1 / 12

ASEAN อาเซียน

ASEAN อาเซียน. จัดทำโดย เด็กหญิง วรรณภา เสือสง่า กลุ่ม 13 เลขที่ 30. 10 ประเทศอาเซียน. 1.ไทย. 6.สิงคโปร์. 2. บรูไน. 7. ฟิลิปปินส์. 3. ลาว. 8.อินโดนีเซีย. 4. กัมพูชา. 9.พม่า. 5. มาเลเซีย. 10.เวียดนาม. ประเทศไทย.

Download Presentation

ASEAN อาเซียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ASEANอาเซียน จัดทำโดย เด็กหญิง วรรณภา เสือสง่า กลุ่ม 13 เลขที่ 30

  2. 10 ประเทศอาเซียน 1.ไทย 6.สิงคโปร์ 2. บรูไน 7. ฟิลิปปินส์ 3. ลาว 8.อินโดนีเซีย 4. กัมพูชา 9.พม่า 5. มาเลเซีย 10.เวียดนาม

  3. ประเทศไทย ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา(สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

  4. ประเทศบรูไน ประเทศบรูไนเริ่มมีธงชาติของตนเองใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายนพ.ศ. 2502 ซึ่งขณะนั้นบรูไนยังเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ต่อมาภายหลังจึงได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 ภายใต้ชื่อประเทศ "บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน

  5. ประเทศลาว "ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีคราม, แถบแดง, และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม."[1]ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว[2]

  6. ประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชาได้มีธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ธงนี้เรียกชื่อว่า "ธงมหาราช" เช่นเดียวกับในภาษาไทย ในสมัยราชอาณาจักรกัมพูชายุค พ.ศ. 2491 -2512 ธงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นนอกสีแดง พื้นในสีน้ำเงิน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชาอย่างย่อ ในแบบลายเส้นสีทอง[3] ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชอาณาจักรอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนธงใหม่เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชา ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้

  7. ประเทศมาเลเซีย ธงชาติมาเลเซีย หรือ ยาลูร์ เกมิลัง (มาเลย์: JalurGemilangมีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"[1]

  8. ประเทศสิงคโปร์ ธงชาติสิงคโปร์ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508

  9. ประเทศฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์ (ตากาล็อก: PambansangWatawatngPilipinas) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม

  10. ประเทศอินโดนีเซีย ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (อินโดนีเซีย: Sang MerahPutih, สีแดง-ขาว)เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรมธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น

  11. ประเทศพม่า ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า           

  12. ประเทศเวียดนาม ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมายดังนี้  สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม

More Related