1 / 46

บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น

บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น. 4 .1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น 4 .1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) 4 .1.2 โทเคนริง (Token Ring) 4 .1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) 4.1.4 แลนไร้สาย ( Wireless LAN ) 4 .2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) 4.2.1 สถาปัตยกรรม IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต 4.2.2 ดาต้าลิงค์เลเยอร์

carsten
Download Presentation

บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น • 4.1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น • 4.1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • 4.1.2 โทเคนริง (Token Ring) • 4.1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) • 4.1.4 แลนไร้สาย (Wireless LAN) • 4.2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • 4.2.1 สถาปัตยกรรม IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต • 4.2.2 ดาต้าลิงค์เลเยอร์ • 4.2.3 เฟรมข้อมูลของอีเธอร์เน็ต • 4.2.4 โปรโตคอล CSMA/CD • 4.2.5 อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ต • 4.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System)

  2. บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น • ลักษณะสำคัญ LAN คือ ครอบคลุมพื้นที่จำกัด • จากการแบ่งประเภทระบบเครือข่ายด้วยระยะทางเทเนนบาม (2542) ได้กำหนดเครือข่ายท้องถิ่นว่า มีระยะตั้งแต่ 1 เมตร จนถึง 1 กิโลเมตร เป็นเครือข่ายในสำนักงาน ในหน่วยงาน ในอาคารเดียวกัน ในอาคารที่ใกล้กัน • เกือบทุกๆ เครือข่ายมักจะมีเครือข่ายท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อ ไปจน มีคอมพิวเตอร์เป็นพันๆ เครื่อง มีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

  3. 4.1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น • เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น • อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • โทเคนริง (Token Ring) • เอฟดีดีไอ (FDDI) • ไวร์เลสแลน (Wireless LAN) • การศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ และเข้าใจหลักการทำงานของเครือข่าย • เทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตก็มีการจำแนกได้เป็นหลายประเภทย่อย ตามความเร็ว ภูมิลักษณะ (Tology) และสายสัญญาณที่ใช้ • เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกใช้ควรให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานขององค์กร

  4. คำถาม • ลักษณะที่สำคัญของ LAN คือ • ถ้าใช้ระยะทางเป็นเครื่องแบ่ง LAN มีระยะทางเท่าใด • เทคโนโลยีที่ใช้ใน LAN • อีเธอร์เน็ต (Ethernet) การจำแนกได้เป็น • หลายประเภทย่อย • ตามความเร็ว • ภูมิลักษณะ (Topology) • สายสัญญาณที่ใช้

  5. 4.1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • เป็นที่ยอมรับว่า เป็นเทคโนโลยีที่นิยมมากที่สุด (ใช้ในทุกเครือข่าย) • มีการใช้งานมากว่า 30 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยากที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาแทนที่ได้ • พัฒนาและรับผิดชอบโดย IEEE • โดยสิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง • การเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธ (Bandwidth) • การปรับปรุงอีเธอร์เน็ตในครั้งแรก • ปรับความเร็วจาก 10 Mbps เป็น 100 Mbps • พัฒนาชั้นกายภาพใหม่ (Physical Layer) UTP Cat 3 เป็น UTP Cat 5 • ใช้ Topology จาก BUS เป็น Star • เปลี่ยนชื่อ “อีเธอร์เน็ต” เป็น อีเธอร์เน็ตความเร็วสูง (Fast Ethernet) • ปัจจุบันได้รับความนิยมเหนือ ATM (Asychronous Transfer Mode) ในระดับ LAN

  6. อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับ CSMA/CD • ในสมัยแรกคำว่า "อีเธอร์เน็ต" กับ CSMA/CD หมายถึงระบบเครือข่ายชนิดเดียวกัน • เนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้โปรโตคอล CSMA/CD ในการเข้าถึงสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล • โดยโหนดที่จะส่งข้อมูล จะต้องรอให้สายสัญญาณว่าง และหากส่งข้อมูลแล้วเกิดการชนกันของข้อมูล ก็จะต้องรอตามระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งข้อมูลได้

  7. อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับ CSMA/CD • ปัจจุบันอีเธอร์เน็ตได้ปรับปรุงชั้นกายภาพ พัฒนาเป็น Fast Ethernet • รับส่งข้อมูลเป็นแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ (Full Duplex) รับส่งได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องรอให้สายสัญญาณว่าง (คู่หนึ่งรับ อีกคู่หนึ่งส่งข้อมูล) • ใช้เทคโนโลยีสวิตชิ่ง (Switching) ขจัดปัญหาในการใช้สื่อนำสัญญาณในลักษณะกระจายสัญญาณ (Share) มาเป็นแบบรับส่งสัญญาณข้อมูลพร้อมกัน • ดังนั้นคำว่า CSMA/CD จะใช้แทนคำว่าอีเธอร์เน็ตไม่ได้อีกต่อไป

  8. อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับชื่อ • เพื่อไม่ให้สับสนในการเรียกชื่อ ชื่อ ความเร็ว • อีเธอร์เน็ต 10 Mbps • อีเธอร์เน็ตความเร็วสูง 100 Mbps (Fast Ethernet) • กิกะบิตอีเธอร์เน็ต 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps • เทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต 10 Gbps

  9. ตัวอย่างการอุปกรณ์ Ethernet ที่ใช้งานทั่วไป http://www.advice.co.th/price/p_list.php3

  10. คำถาม • Fast Ethernet แตกต่างจาก Ethernet อย่างไรบ้าง • ความเร็ว • สายสัญญาณที่ใช้ • ทิศทางในการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานในปัจจุบัน http://www.byxtreme.comหรือ http://www.advice.co.th

  11. 4.1.2 โทเคนริง (Token Ring) • พัฒนาโดยบริษัท IBM ในช่วงทศวรรษที่ 1970 • ปัจจุบัน ยังเป็นเทคโนโลยีหลักใน LAN ของ IBM • IEEE นำมาเป็นแบบแม่แบบ พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.5 • คำว่า “Token Ring” จึงหมายถึงทั้งโทเคนริงของ IBMและมาตรฐาน IEEE 802.5

  12. มาตรฐาน Token Ring ของ IBM และ IEEE ตารางเปรียบเทียบมาตรฐาน Token Ring ของ IBM และ IEEE 802.5 STP : Shield Twisted Pair,UTP : Unshield Twisted Pair ข้อกำหนดที่แตกต่างกัน : ภูมิลักษณะ สายสัญญาณ อุปกรณ์ศูนย์กลาง

  13. Topology การเชื่อมต่อ Token Ring ของ IBM

  14. เทคนิคการส่งข้อมูล Token Ring • การส่งต่อโทเคน (Token-Passing) เป็นเทคนิคเดียวกับเครือข่าย FDDI • เฟรมข้อมูล หรือ “โทเคน” (Token) จะส่งต่อๆ กันเป็นวงกลม • สถานีที่ได้รับโทเคนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ส่งข้อมูลไปยังในเครือข่าย • ถ้าสถานีใดได้รับโทเคน แต่ไม่มีข้อมูลที่จะส่งก็ต้องส่งโทเคนต่อไปยังสถานีถัดไป • แต่ละสถานีจะมีเวลาจำกัดในการส่งข้อมูล • ถ้าสถานีได้รับโทเคน มีข้อมูลที่จะส่ง ก็จะปรับเปลี่ยนเฟรมโทเคนเป็นเฟรมข้อมูล • แล้วส่งเฟรมข้อมูลไปยังสถานีถัดไป จนถึงสถานีปลายทาง เฟรมข้อมูลจะถูกคัดลอกไว้ • สถานีปลายทางจะใส่ข้อมูลในเฟรม เพื่อแจ้งให้สถานีส่งทราบว่าได้รับข้อมูลแล้ว • จากนั้นเฟรมจะส่งต่อๆ กันไปจนเฟรมข้อมูลกลับมาที่สถานีส่ง • เทคนิคการส่งข้อมูลแบบนี้จะป้องกันการชนกันของข้อมูล (Collision) ที่เกิดในเครือข่ายอีเธอร์เน็ต

  15. ระบบการจัดลำดับความสำคัญ (Priority System) • เครือข่ายแบบโทเคนริง สามารถจัดลำดับความสำคัญให้กับผู้ใช้หรือสถานีที่มีความสำคัญ มีสิทธิ์ในการส่งข้อมูลได้มากกว่า • ในเฟรมของโทเคนริง จะมีฟิลด์ที่ควบคุมสิทธิพิเศษ คือ ฟิลด์ Priority และ Reservation • เมื่อสถานีที่มีสิทธิพิเศษต้องการจะส่งข้อมูล จะทำการจองโทเคน เพื่อทำการส่งในครั้งต่อไป • เมื่อสถานีนั้นส่งข้อมูลเสร็จและส่งเฟรมโทเคนกลับเข้าในเครือข่าย สถานีที่ทำการเพิ่มค่าสิทธิของเฟรม จะทำการลดค่าสิทธิของเฟรมด้วย

  16. คำถาม • เทคโนโลยี Token Ring เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายสัญญาณประเภทใด • การเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Token Ring ต้องใช้อุปกรณ์ศูนย์กลางหรือไม่

  17. 4.1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) • เป็นเครือข่ายแบบส่งผ่านโทเคนริง • มีแบนด์วิธที่ 100 Mbps โดยใช้ Fiber Optic ต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง • ส่วนใหญ่จะใช้ FDDI เป็นแบ็คโบนของเครือข่าย เนื่องจาก • แบนด์วิธที่สูงกว่า • สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าสายทองแดง • ล่าสุดได้พัฒนา CDDI (Copper Distribution Data Interface) โดยใช้สายคู่บิดเกลียวแทนสายใยแก้วนำแสง แต่ยังคงใช้โปรโตคอล FDDI

  18. 4.1.4 เอฟดีดีไอ (FDDI) • ใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง • ทิศทางการไหลของข้อมูลจะตรงกันข้ามกัน • วงแหวนวงหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักในการรับส่งข้อมูล • ส่วนวงที่สอง จะเป็นเส้นทางสำรอง เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ ให้กับเครือข่าย

  19. สายสัญญาณ FDDI • ใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นสายสัญญาณหลัก • มีความปลอดภัยจากการถูกฟ้าฝ่า • การถูกสัญญาณรบกวนน้อยกว่า • ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่ไกลกว่า • Multimode ระยะทาง 2 km. • Single mode ระยะทางมากกว่า 2 km. • มาตรฐานที่ใช้สาย UTP จะเรียกว่า “CDDI” • ระยะสาย 100 ม.

  20. มาตรฐาน FDDI • โปรโตคอล FDDI จะอยู่ในชั้นกายภาพ (Physical Layer) และชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (Data link Layer) ของแบบอ้างอิง OSI • โปรโตคอลแบ่งเป็น 4 ส่วน สามารถทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP/IP ได้

  21. 4.1.4 แลนไร้สาย (Wireless LAN) • ระบบสื่อสารข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นสูง • นิยมติดตั้งเพิ่มเติม หรือแทนที่ระบบเครือข่ายท้องถิ่นแบบใช้สายสัญญาณ • ใช้คลื่นวิทยุ หรือ RF (Radio Frequency) เป็นสัญญาณ และใช้อากาศเป็นตัวนำสัญญาณ • ปัจจุบันรับส่งข้อมูลได้ถึง 54 Mbps มากกว่า Ethernet (10 Mbps) • ประโยชน์ที่สำคัญ : ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ • ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย เฉพาะองค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

  22. ข้อดีของ Wireless LAN • ความคล่องตัว (Mobility) ในการเคลื่อนย้าย PC • ความสะดวกในการติดตั้งสายและจัดการสายสัญญาณง่าย • ประหยัดค่าใช้จ่าย : ปรับเปลี่ยนระบบโดยไม่ต้องรื้อสายสัญญาณ • ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) : เพิ่มจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้โดยสะดวก ง่าย

  23. ข้อเสียของ Wireless LAN • อัตราข้อผิดพลาด (Error Rate) ระหว่างการรับส่งข้อมูลค่อนข้างสูง • โดนรบกวนจากคลื่นรบกวนทั่วไป (Noise) • เส้นทางข้อมูลหลายทาง (Multipath) • การลดทอนของสัญญาณ (Attenuation) ค่อนข้างสูง • ความปลอดภัยของข้อมูล ถูกลักลอบตรวจจับได้ง่าย • คลื่นวิทยุ ไม่สามารถกำหนดทิศทางและขอบเขตได้ • การรบกวน (Interference) • เครื่องที่อยู่ต่างเครือข่าย ก็สามารถส่งคลื่นสัญญาณได้ ซึ่งจะมีผลทำให้รบกวนการส่งข้อมูลของอีกเครือข่ายหนึ่งได้ • โทรศัพท์ไร้สาย เตาไมโครเวฟ • ส่งข้อมูลแบบกระจาย (Share) ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ เกิดภาระงานการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับ

  24. ภูมิลักษณะ (Topology) ของระบบแลนไร้สาย แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) ใช้แอ็กเซสส์พอยต์ (Access Point) แบบใช้สายสัญญาณ โดยใช้แอ็กเซสส์พอยต์ (Access Point)

  25. มาตรฐาน IEEE 802.11 • ค.ศ.1997 IEEE ประกาศมาตรฐานแรกของ WLAN • IEEE 802.11 ความเร็ว 2 Mbps ในขณะที่ IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต ความเร็วที่ 10 Mbps • IEEE ตั้งทีมงานพัฒนามาตรฐาน WLAN • กลุ่มแรกคือ TGa (Task Group a) พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้ความถี่ที่ 5 GHz และสามารถรองรับข้อมูลได้ที่ 6, 9, 12, 18, 24, 36, 48, และ 54 Mbps • ข้อจำกัดคือ มาตรฐานความถี่ 5 GHz บางประเทศต้องขออนุญาตก่อนถึงจะใช้งานได้ • ทีม TGbพัฒนามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้ความถี่ 2.4 GHz โดยรองรับอัตราข้อมูล 4 อัตราคือ 1.2, 5.5 และ 11 Mbps • ข้อจำกัดคือรองรับแบนด์วิธได้สูงสุดเพียง 11 Mbps • ทีม TGg พัฒนามาตรฐาน คือ IEEE 802.11g ซึ่งใช้ความถี่ 2.4 GHz และสามารถรองรับแบนด์วิธได้ถึง 54 Mbps ตัวอย่างการนำมาตรฐานมาใช้ใน Notebookhttp://www.buyscom.com

  26. ตัวอย่างการนำมาตรฐาน Wireless มาใช้ในอุปกรณ์ http://www.buyscom.com/cart/detail.asp?id=173

  27. 4.2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • มีพัฒนาการมากว่า 30 ปี และยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นต่อไปอีก • คิดค้นในปี ค.ศ.1972 โดย บ็อบ เม็ทคาลเฟ (Bob Metcalfe) และเพื่อนในบริษัท Xerox PARC • โครงการ "the Alto Aloha Network" ทดลองสั่งพิมพ์งานผ่านสายเคเบิล ด้วยความเร็ว 2.94 Mbps • ในช่วงแรก เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Xerox • ต่อมา ปี 1980 3 บริษัท คือ DEC-Intel-Xerox ร่วมกันพัฒนาอีเธอร์เน็ตให้มีความเร็วที่ 10 Mbps • ในปี 1985 IEEE ปรับปรุงและพัฒนา และประกาศมาตรฐาน IEEE 802.3 • ทำให้บริษัทใดก็ได้สามารถผลิตอุปกรณ์อีเธอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ • จากนั้น การใช้งานอีเธอร์เน็ตจึงแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว กลายเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป • พัฒนาการอีเธอร์เน็ต • ระยะแรก ใช้สายโคแอ็กซ์เชียลแบบหนา (Thicknet) ต่อมาเปลี่ยนมาใช้สายโคแอ็กเชี่ยลแบบบาง (Thinnet) จากนั้นใช้สาย UTP และ Fiber Optic • ปรับปรุงความเร็วเป็น 100 Mbps และ 1000 Mbps ปัจจุบันมาตรฐานล่าสุดของอีเธอร์เน็ตอยู่ที่ 10 Gbps

  28. ตารางมาตรฐานอีเธอร์เน็ตตารางมาตรฐานอีเธอร์เน็ต

  29. 4.2.5 อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ต • ทำหน้าที่ • การรับส่งข้อมูลในเครือข่าย • ทวนสัญญาณ เพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะไกลขึ้น • ขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น • อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น • ฮับ • สวิตซ์ • เราท์เตอร์

  30. ฮับ (Hub) • บางทีเรียกว่า "รีพีทเตอร์" (Repeater) • ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ • มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังทุกพอร์ตที่เหลือ ยิ่งมีคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสในส่งข้อมูลก็จะน้อยลง • ในท้องตลาดมีฮับหลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างคือ • จำนวนพอร์ต : 8 port, 16 port, 24 port • สายสัญญาณที่ใช้ : UTP, Fiber SM, Fiber MM • ประเภทของเครือข่าย : Ethernet, Fast Ethernet, Giga Ethernet • อัตราข้อมูลที่รองรับได้ (Mbps): 10/100, 10/100/1000, 1000 • ฮับที่ระบุความเร็วหลายระดับ จะทำงานในระดับความเร็วต่ำสุดของโหนดที่เชื่อมต่อ

  31. สวิตซ์ (Switch) • ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 บางทีก็เรียกว่า "สวิตซิ่งฮับ" (Swiching Hub) • สวิตซ์มีความสามารถมากกว่าฮับ คือ สามารถส่งข้อมูลไปยังเฉพาะพอร์ตปลายที่เป็นปลายทางเท่านั้น พอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล

  32. เลเยอร์ 3 สวิตซ์ (Layer 3 Switch) • เมื่อกล่าวถึงสวิตซ์จะหมายถึงอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำงานในเลเยอร์ที่ 2 แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์เครือข่ายพัฒนาไปค่อนข้างมาก สวิตซ์บางประเภทสามารถรองรับการทำงานที่เลเยอร์ที่ 3 (Network Layer) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำงานในเลเยอร์นี้จะรู้จักในชื่อ "เราท์เตอร์" (Router) ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของเลเยอร์ 3 สวิตซ์ คือ • เชื่อมต่อ 2 เครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีต่างกันได้ เช่น Ethernet, ATM, TCP/IP

  33. ถาม • อุปกรณ์เครือข่ายของเทคโนโลยี Ethernet คือ HUB, Switch และ Router มีความสามารถในการทำงานต่างกันอย่างไร • ในแต่ละอาคารของคณะ • มีการอุปกรณ์ Ethernet แบบใดบ้าง จำนวน • แต่ละตัวสามารถให้บริการได้จำนวน .... • แต่ละอุปกรณ์ ให้บริการ PC กับภาควิชา/งาน ใด จำนวน .....

  34. 4.2.9 อีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps • มาตรฐานอีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps UTP : Unsheilded Twisted Pair MMF : Multimode Fiber Optic SMF : Single Mode Fiber Optic PPP : Point-to-Point

  35. 4.1.10 ฟาสต์อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) • มาตรฐานฟาสต์อีเธอร์เน็ต

  36. ถาม • LAN ในแต่ละอาคารของคณะ มส • ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นแบบใด • ใช้สายสัญญาณอะไรบ้าง – ชนิดบ้างใด (ระหว่างอาคาร/ภายในอาคาร) • รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วเท่าใด (ระหว่างอาคาร/ภายในอาคาร) • ถ้าจะใช้สายใยแก้วนำแสง • จะต้องใช้ประเภทใด • มีระยะทางไกลสุดเท่าใด • รับส่งข้อมูลที่ความเร็วเท่าใด

  37. 4.2.11 กิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet)

  38. คำถาม • ในอนาคต (1 ปี) เส้นทางเครือข่ายหลัก (backbone) ของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนเป็น Gigabit ถ้าคณะ มส. จะปรับเปลี่ยนเครือข่ายย่อยในแต่ละอาคารให้รับส่งข้อมูลในระดับ Gigabit ด้วย จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง • สายสัญญาณ : • สาย UTP จะต้องใช้แบบใด ส่งสัญญาณได้ไกล ... เมตร • สาย Fiber Optic จะต้องใช้แบบใด ส่งสัญญาณได้ไกล ... เมตร • อุปกรณ์ : • อุปกรณ์กระจายสัญญาณ, Lan card จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นแบบใด

  39. 4.2.12 เทนกิกะบิต (10 Gigabit Ethernet) nm = ความยาวคลื่นหน่วยเป็น นาโนเมตร

  40. คำถาม • การใช้สายสัญญาณแต่ละแบบใน 10 Gigabit Ethernet สามารถใช้ได้ในระยะเท่าใด • สาย UTP ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ........... • สาย Fiber Optic • Single Mode ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ........... • Multi Mode ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ...........

  41. 4.2.13 ข้อจำกัดของฟาสต์อีเธอร์เน็ต • 100 Base-Tx มีข้อกำหนดเรื่องความยาวสูงสุดของสาย UTP ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือ NIC กับฮับ คือ 100 เมตร ซึ่งแยกออกเป็นแต่ละส่วนดังนี้ • 5 เมตร จากฮับไปแพทช์พาแนล (Patch Panel) • 90 เมตร จากแพทซ์พาแนลไปยังเต้าเสียบฝาผนัง โดยสายที่อยู่ในช่วงนี้จะเรียกว่า Horizontal Cabling • 5 เมตร จากเต้าเสียบฝาผนังไปยังคอมพิวเตอร์ • Switch Hub • Rack • Patch Panel • Patch cable • NIC • UTP Outlet • UTP cable

  42. 4.2.14 การออกแบบเครือข่ายขนาดใหญ่ • ในสมัยก่อนองค์กรจะมีเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในวงเครือข่ายเดียวกัน มีการแชร์ไฟล์ในกลุ่มหรือการเข้าใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์ • จึงคำนวณความต้องการแบนด์วิธจะใช้หลัก 80/20 คือ • 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการสื่อสารข้อมูลจะอยู่ภายในเครือข่าย • ส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะเป็นการสื่อสารกับภายนอก • ปัจจุบันการใช้งานเครือข่ายเปลี่ยนไป โปรแกรมสมัยใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบเว็บเบส (Web-base Application) เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เมลเซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ • การสื่อสารในเครือข่ายสมัยใหม่ จึงใช้หลัก 20/80 คือ • 20 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการสื่อสารข้อมูลจะอยู่ภายในเครือข่าย • ส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะเป็นการสื่อสารกับภายนอก

  43. 4.2.14 การออกแบบเครือข่ายขนาดใหญ่ • เพื่อรองรับการสื่อสารตามกฎ 20/80 • การเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นจะรองรับความเร็วที่ 100 Mbps ด้วยสาย UTP เชื่อมต่อแต่ละโหนดด้วยสวิตซ์ • ส่วนเครือข่ายวงกว้าง (WAN) หรือเครือข่ายแบ็คโบน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเครือข่าย จะรองรับความเร็วที่ 1000 Mbps ด้วยสายใยแก้วนำแสง เนื่องจากมักจะมีระยะทางไกลเกินข้อกำหนดของสาย UTP และมักจะต้องเดินสายภายนอกอาคาร โดยเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ ที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นด้วยเลเยอร์ 3 สวิตซ์

  44. ถาม • ระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้กฎ 20/80 หรือ 80/20

  45. 4.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System) • ต่อใน File 412 754_52

More Related