1 / 22

ผลการประเมินคุณภาพภายนอก

ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่. สภาพทั่วไปของสถานศึกษา.

Download Presentation

ผลการประเมินคุณภาพภายนอก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกผลการประเมินคุณภาพภายนอก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

  2. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกผลการประเมินคุณภาพภายนอก บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

  3. สภาพทั่วไปของสถานศึกษาสภาพทั่วไปของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2476 เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดกองวิสามัญศึกษา กรมศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 74 ปี มีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา

  4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้แก่หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 และรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกเมื่อ ปี พ.ศ. 2547 โดยมีนางชุลีพร สิงหเนตร เป็นผู้อำนวยการ

  5. ผลการประเมินระดับสถาบันผลการประเมินระดับสถาบัน ผลการประเมินวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มีผลการประเมินระดับสถาบันได้ระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.75 ผลการประเมินระดับมาตรฐานได้ระดับดีมาก 6 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1,2,3,4,5,6 และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ระดับต้องปรับปรุง แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของสถาบันได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ.

  6. จุดเด่นของสถานศึกษา 1. สถานศึกษามีความตั้งใจในการบริหารจัดการ การประกัน คุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านการจัดการ เรียนการสอนด้านบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นไปตามเกณฑ์และเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นส่วนมาก 2. สถานศึกษามีจำนวนผู้สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพในเกณฑ์ดี 3. สถานศึกษามีผู้สัมฤทธิ์ผลตามเกณฑ์การจบการศึกษาของ หลักสูตรอยู่ในเกณฑ์ดี 4. สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษาในระดับดี

  7. 5. สถานศึกษามีระบบและกระบวนการเรียนการสอนที่ หลากหลาย เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะวิชาชีพผ่านการ ปฏิบัติจริง โดยมีแผนงาน/นโยบายสนับสนุนการการ พัฒนาการสอนเป็นแบบบูรณาการ มีการนำนักศึกษาเข้า ดูงานและฝึกงานในสถานประกอบการจริงตลอดจนเชิญ วิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษาระหว่างเรียนอย่าง ทั่วถึงทุกสาขาวิชา 6. นักศึกษามีความพึงพอใจในการสอนของครูมากทุกสาขาวิชา

  8. 7. สถานศึกษาจัดกิจกรรมและโครงการพัฒนานักศึกษาที่ หลากหลาย ทั้งด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะ และสุขภาพ ตลอดจนมีโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนนักศึกษา ระหว่างประเทศ (ประเทศฝรั่งเศส) จนเกิดประสิทธิผลได้รับ เกียรติบัตรและรางวัลมากถึง 31 รายการ 8. ผลงานโดยรวมทุกประเภทวิชามีจำนวนมากและปริมาณเพิ่มขึ้น ทุกปีเมื่อเทียบกับการประเมินรอบแรกใน ปี พ.ศ. 2546

  9. 9. งานวิจัยที่ได้จัดทำทุกประเภทวิชามีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา 10. มีการจัดทำงานนวัตกรรมร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาอื่น ด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีมากเพราะได้ประโยชน์ที่เป็นองค์ความรู้ จากผลงานร่วมกัน 11. มีบุคลากรที่มีความสามารถในการทำหน้าที่วิทยากรในการ ทำงานวิจัยอยู่ในสถานศึกษาและมีส่วนในการรับผิดชอบงานวิจัย และการสร้างองค์ความรู้

  10. 12. มีจำนวนโครงการที่ให้บริการทางวิชาการต่อชุมชนและ สังคมตามบริบทและพันธกิจของสถานศึกษา ถึง 116 โครงการ 64 กิจกรรม ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำ ความรู้ไปบูรณาการในการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้าง รายได้แก่ตนเอง แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนได้ 13. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ มีความสามารถ บริหารจัดการ งานสัมฤทธิ์ผล

  11. 14. มีผลงานเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนทั่วไปโดยเฉพาะ ต่างประเทศฝรั่งเศส,พม่า,ฮ่องกง 15. นักศึกษาได้รับรางวัลพระราชทาน และผลงานที่ได้รับ เกียรติบัตรและรางวัลมากถึง 31 รายการ

  12. จุดที่สถานศึกษาควรพัฒนาจุดที่สถานศึกษาควรพัฒนา • ระบบการจัดเก็บข้อมูล ร่องรอยการประกันคุณภาพ ภายในบางมาตรฐานยังไม่สมบูรณ์ชัดเจน ไม่สัมพันธ์กัน ไม่ สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการประเมินคุณภาพได้ 2. ควรเพิ่มงบประมาณสำหรับวัสดุฝึกในแต่ละสาขาวิชา 3. ความพร้อมของศูนย์วิทยบริการ (Resource Center)

  13. 4. เกณฑ์กำหนดของผลงานควรให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 5. การจัดเก็บข้อมูลของงานนวัตกรรมและการสร้างองค์ ความรู้ควรมีระบบที่ง่ายต่อการสืบค้น 6. ผู้จัดทำผลงานนวัตกรรมควรกำหนดข้อมูลที่เป็นคุณสมบัติ จำเพาะของผลงานและควบคุมคุณภาพผลงานด้วยตนเองอย่าง ใกล้ชิด

  14. 7. การนำประสบการณ์จากการให้บริการทางวิชาการมาพัฒนาการ เรียนการสอนและพัฒนา หลักสูตร ยังไม่มีหลักฐานการ ดำเนินการที่ชัดเจน เป็นแต่เพียงคำบอกกล่าวของบุคลากรที่ คำสัมภาษณ์เท่านั้น 8. ควรปรับปรุงระบบเชื่อมโยงข้อมูลทุกฝ่าย มีหน่วยงาน รวบรวมข้อมูลในสถานศึกษา เพื่อสะดวกต่อการสืบค้นได้ง่ายขึ้น

  15. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา • ผู้บริหารควรมีการติดตามประเมินผล โครงการต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาในโอกาสต่อไป • ควรมีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะของ สถานศึกษาทั้งหมด และเป็นผู้ที่มีชั่วโมงสอนน้อย หรือไม่มีเลย เพื่อจะมีเวลาในการติดตาม ตรวจสอบ ความถูกต้องให้ชัดเจน เป็นปัจจุบันสามารถนำไปเป็นหลักฐานในการตรวจสอบหรือ อ้างอิง ในการนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือประเมินคุณภาพ ได้ทันทีเมื่อต้องการ

  16. การศึกษาคู่มือการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาคู่มือการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา • ควรนำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพจากส่วนกลางมาดำเนินการ ทดสอบผู้จะสำเร็จการศึกษา • ควรเก็บข้อมูลการสำรวจการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาให้ ละเอียด เป็นระบบ และสืบค้นง่าย • ควรจัดระบบการเก็บข้อมูลนวัตกรรมอย่างเหมาะสมและทำ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

  17. ทุกสาขาวิชาที่นำวิชาชีพในสาขาของตนเองไปให้บริการทางทุกสาขาวิชาที่นำวิชาชีพในสาขาของตนเองไปให้บริการทาง วิชาการแก่ชุมชนภายหลังการดำเนินตามโครงการ และสรุปผลการ ดำเนินแล้ว ควรจัดตั้งคณะกรรมการของสาขาวิชานำ ประสบการณ์หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาหลักสูตร การจัดการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น พร้อมเก็บหลักฐานไว้ ชัดเจน ตรวจสอบได้ • ควรศึกษาข้อกำหนดคุณสมบัติจำเพาะของเครื่องที่จะสร้าง เป็นผลงานนวัตกรรมก่อนที่จะดำเนินการจัดทำเช่น เครื่องตีน้ำ สลัด

  18. งบประมาณสำหรับวัสดุฝึกในแต่ละสาขาวิชา ในภาพรวม สถานศึกษาได้จัดไว้ให้ร้อยละ6.52 ของงบดำเนินการ ซึ่งมีความ พอเพียงอยู่ระดับปานกลาง สถานศึกษาควรจัดงบประมาณในส่วนนี้ เพิ่มขึ้น เพื่อประสิทธิผลของการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ ที่สูงขึ้น ความพร้อมของศูนย์วิทยบริการโดยทั่วไป สิ่งที่จำเป็นต้อง พัฒนาคือระบบการสืบค้น ควรจัดเพิ่มและดูแลให้อยู่ในสภาพใช้ งานได้ตลอดเวลา สำหรับขนาดของห้องสมุดคับแคบ จึงเป็นปัญหา ที่จะขยายได้ค่อนข้างยาก จึงควรจัดสถานที่ ที่มีอยู่ให้มีพื้นที่ว่าง มากขึ้น เพื่อจะได้เพิ่มจำนวนที่นั่งให้เพียงพอแก่ผู้ใช้บริการต่อไป

  19. ทิศทางการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในอนาคตทิศทางการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในอนาคต • สถานศึกษาควรมีการบริหารจัดการ การประกันคุณภาพ ภายในอย่างต่อเนื่องและแยกเป็นสาขาวิชา ส่งผลให้มีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์และเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ • ผู้บริหารควรนำผลการประเมินตนเอง มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำปัญหา ข้อเสนอแนะจากบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ มาพัฒนา วางแผนการทำงานในปีการศึกษาต่อไป • ควรจัดทำระบบสารสนเทศให้มีฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทุก จุดในสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพต่อไป

  20. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านการอาชีวศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา มาตรฐาน คะแนนผลการประเมิน มาตรฐานที่ 1การประกันคุณภาพภายใน 5.00 ดีมาก มาตรฐานที่ 2 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา4.63 ดีมาก มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา 4.60 ดีมาก มาตรฐานที่ 4 นวัตกรรมและการสร้างองค์ความรู้ 5.00 ดีมาก ของอาจารย์และนักศึกษา มาตรฐานที่ 5 การให้บริการทางวิชาการต่อชุมชนและสังคม5.00 ดีมาก มาตรฐานที่ 6การบริหารและการจัดการ4.75 ดีมาก ผลการประเมินระดับสถาบัน4.75ดีมาก

  21. ขอขอบคุณทุกท่าน งานประกันคุณภาพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

More Related