1 / 23

แนวทางในการเข้าสู่เวที Public Scoping และ Public Review

แนวทางในการเข้าสู่เวที Public Scoping และ Public Review. เพ็ญศรี วัจฉละญาณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ.

colm
Download Presentation

แนวทางในการเข้าสู่เวที Public Scoping และ Public Review

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางในการเข้าสู่เวที Public Scoping และ Public Review เพ็ญศรี วัจฉละญาณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ • การใช้หลักวิชาการในการทำนาย หรือ คาดการณ์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินการโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆด้านทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด • แนวคิดเรื่องสุขภาพ ยอมรับว่า ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพ และส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

  3. การเปลี่ยนแปลงปัจจัยกำหนดสุขภาพจากกิจกรรมโครงการการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกำหนดสุขภาพจากกิจกรรมโครงการ • เหตุรบกวน (ชุมชน) • การได้ยิน (คนงาน) เสียงดัง การตอกเสาเข็ม สั่นสะเทือน • สิ่งปลูกสร้างของชุมชน • คุณภาพอากาศของชุมชน มลพิษอากาศ • ระบบบริการ/จัดการขยะชุมชน ขยะ ที่พักอาศัยคนงาน น้ำเสีย • คุณภาพน้ำของชุมชน • แหล่งรังโรค ทะเลาะวิวาท/อาชญากรรม • ความปลอดภัยของชุมชน HIA under EIA

  4. EHIA APPROACH ที่ใช้ในปัจจุบัน 5

  5. ปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ • - รายได้และสถานะทางสังคม • - เครือข่ายสนับสนุนทางสังคม • - การศึกษา • - การจ้างงานและสถานภาพในการทางาน • - สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ • - สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและพันธุกรรม • - การปฏิบัติตนด้านสุขอนามัย • - การพัฒนาการในวัยเด็ก • การบริการทางการแพทย์ เป็นต้น • จาก แนวทางการประเมินผลกระทบสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ธันวาคม 2552

  6. ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

  7. ความสำคัญของขอบเขตการศึกษาความสำคัญของขอบเขตการศึกษา • เป็นแผนงานของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม • การกำหนดขอบเขตการศึกษาที่เหมาะสมช่วยให้ได้ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • เน้นศึกษาประเด็นที่สำคัญในความเห็นของสาธารณชนและของผู้เชี่ยวชาญ • การกำหนดขอบเขตการศึกษาจะต้องไม่กว้างเกินไป เพราะจะทำให้การประเมินดำเนินการได้ยากมาก แต่หากกำหนดขอบเขตแคบเกินไป อาจทำให้เกิดการละเลยประเด็นผลกระทบสำคัญบางประการไปได้

  8. วัตถุประสงค์ในการกำหนดขอบเขตการศึกษาวัตถุประสงค์ในการกำหนดขอบเขตการศึกษา 1. เพื่อระบุประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสุขภาพที่สำคัญ ปัจจัยและทางเลือกที่จะต้องพิจารณา เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้เจ้าของโครงการได้ใช้เวลาและทรัพยากร ในการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพในประเด็นที่สำคัญ 2. เพื่อจัดลำดับประเด็นที่มีการจำแนกไว้ตามข้อ 1 โดยใช้ข้อมูลจากการปรึกษาหารือจากผู้เชี่ยวชาญและจากประชาชนมาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญ 3. เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา ซึ่งควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดและลักษณะของโครงการ สภาพทางสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ เช่น การใช้ที่ดิน พื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นต้น 4. กำหนดระดับความความละเอียดของการศึกษา ขึ้นกับความรุนแรงของระดับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยต่างๆ จะช่วยกำหนดประเภทของผลกระทบทางสุขภาพตั้งแต่ขั้นของการกำหนดขอบเขตการศึกษา

  9. การกำหนดขอบเขตการศึกษาการกำหนดขอบเขตการศึกษา

  10. ตัวอย่างการพิจารณาปัจจัยกำหนดสุขภาพตัวอย่างการพิจารณาปัจจัยกำหนดสุขภาพ

  11. ข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดขอบเขตการศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดขอบเขตการศึกษา • ราละเอียด/กิจกรรมโครงการ/แผนงาน • ข้อมูลพื้นที่ /การใช้ประโยชน์ที่ดิน • ข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ สังคม (ความเข้มแข็ง/เครือข่าย/ • ข้อมูลสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน • ข้อมูลสถานะสุขภาพของประชากร • ข้อมูลระบบบริการสาธารณูปโภค • ข้อมูลระบบบริการสาธารณสุขและการแพทย์

  12. ปัจจัยทางสุขภาพที่ควรใช้พิจารณาในการกำหนดขอบเขตการศึกษาปัจจัยทางสุขภาพที่ควรใช้พิจารณาในการกำหนดขอบเขตการศึกษา • ปัจจัยลักษณะ • สารอันตราย - เคมีเช่น โลหะหนัก สารอินทรีย์ที่มีพิษ กายภาพ เช่น เสียง ฝุ่น รังสี ความสั่น • สะเทือน ชีวภาพ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย • สิ่งแวดล้อม - การเปลี่ยนแปลงคุณภาพหรือปริมาณ น้ำ อาหาร อากาศ ดิน การใช้ที่ดิน • ปัจจัยที่เกี่ยวกับ - เส้นทางในการสัมผัส (exposure pathway) เช่น อาหาร อากาศ น้ำ • การสัมผัส- การสัมผัสของสาธารณชน • - การสัมผัสของคนงาน • - การจำแนกกลุ่มเสี่ยง • ผลกระทบ - อัตราการตาย อัตราการเจ็บ โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อผลกระทบเรื้อรัง • ต่อสุขภาพทางกาย หรือ ผลกระทบเฉียบพลัน บาดเจ็บ อุบัติเหตุ • - ผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไป • - ผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง

  13. ปัจจัยทางสุขภาพที่ควรใช้พิจารณาในการกำหนดขอบเขตการศึกษา(ต่อ)ปัจจัยทางสุขภาพที่ควรใช้พิจารณาในการกำหนดขอบเขตการศึกษา(ต่อ) • ปัจจัยลักษณะ • ผลกระทบ - การกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้นจากที่เป็นอยู่ใน • ต่อสุขภาพทางกาย ปัจจุบัน เช่น หอบ หืด • - ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสะสม • ผลกระทบต่อการ - ความจำเป็นทางด้านการบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นหรือที่พิเศษ • บริการทางการแพทย์ - การเปลี่ยนแปลงด้านการบริการทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิม • ผลกระทบต่อความ - ผลกระทบต่อรายได้ การจ้างงาน สภาพเศรษฐกิจ-สังคม • เป็นอยู่ที่ดี - ผลกระทบต่อรายได้ของชุมชน หรือธุรกิจในท้องถิ่น • - การอพยพ ย้ายถิ่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ • - ผลกระทบต่อการบริการ เช่น การศึกษา เครือข่ายสนับสนุนสังคม เป็นต้น • - ผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อม • - ผลประโยชน์ทางด้านสุขภาพ

  14. การประเมินผลกระทบ • เป้าหมาย เพื่อ ประเมินระดับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพหรือสิ่งคุกคาม • ผลกระทบจะเกิดเมื่อไร • พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ • ขนาดของผลกระทบ • นัยสำคัญของผลกระทบ • องค์ประกอบของระดับผลกระทบ • โอกาสของการเกิด เช่น ความถี่ ระยะเวลาการเกิด • ความรุนแรงของผลที่เกิดตามมา Consequence เช่น ระดับความรุนแรง ลักษณะผู้ได้รับผลกระทบ

  15. การบริหารความเสี่ยง

  16. การเสนอมาตรการลดผลกระทบการเสนอมาตรการลดผลกระทบ • การเสนอมาตรการลดผลกระทบจะต้องพิจารณา • ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจะสามารถป้องกันหรือทำให้ลดลงได้อย่างไร • มีทางเลือกในการดำเนินการที่ดีกว่าหรือไม่ • ประโยชน์ที่ประชาชน ชุมชนจะได้รับในการดูแลด้านสุขภาพมีได้หรือไม่ อย่างไร • มาตรการบางประการอาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากหน่วยงานสาธารณสุข ดังนั้นจึงต้องมีการให้คำแนะนำแก่หน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสุขภาพ

  17. การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการติดตามตรวจสอบและประเมินผล • พิจารณาให้ครอบคลุมทั้งช่วงระยะเวลาก่อสร้างและดำเนินการ • อาจต้องการหน่วยงานอื่นที่มิใช่หน่วยงานอนุญาตเป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (อำนาจในการตรวจสอบ) • การตรวจสอบร่วมโดยภาคประชาชน

  18. การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

  19. รายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพรายงานผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

  20. ผู้ที่ดำเนินการจะต้องพิจารณา วิเคราะห์ และให้ข้อมูลในประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑. การเปลี่ยนแปลงสภาพและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ และระบบนิเวศ ๒.การผลิต ขนส่ง และการจัดเก็บวัตถุอันตราย โดยจะต้องแจ้งประเภท ปริมาณ และวิธีดำเนินการของวัตถุอันตรายทุกชนิด ๓. การกำเนิดและการปล่อยของเสียและสิ่งคุกคามสุขภาพ จากการก่อสร้าง จาก กระบวนการผลิต และกระบวนการอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นขยะ กากของเสีย กากของเสียอันตราย น้ำเสีย ขยะติดเชื้อ ความร้อน มลสารทางอากาศ ฝุ่น แสง เสียง กลิ่น การสั่นสะเทือน และกัมมันตภาพรังสี

  21. ๔. การรับสัมผัสต่อมลพิษและสิ่งคุกคามสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย เช่น โดยการหายใจ การรับประทาน การสัมผัสทางผิวหนัง เป็นต้น การรับสัมผัสของคนงานหรือผู้ปฏิบัติงานในโครงการหรือกิจการ การรับสัมผัสของประชาชนโดยรอบโครงการหรือกิจการ เป็นต้น ๕. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออาชีพ การจ้างงาน และสภาพการทำงานใน ท้องถิ่น ทั้งทางบวกและทางลบ เช่น ความเสี่ยงและอุบัติเหตุจากการทำงาน การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ ทรัพยากร และห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการที่เป็นฐานการดำรงชีวิตหลักของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพื้นที่ ๖. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชน ทั้งความสัมพันธ์ภายในชุมชนและภายนอกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพของประชาชนและแรงงาน การเพิ่ม/ลดพื้นที่สาธารณะของชุมชน และความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการดังกล่าว

  22. ๗. การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่มีความสำคัญหรือเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เช่น ศาสนสถาน สถานที่ที่ประชาชนสักการะบูชา หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานสำคัญ ๘. ผลกระทบที่เฉพาะเจาะจงหรือมีความรุนแรงเป็นพิเศษต่อประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ชนกลุ่มน้อยเป็นต้น ๙. ทรัพยากรและความพร้อมของภาคสาธารณสุข ทั้งในแง่ของการสร้างเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับโครงการหรือกิจการ รวมถึงความพร้อมของข้อมูลสถานะสุขภาพในพื้นที่ก่อนมีการดำเนินการ การจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อติดตามผลกระทบ ขีดความสามารถการสำรวจโรค และการรับมือกับอุบัติภัยและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น

More Related