1 / 25

ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508. กฎหมายฉบับนี้ยังอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508. ก่อนปี 2508 ประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้กรมสรรพากรเป็บผู้ควบคุมการจัดเก็บ แต่ให้

chayton
Download Presentation

ภาษีบำรุงท้องที่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีบำรุงท้องที่ พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 กฎหมายฉบับนี้ยังอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง

  2. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ก่อนปี 2508 ประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้กรมสรรพากรเป็บผู้ควบคุมการจัดเก็บ แต่ให้ กันเงินภาษีไว้ต่างหากเพื่อใช้จ่ายในการบำรุงท้องที่ในเขตท้องถิ่นนั้นๆ ในปี 2508 จึงมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เสียเอง (ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 82 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2508

  3. ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ มาตรา 6 , 8 , 22 1. ที่ดินของบุคคลหรือคณะบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิของเอกชนได้แก่ พื้นที่ดินภูเขาหรือน้ำด้วย 2. ไม่เป็นที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน

  4. การแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินการแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมิน และเจ้าพนักงานสำรวจ (มาตรา 9) 1. เขตเทศบาลให้นายกเทศมนตรี 2. นอกเขตเทศบาลให้นายอำเภอท้องที่ (พ.ร.บ. อบต. มาตรา 74 วรรคท้าย ให้ นายก อบต. มีอำนาจเช่นนายกเทศมนตรี)

  5. ที่ดินยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 8) 1) ที่ตั้งพระราชวังอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 2) สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์ 3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์ 4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะการศึกษาหรือการกุศลสาธารณะ 5) ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใด ศาสนาหนึ่งหรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์ 6) สุสานหรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

  6. 7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟการประปาการไฟฟ้าหรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ 8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว 9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้ เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ใน ที่ดินเฉพาะส่วนนั้น 10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติทบวงการชำนัญพิเศษ ของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่นในเมื่อประเทศไทยมี ข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง 11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูตหรือสถานกงศุลทั้งนี้ให้เป็นไปตาม หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน 12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  7. ผู้ภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 7 มาตรา 24) 1เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใดมีหน้าที่เสีย ภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้น2. ยื่นแบบเป็นรายแปลงตามแบบที่กำหนด 1. อัตราภาษีบำรุงท้องที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติแบ่งเป็น 34 อัตรา 2. ภาษีบำรุงท้องที่คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางที่ดินที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีคูณกับอัตราภาษี อัตราภาษีและการคำนวณภาษี

  8. การตีราคาปานกลางที่ดินการตีราคาปานกลางที่ดิน 1. ให้นำราคาที่ดินซึ่งซื้อขายกันโดยสุจริตครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 3 ราย ใน 1 ปีก่อนวันตีราคาคำนวณถั่วเฉลี่ย โดยไม่นำโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกเข้าด้วย2. ให้ตีราคาเป็นหน่วยตำบล แต่ถ้าแตกต่างกันมากให้แยกเป็นหน่วยๆ โดยเที่ยงธรรม3. ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการ ประกอบด้วย ปลัดจังหวัด นายอำเภอ เจ้าพนักงานที่ดิน ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาท้องถิ่น4. ให้ตีราคาปานกลางที่ดิรทุกรอบระยะเวลา 4 ปี

  9. เปลี่ยนแปลงราคาปานกลางที่ดินเปลี่ยนแปลงราคาปานกลางที่ดิน ตามพระราชกำหนดเปลี่ยนแปลงราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้สำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี 2525 ถึง 2528 พ.ศ. 2525 1. การตีราคาปานกลางตามที่กฎหมายกำหนดไม่เหมาะสมทำให้ประชาชนต้องรับภาระภาษีเพิ่มขึ้น 2 . ภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นยังไม่ดีขึ้น จึงกำหนดให้ใช้ราคาปานกลางที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางไว้ระหว่างปี 2525 ถึง 2528 และในปีต่อๆไป จนกว่าจะมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการตีราคาปานกลาง ภายหลังต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีการองรับมาจนถึงปัจจุบัน

  10. บัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่บัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ชั้นราคาปานกลางของที่ดิน ภาษีไร่ละ • เกินไร่ละ 8,000 บาทถึงไร่ละ 8,500 บาท 42.50 บาท • เกินไร่ละ 8,500 บาทถึงไร่ละ 9,000 บาท 45 บาท • เกินไร่ละ 9,000 บาทถึงไร่ละ 9,500 บาท 47.50 บาท 29 เกินไร่ละ 9,500 บาทถึงไร่ละ 10,000 บาท 50.50 บาท 30 เกินไร่ละ 10,000 บาทถึงไร่ละ 15,000 บาท 55 บาท 31 เกินไร่ละ 15,000 บาทถึงไร่ละ 20,000 บาท 60 บาท • เกินไร่ละ 20,000 บาทถึงไร่ละ 25,000 บาท 65 บาท • 34 เกินไร่ละ 30,000 บาทให้เสียภาษีไร่ละดังต่อไปนี้ (1) 30,000 บาทแรก ให้เสียภาษี 70 บาท (2) ส่วนที่เกิน 30,000 บาทให้เสียทุกๆ 10,000 บาทต่อ 25 บาท เศษถึง 5,000 บาทให้ถือเป็น 10,000 บาทไม่ถึงให้ปัดทิ้ง

  11. หมายเหตุท้ายบัญชีอัตราภาษีหมายเหตุท้ายบัญชีอัตราภาษี 1. ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ 1) เศษของไร่ให้คิดในอัตราลดลงตามส่วน 2) เศษของ 1 ตารางวาให้ปัดทิ้ง 2. เมื่อคำนวณภาษีแล้ว เศษของ 10 สตางค์ ให้ปัดทิ้ง

  12. หลักฐานที่ใช้ประกอบในการเสียภาษีหลักฐานที่ใช้ประกอบในการเสียภาษี ปีแรกของการเสียภาษีควรแนะนำผู้เสียภาษีนำหลักฐานเท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเช่น 1. บัตรประจำตัวประชาชน (จดเลข 13 หลักไว้) 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท 4. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดินเช่นโฉนดที่ดินน.ส.3 5. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) 6. หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน ปีต่อไปให้นำภ.บ.ท. 5 ท่อนที่มอบให้เจ้าของที่ดินหรือ ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายมาด้วย

  13. การผ่อนชำระภาษี มาตรา 36 ทวิ (พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2529 1. ชำระภายในกำหนดเวลา 2. จำนวนตั้ง 3,000 บาทขึ้นไป 3. ขอผ่อนชำระเป็น 3 งวดๆ ละเท่าๆ กัน 4. แจ้งเป็นหนังสือก่อนการชำระงวดที่ 1 - งวดที่หนึ่งตามเวลาที่กฎหมายกำหนด - งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ชำระงวดที่หนึ่ง - งวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ชำระงวดที่สอง - หากไม่ชำระตามที่กำหนดถือว่าหมดสิทธิที่ชำระเป็นงวด

  14. การยื่นแบบฯกรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบฯกรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลง 1) เจ้าของที่ดินเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินหรือเป็นผู้ได้รับโอน ที่ดินขึ้นใหม่ต้องมายื่นแบบฯหรือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับโอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบภ.บ.ท. 5 หรือภ.บ.ท. 8 แล้วแต่กรณี 2) เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแล้วจะออกใบรับไว้ให้เป็นหลักฐาน 3) เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้อง เสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด

  15. เงินเพิ่ม 1. ไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีเว้นแต่ได้ยื่นแบบฯก่อนที่จพง.ประเมินจะแจ้งเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของภาษี 2. ยื่นแบบฯไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีลดน้อยลงให้เสีย เงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่ได้มาขอแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อนจพง.ประเมินแจ้ง 3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อจพง.สำรวจทำให้ เสียภาษีลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม เศษของเดือนให้คิดเป็นเดือน

  16. การคิดเงินเพิ่ม เดือน/ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม ปีแรก - - - - 2 2 2 2 2 2 2 2 16 ปีที่สอง 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 - - - - 2 2 2 2 2 2 2 2 16 ปีที่สาม 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 - - - - 2 2 2 2 2 2 2 2 16 ปีที่สี่ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 24 - - - - 2 2 2 2 2 2 2 2 16 ครบรอบ 4 ปี ปีแรก - - - - 2 2 2 2 2 2 2 2 16

  17. การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่(มาตรา 22) กรณีเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันหรือหลายแปลงที่อยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันและใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตนหรือประกอบกสิกรรมของตนให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบังคับดังนี้ (1) นอกเขตเทศบาลลดหย่อนไม่เกิน 5 ไร่แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ (2) ในเขตเทศบาลตำบลลดหย่อนไม่เกิน 1 ไร่แต่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางวา (3) ในเขตเมืองพัทยาและเขตเทศบาลอื่นนอกจาก (2) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100 ตารางวาแต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา (4) ในเขตกรุงเทพมหานครให้ลดหย่อนได้ดังนี้ ก. ชุมชนหนาแน่นมากไม่เกิน 100 ตารางวาแต่ไม่น้อยกว่า 50 ตารางวา ข. ชุมชนหนาแน่นปานกลางไม่เกิน 1 ไร่แต่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา ค. ในท้องที่ชนบทลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่แต่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่

  18. ต่อ ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น การลดหย่อนตามเกณฑ์ในมาตรานี้ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับ ที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว

  19. การลดหย่อน ตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ 1. ที่ดินใช้ประกอบการกสิกรรมเฉพาะประเภท ไม้ล้มลุก ให้เสียกึ่งอัตรา 2. ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภท ไม้ล้มลุกเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท แต่ถ้าที่ดินทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดินให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า

  20. การยกเว้นหรือลดภาษี มาตรา 23 ถ้าปีที่ล่วงมาแล้ว การเพราะปลูกในบริเวณนั้น 1. เสียหายมากผิดปกติ 2. ทำการเพาะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุอันพันวิสัยที่จะ ป้องกันได้โดยทั่วไป 3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณายกเว้น หรือลดภาษีได้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย

  21. การอุทธรณ์ เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าการประเมินไม่ ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ผ่าน จพง.ประเมินภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศราคาปานกลาง ของที่ดินหรือวันที่ได้รับแจ้งการประเมินการอุทธรณ์ไม่เป็น การทุเลาการเสียภาษีบำรุงท้องที่เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ของศาล ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

  22. การขอคืนภาษีบำรุงท้องที่การขอคืนภาษีบำรุงท้องที่ ผู้ที่เสียภาษีบำรุงท้องที่โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสียผู้นั้นมีสิทธิขอรับ เงินคืนภายใน 1 ปีได้ โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีบำรุงท้องที่

  23. การบังคับภาษีค้างชำระ มาตรา 41 ทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษี อาจถูกยึด อายัด หรือขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษี โดย ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด หรือขายทอดตลาดได้ โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าราชการจังหวัด วิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

  24. บทกำหนดโทษ 1. ผู้ใดแจ้งข้อความหรือถ้อยคำอันเป็นเท็จฯนำพยาน- หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปีหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ผู้ใดจงใจไม่มา/ยอมชี้เขต/ไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ ปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  25. 3. ผู้ใดขัดขวางจพง. สำรวจที่ดิน/เร่งรัดภาษีค้างชำระ/การปฏิบัติตามหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1 เดือน/ปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งจพง.สั่งให้มาให้ถ้อยคำ/ส่งบัญชี/เอกสารมาตรวจสอบ/สั่งให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีค้างชำระ/ไม่มาให้ถ้อยคำ/ไม่ส่งเอกสารอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหนังสือเรียกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับไม่เกิน 1,000 บาท/ทั้งจำทั้งปรับ

More Related