1 / 1

พืชสวนไทยใต้ร่มพระบารมี

ผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญของผล และคุณภาพผลส้มโอพันธุ์ทองดี ดรุณี นาพรหม , ชูชาติ สันธทรัพย์ , อังสนา อัครพิศาล และเยาวลักษณ์ จันทร์บาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เลือกผลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน. ป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผล. วัดเส้นรอบวงทุกสัปดาห์. แยกเนื้อส้มโอ.

Download Presentation

พืชสวนไทยใต้ร่มพระบารมี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญของผล และคุณภาพผลส้มโอพันธุ์ทองดี ดรุณี นาพรหม, ชูชาติ สันธทรัพย์, อังสนา อัครพิศาล และเยาวลักษณ์ จันทร์บาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลือกผลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผล วัดเส้นรอบวงทุกสัปดาห์ แยกเนื้อส้มโอ วัดปริมาณน้ำตาลและกรด ส้มโอ (Citrus grandis L.)เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย มีการปลูกส้มโอในทุกภาคของประเทศ พื้นที่ปลูกรวมทั้งประเทศมีประมาณ 83,408 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว 58, 602 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,456 กก./ไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2545) ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เริ่มมีการปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แหล่งปลูกครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ หล่ายงาว ม่วงยาย ท่าข้าม และปอ ในปี 2548 พบพื้นที่ปลูกทั้งหมด 7,395 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 3,827 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยของส้มโออายุมากกว่า 7 ปี มีประมาณ 1,500-2,000 ผล/ไร่ พันธุ์ส้มโอที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ขาวทองดี ขาวน้ำผึ้ง ขาวใหญ่ ขาวพวง ทับทิม ท่าข่อย และ chandler ตลาดส้มโอเวียงแก่นส่วนใหญ่เป็นตลาดเพื่อบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตามมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ใต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ พันธุ์ที่ตลาดต่างประเทศต้องการคือ พันธุ์ทองดี และพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ซึ่งการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับผู้รับซื้อ และคุณภาพของผลผลิต ซึ่งการคัดเกรดจะทำโดยการวัดเส้นรอบวงของผล ปัญหาของส้มโอในอำเภอเวียงแก่นคือ คุณภาพผลยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เมื่อเทียบกับส้มโอที่ผลิตในแถบภาคกลาง ส้มโอเวียงแก่นมีเปลือกค่อนข้างหนา มีรสชาติเปรี้ยวปนขม และขนาดของผลไม่ได้ตามเกณฑ์การส่งออก ทำให้ผลผลิตมีราคาต่ำ (สุธามาส, มปป) ในการทดลองนี้จึงศึกษาผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญของผล และคุณภาพผลส้มโอพันธุ์ทองดีเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพผลส้มโอต่อไป บทนำ บทคัดย่อ การศึกษาผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญของผล และคุณภาพผลของส้มโอพันธุ์ทองดี ทำการทดลองที่ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน 2550 ทำการทดลองกับต้นส้มโออายุ 7 ปี วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RBD) 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีควบคุม และการป้ายกรดจิบเบอเรลลิก ความเข้มข้น 2.7% ที่ขั้วผลส้มโอ ทำการทดลอง 5 บล็อค 1 หน่วยทดลองเท่ากับ 3 ผล ป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผลส้มโอในระยะผลขนาดเส้นรอบวง 27-28 ซม. 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ วัดเส้นรอบวงของผลทุกสัปดาห์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว วัดปริมาณน้ำตาล และกรดในผลเมื่อเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่าการป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผลส้มโอทำให้มีการเจริญของผล เส้นรอบวงของผล น้ำหนักผล น้ำหนักเนื้อ และอัตราส่วนระหว่างน้ำตาลและกรดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามการป้ายกรดจิบเบอเรลลิกทำให้เปลือกหนาขึ้น ขั้วผลปริแตก และมีจำนวนผลร่วงมากกว่ากรรมวิธีควบคุม 59% อุปกรณ์และวิธีการ ผลการทดลอง ความหนาของเปลือก การปริแตกของขั้วผล สรุปผลการทดลองและวิจารณ์ ผลการทดลองพบว่าการป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผลส้มโอทำให้มีการเจริญของผล เส้นรอบวงของผล น้ำหนักผล น้ำหนักเนื้อ และอัตราส่วนระหว่างน้ำตาลและกรดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามการป้ายกรดจิบเบอเรลลิกที่ขั้วผลทำให้เปลือกมีความหนาเพิ่มขึ้น อีกทั้งขั้วผลปริแตก และมีจำนวนผลร่วงมากกว่ากรรมวิธีควบคุม 59% จิบเบอเรลลินเป็นสารควบคุมการเจริญของพืชในกลุ่มกระตุ้นการเจริญเติบโต มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลโดยเฉพาะการยืดยาวของเซล และร่วมกับออกซินในการขยายขนาดของเซล (Srivastava, 2002) นอกจากนี้กรดจิบเบอเรลลิกสามารถกระตุ้นให้ผลเป็นแหล่งดึงอาหารจากใบ (sink strength) ทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และกรดจิบเบอเรลลิกยังสัมพันธ์กับการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ invertaseทำให้มีปริมาณกลูโคสในเนื้อผลมากขึ้น (Zang, 2007)การทดลองครั้งนี้แม้ว่ากรดจิบเบอเรลลิกจะทำให้ได้ผลส้มโอขนาดใหญ่ขึ้น และความหวานเพิ่มขึ้น แต่การศึกษาครั้งต่อไปควรต้องหาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสม ความถี่ในการใช้ และวิธีการในการให้สาร เพื่อแก้ปัญหาเปลือกหนา การปริแตกที่ขั้ว และการร่วงของผล เอกสารอ้างอิง Zhang, C., K. Tanabe, F. Tamura, A. Itai and M. Yoshida. 2007. Roles of gibberellins in increasing sink demand in Japanese pear fruit during rapid fruit growth. Plant Growth Regulation. 52: 161-172 Srivastava L.M. 2002.Plant growth and development : Hormones and Environment. Academic Press, London. 772 p. กรมส่งเสริมการเกษตร.2545.“สถิติเปรียบเทียบการปลูกไม้ผล.”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.doae.go.th(21 พฤษภาคม 2551) สุธามาศ ณ น่าน. มปป. การผลิตส้มโอเพื่อการค้าที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย. 2 หน้า พืชสวนไทยใต้ร่มพระบารมี

More Related