1 / 20

การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ภายใต้ พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 โดย นายเกรียงไกร สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการคณะกรรมการ สำนักงาน ป.ป.ท. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

Download Presentation

การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ภายใต้ พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 โดย นายเกรียงไกร สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการคณะกรรมการ สำนักงาน ป.ป.ท.

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 • พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551

  3. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 สรุปสาระสำคัญ ประกอบด้วย.- • เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ • องค์กรดำเนินการ • การไต่สวนข้อเท็จจริง • มาตรการสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม

  4. เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต(ในภาครัฐ)เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต(ในภาครัฐ) 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐ: เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการที่ตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองลงมา ( ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ ครู พนักงานองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 หน่วยงาน ) 2.กระทำทุจริตในภาครัฐ - ทุจริตต่อหน้าที่ : ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ - ประพฤติชอบ : ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ หรือ มติ ครม.ที่มุ่งหมายควบคุมดูแลการรับ เก็บรักษา หรือการใช้เงิน

  5. องค์กรดำเนินการตามกฎหมายองค์กรดำเนินการตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 บัญญัติให้มีองค์กรรองรับเพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการ ป.ป.ท. 2. สำนักงาน ป.ป.ท. 2.1 พนักงาน ป.ป.ท. 2.2 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.

  6. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. 1. เสนอนโยบาย มาตรการและแผนพัฒนาการป้องกันปราบปรามฯ ต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย ข้อบังคับ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต 3. เสนอต่อกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน 4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมความเห็นเสนอพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดี 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนฯ วุฒิสภา และ ปปช. 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.มอบหมาย

  7. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 อำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 18) 1. สอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์กร ฯลฯ ส่งเจ้าหน้าที่มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ 2. สอบถามหรือเรียกบุคคลใด เพื่อมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ 3. ขอให้ศาลออกหมายเพื่อเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ทำการ หรือสถานที่อื่นใด รวมทั้งยานพาหนะของบุคคลใดๆ เพื่อตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัดเอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานอื่นใด 4. ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ได้

  8. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 กรณีที่ต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 23) 1. เมื่อได้รับคำกล่าวหาว่ามีการกระทำทุจริตในภาครัฐ 2. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการทุจริตในภาครัฐ 3. เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวน 4. เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.

  9. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 การดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง 1. คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเอง 2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงดำเนินการแทน องค์ประกอบ มีผู้แทนภาคประชาชน / ที่ปรึกษา /ผู้เชี่ยวชาญ 3. มอบหมาย พนักงาน ป.ป.ท. 4. ขณะไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นสมควรจะทำการตรวจสอบทรัพย์สินก็ได้

  10. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 การชี้มูลความผิด เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตในภาครัฐแล้ว จะต้องดำเนินการ ดังนี้ • กรณีมีมูลความผิดทางวินัย: จะส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย โดยผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาโทษภายใน 30 วัน หากละเลยไม่ดำเนินการจะถือเป็นความผิดวินัย หรือหากดำเนินการไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการ (มาตรา 40-44) • กรณีมีมูลความผิดทางอาญา: จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฟ้องคดี (มาตรา 45-46) • กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาได้ใช้อำนาจทางปกครอง: โดยการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ จะแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือ เพิกถอน (มาตรา 49)

  11. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 40 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการฯส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ถูกกล่าวหานั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถือว่ารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย ตามระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ

  12. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 41 ..เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 40 ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนพิจารณาโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง มาตรา 42 ..ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการ ตามมาตรา 41 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้น

  13. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 43 ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 41 หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 41 ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

  14. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 44 ... ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 41 จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจ ในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

  15. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางอาญา มาตรา 45 กรณีการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 40 เป็นความผิดทางอาญาด้วย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป ... มาตรา 46 กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปศาล ให้แจ้งผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด กรณีจำเป็นต้องจับผู้ถูกกล่าวหา ให้อัยการแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนา/ที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับได้ (ตาม ป.วิอาญา)

  16. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางปกครอง มาตรา 49 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนอกจากดำเนินการตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลใดโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิก หรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือสั่งการใดๆ นั้นต่อไปด้วย

  17. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรการสนับสนุนและจูงใจ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการ กลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจสั่งให้ดำเนินการ • การคุ้มครองพยานแก่ผู้ให้เบาะแส ข้อมูล ข่าวสาร (มาตรา 53,54) • การให้รางวัลตอบแทนผู้ทำประโยชน์ กรณีบุคคลดังกล่าวเป็นประชาชน (มาตรา 55) และการเลื่อนขั้นเงินเดือน/ตำแหน่งแก่เจ้าหน้าที่ กรณีเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ทำประโยชน์ (มาตรา 56) • การกันผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยาน (มาตรา 58)

  18. ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริตภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต • เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 และวันที่ 22 มีนาคม 2554 • เป็นเจ้าภาพหลักผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำหรับหน่วยงานราชการ (ตัวชี้วัดที่ 6) และจังหวัด (ตัวชี้วัดที่ 7) : ระดับความสำเร็จในการป้องกันปราบปรามการทุจริต • เป็นกลไกของฝ่ายบริหารในการสนับสนุนการจัดระเบียบสังคม ภายใต้สถานการณ์การทุจริต คอร์รัปชันอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน • เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  19. ตอบข้อซักถาม

  20. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 หรือ ตู้ ปณ.368 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 02-502-6804

More Related