1 / 44

ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems)

ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems). รอง ศาสตราจารย์ อรพินธ์ เจริญผล. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems). วัตถุประสงค์ เมื่อเรียนจบนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายระบบสุขภาพ/ระบบสาธารณสุขไทยได้ถูกต้อง 2. บอกระดับของการบริการสาธารณสุขได้

Download Presentation

ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) รองศาสตราจารย์อรพินธ์ เจริญผล

  2. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) วัตถุประสงค์ เมื่อเรียนจบนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายระบบสุขภาพ/ระบบสาธารณสุขไทยได้ถูกต้อง 2. บอกระดับของการบริการสาธารณสุขได้ 3. อธิบายแผนการขยายบริการสาธารณสุขไทย/ การปฏิรูประบบสุขภาพ ไทยได้ 4. อธิบายบทบาทพยาบาลในการบริการสาธารณสุขไทยได้ 5. บอกสาขาวิชาชีพในการบริการสาธารณสุขไทยได้ถูกต้อง 6. บอกความสัมพันธ์ระหว่างวิชาชีพการพยาบาลกับระบบบริการ สาธารณสุขของประเทศไทยได้

  3. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) ระบบสุขภาพ (ระบบการสาธารณสุข) วิวัฒนาการของระบบสุขภาพไทย ระบบสุขภาพของไทยในอดีตมีโรคบางโรคที่สามารถป้องกันได้ แต่คนยังขาดความรู้ อัตราการตายบางส่วนสามารถป้องกันได้ โดยมักเน้นการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น เจ็บป่วยใช้ยาสมุนไพร ใช้ประคบ ใช้อบ นวด บางครั้งใช้การเป่าคาถา น้ำมนต์ มีการบวงสรวง การทำบุญ ส่วนการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ก็มีการใช้ยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย เช่น สตรีวัยมีประจำเดือนใช้ยาเพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ สตรีตั้งครรภ์ก็มียาบำรุงครรภ์ สตรีหลังคลอดบุตรก็มียาขับน้ำคาวปลาให้มดลูกเข้าอู่เร็ว การคลอดบุตรก็มีหมอตำแยทำคลอดที่บ้าน สถานที่ทำการรักษาพยาบาลคือ บ้านของผู้เจ็บป่วยเอง บ้านของหมอประจำหมู่บ้านหรือในวัด ต่อมาเริ่มมีการแพทย์แผนปัจจุบัน จึงเกิดการผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนตะวันตก เริ่มมีโรงพยาบาล มีสุขศาลา มีองค์กรของรัฐเป็นผู้วางนโยบายบริหารจัดการระบบสุขภาพ

  4. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) ในปีพ.ศ. 2485 ได้ประกาศพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น จนถึงปี พ.ศ. 2505 กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งระบบบริการสุขภาพออกเป็นด้านการรักษาและการป้องกัน ประชาชนมีความรู้มากขึ้น โดยแบ่งระบบบริการเป็นลำดับขั้นตามความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบงานจากน้อยไปมากดังนี้ 1. สำนักงานผดุงครรภ์ 2. สำนักอนามัยชั้น 2 3. สำนักอนามัยชั้น 1 4. โรงพยาบาลจังหวัด

  5. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย ในปี 2543 ได้มีการปฏิรูประบบสุขภาพขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดบริการสาธารณสุข โดยแบ่งตามระดับการให้บริการ ( Level of care) มี 5 ระดับคือ 1. การดูและสุขภาพด้วนตนเองในครอบครัว (Self care Level) หมายถึงการพัฒนาศักยภาพให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเอง รวมทั้งการตัดสินใจเลือกปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ ภายหลังการเจ็บป่วยหรือเมื่อมีความพิการเกิดขึ้น ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของประชาชน นับเป็นมาตรการเสริมการจัดบริการสาธารณสุขมูลฐาน

  6. ระบบการบริการสุขภาพ (Health Care Delivery Systems) การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย 2. การบริการสาธารณสุขมูลฐาน ( Primary health care Level) หมายถึงการบริการสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยประชาชนด้วยกันเอง และสามารถจัดทำได้ในระดับชุมชน เป็นงานสาธารณสุขแบบผสมผสานทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพ ใช้วิทยากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขไม่มากนัก ผู้ให้บริการคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) 3. การจัดบริการสาธารณสุขระดับต้น ( Primary care Level) เป็นการจัดบริการสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่มาธารณสุขประเภทต่างๆ และแพทย์ทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยบริการดังนี้

  7. การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย 3. การจัดบริการสาธารณสุขระดับต้น 3.1 สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (ส.ส.ช) เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับหมู่บ้านซึ่งจัดตั้งขึ้นเฉพาะพื้นที่กันดารห่างไกล และเข้าถึงบริการได้ยาก ครอบคลุมประชากร 500-1000คน มีพนักงานสุขภาพชุมชน (พ.ส.ช) ปฏิบัติงาน การบริการเน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค รวมทั้งการรักษาพยาบาลง่ายๆเบื้องต้น 3.2 สถานีอนามัย (ส.อ) เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้านทั่วไป ที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด (First line Health Service) ครอบคลุมประชากร 1000-5000คน มีเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนรับผิดชอบ และบางแห่งมีพนักงานทันตสาธารณสุข บรรจุเข้าทำงานด้วย การให้บริการเน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการ ภายใต้การนิเทศงานและการสนับสนุนทางวิชาการจากโรงพยาบาลชุมชน

  8. การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย 3.3 ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนทุกระดับ เป็นการบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปโดยแพทย์และบุคลากรระดับวิชาชีพ 4. การจัดบริการสาธารณสุขในระดับกลาง ( Secondary Care Level) เป็นการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญสูงปานกลาง ประกอบด้วยหน่วยบริการทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักดังนี้ 4.1 โรงพยาบาลชุมชน(ร.พ.ช) ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ มีเตียงสำหรับผู้ป่วยตั้งแต่ 5 เตียง-150 เตียง ครอบคลุมประชากร ตั้งแต่ 1000 คนขึ้นไป มีแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่นๆปฏิบัติงานประจำ การบริการเน้น ด้านการรักษามากกว่าสถานบริการระดับต้น

  9. การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย 4. การจัดบริการสาธารณสุขในระดับกลาง 4.2 โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลขนาดใหญ่อื่นๆของรัฐ ตั้งอยู่ในระดับจังหวัดหรืออำเภอขนาดใหญ่ มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 200-500 เตียง ส่วนโรงพยาบาลศูนย์ คือโรงพยาบาลในระดับจังหวัดที่มีขนาดเกิน 500 เตียง และมีแพทย์เฉพาะทางต่างๆครบถ้วน 4.3 โรงพยาบาลเอกชน ที่ดำเนินการโดยธุรกิจ มีแพทย์มาปฏิบัติประจำหรือทำนอกเวลาทำงาน ประชาชนจะต้องเสียค่าบริการเมื่อไปรับบริการ

  10. การจัดระบบสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบสุขภาพในประเทศไทย 5. การจัดบริการสาธารณสุขในระดับสูง (Tertiary Care Level) เป็นการจัดบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นๆที่ต้องปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ประกอบด้วยหน่วยบริการดังนี้ 5.1 โรงพยาบาลทั่วไป 5.2 โรงพยาบาลศูนย์ 5.3 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 5.4 โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีแพทย์เฉพาะสาขาต่างๆครบถ้วน ส่วนมากเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดมากกว่า 100 เตียง นอกจากการจัดบริการทั้ง 5 ระดับนี้แล้ว ยังมีร้านขายยาและสถานบริการอื่นๆเช่น โรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม มหาดไทย ฯลฯ

  11. ระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพ หมายถึง ระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันเป็นหนึ่งเดียว ที่มุ่งไปสู่สุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย การประสานงาน การส่งต่อ การบริหารจัดการ การติดต่อสื่อสาร ทรัพยากรบุคคล ความรู้ เทคโนโลยี ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีระบบแบบแผน เป็นระบบซ้อนระบบ ( โกเมตร จึงเสถียรทรัพย์และสุมาภรณ์ แซ่ลิ้ม.2545:4) ระบบสุขภาพ หมายถึง ระบบการจัดการทั้งมวลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ รวมทั้งปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุขด้วย (Ministry of Public Health,2006)

  12. ระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพภาคประชาชน หมายถึง กระบวนการที่สมาชิกของสังคมหรือชุมชนนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ ร่วมมือกันดูแล และบริหารจัดการให้เกิดสุขภาวะที่ดีขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและทรัพยากรที่จำเป็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  13. ระบบสุขภาพ วัตถุประสงค์ของระบบสุขภาพในระยะแรก คือเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีของประชาชนในรูปแบบของการซ่อมสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันเน้นสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ องค์ประกอบ องค์ประกอบ ของระบบสุขภาพประกอบด้วย เรื่องภาวะสุขภาพ บุคคล สิ่งแวดล้อม และบริการสุขภาพ โดยมีภาวะสุขภาพเป็นศูนย์กลางและมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ คือ บุคล สิ่งแวดล้อมและบริการสุขภาพ ดูภาพประกอบ

  14. บุคคล สิ่งแวดล้อม ภาวะสุขภาพ ภาพแสดงความสัมพันธ์ ของระบบสุขภาพ บริการสุขภาพ

  15. บริการสุขภาพ เนื่องจากระบบสุขภาพเป็นระบบซ้อนระบบ การบริการสุขภาพก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งระบบบริการสุขภาพออกเป็น 5 ส่วน คือ 1. ทรัพยากรสาธารณสุข 2. การบริหารจัดการ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ 4. การเงินและการคลัง 5. การจัดบริการสุขภาพ ดูภาพแสดงความสัมพันธ์

  16. The Structure of Health Service System หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการ การจัดบริการสุขภาพ การเงินและการคลัง ทรัพยากรสาธารณสุข

  17. 1. ทรัพยากรสาธารณสุข ทรัพยากรสาธารณสุข คือบุคลหรือกำลังคน เช่นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักสุขศึกษา เจ้าหน้าที่อนามัย เป็นต้น บุคลากรเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพมาก ถ้าได้ลักษณะคุณธรรมนำปัญญาจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ดี และถ้าได้จำนวนที่มากพอต่อการให้บริการก็จะทำให้พัฒนาระบบไปได้เร็ว ทรัพยากรอีกส่วนหนึ่ง คือ สถานบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ร้านขายยา เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีสนับสนุนการรักษาและองค์ความรู้ ซึ่งระบบนี้ยังมีปัญหา คือไม่สามารถกระจายทรัพยากรไปได้ทั่วถึง แต่ก็ได้พัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีศูนย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เช่น ศูนย์หัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุ เป็นต้น และมีสถาบันวิจัยทางสุขภาพเช่น ค้นคว้าวิจัยวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก และโรคเอดส์

  18. 2. การบริหารจัดการ การบริหารจัดการ ประกอบด้วยระบบ 3 ส่วน และนโยบาย 1 ส่วน ดังนี้ 1. นโยบายและแผนสาธารณสุข ต้องมีความสอดคล้องตามแบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ปีพ.ศ. 2504-2518 เป็นระยะที่มีการตั้งคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลิตบุคลากรเพิ่ม มีนโยบายเรื่องการวางแผนครอบครัว การอนามัยแม่และเด็ก ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ สงเคราะห์ประชาชนที่มีรายได้น้อย ปีพ.ศ. 2519-2534 เป็นระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4-6 ที่มุ่งเน้นการกระจายการบริการสู่ชนบท มีการกระจายอำนาจบริหารสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีแนวคิดเรื่องสาธารณสุขมูลฐานเพื่อการบรรลุเป้าหมาย สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 ( Health for All by The Year 2000)

  19. 2. การบริหารจัดการ ปีพ.ศ. 2540-2544 เป็นระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เน้นพัฒนาคุณภาพบริการดำเนินการประกันสุขภาพให้ครบ 100 % เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีพ.ศ. 2545-2549 เป็นระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ได้วางนโยบายพัฒนาสุขภาพระดับชาติ ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

  20. มอบหมายงาน ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 10 กลุ่ม ไปค้นคว้าและทำรายงานเรื่อง ประเด็นสำคัญด้านสุขภาพอนามัย ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และฉบับที่ 11 ส่งเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ วันที่25 กันยายน 2557

  21. 2. การบริหารจัดการ 2. ระบบกฎหมาย ปีพ.ศ. 2522-2540 มี พ.ร.บหลายฉบับดังนี้ * พ.ร.บที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขมูลฐาน * พ.ร.บคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 9 ฉบับ * พ.ร.บควบคุมและป้องกันโรค 3 ฉบับ * พ.ร.บสิ่งแวดล้อม * พ.ร.บประกันสังคม * พ.ร.บคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  22. 2. ระบบกฎหมาย 2. ระบบกฎหมาย (ต่อ) กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยฉบับปี 2540 มาตรา 52 ระบุว่า“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้ มีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”

  23. 2. ระบบกฎหมาย 2. ระบบกฎหมาย (ต่อ) กฎหมายมาตราที่ 52 ในหมวดหลักการพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของรัฐระบุว่า “ รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง”จึงได้มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการบัตรทอง 30 บาทต่อคนต่อครั้ง (กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น,2544:177)

  24. 2. การบริหารจัดการ 3. ระบบติดตาม กำกับและประเมินผล ระยะแรกๆจะประเมินด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ เน้นวัดผลสำเร็จของกิจกรรม ต่อมาจึงมุ่งเน้นการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ ติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ มีการประเมินคุณภาพเพิ่มขึ้น

  25. 2. การบริหารจัดการ 4. วิวัฒนาการของระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข มีความสำคัญมากและเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการบริหารจัดการ สมัยที่ยังไม่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ยังไม่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ แต่เมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 แล้วได้ปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขขึ้น โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขขึ้นในส่วนกลางเพื่อรวบรวมข่าวสารไว้เป็นแหล่งเดียว กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร (management information system) ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัย ครอบคลุม เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ปัจจุบันมี website คือ http//www.moph.go.th และมี e-health ไว้ให้การรักษาทางไกล

  26. 2. การบริหารจัดการ กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร (management information system) ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัย ครอบคลุม เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ปัจจุบันมี website คือ http//www.moph.go.th และมี e-health ไว้ให้การรักษาทางไกล

  27. 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนและนโยบาย หน่วยงานนี้ส่งเสริมและสนับสนุนโดยตรง คือ กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ กระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงแผนงานและสวัสดิการสังคม

  28. 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนและนโยบาย ฝ่ายสนับสนุนคือ สำนักงบประมาณ สำนักงานข้าราชการพลเรือน กรมวิเทศสหการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ ส่วนงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น สำนักงานประกันสังคมและกรมประกันภัย กระทรวงพานิชย์ซึ่งเกี่ยวข้องเรื่องการประกันอุบัติเหตุและอันตราย สำหรับภาคเอกชน คือมูลนิธิและสมาคม โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน

  29. 4. การคลังสาธารณสุข แหล่งการเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายของระบบภาพสุข มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ความเป็นธรรมและคุณภาพในการบริการด้านสุขภาพ เริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น รัฐบาลเพิ่มงบประมาณทางด้านสาธารณสุขมากขึ้น ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่ใช้เป็นค่ารักษา เพราะประชาชนยังมีปัญหาสุขภาพอยู่มาก เมื่อใดที่ปัญหาสุขภาพลดลง งบประมาณน่าจะนำมาใช้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค แต่โครงการ 30 บาทก็เป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนได้ส่วนหนึ่ง

  30. 4. การคลังสาธารณสุข ภาคเอกชน ที่เป็นแหล่งการเงินในการใช้จ่ายเมื่อรับการรักษาพยาบาลคือ การทำประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชน กองทุนช่วยค่ารักษาพยาบาล มูลนิธิและโครงการบริจาคเพื่อสาธารณกุศล ภาคต่างประเทศ ได้งบประมาณสนับสนุนสุขภาพดีถ้วนหน้าจาก WHO ความช่วยเหลือบางส่วนมาจาก UNICEF และโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ

  31. 5. การจัดบริการสุขภาพ หรือ ระบบบริการสุขภาพ มีทิศทางมุ่งสู่การสร้างเสริมสุขภาพ และมีความปลอดภัย โดยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรอบแนวทางทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่การจัดบริการด้านสุขภาพของไทยยังมีปัญหาอยู่หลายประการ คือ 1. การกระจายทรัพยากรสาธารณสุขยังไม่ทั่วถึง 2. การเข้าถึงบริการสุขภาพยังไม่เท่าเทียมกัน 3.การบริการสุขภาพยังมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลมากกว่าการทำให้มีสุขภาพดี โดยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

  32. 5. การจัดบริการสุขภาพ หรือ ระบบบริการสุขภาพ 4. สถานะทางสุขภาพของคนในเมืองแตกต่างกับคนชนบท 5. คุณภาพมาตรฐานของการให้บริการยังต้องพัฒนา 6. การเข้าถึงบริการในยามฉุกเฉิน ยังไม่ค่อยมีความพร้อม 7. หลักประกันด้านสุขภาพดีขึ้นจากโครงการ 30 บาท แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาความไม่คล่องตัวในการติดต่อประสานงานประชาชนยังขาดความเข้าใจไม่ค่อยยอมรับกติกา แต่จะทำตามความต้องการ

  33. ภาพรวมของระบบการจัดบริการสุขภาพในประเทศภาพรวมของระบบการจัดบริการสุขภาพในประเทศ อัตราส่วน/ จำนวนประชากร

  34. ภาพรวมของระบบการจัดบริการสุขภาพทั้งประเทศภาพรวมของระบบการจัดบริการสุขภาพทั้งประเทศ ทั้งประเทศ (International Medical Foundationof Japan, 2003)

  35. ระบบส่งต่อ (Referal System) การแก้ปัญหาการกระจายทรัพยากรการ ให้บริการไม่ทั่วถึงอีกวิธีหนึ่งคือ ต้องมีระบบส่งต่อทั้งข้อมูลข่าวสารและส่งตัวผู้ป่วย ต้องมีความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ที่ดีในแต่ละระดับ ในการส่งไปและส่งกลับ และที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนาคุณภาพ ระบบส่งต่อเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ขณะที่ทรัพยากรไม่ทั่วถึง ซึ่งมีลักษณะส่งจากที่ต่ำกว่าไปที่สูงกว่า หรือการส่งกลับจากที่สูงกว่าคืนสู่ที่ต่ำกว่าเมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถส่งไปใยระดับเดียวกันได้ถ้าอีกแห่งมีทรัพยากรที่ดีกว่า ลักษณะระบบส่งต่อ ระบบส่งต่อเป็นลักษณะของระบบซ้อนระบบ คือ เป็นระบบของการประสานงานในระบบการให้บริการสุขภาพ เป็นระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเป็นเสมือนระบบพี่ช่วยน้อง

  36. การปฏิรูประบบสุขภาพ เหตุผลของการปฏิรูประบบสุขภาพ แม้ว่าสุขภาพคนไทยโดยรวมจะดีขึ้นมากตามลำดับ อายุเฉลี่ยยาวขึ้น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อและปัญหาสาธารณสุขเดิมๆลดลงไปมาก ระบบบริการสาธารณสุขมีพัฒนาการและการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง งบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็พบว่าเกิดปัญหาวิกฤติขึ้นในระบบสุขภาพ เนื่องจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ 1. เน้นตั้งรับเพื่อซ่อมสุขภาพเสีย 2. ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพแพงมาก แต่ได้ผลต่ำ 3. คนไทยป่วยและตายโดยไม่จำเป็น เป็นจำนวนมาก 4. ระบบบริการสุขภาพมีปัญหา 5. คนไทยจำนวนมากขาดหลักประกันสุขภาพ

  37. การปฏิรูประบบสุขภาพ ที่สำคัญคือระบบประกันสุขภาพทุกระบบที่มีอยู่ เป็นการประกันเพื่อการรักษาเมื่อยามเจ็บป่วยแล้ว ไม่มีระบบใดที่ให้ความสำคัญกับการบริการเพื่อสร้างสุขภาพ และเพื่อการป้องกันโรค ทั้งที่ใช้เงินน้อยกว่าแต่ได้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพมากกว่า

  38. ประเด็นหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพประเด็นหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพ การปฏิรูประบบสุขภาพเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิด มุมมอง การวางนโยบาย การจัดองค์กร ระบบและกระบวนการที่มีต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศ เป้าหมายและประเด็นหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพมีดังนี้ 1. ระบบสุขภาพที่มุ่งการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ เน้น Health Promotion and Disease prevention 2. การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หมายถึงสิทธิของประชาชนคนไทย ทุกคนที่จะได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างเสมอหน้าด้วยเกียรติ ศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยที่ค่าใช้จ่ายไม่เป็นอุปสรรค

  39. ประเด็นหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพประเด็นหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพ วัตถุประสงค์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2.1 ความเสมอภาค (Equiry) 2.2 ประสิทธิภาพ ( Efficiency) 2.3 ทางเลือกในการรับบริการ( Choice) 2.4 การสร้างให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า เน้นส่วนที่เป็นบริการสุขภาพส่วนบุคคล ( personal health care) 3. การกระจายอำนาจในระบบสุขภาพ 4. การพัฒนาคุณภาพของการบริการ

  40. ผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ การปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นการปฏิรูป 3 ระดับไปพร้อมๆกันคือ 1. การปฏิรูปความคิดจากการมองสุขภาพในมิติที่แคบมาสู่มิติที่กว้างขึ้นและจากการตั้งรับมาเป็นการเร่งสร้างสุขภาพดีโดยฝ่ายประชาชนทำเอง โดยการสนับสนุนของรัฐ 2. การปฏิรูประบบ โครงสร้าง กลไก กฎเกณฑ์ กติกาและเงื่อนไขต่างๆซึ่งทำให้มั่นใขว่าระบบต่างๆจจะทำให้เกิดสุขภาวะ เกิดการรักษาสุขภาพที่ดี ขณะเดียวกันก็มีระบบซ่อมสุขภาพเสียควบคู่ไปด้วย 3. การปฏิรูปพฤติกรรมและการกระทำของทุกคน รวมถึงการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการทำงานของทุกองค์กร ให้สอดคล้องกับแนวคิดเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพดีนำหน้าการรอรับเพื่อซ่อมสุขภาพเสีย ดูภาพประกอบ

  41. ความเชื่อมโยงของการปฏิรูประบบสุขภาพ 3 ระดับ ปฏิรูป ระดับความคิด ระดับระบบโครงสร้างและกลไก ระบบพฤติกรรมและการกระทำ การปฏิรูปทั้ง 3 ระดับต้องกระทำไปพร้อมๆกันเพราะ แต่ละระดับนี้มีความเชื่อมโยง และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน (อำพล จินดาวัฒนะ,2545)

  42. ผลประโยชน์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติผลประโยชน์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 1. คนไทยได้เรียนรู้ร่วมกัน เกิดการระดมพลังร่วมในการพัฒนาสุขภาพ ให้มีระบบสุขภาพที่เป็นตัวหนุน 2. สังคมไทยยึดถือสุขภาพเป็นเป้าหมายของการพัฒนา แทนที่จะมุ่งเน้นที่เรื่องเศรษฐกิจ เงินทอง ความมั่งคั่งแต่เพียงอ่ายงเดียว 3. คนไทยนิยมสร้างสุขภาพกันอย่างกว้างขวาง มีสำนึกสุขภาพ พฤติกรรม และวัฒนธรรมสุขภาพที่ดี 4. สังคมไทยมีระบบต่างๆ และปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ สามารถคุ้มครองสุขภาพประชาชนอย่างได้ผล

  43. ผลประโยชน์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติผลประโยชน์ของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 5. คนไทยมีสุขภาพดี สังคมไทยเป็นสังคมสุขภาวะ น่าอยู่อาศัย 6. การป่วยและตายโดยไม่จำเป็นของคนไทยลดลง 7. คนไทยมีหลักประกันการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า 8. สังคมไทยมีระบบซ่อมสุขภาพที่ดี มีคุณภาพ เป็นธรรมและใช้เงินคุ้มค่า เป็นที่พึ่งแก่ประชาชนเมื่อจำเป็น 9. สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้อย่างสมเหตุสมผล

  44. โครงการ30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค ให้นักศึกษาอ่านในเอกสารสำเนาที่แจกเพิ่มเติม

More Related