1 / 42

ผศ.ดร.ประชา คุณธรรม ดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้าน บาท Two-Trillion-Baht Loan for Infrastructure Development Projects. ผศ.ดร.ประชา คุณธรรม ดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แนวการบรรยาย. สรุปรายละเอียด จาก ร่าง พรบ. และ ครอบคลุมข้อมูลจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง.

coty
Download Presentation

ผศ.ดร.ประชา คุณธรรม ดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทTwo-Trillion-Baht Loan for Infrastructure Development Projects ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. แนวการบรรยาย สรุปรายละเอียด จาก ร่าง พรบ. และ ครอบคลุมข้อมูลจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง • สรุปสาระสำคัญ • ของร่าง พรบ. ด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ • บทวิเคราะห์ เพื่อให้การดำเนินการเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนมากที่สุด • ข้อเสนอแนะ • ทางนโยบาย

  3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะในการรับรู้ถึงผลดีและผลกระทบของร่างพระราชบัญญัติฯ การวิเคราะห์ครอบคลุมถึงปัจจัยเกี่ยวเนื่อง เช่น การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิเคราะห์โครงการ เป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น

  4. ขอบเขตของการศึกษา งานศึกษานี้จะตอบประเด็นดังต่อไปนี้ • ประเทศไทยควรพิจารณาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ อย่างไร • การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ จะช่วยเรื่องการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศหรือไม่ อย่างไร • การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ จะช่วยเรื่องการเชื่อมต่อภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียนอย่างไร มีข้อจำกัดใดๆ หรือไม่ • ประเด็นข้อกฎหมาย • ประเด็นสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาเพื่อยังประโยชน์สาธารณะให้มากที่สุด (ด้านประสิทธิภาพ) และคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคม และความเป็นธรรมระหว่างชนต่างรุ่น (ด้านความเสมอภาค)

  5. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ และข้อมูลสนับสนุนโดยรัฐ

  6. พ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท เป็นพ.ร.บ.ที่จะให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. 2557-2563 โดยมีกรอบวงเงิน ไม่เกิน2ล้านล้านบาท ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  7. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ......ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ...... เพื่อประกันความพร้อมในการลงทุนของภาครัฐ อย่างต่อเนื่องในช่วง7ปี(พ.ศ.2557-2563) ในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เงินกู้2ล้านล้านบาทเป็นกรอบวงเงินสูงสุดที่ จะใช้ซึ่งในทางปฏิบัติจะลงทุนเฉพาะโครงการ ใดที่มีความเหมาะสมทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ประเทศในการ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ พัฒนาขึ้นต่อเนื่อง(สร้างการเติบโตและศักยภาพ ในการแข่งขัน) พ.ร.บ.2ล้านล้านบาท ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ยุทธศาสตร์ที่1 ยุทธศาสตร์ที่2 ยุทธศาสตร์ที่3 การปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ขนส่ง การเชื่อมโยง ความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง สินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ เดินทางและขนส่ง ในการ เดินทางไปสู่ศูนย์กลางของ ภูมิภาคทั่วประเทศและ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว 18% 52% 30% ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  9. ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  10. ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  11. การลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ลำน้ำและชายฝั่งด่านศุลกากร สถานีขนส่งสินค้า14,093 29,820 1.5 12,545 0.6 ถนน4 ช่องทางสะพาน 0.7 สำรองเผื่อฉุกเฉิน9,261 0.5 ข้ามทางรถไฟถนนเชื่อม ประตูการค้า 183,569 9.2 รถไฟทางคู่403,214 20.2 (2,859กม.) 2,594กม. 326กม. มอเตอร์เวย์91,820 4.6 รถไฟฟ้า472,448 23.6(265กม.) รถไฟความเร็วสูง 783,230 39.2(1,356กม.) หน่วย:ล้านบาท ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  12. เป้าหมายหลักของแผนการลงทุนเป้าหมายหลักของแผนการลงทุน 1) ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อGDPลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2% (ปัจจุบัน 15.2%) 2) สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงจาก 59% เหลือ 40% 3) ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก39กม./ชม. เป็น60กม./ชม. และขบวนรถ โดยสารเพิ่มขึ้นจาก60 กม./ชม. เป็น100 กม./ชม. 4) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก2.5% เป็น5% 5) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น18% 6) ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงไม่น้อยกว่า100,000ล้านบาท/ปี 7) สัดส่วนการเดินทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก5% เป็น30% 8) ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออกณด่านการค้าชายแดนที่สำคัญเพิ่มขึ้น5% 9) ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟเพิ่มขึ้นจาก45 ล้านคนเที่ยว/ปีเป็น 75ล้านเที่ยว/ปี 10) ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี300 กม. รอบกรุงเทพมหานครในระยะเวลาไม่เกิน90 นาทีจากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ3 ชั่วโมง ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  13. แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการ 2 ล้านล้านบาท:Growth Engine สู่อสังหาริมทรัพย์ไทย

  14. ผลการศึกษา ความจริงที่รัฐ (อาจจะ) ไม่อยากฟัง แต่เราควรรู้!!

  15. ประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งตามแนวทางของรัฐบาล คำถามสำคัญก็คือ ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วน และต้องพัฒนาอย่างมุ่งเป้าไปที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งใช่หรือไม่ และการที่รัฐบาลเสนอแนวทางการกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทสะท้อนให้เห็นว่าภายใต้งบประมาณรายจ่าย และกรอบการหารายได้ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวทางที่รัฐบาลอยากให้เป็น

  16. ที่มา:The Global Competitive Report 2013-2014, World Economic Forum

  17. ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งตามแนวทางของรัฐบาล ข้อมูลในภาพรวมนี้สะท้อนว่าปัญหาหลักของประเทศไทย ซึ่งหากภาครัฐต้องการแก้ปัญหาแบบมุ่งเป้านั้น ยังไม่ใช่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่ง แต่กลับเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาและสาธารณสุข ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านสถาบัน การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม รวมถึงด้านนวัตกรรม ซึ่งกลุ่มเหล่านี้อาจเรียกได้ว่า เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาด้านที่ไม่ใช่วัตถุ (Soft Side)

  18. ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามที่ควรจะเป็น ปัจจัยทางด้านสถาบัน ที่มา:The Global Competitive Report 2013-2014, World Economic Forum

  19. ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามที่ควรจะเป็น ปัจจัยทางด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน ที่มา:The Global Competitive Report 2013-2014, World Economic Forum

  20. ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามที่ควรจะเป็น ปัจจัยทางด้านประสิทธิภาพ ที่มา:The Global Competitive Report 2013-2014, World Economic Forum

  21. ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 ความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามที่ควรจะเป็น ปัจจัยทางด้านนวัตกรรม ที่มา:The Global Competitive Report 2013-2014, World Economic Forum

  22. ประเด็นที่ 2 การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ กับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อภูมิภาค เหตุผลสำคัญของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งภายใต้การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift)

  23. ผลการศึกษาประเด็นที่ 2 การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ กับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อภูมิภาค หากพิจารณาโดยทั่วไปนั้นจะพบว่า การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งลงซึ่งช่วยในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ ขนส่งจากถนนไปสู่ระบบราง ข้อมูลที่เปิดเผยนั้นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่ายังไม่ได้รวมการจัดการที่เป็นลักษณะของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal)

  24. ผลการศึกษาประเด็นที่ 2 การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ กับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อภูมิภาค ในด้านการเชื่อมต่อภูมิภาคอาเซียนนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องด่านศุลกากร ซึ่งมีอยู่ในร่างพระราชบัญญัติ โครงการที่เชียงของ จังหวัดเชียงรายนั้นจะเป็นการพัฒนาที่ครบถ้วนมากที่สุดรวมถึงการเชื่อมต่อทางด้านเศรษฐกิจกับ สปป.ลาวช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเกิดการเชื่อมต่อภูมิภาคและเปิดประตูการค้าชายแดนได้ดียิ่งขึ้น

  25. ผลการศึกษาประเด็นที่ 2 การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ กับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อภูมิภาค ภาพรวมของโครงการตามแผนงานหากพิจารณาจากวงเงินงบประมาณจะพบว่าโครงการภายใต้การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้นมีจุดมุ่งหมายหลักในการ “ขนคน” มากกว่าการ “ขนของ” หากต้องการขนส่งสินค้าและเป็นศูนย์กลางด้านการขนถ่ายสินค้าและลดต้นทุนโลจิสติกส์นั้นต้องพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งสินค้าจากระบบถนนมาสู่ระบบราง และถนนที่เข้าสู่ศูนย์ฯดังกล่าว

  26. ผลการศึกษาประเด็นที่ 2 การลงทุนตามร่างพระราชบัญญัติฯ กับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อภูมิภาค หลายโครงการยังไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่บางเส้น ท่าเรือ

  27. ประเด็นที่ 3 ประเด็นข้อกฎหมาย ประเด็นแรก คือ การขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๖๙ หรือไม่ซึ่งประเด็นนี้อาจทำให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญในลำดับต่อไป ประเด็นที่สอง คือ ตามมาตรา ๖ ระบุการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ ในขณะที่ไม่ได้ระบุโครงการที่จะดำเนินการ อาจนำไปสู่การปรับลดโครงการ ประเด็นนี้งานศึกษาของ Flyvbjerg (2009) ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าโครงการขนาดใหญ่ในอดีตมีปัญหาด้านต้นทุนการก่อสร้างที่สูงกว่าที่คาดการณ์

  28. ผลการศึกษาประเด็นที่ 4 บริการสาธารณะ ประโยชน์สาธารณะ และสินค้าสาธารณะภูมิภาค สหภาพยุโรปมีการกำหนดบริการสาธารณะ (Public Service Obligation-PSO) อย่างชัดเจน มีการออกเป็นกฎหมายและมีหน่วยงานกำกับดูแล บริการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงไม่สมควรจะเป็นบริการสาธารณะที่มีการอุดหนุนค่าโดยสาร เพราะในข้อเท็จจริงนั้นผู้ใช้บริการทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้ามักเป็นผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปและสามารถจ่ายได้อยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุดไม่มีการศึกษาว่าเม็ดเงินจะถูกใช้อุดหนุนเท่าไร....แต่เตรียมจะอุดหนุน

  29. ผลการศึกษาประเด็นที่ 4 บริการสาธารณะ ประโยชน์สาธารณะ และสินค้าสาธารณะภูมิภาค สินค้าสาธารณะภูมิภาคโดยเฉพาะถนนนั้น สมควรที่จะมีการวางกรอบกติการะหว่างประเทศว่า ถนนที่เดิมเป็นสินค้าสาธารณะท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ จะเปลี่ยนสถานะเป็นสินค้าสาธารณะภูมิภาค ตามหลักการก็ควรที่ภูมิภาคจะต้องจัดสร้างหรือซ่อมแซม มิเช่นนั้นภาระจะตกแก่ประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในภาพรวมหากภาระในการซ่อมแซมตกแก่ประเทศนั้นๆ ก็จะเกิดภาวะที่ประเทศที่ไม่มีงบประมาณมากพอก็จะปล่อยให้ถนนนั้นเสื่อมโทรมไปซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภูมิภาค

  30. ผลการศึกษาประเด็นที่ 5 ความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นธรรมระหว่างรุ่น และการกำหนดเงื่อนไขในการดึงดูดส่วนเกินทางเศรษฐกิจเพื่อประชาชนโดยรวม ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ (2556) พบว่าทุกเมืองที่รถไฟความเร็วสูงจอดอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์เท่ากันทุกเมืองขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละเมือง หากการลงทุนใช้งบประมาณจากส่วนกลางก็จะเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากในบางเมืองจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น ในขณะที่เมืองที่รถไฟความเร็วสูงไม่จอด หรือไม่อยู่ในเส้นทางนั้นประชาชนต้องรับภาระหนี้ไปพร้อมกัน

  31. ผลการศึกษาประเด็นที่ 5 ความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นธรรมระหว่างรุ่น และการกำหนดเงื่อนไขในการดึงดูดส่วนเกินทางเศรษฐกิจเพื่อประชาชนโดยรวม การใช้คืนเงินกู้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 50 ปีนั้นก็จะเกิดการผลักภาระการชำระหนี้ไปให้ชนรุ่นหลังซึ่งก็เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมระหว่างชนรุ่น ภาครัฐจึงควรสร้างกรอบกำหนดเงื่อนไขในการดึงดูดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของคนบางกลุ่มออกมา เช่น ภาษีการพัฒนาท้องถิ่น ภาษีที่ดิน ภาษีกำไรธุรกิจ เพื่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมสองลักษณะดังกล่าวให้น้อยที่สุด

  32. ผลการศึกษาประเด็นที่ 5 ความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นธรรมระหว่างรุ่น และการกำหนดเงื่อนไขในการดึงดูดส่วนเกินทางเศรษฐกิจเพื่อประชาชนโดยรวม ประเด็นเรื่องความไม่เป็นธรรมและประสิทธิภาพ เป็นเหตุผลจำเป็นที่การกู้เงินควรกระทำเท่าที่จำเป็นและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุดหากโครงการของรัฐนั้นถูกดำเนินการด้วยอคติและไม่ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ รวมทั้งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีภายนอกและเสียโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีไประยะหนึ่งด้วย

  33. ประชาชนต้องการข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ข้อมูลด้านที่รัฐที่อยากให้รู้การสร้างฝัน โดยมีข้อมูลไม่ครบถ้วนแล้วทำให้ฝันเป็นจริงมักได้โครงการที่ไม่คุ้มค่ากับประชาชนเช่น สนามบินร้าง ท่าเรือร้าง สถานีรถไฟร้าง

  34. รัฐพยายามสร้างทางเลือกที่ดีกว่าจริงหรือไม่..... โดยชูธง “รถไฟความเร็วสูง”

  35. ข้อเสนอแนะ • สมควรที่รัฐจะต้องกำหนดเงื่อนไขบริการสาธารณะ (Public Service Obligation) • เปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นสู่สาธารณะโดยเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขนาดใหญ่ • กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน เรื่องการบริหารเงินกู้ รวมถึงการบริหารจัดการโครงการโดยคำนึงถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการกำหนดเงื่อนไขการใช้วัสดุภายในประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด • นอกจากนั้นรัฐไม่ควรละเลยโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาด้านที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น การศึกษา ความพร้อมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และปัจจัยด้านสถาบัน ซึ่งเป็นปัญหาที่แท้จริงของประเทศไทย

  36. ความฝันหรือความจริง

  37. อาจจะเป็นแค่ ฝัน ความจริงที่โหดร้าย หรือเป็น โอกาสแห่งความสำเร็จ ขึ้นอยู่ที่การมีส่วนร่วม ของเราทุกคน!!

  38. ขอขอบคุณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ดร.ชัยพัฒน์สหัสกุล รศ.ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา ผศ.ดร.สายพิณ ชินตระกูลชัย ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ดร.ธีรวุฒิ ศรีพินิจ ผู้ช่วยวิจัยและผู้ให้สัมภาษณ์ นักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ภาค1/2556

More Related