1 / 18

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเวลา (SLOT)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเวลา (SLOT). โดย นายวิจิตร ศรลัมพ์ คณะทำงานการจัดสรรเวลา ( slot coordinator) สกข. SLOT ?.

daisy
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเวลา (SLOT)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเวลา (SLOT) โดย นายวิจิตร ศรลัมพ์ คณะทำงานการจัดสรรเวลา (slot coordinator) สกข.

  2. SLOT ? • Slotหรือ Timeslotหมายถึง กำหนดเวลาเข้า และออกของเที่ยวบินในช่วงวัน หรือระยะเวลาที่กำหนด ณ สนามบินที่มีปริมาณการจราจรทางอากาศหนาแน่น หรือมีข้อจำกัดในด้านปัจจัยอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ทางวิ่ง อาคารผู้โดยสาร หลุมจอด เป็นต้น โดยมีการวางแผนและประสานงานแผนเที่ยวบินล่วงหน้าตามกฎระเบียบของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association : IATA) และการกำกับดูแลโดยหน่วยงานของรัฐ

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อจัดระเบียบและวางแผนควบคุมการจราจรทางอากาศที่ท่าอากาศยาน เพื่อจัดสรรการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ตามตารางเวลาเที่ยวบินอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด รวมทั้งเพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจด้วย เช่น เที่ยวบินล่าช้าไม่ตรงเวลาเกิดความไม่สะดวกต่อการเดินทางของผู้โดยสาร โดยผู้ที่ทำหน้าที่จัดสรรเวลาเข้า/ออกนี้ เรียกว่า ผู้ประสานงานการจัดสรรเวลา (Slot Coordinator)

  4. ความเป็นมา • เมื่อเดือนมกราคม 2491 (ค.ศ.1948) สายการบิน 3 สาย คือ British Airways, Air France และ Alitalia Airlines ได้มีการนัดประชุมกัน ณ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับการวางแผนในการจัดตารางการบินสำหรับการ ทำการบินในฤดูการบินถัดไป เพื่อให้ตารางการบินของแต่ละสายมีการเชื่อมต่อเที่ยวบินระหว่างกันอย่างเหมาะสม หรือ เพื่อการแบ่งสรรการใช้อุปกรณ์ภาคพื้น ณ ท่าอากาศยานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประชุมในครั้งนั้นได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประชุมการจัดตารางการบิน (Schedules Conference) • ในเวลาต่อมา การขนส่งทางอากาศได้มีการเติบโตขยายตัวมากขึ้น การประชุมดังกล่าวจึงมีสายการบินเข้าร่วมมากขึ้น และได้เริ่มมีการหารือกันในเรื่องการจัดสรรเวลาเนื่องจากปัญหาความหนาแน่นของท่าอากาศยานด้วย

  5. ในการนี้ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association : IATA) ได้เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางในการจัดประชุม Schedules Conference • IATA และสายการบินที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณากำหนดกติกาและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของการจัดสรรเวลา คือ IATA Worldwide Scheduling Guidelines (WSG) เพื่อใช้เป็นคู่มือหรือหลักปฏิบัติสากลที่สายการบินต่างๆ เห็นชอบร่วมกัน IATA Worldwide Scheduling Guidelines ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับปัจจุบันทุกๆ 1-2 ปี จนถึงฉบับที่ 21 (ปี 2011) ก่อนที่จะมีการปรับปรุงร่างครั้งใหญ่พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น IATA Worldwide Slot Guidelines ซึ่งฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่ 3

  6. ความเป็นมา Slot Coordinator ของประเทศไทย • ปี 2520 กรมการบินพลเรือน (กรมการบินพาณิชย์) ได้มีหนังสือแจ้งแต่งตั้งไปยัง IATA ให้บริษัทการบินไทยฯ เป็นผู้แทนของกรมการบินพลเรือน ในการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการจัดสรรเวลาเข้า/ออก หรือเป็น Slot Coordinator ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง • ปี 2548 กรมการบินพลเรือน (กรมการขนส่งทางอากาศ) ได้แจ้งแต่งตั้งไปยัง IATA ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทน Slot Coordinator เพิ่มเติม เพื่อทำงานร่วมกับ บริษัทการบินไทยฯ ในการจัดสรรเวลาเข้า/ออก ณ ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามคำร้อง ขอของบริษัทท่าอากาศยานไทยฯ • ปี 2550 เพื่อให้การจัดสรรเวลาเข้า/ออกท่าอากาศยานของไทยมีความโปร่งใส เป็นกลางและไม่เลือกปฏิบัติ กรมการบินพลเรือนในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านการขนส่งทางอากาศ จึงได้ปรับโครงสร้างองค์ประกอบของคณะผู้แทน Slot Coordinator ของประเทศไทย เป็นคณะกรรมการ Slot Coordinators ที่ประกอบด้วย 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1) กรมการบินพลเรือน 2) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

  7. ความเป็นมา Slot Coordinator ของประเทศไทย (ต่อ) • ปี 2553 กรมการบินพลเรือนได้กำหนดนโยบายให้กรมการบินพลเรือนเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานการจัดสรรเวลาอย่างเป็นทางการ โดยได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ - คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดสรรเวลา (Slot Coordination Committee) ประกอบด้วยผู้แทนจาก 4หน่วยงาน ดังนี้ (1) กรมการบินพลเรือน(2) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (4) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด - คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานผู้ประสานงานการจัดสรรเวลา (Slot Coordinator)ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้แทนจาก 3 หน่วยงาน ดังนี้ (1) กรมการบินพลเรือน (2) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) • พร้อมทั้งมีการเชื่อมต่อระบบการบริหารจัดการการจัดสรรเวลาเข้า/ออกท่าอากาศยานหรือระบบ SCORE ระหว่างกรมการบินพลเรือน กับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อการทำงานร่วมกันในระบบและสามารถตรวจสอบได้ จึงถือได้ว่า ตั้งแต่ปี 2553 กรมการบินพลเรือนได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการจัดสรรเวลาในฐานะ REGULATOR อย่างเต็มรูปแบบ

  8. ประเภทสนามบิน IATAได้จัดแบ่งระดับความหนาแน่น/แออัดของการจราจรที่สนามบินไว้ 3 ระดับ เพื่อความสะดวกในการจัดระเบียบและความจำเป็นในการจัดสรร slot ดังนี้ • LEVEL 1 ไม่มีความแออัดของการจราจร มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอเพียง • LEVEL 2 มีความแออัดจราจรปานกลาง มีระดับใกล้เคียงขีดความสามารถของสนามบิน • LEVEL 3 มีปัญหาความแออัดการจราจร ต้องมีการจัดระเบียบ Timeslot ของเที่ยวบิน

  9. ขั้นตอนการจัดสรร Slot IATA Worldwide Slot Guidelines (WSG) ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติมาตรฐานและแนวทางการ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตารางการบินและการจัดสรร slot มีหลักการโดยสรุปดังนี้ 1. สายการบินจัดทำแผนตารางการบิน และยื่นขอ slot กับ Coordinator ตามเวลาที่ IATA กำหนดไว้ในการประชุมแต่ละครั้ง 2. สนามบินกำหนดขีดความสามารถของปัจจัยพื้นฐาน และส่งข้อมูลมายัง Slot Coordinator เพื่อแจ้งให้สายการบินทราบต่อไป 3. หลักเกณฑ์การพิจารณา Timeslot ตามระบบ Timeslot Allocation ของ IATA ในที่นี้ได้แก่ IATA SPC RULES (Schedules Procedure Committee) ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ใน WSG ตลอดจนนโยบายขององค์การการบินระหว่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ระบบ Historical Slot ที่ถือเป็น Grand Father Rights ส่วนเที่ยวบินที่ยื่นขอเวลานอกเหนือจาก Historical Slot หรือมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเวลาจะต้องผ่านการพิจารณาตามกระบวนการ เกณฑ์การ จัดสรร slot และการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้

  10. ขั้นตอนการจัดสรร Slot (ต่อ) - Historical slot - Change of historical slot - Introduction of year round services - New Entrants - Technical Flights และข้อพิจารณาอื่นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการจัดสรร slot ที่มีความแตกต่างกันไป เช่น Curfew Hours Air Traffic Control Flight Hours (Short and Long Haul Flight) Service Type Flight Validity

  11. ตัวอย่างรูปแบบ MESSAGE ในการส่งคำขอ – ตอบรับ ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน SSIM Chapter 6 ของ IATA คำขอ SLOT ใหม่ SCR S09 05FEB LHR NAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE0900 1030NCE JJ GI BRGDS คำตอบ (กรณีที่จัดสรรให้ตรงตามที่ขอได้) SCR S09 05FEB LHR KAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE0900 1030NCE JJ GI BRGDS

  12. คำขอแก้ไข SLOT SCR S09 05FEB LHR CAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE0900 1030NCE JJ RAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE1000 1130NCE JJ GI BRGDS คำตอบ (กรณีที่จัดสรรให้ได้) SCR S09 05FEB LHR XAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE0900 1030NCE JJ KAF700 AF701 30MAR23OCT 1234500 290AB3 NCE1000 1130NCE JJ GI BRGDS

  13. ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการการจัดสรรเวลา หรือ SCORE กระบวนการการจัดสรรเวลาเข้า/ออก ซึ่งดำเนินการภายใต้คณะทำงานผู้ประสานงานการจัดสรรเวลา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการบินพลเรือน บริษัทการบินไทยฯ และ บริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ นั้น บริษัท การบินไทยฯ ได้ลงทุนในการนําระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการการจัดสรรเวลา หรือระบบ SCORE ของประเทศ Denmark มาใช้ในการจัดสรรเวลาเที่ยวบิน ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ มีความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งได้รับการรองรับจาก IATA และได้รับการยอมรับจากองค์กรการควบคุม Timeslot ทั่วโลก ในปัจจุบัน Slot Coordinator จาก 17 ประเทศทั่วโลกได้นําระบบดังกล่าวมาใช้ในการจัดสรรเวลาเที่ยวบินให้กับสนามบินในประเทศ

  14. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรเวลา ปัจจุบันประเทศไทยมีการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่มีความหนาแน่นของการจราจรสูง หรือ ท่าอากาศยานภูเก็ตที่มีความหนาแน่นของการจราจรเกินขีดความสามารถแล้ว ยังมีขีดความสามารถในการรองรับเท่าเดิม จึงเป็นปัญหาในการจัดสรรเวลาเข้า/ออก เนื่องจาก Slot Coordinator ไม่สามารถจัดสรร Slot ให้ตรงตามเวลาที่สายการบินต้องการได้ ดังนั้น การเสนอให้สายการบินปรับเปลี่ยนเวลาเป็นสิ่งที่ Slot Coordinator ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากหากมีการอนุญาตให้มีเที่ยวบินเข้า/ออกทับซ้อนกับเที่ยวบินของ สายการบินอื่น ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความหนาแน่นภายในอาคารผู้โดยสาร และปัญหาความไม่เพียงพอของหลุมจอด อันจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยาน รวมไปถึงภาพลักษณ์ของท่าอากาศยานและการท่องเที่ยวในภาพรวมอีกด้วย

More Related