1 / 24

การจัดการเรียนรวมในชั้นเรียนปกติ

การจัดการเรียนรวมในชั้นเรียนปกติ. ที่มา : ขอบพระคุณ ดร.เบญจา ชลธาร์ นนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ. นาย ณัฐ พล สอนเสริม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเพชรบูรณ์. กายภาพ.

Download Presentation

การจัดการเรียนรวมในชั้นเรียนปกติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรวมในชั้นเรียนปกติการจัดการเรียนรวมในชั้นเรียนปกติ

  2. ที่มา : ขอบพระคุณ ดร.เบญจา ชลธาร์นนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฐพล สอนเสริม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

  3. กายภาพ เตรียมความพร้อมนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่อง S - Students E - Environment บุคคลที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมนักเรียนทั่วไป การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท การบริหารจัดการหลักสูตร นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) งบประมาณ SEAT การจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล(IIP) ระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบทางการศึกษา กฎกระทรวง เทคนิคการสอน เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (AT) A - Activities T - Tools การรายงานความก้าวหน้าของนักเรียน สิ่งอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรมการสอนนอกห้องเรียนและชุมชน สื่อ การประกันคุณภาพ บริการ การรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องเข้าเรียน ตำรา การจัดตารางเรียน ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา การประสานความร่วมมือ ครูการศึกษาพิเศษและนักวิชาชีพอื่น การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงงาน

  4. S – Students แผนภูมิการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท เตรียมความพร้อมนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่อง เตรียมความพร้อมในด้านร่างกาย วิชาการ อารมณ์และสังคม และการช่วยเหลือตนเอง หากพิการตั้งแต่แรกเกิดจำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หากพิจารณาภายหลังต้องคำนึงถึงจิตใจและการยอมรับความพิการหรือความบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลัง และเตรียมทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เตรียมความพร้อมนักเรียนทั่วไป จัดสถานการณ์จำลองให้นักเรียนทดลองเป็นคนพิการ พาไปเยี่ยมสถานที่ดูแลคนพิการหรือที่มีความบกพร่อง จัดนิทรรศการ หนังสือ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับคนพิการหรือที่มีความบกพร่อง สอนทักษะการช่วยเหลือเพื่อนพิการหรือที่มีความบกพร่อง

  5. E - Environment กายภาพ จัดสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด บุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรียนร่วมประจำโรงเรียนเพื่อกำหนดนโยบายและ แนวทางการดำเนินงานในการจัดการเรียนร่วม ประชุมชี้แจงนโยบายของโรงเรียนและมอบหมายงาน ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ

  6. A - Activities การปรับหลักสูตรทั่วไป การจัดทำหลักสูตรเฉพาะ การจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมสอนทักษะที่จำเป็น การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) การจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) การตรวจสอบ เทคนิคการสอน การวิเคราะห์งาน การสอนโดยเพื่อนช่วยสอน ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน การเรียนโดยร่วมมือกัน ฯลฯ การรายงานความก้าวหน้าของนักเรียน การจัดกิจกรรมการสอนนอกห้องเรียนละชุมชน การประกันคุณภาพ การรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องเข้าเรียน การจัดตารางเรียน การประสานความร่วมมือ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงงาน

  7. T - Tools งบประมาณ ระบบการบริหารจัดการ นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ การจัดระบบข้อมูล การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและแผนพัฒนาบุคลากร การสื่อสารภายในองค์กร การประสานงานกับบุคคลอื่น การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน กฎกระทรวง เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (AT) สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ ตำรา ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ครูการศึกษาพิเศษและนักวิชาชีพอื่น

  8. โครงสร้างระบบการบริหารจัดการเรียนร่วมโครงสร้างระบบการบริหารจัดการเรียนร่วม ฝ่ายการจัดการเรียนการสอน (ครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษ) ฝ่ายประชาสัมพันธ์และหาทุน (บุคลากรในชุมชน)

  9. การบริหารจัดการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องโดยใช้โครงสร้างซีท ทำให้โรงเรียนได้พิจารณาองค์ประกอบทุกด้าน เพื่อสนองตอบความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องที่เข้ามาเรียนร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนปกติ และสามารถเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปได้อย่างมีความสุขและได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเพิ่มขึ้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว มีความพึงพอใจที่ลูกได้รับบริการทางการศึกษาและได้รับโอกาสเช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป

  10. ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเรียนร่วมได้อย่างเป็นระบบผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเรียนร่วมได้อย่างเป็นระบบ การบริหารเป็นไปอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการบริหารจัดการเรียนร่วม สำหรับเด็กพิการ โดยใช้โครงสร้างซีทนี้ สามารถกล่าวได้ว่า เป็นการบริหารที่สอดคล้องกับหลักการของธรรมาภิบาล หรือหลักการระบบกลไก การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งประกอบด้วย 1.การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. การมีกระบวนการที่โปร่งใส 3.การพร้อมรับการตรวจสอบ 4. ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ 5. การมีกฏเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน 6. การบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  11. การเรียนร่วม การจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ ได้มีโอกาสเรียนรู้และดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข

  12. เจตนารมณ์ เพื่อเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แต่เยาว์วัย ให้มีความพร้อมที่จะดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ การได้มีโอกาสเรียนร่วมกับเด็กปกติ จะช่วยให้เด็ก มีความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถ ดำรงชีพร่วมกันได้ ในสังคมอย่างมีความสุข เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

  13. รูปแบบของการเรียนร่วมรูปแบบของการเรียนร่วม • เรียนร่วมในชั้นปกติทุกวิชา • เรียนร่วมในชั้นปกติบางวิชา • เรียนในชั้นพิเศษ

  14. รูปแบบการเรียนร่วม • เรียนในชั้นเรียนปกติ • เรียนร่วมในชั้นปกติ + รับบริการพิเศษจากครูที่ปรึกษา ครูการศึกษาพิเศษ + ผู้เชี่ยวชาญ • เรียนร่วมในชั้นปกติ + บริการพิเศษจากห้องส่งเสริมวิชาการ • ชั้นพิเศษ เรียนร่วมในชั้นปกติบางวิชา • ชั้นพิเศษสำหรับเด็กพิการแต่ละประเภทในโรงเรียนปกติ

  15. การดำเนินงานการเรียนร่วมการดำเนินงานการเรียนร่วม • สำรวจจำนวนเด็ก • วางแผนจัดโปรแกรม • ทดสอบจัดประเภทเด็ก • เตรียมบุคลากร – ครูปกติ เจ้าหน้าที่ ภารโรง นักเรียนปกติ 5. เตรียมงบประมาณ 6. เตรียมผู้ปกครองเด็กพิเศษ 7. เตรียมชุมชน 8. เตรียมความพร้อมของเด็ก : ทักษะทางการเรียน

  16. ประโยชน์ของการเรียนร่วมDr. Hotchkis (2527) 1. ด้านวิชาการ : เด็กได้เรียนตามระดับชั้นในโรงเรียนปกติ การคาดหวังของครู และความพยายามของเด็กจะต่างจากการเรียนในชั้นพิเศษ ได้เรียนใกล้บ้าน ได้อยู่กับพ่อแม่พี่น้อง • ด้านสังคม : การปรับตัวเข้ากับสังคมปกติ มีมากขึ้น สังคมเข้าใจและยอมรับในความสามารถและการอยู่ร่วมกัน • ด้านเจตคติ : ต่างเคยชินและเข้าใจกันมากขึ้น • ด้านงบประมาณ : ประหยัดให้รัฐและพ่อแม่

  17. การจัดเตรียมการเรียนร่วมการจัดเตรียมการเรียนร่วม • สิ่งแวดล้อม • บุคลากร • นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ • ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ • แผนการสอนและโครงการสอน • วัสดุอุปกรณ์

  18. ขั้นตอนในการจัดการเรียนร่วม • ประชาสัมพันธ์ • ให้ความรู้ครูผู้สอนและวิธีปฏิบัติต่อเด็ก • ประชุมผู้บริหาร • หลักสูตร • กำหนดตารางการเรียนรายบุคคล • กำหนดวิธีการวัดผล • วางแผนแก้ไขปัญหา

  19. ข้อควรพิจารณาในการจัดเด็กเข้าเรียนร่วมข้อควรพิจารณาในการจัดเด็กเข้าเรียนร่วม • ความสามารถด้านการเรียนร่วม - ความพร้อมทางวิชาการ - ภาษา - คณิตศาสตร์ • วุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม • สิ่งแวดล้อม - บริการทางการศึกษาของโรงเรียน • ความร่วมมือสนับสนุนจากผู้บริหาร บุคลากรอื่น และชุมชน

  20. องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเรียนร่วมประสบความสำเร็จองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเรียนร่วมประสบความสำเร็จ • ความเต็มใจและความตั้งใจ • ทัศนคติ (ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง เพื่อน) • การคัดแยก/การเริ่มโดยเร็ว • คุณภาพการสอน • บริการพิเศษ • ความร่วมมือของผู้ปกครอง ความคาดหวัง ความอดทน ความรู้ ความชำนาญการประสานงาน

  21. การเรียนร่วมที่ประสบความสำเร็จ(Successful Mainstreaming) เป้าหมาย : นักเรียนสามารถปรับตัวได้ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ในสังคมเมื่อเรียนจบ นักเรียนต้องมี - ทักษะที่จำเป็น - ความเชื่อมั่นในตนเอง การเรียนร่วมที่ประสบความสำเร็จ การวางแผน + ดำเนินการดี - วางแผนไม่ดี พัฒนาทั้งวิชาการและทักษะทางสังคม - เด็กหลงทางอยู่ใน โรงเรียนปกติ

  22. ปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในการเรียนร่วมปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในการเรียนร่วม • เด็กพิการ / เด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานและการเรียนรู้งานที่ต้องใช้ระดับความคิดชั้นสูงที่จำเป็น • มีข้อจำกัดในเรื่องสัมฤทธิ์ผล และเป้าหมายของหลักสูตร • ปัญหาวัยรุ่นที่เพิ่มเข้ามา • ครูชั้นประถมศึกษามักได้รับการฝึกฝน ให้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จึงให้ความสำคัญเรื่องเนื้อหามาก

  23. ขาดการสื่อสารระหว่างครู / นักการศึกษาพิเศษ และ ครูประจำชั้น • ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังของครูประจำชั้น กับความสามารถของเด็ก • เด็กไม่เข้าใจความต้องการของกติกาในชั้นเรียน • ครูประจำชั้นไม่เข้าใจข้อจำกัดของเด็ก • ครูการศึกษาพิเศษขาดความรู้ในเรื่องวิธีสื่อสารกับครูประจำชั้น • นโยบายของโรงเรียนที่ไม่ยืดหยุ่น

  24. ผู้บริหาร • ความลำบากใจที่มีหน้าที่ต้องให้บริการตามกฎหมาย จะปฏิเสธเด็กไม่ได้ • ความกังวลเรื่องของอันตรายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน • ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น • การขาดแคลนครู / บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม - ครูที่รู้วิธีใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กพิการ - ครูที่รู้วิธีการใช้เครื่องมืออาชีพ - ครูที่จะเป็นติวเตอร์

More Related