1 / 40

การเตรียมความพร้อมของ สง. เพื่อรองรับนโยบายการกำกับ ตรวจสอบของ ธปท.

การเตรียมความพร้อมของ สง. เพื่อรองรับนโยบายการกำกับ ตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 23 พฤษภาคม 2551. หัวข้อการบรรยาย. 1. ภาพรวมนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. . 2 . นโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. ในปี 2551.

chumani
Download Presentation

การเตรียมความพร้อมของ สง. เพื่อรองรับนโยบายการกำกับ ตรวจสอบของ ธปท.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมความพร้อมของ สง. เพื่อรองรับนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 23 พฤษภาคม 2551

  2. หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. 2.นโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. ในปี 2551 3. การกำกับดูแลของ ธปท. ตามหลักเกณฑ์ Basel II 4. ความสำคัญและบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุน การกำกับตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th

  3. กรอบการกำกับดูแลของ ธปท. • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยง (Risk-Focused Supervision Approach) ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ • การกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง (On Going Process) โดยการตรวจสอบ On-Site และOff-Site • การจัดระดับโดยรวม (Composite Ratings) 5 ระดับ ผลจากการประเมินปริมาณความเสี่ยงและคุณภาพในการบริหารความเสี่ยงของ สง. • การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ประเมินผู้บริหารของ สง. มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง www.bot.or.th

  4. วิธีการระบุจุดอ่อน กระบวนการระบุจุดอ่อน การมอง • ความเสี่ยง 5 ด้าน • ความสามารถในการหารายได้ • ฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุน • ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต • จากการวิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงาน (off-site) • จากการทำ Pre-exam (on-site/ off-site/ กำกับ) • จากการออกตรวจสอบ on- site • สัมภาษณ์พนักงานและผู้บริหาร • ตรวจสอบและวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของ สง. อาทิ แบบรายงานที่ส่ง ธปท. คู่มือ บันทึกต่างๆของ สง. รวมถึงแฟ้มสินเชื่อ เป็นต้น • ข่าวสารอื่น ๆ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมือง การกำกับตรวจสอบแบบ Risk Based การมองภาพรวมเพื่อหาจุดอ่อน (High Risk) ที่จะต้องเข้าไปตรวจในรายละเอียด www.bot.or.th

  5. ปัจจัยหลักในการประเมินความเสี่ยงปัจจัยหลักในการประเมินความเสี่ยง • ฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุน • ความสามารถในการหารายได้ • การประเมินความเสี่ยง 5 ด้าน • ธรรมาภิบาล • การปฏิบัติตามคำสั่งการ • การควบคุมภายใน www.bot.or.th

  6. ฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุนฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุน หลักการและเหตุผลในการดำรงเงินกองทุน • เงินกองทุนแสดงถึงความสามารถของ สง.ในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุนที่เกิดจากเหตุกาณ์ที่คาดไม่ถึง (Unexpected Losses) • สง. ต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำในอัตราส่วนตามที่กฎหมายกำหนด (BIS Ratio) คือ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 8.5 สำหรับธ.พ. ไทย และไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 7.5 สำหรับสาขา ธ.พ. ต่างประเทศ • สง. ที่ดำรงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดจะสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้งผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ผู้กำกับดูแล รวมทั้ง stakeholder อื่นๆ ว่า สง. มีความมั่นคง และมีเสถียรภาพ BIS Ratio ปัจจุบัน = เงินกองทุน สินทรัพย์เสี่ยง (เครดิต และตลาด) ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป สง. ต้องมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ตลาด และปฏิบัติการ www.bot.or.th

  7. ความสามารถในการหารายได้ • วิเคราะห์การทำกำไรในปัจจุบันและความสามารถในการรักษาระดับกำไรในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับ • คุณภาพของกำไร : ผลกระทบจาก One time transaction • ศักยภาพของผู้บริหารและพนักงานระดับต่างๆ, เครือข่ายสาขา, ระบบ IT • เครื่องมือในการบริหาร และจัดการกับความเสี่ยง • สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศที่ สง. ไปเปิดสาขาและของทั่วโลก • วิเคราะห์การทำ Scenario Analysis ต่างๆ ของ สง. เพื่อดูความสมเหตุสมผล อาทิ scenario ในการประมาณกำไรในอนาคตของ สง. และ scenario ด้านความเสี่ยงต่างๆ เพื่อดูความเพียงพอของเงินกองทุนของ สง. www.bot.or.th

  8. ความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมักจะวัดจากความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงและสิ่งที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ความเสี่ยงต้องประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความไม่แน่นอน และ 2. เหตุการณ์/สถานการณ์ที่เป็น Exposure อยู่ การประเมินความเสี่ยง 5 ด้าน ความเสี่ยงคืออะไร ตลาด เครดิต ความเสี่ยงของ ธพ. สภาพคล่อง กลยุทธ์ ปฏิบัติการ www.bot.or.th

  9. คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านกลยุทธ์คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุน และเสถียรภาพความมั่นคงของกิจการ strategic risk definition www.bot.or.th

  10. คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านเครดิตคำจำกัดความของความเสี่ยงด้านเครดิต โอกาส หรือความน่าจะเป็นที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามภาระที่ตกลงไว้ รวมถึงโอกาสที่คู่ค้าจะถูกปรับลดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และเงินกองทุนของ สง. credit risk definition www.bot.or.th

  11. ความเสี่ยงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากฐานะทั้งในและนอกงบดุลที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และ/หรือ บัญชีเพื่อการธนาคาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อรายได้ และเงินกองทุนของ สง. market risk definition คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านตลาด www.bot.or.th

  12. ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ สง. ไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของ สง. liquidity risk definition คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง www.bot.or.th

  13. ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการภายใน บุคลากร และระบบงานของสถาบันการเงิน หรือจากเหตุการณ์ภายนอกสถาบันการเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของ สง. operational risk definition คำจำกัดความของความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ www.bot.or.th

  14. การประเมินความเสี่ยง 5 ด้าน กลยุทธ์ เครดิต ตลาด สภาพคล่อง ปฏิบัติการ • ระดับความเสี่ยง • ปริมาณความเสี่ยง • แบ่งเป็น ต่ำ ปานกลาง สูง ระดับความเสี่ยง คุณภาพ การจัดการความเสี่ยง • คุณภาพการจัดการความเสี่ยง • ความสามารถในการระบุ วัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยง • แบ่งเป็น ดี พอใช้ อ่อน ต่ำ ดี ปานกลาง พอใช้ สูง อ่อน www.bot.or.th

  15. ธรรมาภิบาลสำหรับกรรมการธนาคารธรรมาภิบาลสำหรับกรรมการธนาคาร • ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง • กำกับดูแลการดำเนินงานตามกฎหมาย เปิดเผยและโปร่งใส • ซื่อตรงต่อหน้าที่ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน • ร่วมกำหนดกลยุทธ์องค์กร นโยบายการปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามงานของฝ่ายบริหารอย่างสม่ำเสมอ • กำกับดูแลกิจการภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม และต้องมั่นใจว่ามีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญทุกประเภท • ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม • ประธานกรรมการต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับผู้บริหารสูงสุด (CEO) • มีกรรมการอิสระดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย • ผลตอบแทนกรรมการไม่ควรผูกกับกำไรเพียงอย่างเดียว และไม่ควรผูกพันกับราคาหุ้นในอนาคต • สรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีจริยธรรม มีความสามารถในงาน มีประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ www.bot.or.th

  16. การควบคุมภายใน • ด้านการควบคุมภายใน • การจัดโครงสร้างองค์กร • การระบุจุดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และมีการปิดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ • นโยบายและ ระเบียบคำสั่ง คู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน • ระบบข้อมูลและระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ • มีรายงานที่จำเป็นต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและทันต่อเหตุการณ์ • ด้านการตรวจสอบภายใน • ความมีศักยภาพ ความเป็นอิสระและการมีจุดยืนของผู้บริหารหน่วยงานตรวจสอบภายในและคณะกรรมการตรวจสอบ • การสอบทานการปฏิบัติจริงตามนโยบาย คู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน • ผลการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ • การแจ้งผลการตรวจสอบและการติดตามผลการปฏิบัติตามรายงานการตรวจสอบ • ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน • ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในธุรกรรม ความเสี่ยงที่มีอยู่ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ • การรายงานการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการปฏิบัติงานให้ฝ่ายจัดการและหน่วยงานบริหารความเสี่ยง • การอบรมและพัฒนาความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในอาชีพ www.bot.or.th

  17. การปฏิบัติตามคำสั่งการการปฏิบัติตามคำสั่งการ • ประเมินว่า คณะกรรมการและฝ่ายจัดการมีความใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งการ • ประเมินว่ามีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ความเหมาะสมของระยะเวลา www.bot.or.th

  18. ฐานะและความเสี่ยงในอนาคตฐานะและความเสี่ยงในอนาคต ฐานะและความเสี่ยงในปัจจุบัน 5 ความเสี่ยง คุณภาพการจัดการ + ระดับความเสี่ยง รายได้/ เงินกองทุน แนวโน้มความเสี่ยง ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ ต่ำ การจัดการ ความสามารถในการหารายได้ “ดี/ อ่อน” กลยุทธ์ เครดิต ตลาด สภาพคล่อง ปฏิบัติการ ดี พอใช้ อ่อน เพิ่มขึ้น ค่อนข้างสูง ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ ความเพียงพอของเงินกองทุน “ดี/ อ่อน” สูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง ลดลง สูง ปานกลาง ต่ำ ระดับความเสี่ยง การจัดระดับความเสี่ยงรวม(Aggregate risk) Composite Rating 5 ระดับ การประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงิน www.bot.or.th

  19. Composite Rating 1 – ดี การจัดระดับความเสี่ยงรวม เงินกองทุน และความสามารถในการหารายได้ 2 – ค่อนข้างดี 3 – พอใช้ 4 – ค่อนข้างอ่อน 5 – อ่อน การปฏิบัติตามคำสั่งการ การควบคุมภายใน ธรรมาภิบาล การจัดระดับโดยรวม www.bot.or.th

  20. หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. 2.นโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. ในปี 2551 3. การกำกับดูแลของ ธปท. ตามหลักเกณฑ์ Basel II 4. ความสำคัญและบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุน การกำกับตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th

  21. Moody’s Rating of Thai Banks As of September 2007 Source: Moodys’ Global Banking (September, 2007) www.bot.or.th

  22. Bank Financial Strength Ratings www.bot.or.th

  23. www.bot.or.th

  24. นโยบายการกำกับตรวจสอบในปี 2551 • การตรวจสอบ on-site อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ขึ้นกับสภาพปัญหาและผลการจัดระดับโดยรวมของ สง. • การตรวจสอบพิเศษ เช่น Basel II, IT และ Model Validation และการตรวจสอบเฉพาะเรื่อง เช่น ตรวจสอบธุรกรรมซับซ้อน และ NPL • ประเด็นที่ ธปท. ให้ความสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ Governance, Risk Management System, Compliance และ Capital Adequacy • การใช้ Stress test เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ www.bot.or.th

  25. ประเด็นที่ ธปท. ให้ความสำคัญ 4 เรื่อง Governance กรรมการและผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญ และมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาตร์และนโยบาย ควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ผลักดันให้มีระบบ Risk Management ครบถ้วน และเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความโปร่งใสและจริยธรรม Risk Mgmt System มีระบบ Credit Risk Market Risk และ Liquidity Risk Management ที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และมีการจัดทำ Stress Test เพื่อประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน Compliance กรรมการและผู้บริหารระดับสูงผลักดันให้มีนโยบาย และระบบ Compliance Risk Management การปฏิบัติตามคำสั่งการ ธปท.และพร้อมรองรับกฎเกณฑ์ใหม่ Capital Adequacy ธนาคารมีเงินกองทุนเพียงพอ และสามารถรองรับความเสี่ยง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้ อย่างเหมาะสม โดยมีการเพิ่มทุน หรือมีผู้ร่วมทุนใหม่ตามความจำเป็น www.bot.or.th

  26. การใช้ Stress Test เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ • เริ่มตั้งแต่ปี 2551 ธปท. มีนโยบายที่จะใช้ Stress Test เป็นเครื่องมือหนึ่งในการกำกับตรวจสอบ ธพ. เพื่อประเมินความเข้มแข็งของ ธพ. แต่ละแห่ง และของทั้งระบบ • ธปท. คาดหวังว่า ธพ. จะมีการกำหนดนโยบาย และมีการพัฒนาระบบและกระบวนการจัดทำ stress test ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการประเมินและบริหารความเสี่ยง การวางแผนกลยุทธ์ และการวางแผนเงินกองทุน (Capital Planning) ในลักษณะที่เป็น forward-looking www.bot.or.th

  27. หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. 2.นโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. ในปี 2551 3. การกำกับดูแลของ ธปท. ตามหลักเกณฑ์ Basel II 4. ความสำคัญและบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุน การกำกับตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th

  28. Pillar IMinimum Capital Requirements Pillar IISupervisory Review Process Pillar IIIMarket Discipline การกำกับดูแลโดยทางการหลักการกำกับดูแล สง. ให้มีความมั่นคงและปลอดภัยมีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีและมีการดูแลให้ สง. มีการดำรงเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงที่มี (รวมถึง residual risks ที่ Pillar I ไม่ได้ระบุเช่น Concentration risk, Liquidity risk และ Interest rate risk in banking book เป็นต้น) การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล สง. แนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน และการบริหารความเสี่ยงของ สง. การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง - ด้านเครดิต - ด้านปฏิบัติการ - ด้านตลาด ส่งเสริมให้การดำเนินการภายใต้ PillarI และ Pillar II มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดำรงเงินกองทุนให้ครอบคลุมความเสี่ยงมากขึ้น การกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์ Basel II www.bot.or.th

  29. Pillar I : การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ วัตถุประสงค์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับเงินกองทุนเพื่อให้ สง. มีความเข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ วิธีในการคำนวณเงินกองทุน Standardized Approach Standardized Approach Basic Indicator Approach Standardized Approach Internal Model Approach Foundation IRB Approach Alternative SA Approach Advanced IRB Approach Advanced Measurement Approach ต้องขออนุญาตจาก ธปท. ธปท. ยังไม่อนุญาตให้ใช้ การกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์ Basel II (ต่อ) www.bot.or.th

  30. Residual Risk หลักการข้อที่ 1 สง. ควรมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนภายในของตนเอง (Internal Capital Adequacy Assessment Process – ICAAP) ที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและกลยุทธ์การดำรงเงินกองทุนของ สง. - ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ - ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง - Concentration Risk - ความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ Interest rate risk in Banking Book การกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์ Basel II (ต่อ) Pillar II : การกำกับดูแลโดยทางการ วัตถุประสงค์เพื่อให้ สง. มีการดำรงเงินกองทุนสะท้อน หรือรองรับความเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยรวมถึง ความเสี่ยงอื่นๆ (residual risks) นอกเหนือจากที่กำหนดใน Pillar I ประกอบด้วย หลักการ 4 ข้อ สถาบันการเงิน พึงปฏิบัติตามหลักการ 2 ข้อ ผู้กำกับดูแล กำกับตรวจสอบ สง. ตามหลักการ 2 ข้อ หลักการข้อที่ 2 ธปท. มีหน้าที่ดูแลและประเมินระบบการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน สง. ตลอดจนความสามารถของ สง. ในการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีเงินกองทุนไม่สอดคล้องกับความเสี่ยงของตนเอง + หลักการข้อที่ 4 ธปท. ควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการกับ สง. ที่มีปัญหาหรือเพื่อป้องกันไม่ให้ สง. มีเงินกองทุนต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนด หลักการข้อที่ 3 สง. ควรมีการดำรงเงินกองทุนสูงกว่าหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ www.bot.or.th

  31. Pillar III :การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล การกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์Basel II (ต่อ) วัตถุประสงค์ เพื่อใช้กลไกตลาด (Market participants) มาช่วยเสริมการกำกับดูแล สง. ซึ่งมีแนวทางสำคัญ คือการกำหนดให้ สง. เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญต่อสาธารณะอย่างเพียงพอ ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนเข้าถึงข้อมูลของ สง. ได้โดยง่าย และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมในการประเมินความเสี่ยงของ สง. ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย - ขอบเขตของการใช้ Basel II องค์ประกอบของเงินกองทุน ยอดหนี้แต่ละประเภท กระบวนการควบคุมและบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอของเงินกองทุน หลักในการเปิดเผยข้อมูล - ยึดหลักความมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเปิดเผยข้อมูลผิด หรือไม่ได้เปิดเผยจะมีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องความเสี่ยง และฐานะของ สง. www.bot.or.th

  32. สง. ยื่นความจำนงเบื้องต้น ประเมินความพร้อม/ พิจารณาอนุญาตให้ใช้วิธี AIRB ประเมินความพร้อม/ พิจารณาอนุญาตให้ใช้วิธี SA/FIRB Q3 ธ.ค. Q3 ธ.ค. Q3 ธ.ค. มิ.ย. Q3 ธ.ค. 2553 2552 2549 2550 2551 สง. ยื่นแผนปฏิบัติตามเกณฑ์ Basel II ยื่น QIS PCX X X ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการวิธี BIA/SA PCX X X ความเสี่ยงด้านเครดิตวิธี SSA/SA PCX (95%) X (90%) X(80%) วิธี FIRB PCPC (95%) X (90%) X(80%) วิธี AIRB PC = Parallel calculation X = ปีบังคับใช้ Basel II (%) = อัตราขั้นต่ำในการดำรงเงินกองทุนจริงเทียบระหว่างวิธีการคำนวณเงินกองทุนตาม Basel II และวิธีปัจุบัน กำหนดเวลาบังคับใช้ Basel II ธ.ค. สง. ประเมินผลกระทบเงินกองทุน www.bot.or.th

  33. ผลกระทบต่อสถาบันการเงินผลกระทบต่อสถาบันการเงิน ผลกระทบ • ความจำเป็นที่ต้องปรับปรุง และนำกรอบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความเสี่ยงโดยรวมของ สง. มาใช้ • ความจำเป็นที่ต้องรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ ๆ และมีความหลากหลายมากขึ้น • ความจำเป็นที่หน่วยงานภายใน สง. ทุกหน่วยงานจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การกำกับดูใหม่อย่างต่อเนื่อง • ความจำเป็นที่ต้องเลือกวิธีการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตและด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจรวมทั้งส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของ สง. • ความจำเป็นในการบริหารต้นทุนที่เกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • ความจำเป็นในเรื่องความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงาน การริหารงาน และการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ความท้าทาย • ความสามารถในการทำความเข้าใจกฎเกณฑ์การกำกับดูแลอันใหม่ รวมทั้งผลที่อาจมีต่อการดำเนินธุรกิจของ สง. • ความท้าทายที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพของทรัพยากรภายใน กระบวนการทำงาน รวมทั้งระบบและรูปแบบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • ความท้าทายในแง่ของการบริหารจัดการความเสี่ยง และการสร้างวัฒนธรรมด้านความเสี่ยงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร • เผชิญกับความคาดหวังใหม่ๆ จากผู้กำกับดูแล จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และจากลูกค้า • ความสามารถในการประเมิน และบริหารจัดการความเพียงพอของเงินกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของ สง. • ความท้าทายในการรักษาลูกค้ารายใหญ่ที่มีคุณภาพดี เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นได้ง่าย ความเสี่ยง • ไม่สามารถประเมินขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเป็น ต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม • ไม่สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสอดคล้องทั่วทั้งองค์กร • ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดภายใต้หลักเกณฑ์ Basel II ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความจำเป็นต้องดำรงงินกองทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น www.bot.or.th

  34. หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมนโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. 2.นโยบายการกำกับตรวจสอบของ ธปท. ในปี 2551 3. การกำกับดูแลของ ธปท. ตามหลักเกณฑ์ Basel II 4. ความสำคัญและบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุน การกำกับตรวจสอบของ ธปท. www.bot.or.th

  35. ความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจสอบภายในความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายใน มีส่วนในการสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการปฏิบัติงานในองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อเพิ่มมูลค่าขององค์กรและการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน เนื่องจากการตรวจสอบภายในเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ 1. การส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) 2. การส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความ รับผิดชอบ 3. การส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 4. การให้สัญญานเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ช่วยลดโอกาสของ การประพฤติไม่ชอบ การทุจริต หรือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่สูงเกินกว่า ที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ www.bot.or.th

  36. บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุนการกำกับตรวจสอบของ ธปท. • พัฒนางานให้ทันสมัยและตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร เน้นการให้สารสนเทศและคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร และเพิ่มมูลค่าเพิ่มขององค์กร ไม่ใช่รายงานการผิดระเบียบในเรื่องเล็ก ๆ น้อย หรือรายงานความผิดพลาดด้านการเงินการบัญชี • ตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยง (Risk-Based Audit Approach) โดยมีความเข้าใจกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเพียงพอ เพื่อเลือกกิจกรรมการตรวจสอบที่มีระดับความเสี่ยงสูง รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้มีประสิทธิผล • ตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมและการประเมินผลตนเอง (Participative Audit and Control Self Assessment) โดยมีการประชุมประสานงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับผลการตรวจสอบ • ตรวจสอบในเชิงรุกแบบก้าวหน้าและสร้างสรรค์ (Proactive and Constructive)ทำหน้าที่ในการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดสิ่งที่ดี รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ไม่ใช่การแก้ปัญหาในภายหลัง www.bot.or.th

  37. บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุนการกำกับตรวจสอบของ ธปท. (ต่อ) • มีความเป็นอิสระจากกิจกรรมที่ตรวจสอบและมีอิสระในการตรวจสอบ เช่น • ไม่ตรวจสอบฝ่ายงานที่ตนเองเพิ่งย้ายออก • การประเมินผลงานพิจารณาขึ้นเงินเดือน ไม่ควรจะขึ้นกับฝ่ายจัดการ แต่ควรขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตรวจสอบ • มีความรอบรู้ในวิชาชีพ รวมถึงมีความรู้และเข้าใจในกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง และหนังสือเวียนของ ธปท. เป็นอย่างดี • มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น สนับสนุนให้มีการสอบเป็นผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต (Certified Internal Auditor : CIA) หรือ มีการหมุนเวียนพนักงานในฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมของ สง. มากขึ้น • มีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนตรวจสอบให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานให้ ธปท. ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ตรวจพบซึ่งส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการดำเนินงานและฐานะการเงินของ สง. เช่น การกระทำผิดกฎหมาย การขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการผิดปกติ www.bot.or.th

  38. มีการติดตามว่าผู้บริหารได้ดำเนินการตามคำสั่งการของ ธปท. อย่างเป็นรูปธรรมและในกรณีที่ไม่มีการแก้ไขได้รายงานให้ ธปท. ทราบ เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบและกระดาษทำการให้ ธปท. เมื่อมีการร้องขอ มีการพบปะสนทนากับ ธปท. และผู้ตรวจสอบภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็น และสร้างเสริมสัมพันธ์ภาพอันดีระหว่างกัน บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในการสนับสนุนการกำกับตรวจสอบของ ธปท. (ต่อ) ที่มา : - การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ โดย อ. อุษณา ภัทรมนตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - BIS Paper เรื่อง Internal Audit in Banks and the Supervisor’s Relationship with Auditors : A Survery (August 2002) - หนังสือเวียนของ ธปท. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของ สง. ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2544 www.bot.or.th

  39. การสนับสนุนของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงการสนับสนุนของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง วัฒนธรรมองค์กรและความเข้าใจขององค์กร ความสามารถของผู้ตรวจสอบภายใน ความสำเร็จ ปัจจัยความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน ที่มา : การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ โดย อ. อุษณา ภัทรมนตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความพร้อมของระบบงานสารสนเทศ www.bot.or.th

  40. Q & A ขอบคุณครับ

More Related