการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Processes) • 1) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) • 2) กำหนดภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) • 3) กำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal) • 4) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy) • 5) กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา

  24. “ยุทธศาสตร์” (Strategy)” หมายถึง “จุดหมายปลายทาง (End)” และ “วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) เชิงนโยบาย” ซึ่งใช้ในการกำหนดนโยบายจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) ตามหลักวิชาการ

  25. “กลยุทธ์” (Strategies)” • หมายถึง “วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) ระดับปฏิบัติการและเป็นแนวทางเพื่อตอบสนองวิธีการสู่จุดหมายปลายทางระดับนโยบาย”

  26. วิสัยทัศน์ • เป็นข้อความแสดงภาพที่หน่วยงานอยากจะเป็นในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าและเกิดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน ซึ่งมีข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนการวิเคราะห์ (มิใช่ข้อความที่เป็น “คำขวัญ” ของหน่วยงาน หรือข้อความที่แสดงภาพเพ้อฝันที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม)

  27. พันธกิจ • เป็นข้อความระบุหน้าที่ความรับผิดชอบหรือบทบาทซึ่งกำหนดจะทำในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าที่สอดคล้องกับกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงาน

  28. เป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน • เป็นข้อความระบุกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจน และผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับที่มีความสัมพันธ์กับพันธกิจโดยตรง

  29. ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลผลิตของหน่วยงาน 1. ระดับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล 2. ระดับยุทธศาสตร์กระทรวง 3. ระดับกลยุทธ์ระดับกรม 4. ระดับกิจกรรม

  30. เทคนิคการเขียนคำที่ใช้ในยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และกิจกรรม คำกริยาที่ใช้เขียนยุทธศาสตร์ (ของรัฐบาลและของกระทรวง) ใช้คำกริยานามธรรม และต้องแสดงทิศทางของยุทธศาสตร์หรือนโยบาย เช่น - “ขยาย/เพิ่ม/พัฒนา”เพื่อการรุก - “ปรับปรุง” เพื่อการแก้ไขส่วนด้อย - “คงสภาพ” เพื่อการประคองตัว และ - “ตัดทอน” เพื่อการยุติส่วนที่ควรยกเลิก

  31. คำกริยาที่ใช้เขียนกลยุทธ์คำกริยาที่ใช้เขียนกลยุทธ์ - “ส่งเสริม” หรือ “สนับสนุน” เพื่อขยายกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ในสังคม - “เสริมสร้าง” หรือ “รักษาความเชี่ยวชาญ” หรือ “รักษาสถานภาพ” เพื่อคงสภาพ

  32. การกำหนดค่าของตัวชี้วัด จำนวน (Number) ร้อยละ (Percentage) สัดส่วน (Proportion) อัตราส่วน (Ratio) อัตรา (Rate) ค่าเฉลี่ย (Average or Mean)

  33. ขอบคุณ และสวัสดี

More Related