1 / 57

รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประ ติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี. รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน.

Download Presentation

รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน • The United Nations HumanRightsCouncil (UNHRC) มีอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลักอยู่ทั้งหมด 9 ฉบับ • ตัวแทนของประเทศไทย คือคุณสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้วขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำสหประชาชาติ เคยได้รับเลือกให้เป็นประธานของคณะมนตรีของสหประชาชาติชุดนี้ ในรอบที่ 5 (2010-2011)

  3. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)

  4. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน 3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women: CEDAW) 4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC)

  5. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน 5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination: CERD) 6. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities

  6. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน 7. อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT)

  7. อนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนอนุสัญญาของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน • 8. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) (ลงนาม 9 มกราคม 2555) • 9. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของคนงานอพยพและสมาชิกครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families) ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี

  8. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี มีรัฐภาคีทั้งหมด 153 รัฐ ชาติสมาชิกที่สำคัญ อาทิเช่น ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี,สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, และออสเตรเลีย เป็นต้น ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นสมาชิก “ได้แก่” อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ลาว, ฟิลิปปินส์, ติมอร์ เลสเต้ และประเทศไทย

  9. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2550 ได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เพื่อเป็นการ “สร้างภาพลักษณ์ของไทยในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดยิ่งขึ้น” โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย แต่ให้ใช้การแถลงตีความ และจัดทำข้อสงวนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ต่อมาประเทศไทยมอบภาคยานุวัติสาร (instrument of accession) ต่อเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และอนุสัญญาฯ มีผลผูกพันประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 (ตามข้อบทที่ 27)

  10. Reservation and Declaration • สาระสำคัญของคำแถลงตีความ • 1. ประเทศไทยแถลงเข้าใจว่า1.1 ความหมายของคำว่า “ทรมาน” ตามข้อบทที่ 1 1.2 การกำหนดฐานความผิดตามข้อบทที่ 4 1.3 เขตอำนาจศาลตามข้อบทที่ 5 สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาของไทยในปัจจุบัน • 2. ประเทศไทยจะพิจารณาปรับปรุงให้กฎหมายภายในของไทยสอดคล้องกับข้อบททั้ง 3 ในโอกาสแรก • ข้อสงวน • ประเทศไทยไม่ผูกพันตามข้อบทที่ 30 วรรค 1

  11. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จึงมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการทรมาน รวมทั้งการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี การกระทำที่เป็นการทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของประเทศไทย รวมทั้งก่อให้เกิดความรับผิดทางแพ่ง และทางวินัย การทรมานถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ และถือเป็นความผิดที่สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้

  12. CAT in Overview • ข้อบทที่ 1 : ความหมายของ “ทรมาน” • ข้อบทที่ 2 • วรรคแรก: รัฐต้องใช้มาตรการป้องกันการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ • วรรคสอง: รัฐไม่อาจอ้างเหตุใดเป็นข้ออ้างการทรมานได้ • วรรคสาม: คำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ถือเป็นข้ออ้างในการทำทรมาน • ข้อบทที่ 3 : หลักการ Non-refoulment • ข้อบทที่ 4 : การบัญญัติให้การทรมาน (พยายาม และผู้ร่วมในการกระทำความผิด) เป็นความผิด และมีระวางโทษที่เหมาะสม

  13. CAT in Overview • ข้อบทที่ 5: เขตอำนาจศาล • ข้อบทที่ 6: หน้าที่ของรัฐในการควบคุมตัวผู้กระทำทรมาน • ข้อบทที่ 7: หน้าที่ของรัฐในการสอบสวนผู้กระทำทรมาน • ข้อบทที่ 8: การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน • ข้อบทที่ 9: ความร่วมมือระหว่างรัฐในคดีทรมาน • ข้อบทที่ 10: การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ • ข้อบทที่ 11: หน้าที่ของรัฐในการทบทวนกระบวนการคุมขัง

  14. CAT in Overview • ข้อบทที่ 12: การสอบสวนโดยพลัน • ข้อบทที่ 13: สิทธิของผู้เสียหาย • ข้อบทที่ 14: การเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นธรรม และเพียงพอ • ข้อบทที่ 15: ข้อห้ามในการรับฟังพยานหลักฐาน • ข้อบทที่ 16: การป้องกันการกระทำอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือการประติบัติหรือการลงโทษที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

  15. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ 1. ความหมายของการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นฯ 2. ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้อง 3. ข้อห้ามและพันธกรณีอื่นๆ

  16. ความหมายของการ “ทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ • การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดใด บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”

  17. องค์ประกอบของการทรมานองค์ประกอบของการทรมาน การกระทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส กระทำโดยเจตนา โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

  18. 1. “อย่างสาหัส”

  19. 2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 1) เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม เช่น การซ้อมเพื่อให้รับสารภาพ ซัดทอด หรือข้อมูลอันอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการขยายผลการสอบสวน เป็นต้น 2) เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษบุคคลหรือบุคคลที่สามสำหรับการกระทำหรือการถูกสงสัยว่าได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การลงโทษผู้ต้องขังด้วยการเฆี่ยนตี ขังห้องมืด เนื่องด้วยการทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง

  20. 2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 3) เพื่อความมุ่งประสงค์ข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม 4) เนื่องมาจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม หรือบนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ เช่นการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ นอกจากมูลเหตุชักจูงใจที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ประการไว้หากเป็นการกระทำโดยมูลเหตุชักจูงใจอื่นๆในลักษณะเดียวกันก็อาจเป็นการทรมานได้

  21. เงื่อนไขในข้อสองนี้มีเพื่อจำกัดขอบเขตของการทรมานให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เพื่อไม่ให้การกระทำของหน่วยงานรัฐที่เป็นการสร้างอันตราย หรือความเจ็บปวดแก่ประชาชนมีผลเป็นการทรมานทั้งหมด ดังนั้นกรณีที่เรือนจำต่างๆมีสภาพต่ำกว่ามาตรฐานสากลอาจไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน หากรัฐไม่ได้กระทำไปเพื่อต้องการลงโทษผู้ต้องหาให้อยู่ในสภาพดังกล่าวแต่เป็นไปเพราะข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ หรือบุคลากร

  22. 3. ผู้กระทำความผิด • การทรมานต้องเป็น • 1 กระทำโดย หรือ • 1.1 ภายใต้การยุยง • 1.2 ยินยอม หรือ • 1.3 รู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

  23. ตัวอย่างของการทรมาน • การบังคับให้ผู้ต้องขังเปลือยกาย, กระทำการ หรือแสดงลักษณะในทางเพศ

  24. ตัวอย่างของการทรมาน

  25. ตัวอย่างของการทรมาน • การตัดอวัยวะสำคัญ ถอนฟัน ดึงเล็บ

  26. ตัวอย่างของการทรมาน • การใช้ไฟฟ้า หรือบุหรี่จี้ที่อวัยวะเพศ หรืออวัยวะอื่นๆ

  27. ตัวอย่างของการทรมาน • การจับผู้ต้องขังมัดไว้กับกระดาน คลุมหน้าผู้ต้องขังไว้ด้วยผ้า และเทน้ำลงไปเพื่อให้ผู้ต้องขังสำลัก (Waterboarding)

  28. ตัวอย่างของการทรมาน

  29. การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CID) เป็นข้อห้ามเช่นเดียวกับการทรมาน เพียงแต่ระดับของการกระทำมีความรุนแรงน้อยกว่าการทรมาน อนุสัญญาฯไม่ได้นิยามศัพท์ CID ไว้ และในการตีความตามกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังไม่มีคำจำกัดความโดยเฉพาะ แต่ตามกฎหมายไทยนั้นไม่ได้มีการแยกระหว่างการกระทำทั้งสองประเภท ระวางโทษจึงไม่มีความแตกต่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานความผิด

  30. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 1) คณะกรรมการต่อต้านการทรมานเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยูโกสลาเวียนิ่งเฉย และไม่กระทำการใดที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่ชาว Romani ถูกชาวมอนเตรเนโกร กว่า 200 เนื่องจากโกรธแค้นที่ชายชาว Romani คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงชาวมอนเตรเนโกร เป็นการกระทำที่เป็นการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

  31. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 2) ผู้พิพากษาระดับสูงประจำศาลอุทธรณ์กลางแห่งสหรัฐอเมริกา ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอัยการสูงสุด ได้ทำบันทึกข้อความในนามของคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งความเห็นไปยังนาย Alberto Gonzales ที่ปรึกษาประธานาธิบดี George W. Bush ว่าการกระทำที่จะถึงขั้นเป็นการทรมานนั้นต้องเป็นการทำอันตรายทางกายภายถึงขั้นที่อาจทำให้ตาย หรือทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลว หรือกระทำต่อจิตใจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทอย่างยาวนาน ซึ่งต่อมารัฐบาลของประธานาธิบดี Barack Obama ได้ยกเลิกความเห็นดังกล่าว

  32. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID • 3) ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการใช้เทคนิคการสอบสวนห้าประการอันประกอบด้วย • Wall-Standing– การบังคับให้ผู้ต้องหายืนข้างกำแพงแยกมือขึ้นเหนือศีรษะ กางขาออก และยืนด้วยนิ้วเท้าเป็นระยะเวลานาน • Hooding- การให้ผู้ต้องหาแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากไว้บนศีรษะตลอดเวลา • SubjectiontoNoise- การให้ผู้ต้องหาอยู่ในห้องที่มีเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน • Deprivation of Sleep- การบังคับให้อดนอน • Deprivation of Food and Drink- การบังคับให้อดน้ำและอาหาร

  33. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID เป็นเพียงการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม แต่ไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน โดยอธิบายว่า “ทรมาน” นั้นต้องเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอันเป็นการสร้างตราบาปโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง และโหดร้ายอย่างมาก ดังนั้นแม้เทคนิคการสอบสวนทั้งห้าประการนั้นจะกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ, ชื่อ หรือข้อมูลใดๆ และถึงแม้จะกระทำอย่างเป็นระบบแต่การกระทำดังกล่าวหาได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ถึงระดับความรุนแรง และโหดร้ายที่จะเป็นการทรมานแต่อย่างใด

  34. การยกเว้นความรับผิด ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 1. การลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการทรมาน ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.2 ห้ามยกอ้างพฤติการณ์พิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศมาเป็นเหตุแห่งการทรมาน ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.3 คำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือทางการไม่สามารถยกขึ้นอ้างได้

  35. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทยความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย • ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 4. กำหนดให้รัฐภาคีต้องรับประกันว่าการทำทรมานทั้งปวงเป็นความผิดอาญา และกำหนดระวางโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำเหล่านั้น • ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย “เฉพาะ” เอาผิดกับการทรมาน แต่กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกำลังดำเนินการอยู่ • ประเทศศรีลังกากำหนดระวางโทษสำหรับการทำทรมานไว้ที่จำคุก 7-10 ปี ซึ่ง คณะกรรมการต่อต้านการทรมานฯให้ความเห็นว่าเป็นโทษที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์กำหนดระวางโทษลดหลั่นตามความรุนแรงของการกระทำและผล โดยระวางโทษไว้สูงสุดที่โทษจำคุก 40 ปี

  36. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทยความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย • ปัจจุบันประเทศไทยแถลงตีความ-Declaration ว่าประเทศไทยเข้าใจอนุสัญญาฯข้อ 4 ตามที่กฎหมายอาญาบังคับใช้ • แม้ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดความรับผิดเอาไว้โดยเฉพาะ เราสามารถนำกฎหมายที่มีอยู่บังคับใช้ได้ดังนี้ • กลุ่มเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย • กลุ่มเกี่ยวกับเสรีภาพ และการก่อภยันตราย • กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศ • กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน

  37. กลุ่มเกี่ยวกับชีวิตร่างกายกลุ่มเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย 1. ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยทรมาน หรือกระทำทารุณโหดร้าย หรือไตร่ตรองไว้ก่อน (มาตรา 289 ประหารชีวิต) 2. ความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนา (มาตรา 290 จำคุก 3-15 ปี) 3. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายอันตรายสาหัสโดยมีเหตุตามมาตรา 289 (มาตรา 298 จำคุก 2-10 ปี) 4. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยมีเหตุตามมาตรา 289 (มาตรา 296 จำคุกไม่เกิน 3 ปี) 5. ความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตราย (มาตรา 391 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท)

  38. กลุ่มเกี่ยวกับเสรีภาพ และการก่อภยันตราย • 1. ความผิดฐานปลอมปนอาหารให้คนเสพหรือใช้เป็นเหตุให้บุคคลอื่นตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส (มาตรา 238 จำคุก 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000- 40,000 บาท และ1-10 ปี ปรับ 2,000-20,000 บาท ตามลำดับ) • 2. ความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว ให้กระทำการใด (มาตรา 310 ทวิ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท) • 3. ความผิดฐานปลอมปนอาหารให้คนเสพหรือใช้ (มาตรา 236 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท) • 4. ความผิดฐานกระทำต่อเสรีภาพ (มาตรา 309 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท) • 5. ความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว (มาตรา 310 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท) • 6. ความผิดฐานทำให้กลัว หรือตกใจโดยการขู่เข็ญ (มาตรา 392 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท)

  39. กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศกลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศ • 1. ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา (มาตรา 276, 277, 277 ทวิ, 277 ตรี) • 1.1 ความผิดพื้นฐาน (จำคุก 4-20 ปี ปรับ 8,000-40,000 บาท) • 1.2 กระทำกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี (จำคุก 7-20 ปี ปรับ 14,000-40,000 บาท) • 1.3 กระทำโดยมี หรือใช้อาวุธปืน/วัตถุระเบิด, โทรมหญิง/ชาย จำคุกตลอดชีวิต จำคุก15-20 ปี ปรับ 30,000-40,000 บาท) • 1.4 กระทำตาม 1.3 ต่อคนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี (จำคุกตลอดชีวิต) • 1.5 กระทำตาม 1.1 หรือ 1.2 เป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส (จำคุกตลอดชีวิต จำคุก15-20 ปี ปรับ 30,000-40,000 บาท) • 1.6 กระทำตาม 1.1 หรือ 1.2 เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย (ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต) • 1.7 กระทำตาม 1.3 เป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส (ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต) • 1.8 กระทำตาม 1.3 เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย (ประหารชีวิต)

  40. กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศกลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศ • 2. ความผิดฐานกระทำอนาจาร (มาตรา 278, 279, 280) 2.1 ความผิดพื้นฐาน (จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเกิน 20,000 บาท) 2.2 กระทำโดยบังคับต่อเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี (จำคุกไม่เกิน 15 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท) 2.3 เป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส (จำคุก 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-40,000 บาท) 2.4 เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย (ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต)

  41. กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานกลุ่มความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด (มาตรา 157 จำคุก 1-10 ปี ปรับ 2,000-20,000 บาท) จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานตำรวจหาได้มีอำนาจที่จะชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาไม่ การที่ผู้ต้องหาได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว ซึ่งเกิดจากการที่ถูกจำเลยที่ 1 ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2544)

  42. กลุ่มความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานกลุ่มความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 295 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531)

More Related