1 / 16

โรคไข้หวัดในสัตว์

โรคไข้หวัดในสัตว์. น.สพ.สัณห์ ภัทรพิพัฒน์โภค สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปราจีนบุรี. บทนำ. การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza virus) ทำให้เกิดโรคของ ระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า โรคอินฟลูเอนซ่า หรือ “ฟลู” ซึ่งแพร่ระบาด ได้รวดเร็ว และมีความรุนแรงต่างๆ กัน พบทั้งในคนที่เรียก “ไข้หวัดใหญ่”

cerise
Download Presentation

โรคไข้หวัดในสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคไข้หวัดในสัตว์ น.สพ.สัณห์ ภัทรพิพัฒน์โภค สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปราจีนบุรี

  2. บทนำ • การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza virus) ทำให้เกิดโรคของ • ระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า โรคอินฟลูเอนซ่า หรือ “ฟลู” ซึ่งแพร่ระบาด ได้รวดเร็ว และมีความรุนแรงต่างๆ กัน พบทั้งในคนที่เรียก “ไข้หวัดใหญ่” (Influenza) และในสัตว์ ได้แก่ • อินฟลูเอนซ่าในสัตว์ปีก (Avian Influenza) • อินฟลูเอนซ่าในสุกร (Swine Influenza) • อินฟลูเอนซ่าในม้า (Equine Influenza)

  3. โครงสร้างของเชื้อไวรัสไข้หวัดโครงสร้างของเชื้อไวรัสไข้หวัด

  4. สาเหตุของโรค • เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นไวรัสชนิด RNA ที่มีเปลือกหุ้ม จัดอยู่ในตระกูล Orthomyxoviridae แบ่งได้ 3 types คือ A, B และ C Type A พบในคน และสัตว์ เฉพาะ type A เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ สำหรับ Type B และ C ไม่มี subtypes พบเฉพาะในคน แต่เคยมีรายงานการแยกเชื้อ Type C ได้ในสุกรโดยสุกรไม่แสดงอาการป่วย นกน้ำ (water fowl) ติดเชื้อได้ทุก subtypes โดยไม่แสดงอาการ จึงทำหน้าที่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้กับสัตว์ชนิดอื่นๆ

  5. เนื่องจาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็น RNA virus และสารพันธุกรรมมีลักษณะเป็นชิ้นจำนวน 8 ชิ้น จึงมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อได้ค่อนข้างง่าย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่เรียกว่า “ Antigenic drift และ Antigenic shift” Antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ Antigenic shift เป็นการเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งได้ H หรือ N subtype ใหม่ ที่ร่างกายไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง

  6. ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถเลือกเชื้อไวรัสที่เหมาะสมในการผลิตวัคซีนสำหรับคนหรือสัตว์ หรือใช้เป็นข้อมูลทางระบาดวิทยาในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค

  7. โรคไข้หวัดในสุกร • โรคนี้ทำให้สุกรแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจคล้ายกับคนที่ไข้หวัด • สุกรจะมีไข้ (40.5 –41.7°C) ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบากอาจมีน้ำมูก • ไอและจาม ความรุนแรงของอาการป่วยขึ้นกับชนิดของเชื้อที่ได้รับ อายุ ภูมิคุ้มโรค สภาพการเลี้ยง

  8. ความของสุกรเครียด และการติดเชื้อชนิดอื่นๆ แทรกซ้อน • อัตราการติดเชื้อในฝูงอาจสูงถึง 100 % แต่อัตราการตายต่ำ • สุกรจะหายป่วยเป็นปกติได้เร็ว โดยทั่วไปสุกรจะแสดงอาการป่วยนานประมาณ 5-7 วัน • หลังจากนั้นจะหายเป็นปกติสุกรอาจตายได้ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อน • สุกรที่มีภูมิคุ้มจากแม่หรือสุกรที่เคยได้รับเชื้อมาก่อนอาจป่วยเพียงเล็กน้อย • แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้สุกรตาย แต่การติดเชื้อมีผลต่อสุขภาพสุกร

  9. สาเหตุของโรค • เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza type A • ที่พบมาก3 ชนิดได้แก่ชนิด classical H1N1, avianlike H1N1 และ humanlike H3N2 และอาจพบชนิด H1N2, H3-N1, H1N7 (Easterday & Reeth, 1999)

  10. ความเกี่ยวข้องของการติดเชื้อในคนความเกี่ยวข้องของการติดเชื้อในคน • ความสงสัยว่าไข้หวัดใหญ่ในคนเกี่ยวข้องกับสุกร เริ่มในปี ค.ศ. 1918 ที่มีการระบาดครั้งรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก (Spanish Flu, H1N1) มีผู้เสียชีวิตถึง 21 ล้านคนนั้นอาจเกี่ยวข้องกับการที่สุกรใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮังการีและจีนป่วยด้วยอาการของระบบทางเดินหายใจในช่วงเวลาเดียวกัน

  11. ค.ศ. 1976 จากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ Ford Dix สหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแยกเชื้อไวรัสH1N1 จากผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้ป่วย อีก 5 รายเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยเหมือนกับเชื้อไวรัส H1N1 ที่แยกได้จากสุกร การตรวจทางซีรั่มวิทยาก็บ่งชี้ว่ามีผู้ ติดเชื้ออีก 500 คน • นอกจากนั้นยังมีรายงานการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสสุกร ชนิด H1 จากผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสุกร • ในที่สุดก็สามารถยืนยันได้ว่า “เชื้อไวรัสInfluenza ของสุกรสามารถติดต่อสู่คนได้” จากการพบเชื้อไวรัสในสุกรและผู้เลี้ยงสุกรที่เป็นเชื้อชนิดเดียวกัน

  12. สุกรสามารถติดเชื้อ ไข้หวัดในคน และทำให้ป่วยได้ (Brown et al.,1995; Katsuda et al., 1995) • และสามารถติดเชื้อไวรัส ไข้หวัดของสัตว์ปีก (AIV)ได้ เชื้อ AIV บางตัวอาจเพิ่มจำนวนได้โดยตรงบางตัวต้องมีการแลกเปลี่ยน สารพันธุ์กรรม กับเชื้อไวรัสไข้หวัดของสุกรก่อน

  13. เนื่องจากสุกรมี receptor หรือตัวที่ไวรัสใช้ยิดเกาะในการเข้าเซลล์ ที่สามารถจับกับเชื้อไวรัส ไข้หวัดของคน (a2-6-alactosesialic acid) และของสัตว์ปีก (a2-3-galactose sialicacid) นอกจากนั้นสุกรยังเป็น “mixing vessel” ในการเกิด genetic reassortment ระหว่างเชื้อ influenzaของคนและสัตว์ปีก ทำให้เกิดเชื้อ influenza ลูกผสมสายพันธ์ใหม่ๆ ได้ง่าย (Ito et al.,1998)

  14. ในชนบทพบว่า มีการเลี้ยงสุกร ร่วมกับสัตว์อื่นๆ จึงเชื้อว่าในการเลี้ยงสุกรที่ยาวนาน จึงมีโอกาสที่จะทำให้ เชื้อไวรัสไข้หวัดในสุกร มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม กันไวรัสไข้หวัดในสัตว์ปีก และกับคนที่เลี้ยงได้ • และเชื้อก็จะเพิ่มการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม genome segment ของเชื้อแต่ละชนิด เช่นเชื้อ H3N2ที่เป็นลูกผสมระหว่างเชื้อไวรัสของสัตว์ปีก และของคนทำให้เด็กชาวดัทช์ 2 ราย ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ในปี 1993

  15. เชื้อH1N2 ที่เป็นลูกผสมระหว่างเชื้อไวรัสของสัตว์ปีกและของคน (Brown et al.,1998) • และเชื้อ H1N7ที่แยกได้จากสุกรป่วยในอังกฤษเป็นลูกผสมระหว่าง เชื้อไวรัสของคนและของม้า • สุกรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบาดวิทยาและสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในคน เนื่องจากเชื้อ ไวรัสไข้หวัดในสุกร H1N1 เป็นเชื้อโรคสัตว์ติดคน และสามารถแพร่สู่คนได้โดยตรง และสุกรเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะกึ่งกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสในการแพร่กระจาย

  16. มาตรการการป้องกัน • เช่นเดียวกับไข้หวัดนก • มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรงเรือน • เมื่อมีอาการป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจไปพบแพทย์ • แต่อย่าตื่นตระหนก เพราะว่าโรคนี้ยังไม่มาถึงประเทศไทย • ยาป้องกันไวรัส ทามิฟลู ป้องกันได้

More Related