1 / 59

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4. น. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหลากหลาย ทางชีวภาพ. ความหลากหลายทาง ชีวภาพกับการดำรงชีวิต. ความหลากหลายทางชีวภาพ. การจัดหมวดหมู่ ของสิ่งมีชีวิต. เทคโนโลยีชีวภาพ. ความหลากหลาย ของพืชและสัตว์. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ.

Download Presentation

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่4 น ความหลากหลายทางชีวภาพ

  2. ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ • ความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ • การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต • เทคโนโลยีชีวภาพ • ความหลากหลายของพืชและสัตว์

  3. ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ

  4. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ • ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน • สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันในด้านชนิดและจำนวน หรือทางสายพันธุกรรม

  5. นกฟินช์บนหมู่เกาะกาลาปาโกส แต่ละชนิดจะมีขนาด รูปร่าง และจะงอยปาก แตกต่างกัน เป็นผลมาจากชนิดของอาหารที่กินและสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งอาศัย

  6. ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางระบบนิเวศ เป็นความหลากหลายของแหล่งที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะเลือกสภาพแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการขยายเผ่าพันธุ์ ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทะเลทราย

  7. บริเวณต่างๆ ของโลกมีลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีระบบนิเวศแตกต่างกัน ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศป่าชายเลน

  8. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ เป็นความหลากหลายที่สามารถพบเห็นได้ชัดเจน เกี่ยวข้องกับจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจมีจำนวนถึง 50 ล้านชนิด

  9. ความหลากหลายทางพันธุกรรมความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นความหลากหลายที่ปรากฏไม่ชัดเจน โดยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกันมากอาจมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่าง ความหลากทางพันธุกรรมที่เกิดโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผสมพันธุ์ภายในสปีชีส์เดียวกัน เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชด้วยกันเอง

  10. แต่บางกรณีเป็นการผสมพันธุ์ข้ามสปีชีส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชกับพืชที่ทนต่อเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ได้พืชที่ทนต่อทั้งแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา

  11. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ • การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการหลอมรวมเซลล์สืบพันธุ์ของแกะกับแพะ แล้วใส่เข้าไปให้เจริญเติบโตในมดลูกของแกะ ทำให้ได้สัตว์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า กีป • ลักษณะเด่นของกีป คือ มีเขาและขน ที่มีลักษณะผสมระหว่างขนแพะกับขนแกะ • นอกจากนี้ ก็มีการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ ด้วย

  12. การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

  13. การจำแนกสิ่งมีชีวิต การจำแนกสิ่งมีชีวิตตามลักษณะทางธรรมชาติ อาศัยลักษณะทางธรรมชาติ ลักษณะภายนอกหรือลักษณะต่างๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา การเจริญเติบโตของตัวอ่อน เป็นต้น ปลา ซาลามานเดอร์ กระต่าย มนุษย์ การจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยลักษณะทางพันธุกรรม อาศัยลักษณะทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

  14. ลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต • ลักษณะภายนอกและโครงสร้างภายในของร่างกาย:ใช้แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ • แบบแผนของการเจริญเติบโต: ใช้หลักง่ายๆ คือ สิ่งมีชีวิตใดที่มีลักษณะของตัวอ่อนคล้ายคลึงกันมาก ย่อมมีวิวัฒนาการใกล้กันมากด้วย • ซากดึกดำบรรพ์: สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ย่อมมีซากดึกดำบรรพ์คล้ายคลึงกัน และอาจทำให้ทราบถึงบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วย

  15. โครงสร้างของเซลล์และออร์แกเนลล์: เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ • สรีรวิทยาและการสังเคราะห์สารเคมี: สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างทางสรีรวิทยาต่างกัน ดังนั้นการสังเคราะห์สารต่างๆ ในร่างกายย่อมต่างกันด้วย • ลักษณะทางพันธุกรรม: เป็นวิธีที่มีกระบวนการซับซ้อนและยุ่งยาก

  16. เกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต • ไดโคโตมัสคีย์ เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มย่อย โดยพิจารณาโครงสร้างที่แตกต่างกันเป็นคู่ๆ ทีละลักษณะ ซึ่งทำให้การพิจารณาง่ายขึ้น • สิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มจะมีไดโคโตมัสคีย์ที่ใช้แยกกลุ่มย่อยของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ 1. ก. มีขน.........................................................................................................................ดูข้อ 2. ข. ไม่มีขน..................................................................................................................ดูข้อ 3. 2. ก. ขนเป็นเส้น.............................................................................สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ข. ขนเป็นแผงแบบขนนก..............................................................................สัตว์ปีก 3. ก. มีครีบคู่ มีช่องเหงือก...............................................................สัตว์น้ำพวกปลา ข. ไม่มีครีบคู่............................................................................................................ดูข้อ 4. 4. ก. ผิวหนังมีเกล็ด.................................................................................สัตว์เลื้อยคลาน ข. ผิวหนังไม่มีเกล็ด.....................................................สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

  17. ลำดับในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตลำดับในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต คาโรลัส ลินเนียส นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน ได้ริเริ่มการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือกประเภทที่มีความใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเริ่มจากขอบเขตที่กว้าง แล้วค่อยๆ แคบลง อาณาจักร (Kingdom) ไฟลัม (Phylum) หรือดิวิชัน (Division) สปีชีส์ (Species) ออร์เดอร์ (Order) จีนัส (Genus) แฟมิลี (Family) คลาส (Class)

  18. ชื่อของสิ่งมีชีวิต • ชื่อสามัญ • ชื่อที่เรียกกันทั่วไป ตามลักษณะหรือรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น ดาวทะเล ว่านหางจระเข้ ทากบก เป็นต้น • ชื่อวิทยาศาสตร์ • ชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งคาโรลัสลินเนียส เป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ โดยชื่อหน้า คือ ชื่อสกุล และชื่อหลัง คือ คำระบุชนิด • การเรียกชื่อดังกล่าวเรียกว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม

  19. หลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบทวินามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบทวินาม • อักษรตัวแรกของชื่อสกุลต้องเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด • การเขียนจะต้องแตกต่างจากอักษรตัวอื่น โดยการเขียนตัวเอน ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa L. มะม่วงหิมพานต์ชื่อวิทยาศาสตร์: AnacardiumoccidentaleL.

  20. ไก่ฟ้าพญาลอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophuradiardi(Bonaparte, 1856) โลมาปากขวด ชื่อวิทยาศาสตร์: Tursiopstruncatus(Montagu, 1821) ลิงแสม ชื่อวิทยาศาสตร์: Macacafascicularis(Raffles, 1821)

  21. แนวคิดการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตแนวคิดการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต อาริสโตเติล จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 1.กลุ่มพืช ใช้อายุและความสูงเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก 2.กลุ่มสัตว์ ใช้สีของเลือดเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเลือดสีแดง และกลุ่มที่ไม่มีเลือดสีแดง

  22. เอิร์นสต์แฮคเกล จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 3 อาณาจักร 1.อาณาจักรพืช คือ พวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้ และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้ 2.อาณาจักรสัตว์ คือ พวกที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้ 3. อาณาจักรโพรทิสตา คือ พวกที่ก้ำกึ่งระหว่างพืชและสัตว์ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนนัก เช่น ยูกลีนา พารามีเซียม เป็นต้น

  23. เฮอร์เบิร์ตโคปแลนด์ จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 4 อาณาจักร 1. อาณาจักรมอเนอรา คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรแคริโอต (ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 2. อาณาจักรโพรทิสตา คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต (มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส) แต่เซลล์ยังไม่รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะ ได้แก่ โพรโตซัว รา สาหร่าย และราเมือก 3.อาณาจักรพืช คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต ซึ่งมีเซลล์หลายเซลล์ทำงานร่วมกันเป็นระบบเกิดเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะ และสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ 4. อาณาจักรสัตว์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ จึงต้องได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น

  24. รอเบิร์ตวิตเทเกอร์ จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน 1.อาณาจักรมอเนอรา คล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์ 2. อาณาจักรโพรทิสตา คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก และมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่าพืชและสัตว์ 3. อาณาจักรฟังไจ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ได้รับอาหารจากการดูดซึมจากภายนอก โดยการปล่อยเอนไซม์ไปย่อยอาหารภายนอกเซลล์ 4. อาณาจักรพืช คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์ 5. อาณาจักรสัตว์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์

  25. ความหลากหลายของพืชและสัตว์ความหลากหลายของพืชและสัตว์

  26. ความหลากหลายของพืช ปัจจุบันพืชทั่วโลกมีประมาณ 300,000 ชนิด หากใช้เนื้อเยื่อท่อลำเลียงเป็นเกณฑ์ในการจำแนก สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง และพืชที่มีท่อลำเลียง

  27. พืชที่ไม่มีท่อลำเลียงพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง • เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ไม่มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง แต่มีโครงสร้างที่ทำหน้าที่เสมือนราก ลำต้น และใบ • ชอบขึ้นในที่ชุมชื้น และอากาศค่อนข้างเย็น • เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เนื่องจากช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน • ได้แก่ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต

  28. พืชที่มีท่อลำเลียง • เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ส่วนใหญ่มีราก ลำต้น และใบเจริญดี • สามารถปรับตัว และอาศัยอยู่บนบกได้ดี • มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร • แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ • พืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ด • พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม • พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม

  29. พืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ดพืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ด • มีวงชีวิตแบบสลับ คือ มีระยะสปอร์โรไฟต์และแกมีโทไฟต์สลับกันไป • มีสปอร์เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ • ตัวอย่างเช่น หวายทะนอย สามร้อยยอด หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า แหนแดง ย่านลิเภา เฟิร์นใบมะขาม เฟิร์นก้านดำ จอกหูหนู ผักแว่น เป็นต้น

  30. พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้มพืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม • เรียกพืชพวกนี้ว่า พืชเมล็ดเปลือย • เป็นพืชกลุ่มแรกที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยการผสมพันธุ์จะอาศัยลมช่วยใน การถ่ายละอองเรณู ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการขั้นสำคัญของพืชที่อาศัยอยู่บนบก • ตัวอย่างเช่น สนสองใบ สนสามใบ สนสามพันปี ปรงเขา แปะก๊วย มะเมื่อย เป็นต้น

  31. พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้มพืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม • เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง • มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร เจริญดีมาก • มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากลำต้นและใบ จึงเรียกว่า พืชดอก • เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม มีการสืบพันธุ์ที่เรียกว่า ปฏิสนธิซ้อน • ตัวอย่างเช่น กุหลาบ ทานตะวัน ชบา มะม่วง ทุเรียน แตงโม ข้าวโพด ข้าว ไผ่ เป็นต้น

  32. พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่

  33. ความหลากหลายของสัตว์ • สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง • สัตว์ที่ไม่มีแกนค้ำจุนลำตัวที่เรียกว่า แกนสันหลัง • เป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีมากที่สุดในโลก

  34. สัตว์มีกระดูกสันหลัง • เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีแกนสันหลัง ซึ่งเป็นโครงร่างที่แข็งแรง มีลักษณะเป็นท่อยาวขนานกับความยาวของลำตัว เปลี่ยนเป็นกระดูกสันหลังเมื่อตัวโตเต็มวัย

  35. ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น • ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์สูงมากแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัย ดังนี้ • ตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน เหนือเส้นศูนย์สูตร และอยู่ติดทะเล จึงมีสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด • สภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเอื้อให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต • ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจากประเทศพม่า จีน และมาเลเซีย

  36. ความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิตความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิต

  37. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการแยกสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การหลีกหนีจากแหล่งที่อยู่เดิม การหมุนเวียนของสิ่งมีชีวิตใหม่ทดแทนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่เดิม เช่น แผ่นดินแยกจากกัน การเกิดแผ่นดินไหว น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เป็นต้น

  38. การกระทำของมนุษย์ มนุษย์เป็นตัวการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหากิน หรือแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในป่า ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น หรือการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยสัตว์ต่างถิ่นสู่สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

  39. ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้านอาหาร มนุษย์นำพืชและสัตว์หลายชนิดมาเป็นอาหาร โดยอาจจะได้มาจากป่าธรรมชาติหรือผลผลิตจากการเพาะปลูก เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ ไก่ เป็ด สุกร

  40. ที่อยู่อาศัย ต้นไม้บางชนิดมีเนื้อไม้แข็งแรงและมีความสวยงาม สามารถนำมาก่อสร้างบ้านเรือนได้ เช่น ต้นสัก ไผ่ ยาง เป็นต้น

  41. เครื่องนุ่งห่ม เส้นใยจากพืชสามารถนำมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มได้ เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ ป่าน นุ่น เป็นต้น เส้นใยจากสัตว์ เช่น ขนสัตว์ ใยไหม เป็นต้น

  42. ยารักษาโรค ส่วนต่างๆ ของพืชสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ต่างกัน

  43. ตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย

  44. ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาโรคตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาโรค

  45. โทษของความหลากหลายทางชีวภาพโทษของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นพิษต่อร่างกาย พืช สัตว์ และจุลินทรีย์บางชนิดมีพิษต่อร่างกายของมนุษย์ ดังนั้นจะต้องมีขั้นตอนหรือกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกำจัดความเป็นพิษนั้น เช่น ปลาปักเป้า แมงดาทะเล เป็นต้น

  46. ทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่เน่าเสียเกิดจากจุลินทรีย์เจริญเติบโตบนอาหาร ย่อยสลายอาหารเพื่อการดำรงชีวิต แล้วปล่อยสารบางชนิดออกมา ทำให้อาหารมีรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ และคุณภาพเปลี่ยนไป

More Related