1 / 20

หลักสูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

หลักสูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533).

Download Presentation

หลักสูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)

  2. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้มีจุดเน้นที่จะพัฒนา ตามแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการระยะที่ 6 (2530-2534) มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม ตามความเหมาะสมแก่วัยโดยมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาตน การพัฒนาอาชีพและการพัฒนาสังคม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

  3. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะครูผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ครูรู้ว่า การสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้นเกิดจากการะบวนการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามความสนใจ ตลอดจนฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กระบวนการต่างๆด้วย ทักษะนี้ถือเป็นหัวใจของหลักสูตรฉบับนี้คือ ทักษะกระบวนการ 9 ประการ ดังต่อไปนี้

  4. ทักษะกระบวนการ 9ประการที่เอื้อต่อการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

  5. ประการที่ 3สร้างทางเลือกหลากหลาย • ครูต้องให้เด็กสามารถบอกถึงทางเลือกหลายๆทางที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย จุดประสงค์ได้

  6. การสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการ 9 ประการนี้ ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าได้ดำเนินการตามลำดับหรือไม่ครบทุกประการหรือไม่เพราะการสอนแต่ละครั้งมีจุดเน้นต่างกัน การสอนครั้งหนึ่งอาจเริ่มจากประการที่ 1 แล้วไปเริ่มเน้นประการที่ 4,5,6เป็นต้น ครูอาจเน้นทักษะบางประการมาก และบางประการน้อยกว่าอย่างไรก็ตามทักษะกระบวนการทั้ง 9 ประการนี้ เป็นสิ่งที่หวังจะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีนิสัยที่จะใช้กระบวนการเหล่านี้ ในการคิดค้นคว้าหาความรู้ต่อไป

  7. สาระสำคัญของหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กรมวิชาการ (2532:1-8) ได้สรุปสาระสำคัญของหลักสูตรไว้ดังนี้ หลักการหลักสูตรประถมศึกษามีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1.เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปวงชน 2.เป็นการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ ที่ได้จากการเรียน ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 3.เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างเอกภาพของชาติ โดยมีเป้าหมายหลักร่วมกัน แต่ให้ ท้องถิ่นมีโอกาสจัดหลักสูตรบางส่วนให้เหมาะสมกับสภาพและความ ต้องการได้

  8. จุดหมาย การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้พร้อมที่จะทำประโยชน์กับสังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดีตามระบบการปกครองของระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำงานเป็น และครองชีวิตอย่างสงบสุข

  9. การจัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้ จะต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณภาพดังต่อไปนี้ 1.มีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ คงสภาพอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ 2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการ เปลี่ยนแปลงสังคม 3. สามารถปฏิบัติในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและครอบครัว 4. สามรถวิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง และครอบครัวได้อย่างมีเหตุผล ด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  10. 5. มีความภูมิใจในความเป็นคนไทย มีนิสัยไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ได้ อย่างมีความสุข 6. มีนิสัยรักการอ่านและใฝ่รู้อยู่เสมอ 7. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน มีนิสัยรักการทำงาน และสามารถ ร่วมกับผู้อื่นได้ 8. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพและเปลี่ยนแปลงของสังคมในบ้านและ ชุมชนสามารถปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้าน และชุมชน ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรมในชุมชนรอบๆบ้าน

  11. โครงสร้าง • มวลประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มี 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ประกอบด้วย ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ กลุ่มที่ 2 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตว่าด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาของชีวิตและสังคมโดยเน้นทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อความดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตที่ดี กลุ่มที่ 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยว่าด้วยกิจกรรมที่สร้างเสริมนิสัย ค่านิยม เจตคติ และพฤติกรรม เพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกที่ดี กลุ่มที่ 4กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพว่าด้วยประสบการณ์ทั่วไปในการทำงานและความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ

  12. กลุ่มที่ 5 กลุ่มประสบการณ์พิเศษว่าด้วยตามกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนสำหรับกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ในชั้น ป.5-6 โรงเรียนอาจเลือกจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในกลุ่มประสบการณ์ทั้ง 4 หรือเลือกจัดกิจกรรมอื่นๆ ตามความสนใจของผู้เรียน เช่น ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อาจเลือกจัดหลายๆกิจกรรมก็ได้ เวลาเรียนตลอดหลักสูตรประถมศึกษา ใช้เวลาเรียนประมาน 6 ปี แต่ละปีการศึกษาควรมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ ในหนึ่งสัปดาห์ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 25 ชั่วโมง หรือ 75 คาบซึ่งกำหนดให้คาบละ 20 นาที ทั้งนี้ถ้ารวมแล้วไม่ต่ำกว่า 200 วัน และไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง และสำหรับ ป.5-6 นั้น ให้เพิ่มเวลาในการจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนในกลุ่มประสบการณ์พิเศษไม่ต่ำกว่า 200ชั่วโมง

  13. แนวดำเนินการ เพื่อให้การจัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้ ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายข้างต้นจึงกำหนดแนวดำเนินการไว้ ดังนี้ • จัดการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่น ตามเหตุการณ์และสภาพท้องถิ่นโดยให้ท้องถิ่นพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นตามความเหมาะสม • จัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้สอดคล้องกับความสนใจ และสภาพชีวิตจริงของผู้เรียน และให้โอกาสเท่าเทียมกันในการพัฒนาเองตามความสามารถ • 3 จัดการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงหรือบูรณาการ ทั้ง ภายในกลุ่มประสบการณ์และระหว่างกลุ่มประสบการณ์ให้มากที่สุด

  14. 4.จัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดอย่างมี เหตุผล และสร้างสรรค์ และกระบวนการกลุ่ม • 5.จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงให้มากที่สุดและเน้นให้ เกิดความคิดรวบยอดในกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ • 6. จัดให้มีการศึกษา ติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง • 7. ให้สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ในการ จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอ • 8. ในการเสริมสร้างค่านิยมที่ระบุไว้ในจดหมาย ต้องปลูกฝังค่านิยมที่เป็น พื้นฐาน เช่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีวินัย ฯลฯ ควบคู่ไปด้วย • 9. จัดสภาพแวดล้อม และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการ ปฏิบัติจริงของผู้เรียน

  15. การวัดผล การประเมินผล และการติดตามผล • การวัดผลและประเมินผล ตลอดจนการติดตามผลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และการจัดให้ผู้เรียนได้เรียน หรือเลื่อนชั้นระหว่างปีหรือปลายปี ตามความสามารถของผู้เรียนให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรเรียนและครูผู้สอนทดสอบเป็นระยะหรือทดสอบเมื่อจบแต่ละบทเรียนตามลักษณะการจัดประสบการณ์และเนื้อหาวิชาทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน • สำหรับกลุ่มประสบการณ์พิเศษ จะไม่นำมาเป็นเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนแต่เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูความก้าวหน้าจากการทำกิจกรรม

  16. จุดเน้นของหลักสูตรตามกลุ่มประสบการณ์จุดเน้นของหลักสูตรตามกลุ่มประสบการณ์ การนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุบคลหลายฝ่ายที่สำคัญ คือ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ให้ชัดเจนตรงกันก่อน โดยเฉพาะสาระสำคัญของหลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

  17. ได้ปรับปรุงหลักการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับจุดหมายได้ปรับปรุงให้ลดน้อยลง โดยเน้นคุณลักษณะที่สำคัญ ที่ต้องการปลูกฝั่งให้เกิดกับผู้เรียนในส่วนของโครงสร้างยังคงเหมือนเดิม แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถและความสนใจของตนเองมากขึ้น เพื่อให้ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจในรายละเอียดของหลักสูตรชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถนำหลักสูตร ไปใช้ได้บรรลุตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

  18. จัดทำโดย นางสาววิไลพร แซ่กือ551121810 นางสาววิภาวัลย์ เขียวพุ่มพวง551121820 นางสาวพิมพ์ชนก เห็นพร้อม 551121821 นางสาวสาริกา ไพรจาตุรงค์ 551121835 นางสาวกนิษฐา นิลาพันธ์ 551121840 โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

  19. จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ

More Related