1 / 34

กฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

กฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน. โดย... นายมณเฑียร เจริญผล ผู้อำนวยการการกลุ่มร่างกฎหมาย. พระบรมราโชวาท. เงินแผ่นดิน คือเงินของประชาชนทั้งชาติ.

Download Presentation

กฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน โดย... นายมณเฑียร เจริญผล ผู้อำนวยการการกลุ่มร่างกฎหมาย

  2. พระบรมราโชวาท เงินแผ่นดินคือเงินของประชาชนทั้งชาติ “.....การควบคุมและตรวจสอบเงินแผ่นดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพราะเงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติผู้ทำงานนี้จึงต้องกำหนดแน่แก่ใจอยู่เป็นนิตย์ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนด้วยความอุตสาหะพยายาม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ ด้วยความละเอียดถี่ถ้วนระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพื่อมิให้เกิดความพลั้งพลาดเสียหาย และให้มั่นใจได้ว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และบังเกิดผลเป็นประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย.....”

  3. หลักกฎหมาย • การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตไว้ ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

  4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • อปท.จะจ่ายเงิน หรือก่อหนี้ผูกพันได้ ๑.ตามข้อความ ที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ๒.มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการของ มท. อนุญาตให้จ่าย และ ๓.มีเงินรายได้เพียงพอที่จะเบิกได้

  5. องค์กรการตรวจเงินแผ่นดินองค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 2.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 3.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

  6. พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๒ สตง.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน หรือทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติครม. คำสั่งหรือหนังสือสั่งการ มท.หรือไม่

  7. กิจกรรมการตรวจสอบ • ๑. ตรวจสอบด้านการเงิน • ๒. ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ • ๓. ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ • ๔. ตรวจสอบการดำเนินงาน • ๕. ตรวจสอบสืบสวน

  8. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบปัญหาที่พบจากการตรวจสอบ • การตรวจสอบด้านการเงิน - การรับ เก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่ง - เงินยืมทดรองราชการ - การบัญชี - การจ่ายเงิน

  9. แนวปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงแนวปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง ๑. มีแผนจัดแบ่งส่วนงาน ซึ่งกำหนดแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของงานด้านต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ๒. มีระบบการควบคุมทางบัญชีและการบันทึกข้อมูลที่ดี ๓. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี สำหรับแผนงานต่าง ๆ ๔. ใช้เจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความรับผิดชอบ

  10. คำพิพากษาฎีกาที่ 1090/2505 เจ้าพนักงานได้ยืมเงินทดรองราชการ เพื่อนำไปซื้อสิ่งของตามหน้าที่ แต่เอาเงินไปใช้เสีย เป็นความผิดอาญาแล้ว เพราะไม่เหมือนกับ การยืมเงินระหว่างเอกชน

  11. คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2506 รับเงินทางราชการ แต่มิได้ นำส่งลงรับเข้าบัญชี จนกระทั่ง ผู้บังคับบัญชาตรวจพบ จึงนำส่งคืน เป็นการทุจริต

  12. คำพิพากษาฎีกา การจ่ายเงินจากบัญชีโดย ไม่มีหลักฐานการจ่าย หรือมีแต่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการจ่ายจริง ถือว่าทุจริต

  13. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบปัญหาที่พบจากการตรวจสอบ • การตรวจสอบด้านการจัดเก็บรายได้ - การประเมิน และการจัดเก็บรายได้ - การนำส่งเงิน

  14. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ • การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง - ขั้นตอนและวิธีการจัดหา - การตรวจรับและการควบคุม

  15. รายงานขออนุมัติจัดหา ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย คือ • เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจัดหา • รายละเอียดของพัสดุ • ราคามาตรฐาน/ราคากลาง/ราคาที่เคยจัดหา • วงเงินที่จะจัดหา ระบุงบประมาณ • กำหนดเวลาที่ต้องการใช้งานพัสดุ • วิธีการจัดหาและเหตุที่ต้องจัดหาโดยวิธีนั้น • ข้อเสนออื่น

  16. ขั้นตอนการดำเนินการ • ตกลงราคา • สอบราคา • ประกวดราคา • วิธีพิเศษ • กรณีพิเศษ

  17. คำพิพากษาฎีกาที่ 1270/2518 ลงชื่อตรวจรับงาน ทั้งที่ยัง ไม่แล้วเสร็จ แม้ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงิน ก็เป็นความผิดสำเร็จ

  18. คำพิพากษาฎีกาที่ 2291/2517 ปล่อยให้ผู้รับจ้าง ใช้วัสดุคุณภาพต่ำ เป็นการทุจริต

  19. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ • การตรวจสอบการดำเนินงาน การประเมินผล - ประสิทธิภาพ- ประสิทธิผล - ประโยชน์ - ประหยัด - คุ้มค่า

  20. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ • การตรวจสอบสืบสวน พฤติการณ์ - บกพร่อง ผิดระเบียบ/กฎหมาย - น่าเชื่อว่าทุจริต/กระทำโดยมิชอบ

  21. การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้ 1.บกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 44) คตง.แจ้งหน่วยรับตรวจให้ชี้แจงแก้ไข • - หน่วยรับตรวจแจ้งผลต่อคณะกรรมการภายใน 60 วัน • - กรณีหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุอันควร • - คตง.แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาฯ • - กรณีกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาฯไม่ดำเนินการหรือมีข้อโต้แย้ง • - คตง.รายงานต่อ สส. สว. และครม. 14

  22. การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้ 1.บกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ม. 44 ว.2) นอกจาก คตง.แจ้งหน่วยรับตรวจให้ชี้แจงแก้ไขแล้ว • กรณีบกพร่องเนื่องจากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติ ครม.ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน คตง.มีอำนาจแจ้งต่อผู้มีอำนาจเพื่อแก้ไขปรับปรุงได้

  23. การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้การพิจารณาผลการตรวจสอบและแจ้งผลดังนี้ • 2. กรณีบกพร่องเนื่องจากไม่มีข้อกำหนด(มาตรา45) • - คตง.แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาฯ เพื่อกำหนดที่จำเป็นมาตรการให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติ • - กระทรวงเจ้าสังกัดฯ แจ้งต่อคณะกรรมการภายใน ระยะเวลาที่คตง.กำหนด

  24. การพิจารณาและแจ้งผลการตรวจสอบ (มาตรา 46) 3.พฤติการณ์น่าเชื่อว่าทุจริต/ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ • คตง.แจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีและให้นำรายงานของ สตง. มาเป็นหลักของสำนวนด้วย • คตง.แจ้งผู้รับตรวจ/กระทรวงเจ้าสังกัด/ผู้บังคับบัญชาฯ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติ ครม.แก่ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ • หน่วยรับตรวจแจ้งผลต่อคณะกรรมการทุก 90 วัน • - กรณีพนักงานสอบสวน/ผู้รับตรวจกระทรวง • เจ้าสังกัด/ผู้บังคับบัญชาฯไม่ดำเนินการ • - คตง.แจ้ง สส. สว.และครม.

  25. บทกำหนดโทษ ผู้รับตรวจ /ผู้บังคับบัญชา /ผู้ควบคุม /ผู้กำกับ ละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 44 , 45 หรือ 46 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย

  26. วินัยทางงบประมาณและการคลังวินัยทางงบประมาณและการคลัง 142

  27. คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครอง เบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วย รับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุม การเงินของรัฐ ที่คณะกรรมการกำหนด เสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด 5

  28. ให้คำวินิจฉัยลงโทษทางวินัยของ คตง.มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนที่สั่งโดยผู้บังคับบัญชาของหน่วยรับตรวจคตง.จะนำคำวินิจฉัยลงโทษทางวินัยงบประมาณและการคลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยก็ได้ เพื่อปรามผู้ละเมิดวินัย โดยทั่วไป

  29. การวินิจฉัยลงโทษทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง ไม่เป็นการตัดอำนาจของผู้บังคับบัญชา ของผู้ถูกลงโทษ ที่จะพิจารณาลงโทษทางวินัยเพราะเหตุเดียวกันนี้อีก แต่ต้องเป็นโทษสถานอื่น ซึ่งมิใช่ เป็นโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน

  30. ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง แบ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับ • 1. การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่ง • 2. การเบิกเงินและการจ่ายเงิน • 3. การบริหารงบประมาณและการก่อหนี้ผูกพัน • 4. การจัดเก็บรายได้ • 5. เงินยืม • 6. การพัสดุ • 7. ความผิดอื่น

  31. บทกำหนดโทษ อัตราโทษปรับทางปกครองมี 4 ชั้น โทษชั้นที่ 1 โทษปรับไม่เกินเงินเดือน 1 เดือน โทษชั้นที่ 2 โทษปรับเท่ากับเงินเดือน 2 – 4 เดือน โทษชั้นที่ 3 โทษปรับเท่ากับเงินเดือน 5 – 8 เดือน โทษชั้นที่ 4 โทษปรับเท่ากับเงินเดือน 9 – 12 เดือน

  32. อายุความ • ขาดอายุความ ถ้ามิได้ดำเนินกระบวน • พิจารณาความผิด ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำผิด

More Related