1 / 117

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ นครราชสีมา.

cayla
Download Presentation

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

  2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้

  3. ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบเครือข่ายประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบเครือข่าย • การแบ่งกันใช้ข้อมูล • เพื่อให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ • เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบประมวลผล มีการสำรองข้อมูลตลอดเวลา • เพื่อให้สามารถประมวลผลแบบกระจาย • เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากร • เพื่อใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้

  4. 1. LAN (Local Area Network)2. MAN (Metropolitan Area Network)3.WAN (Wide Area Network) ประเภทของระบบเครือข่าย

  5. LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การเชื่อมต่อในตึกเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย การเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆ โดยส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อกันอยู่นั้นสามารถที่จะแบ่งกันใช้ข้อมูล สามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ รวมทั้งยังสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้

  6. MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อกัน มักจะเป็นบริษัทหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น

  7. WAN (Wide Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ เป็นการใช้หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ Tokyo โดยการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยการใช้ ATM, DSL, ISDN หรือ อื่นๆ แต่การเชื่อมต่อจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำกว่าการเชื่อมต่อแบบ LAN

  8. อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง

  9. ลักษณะการทำงาน การทำหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องของระบบเน็ตเวิร์คเป็นสำคัญ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Peer to Peer Networkเป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียม กันหมด (Peer) ไม่มีเครื่องไหนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของเน็ตเวิร์คเครื่องทุกเครื่องเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกใช้ สามารถเป็นได้ทั้ง Client และ Server ไม่มีเครื่องไหนมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมด เป็นต้นว่าการแชร์ทรัพยากรจะทำอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลและทรัพยากรของตัวเอง

  10. 2. Client-Serverในกรณีที่องค์กรของเรามีผู้ใช้เครื่อง มากกว่า 15-20 เครื่อง ระบบเน็ตเวิร์คแบบ peer to peer จะไม่เหมาะสม เราควรเลือกใช้ระบบ client-server จะเหมาสมกว่าเพราะมีความสามารถในการดูแลควบคุมการใช้งานของระบบเน็ตเวิร์คที่มีผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่า ระบบเน็ตเวิร์คแบบนี้จะเป็นระบบที่มีศูนย์กลาง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ อำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล รักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ มีหน้าที่คล้ายๆเป็นหัวหน้ากลุ่ม เราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ ว่า server ส่วนเครื่องที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เราเรียกว่าclient หรือ workstation เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบ ที่ทำหน้าที่รับบริการจากเครื่อง server ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานทุกอย่างของเน็ตเวิร์ค เช่นของมูลเครื่องพิมพ์จะถูกดูแล และ แชร์โดยเครื่อง server อุปกรณ์ทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อโดยตรง เครื่อง client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ ผ่านทาง server

  11. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามสื่อได้ 2 ประเภทคือ • Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN • Wireless LAN

  12. Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN การเชื่อมต่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ LAN ในปัจจุบัน โดยมีอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10 Gbpsโดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย Fiber optic • ระยะทางและความเร็วในการเชื่อมต่อแบบ Ethernet

  13. ตัวอย่างอุปกรณ์ Ethernet Ethernet Card Fiber Optic UTP

  14. Wireless LAN รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้ • มาตรฐานการใช้งาน Wireless ในประเทศไทย • IEEE 802.11 ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 2Mbps • IEEE 802.11b ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 11Mbps / 22Mbps • IEEE 802.11a ความถี่ 5.15~5.35GHz, 5.47~5.725GHz ความเร็วโดยรวม มากที่สุด 54Mbps • IEEE 802.11g ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 54Mbps • IEEE 802.11nความถี่ 2.4GHz / 5GHz ความเร็วโดยรวม 300Mbps

  15. วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบ่งได้ดังนี้วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบ่งได้ดังนี้ • การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค(Ad-Hoc) คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัวขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Access Point

  16. การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง คือ การติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access Point) เป็นศูนย์กลาง โดยแต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อสู่เครือข่ายภายนอกได้ผ่านทาง Access Point

  17. หมายถึงรูปแบบในการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ สายเคเบิ้ล และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อที่จะให้ข้อมูลได้ทำงานตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ โครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ต่างกันมีความต้องการด้านอุปกรณ์ต่างๆ เช่นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ รูปแบบของระบบเครือข่าย

  18. รูปแบบของระบบเครือข่ายรูปแบบของระบบเครือข่าย • Mesh • Bus • Star • Tree • Ring

  19. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh (Full Mesh)

  20. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh • ข้อดี • ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ • ข้อเสีย • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆ • ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาระบบเครือข่าย

  21. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus

  22. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus • เป็นเน็ตเวิร์คที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องด้วยการใช้สายเคเบิ้ลเป็นสายหลัก เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องโดยมีเน็ตเวิร์คการ์ดเป็นตัวเชื่อมระหว่างสายเคเบิ้ลกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย ไปยังคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่อง ไม่สนใจว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเอง ว่าข้อมูลที่ส่งออกมานั้นเป็นของเครื่องตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ จะปล่อยข้อมูลผ่านไป แต่ถ้าใช่ ก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ในระบบนี้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจะน้อยลงเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากขึ้น สายเคเบิ้ลที่เป็นสายกลางที่ต้องใช้รับและส่งข้อมูล เรียกว่า backbone สายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นสาย coaxial มีลักษณะคล้ายๆกับสายเคเบิ้ลทีวี การใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ปิดหัวและท้ายของสายเคเบิ้ลด้วย เรียกว่า terminatorคอยรับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไป ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนสัญญาณได้ บัส เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการติดตั้งเน็ตเวิร์ค ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์มากมาย มีเพียงแค่สายเคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค-การ์ด และเทอร์มิเนเตอร์ ก็พอแล้ว มักใช้กับเน็ตเวิร์คขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก

  23. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus • ข้อดี • ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย • ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star • ข้อเสีย • ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ถ้าสายหลักชำรุด • จำเป็นต้องมี Terminator ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายหลัก เพื่อป้องกันสัญญาณสะท้อนกลับไปมาภายในสาย • ค้นหาจุดที่เกิดปัญหาได้ยาก ถ้าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีผลกับประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค • มีการชนกันของข้อมูลที่ส่งออกไปมากจนทำให้เกิดปัญหา

  24. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star

  25. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าสู่อุปกรณ์ส่วนกลางที่เรียกว่า ฮับ (HUB) ข้อมูลหรือสัญญาณจะเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่ผู้รับโดยผ่านฮับ • ข้อดี • ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และการเดินสาย • สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่าย และไม่รบกวนส่วนอื่น • ง่ายต่อการตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหา และการแยกอุปกรณ์บางส่วนออกจากระบบ • ข้อเสีย • เปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบ Bus • ถ้า hub หรือ switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง

  26. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree

  27. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree • เป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อแบบ Bus และ Star หรือเป็นการต่อStar ซ้อนกันหลายชั้น • ข้อดี • ในแต่ละส่วนย่อยๆ จะต่อถึงกันแบบ Star ทำได้รับข้อดีของการต่อแบบ Star มาด้วย • ข้อเสีย • ระยะทางในแต่ละส่วนย่อยๆ จะถูกจำกัดโดยชนิดของสาย • ถ้าสายหลักหรือ Hub ตัวกลางหลักเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ • ยากต่อการติดตั้งและเดินสาย

  28. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring

  29. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะของรูปวงแหวนโดยใช้สายเคเบิ้ล การต่อลักษณะนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งข้อมูลจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเป็นรูปวงแหวนในทิศทางเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูล มันจะทำการใส่ข้อมูลตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการจะส่งไปให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะนำสัญญาณมาเช็คว่าเป็นของตนเองหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็จะส่งไปให้เครื่องต่อไป สัญญาณจะวิ่งไปจนกระทั่งเจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และรับข้อมูลนำไปใช้เนื่องจากสัญญาณจะวิ่งไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จึงไม่ต้องการอุปกรณ์ปิดหัวท้าย มักจะใช้กับเน็ตเวิร์คที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ใช้โทเค็นเป็นสือในการส่งสัญญาณ โทเค็นจะถูกวิ่งผ่านไปทุกเครื่องเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลจะดึงโทเค็นไปใช้และส่งสัญญาณออกมา เครื่องที่มีโทเค็นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้

  30. ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • ข้อดีของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • การเพิ่มเติมขนาดของระบบเครือข่าย ส่งผลต่อประสิทธิภาพไม่มาก • ลดจำนวนตัวรับและส่งสัญญาณลงครึ่งหนึ่ง (ในกรณี Ring ทางเดียว) • ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณ ทำให้สามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้ • ข้อเสียของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว • ถ้าอุปกรณ์บางตัวหรือสายเคเบิ้ลชำรุด จะทำให้เครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ (ในกรณี Ring ทางเดียว)

  31. ระบบเครือข่ายรูปแบบผสม (Hybrid Network) • เป็นการผสมความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบโดย พิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

  32. ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย • สื่อนำข้อมูล (Transmission Media) • เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล(Software)

  33. โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการและรูปแบบการส่งข้อมูล จังหวะเวลาในการส่งข้อมูล ลำดับการรับส่งข้อมูล และวิธีจัดการป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ โปรโตคอลเปรียบเสมือนภาษาที่ใช้สื่อสารในระบบเครือข่าย ดังนั้นถ้าใช้โปรโตคอลที่ต่างกันก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง นายพูดอะไร ไม่รู้เรื่อง ๑ภ฿ @& g)

  34. NetBEUI (Network Basic End Use Interface) เป็น Protocol ที่เหมาะสมสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับเครือข่ายขนาดใหญ่ เนื่องจาก Protocol นี้ไม่สามารถค้นหาเส้นทางการส่งข้อมูล (Routable) ที่เหมาะสมได้ ข้อดีของ Protocol นี้คือใช้งานง่ายไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นที่นิยมใช้กับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ถูกใช้ในอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถค้นหาเส้นทางการส่งข้อมูล และสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการได้อย่างกว้างขวาง แต่การติดตั้งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร

  35. คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่าย - Bit (บิต) หน่วยทางไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1 - Bandwidth (แบนด์วิทช์) คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย มีหน่วยเป็น bps (บิตต่อวินาที) อุปกรณ์เครือข่าย

  36. Router • ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อภายในแตกต่างกัน หรือเชื่อมระหว่าง LAN และ WAN

  37. ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • แต่ละพอร์ตไม่มีการใช้งานร่วมกัน • Switch

  38. Hub • ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • แต่ละพอร์ตใช้งานร่วมกัน(เชื่อมกันหมด)

  39. ความแตกต่างระหว่าง Hub และ Switch • Hub จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆ พอร์ตของ Hub ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง Hub ในขณะที่ Switch จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อกับพอร์ตต่างๆ ทำให้ Switch ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆ พอร์ตเหมือนกับ Hub ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น • Hub เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล (Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ Switch จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า, มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ, การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด

  40. Ethernet Card • ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านทาง Switch หรือ Hub • Bandwidth 10/100/1000 Mbps

  41. ไฟสถานะของEthernet Card

  42. ไฟสถานะของEthernet Card • LINK ถ้าสว่างแสดงว่า มีการเสียบสายแลนเข้ากับการ์ด และสามารถใช้งานได้ • 10 ถ้าสว่างแสดงว่า อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อด้วยความเร็ว 10 MB/s เช่นเดียวกับไฟ 100 ถ้าสว่างแสดงว่าเชื่อมด้วยความเร็ว 100 MB/s • ACT (Activity) ถ้ากระพริบแสดงว่ามีการส่งข้อมูลเข้า-ออกการ์ด (เนื่องมาจากกิจกรรมการใช้เครือข่ายต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต, การแชร์ไฟล์ ฯลฯ ถ้ามีการส่งข้อมูลจำนวนมากจะเปลี่ยนจากกระพริบมาเป็นสว่างค้างตลอดเวลา

  43. ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์ • Bandwidth 56 Kbps • Modem Internal Modem External Modem

  44. ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless) • Bandwidth 11/54 Mbps • Access Point

  45. Wireless Card • ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย • Bandwidth 11/54 Mbps PCMCIA USB PCI for PC

  46. สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) • ใช้ในการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ Ethernet Switch หรือ Hub • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • ความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับการเข้าหัวสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ • ระยะทางในการเชื่อมต่อ < 100m

  47. สาย UTP และหัว RJ-45 • สาย UTP ที่ใช้ใน Ethernet Lanจะเข้าหัวแบบ RJ-45 • ภายในสาย UTP จะมีสายทองแดงย่อยอีก 8 เส้น โดยถูกจัดกลุ่มเป็นคู่ๆ ทั้งหมด 4 คู่ RJ-45 UTP

  48. การเข้าหัว RJ-45 มีได้ 2 แบบ คือ • แบบ A (Standard 568A) มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ • ขาว/เขียว • เขียว • ขาว/ส้ม • น้ำเงิน • ขาว/น้ำเงิน • ส้ม • ขาว/น้ำตาล • น้ำตาล

  49. แบบ B (Standard 568B) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ • ขาว/ส้ม • ส้ม • ขาวเขียว • น้ำเงิน • ขาว/น้ำเงิน • เขียว • ขาว/น้ำตาล • น้ำตาล

  50. สาย UTP มี 2 แบบ ตามการเข้าหัว RJ-45 ดังนี้ • สายตรง (UTP Straight Cable) เป็นสายที่ใช้ทั่วไป และพบมาก โดยใช้ในการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายจำพวก Hub และ Switch โดยการเข้าหัวทั้ง 2 ปลายจะเป็นแบบเดียวกัน (A หรือ B ก็ได้) • สายครอส(UTP Cross-over Cable) ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องโดยตรง ไม่ผ่านอุปกรณ์ประเภท Hub และ Switch นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Router (ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่ง) โดยการเข้าหัวที่ปลายทั้ง 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ปลายข้างหนึ่งเข้าหัวแบบ A อีกปลายจะเข้าหัวแบบ B

More Related