1 / 27

การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ

การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ. จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล นิภาพร ศรีอุบล อรวรรณ คำเจริญคุณ. บทนำ. คำถามการวิจัย. คำถามหลัก ทัศนคติเกี่ยวกับการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพของ เทศบาล, บุคคลทั่วไป, และชาวแพเป็นอย่างไร ? คำถามรอง ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ?

Download Presentation

การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพการศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล นิภาพร ศรีอุบล อรวรรณ คำเจริญคุณ

  2. บทนำ

  3. คำถามการวิจัย

  4. คำถามหลัก • ทัศนคติเกี่ยวกับการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพของ เทศบาล, บุคคลทั่วไป, และชาวแพเป็นอย่างไร ? คำถามรอง • ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ? • แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทัศนคติของชุมชนเป็นอย่างไร • การย้ายขึ้นมาอยู่บนบกของชาวแพจะมีผลกระทบต่อเอกลักษณ์ของ เมืองพิษณุโลก, คำขวัญ, ธุรกิจการท่องเที่ยวหรือไม่ อย่างไร ? • ปัญหาที่เกิดจากการอยู่แพมีอะไรบ้าง ? • ทำไมโครงการเคลื่อนย้ายชาวแพจึงยืดเยื้อ ?

  5. ทบทวนวรรณกรรม • ศรีสุวรรณ แสงศิริ 2523 : 37-48 ได้ศึกษาวิจัย สภาพความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ ปัญหาที่เกิดจาก การอยู่แพและปัญหาความต้องการของชาวแพในเรื่องบริการและ สวัสดิการทางด้านสาธารณสุข และสาธารณูปโภค • กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพิษณุโลก.2531 : 14-21 ได้ทำโครงการพสม.ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก ระยะที่ 1 พบว่าชุมชนชาวเรือนแพมีโครงสร้าง ของประชากรผู้สูงอายุมาก กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ประชากรในวัยแรงงานมีน้อย อัตราการเจ็บป่วยพบมากในผู้สูงอายุและเด็ก

  6. คณะทำงานวิจัยกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา. 2535 : 27-28 ได้ทำการศึกษาวิจัยได้แสดงความเห็นของบุคคลชั้นนำที่มีต่อ เรือนแพพบว่า เรือนแพเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่ต้อง ระมัดระวังเรื่องการสุขาภิบาลโดยเฉพาะความสะอาดและสิ่งปฏิกูล • ปราณี แจ่มขุนเทียน. 2536 : 78 ได้เสนอแนวทางอนุรักษ์เรือนแพโดยดำเนินการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เรือนแพหรือเรือนแพที่จัดขายของที่ระลึก

  7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาทัศนคติของชุมชนชาวเรือนแพ, หน่วยราชการที่เกี่ยว ข้อง, บุคคลทั่วไปเกี่ยวกับการคงอยู่ของแม่น้ำน่าน • เพื่อศึกษาผลกระทบของชาวแพที่มีต่อปัญหามลภาวะของแม่น้ำน่าน และเอกลักษณ์ของจังหวัด • เพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

  8. ประโยชน์ของการวิจัย เพื่อทราบถึงสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับทัศนคติของชุมชนในเรื่องการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ เกิดขึ้น

  9. ระเบียบวิธีวิจัย • Descriptive studyโดยใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ • ประชากรที่ศึกษาเป็นชุมชนชาวเรือนแพ, หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง, บุคคลทั่วไปในชุมชน • คัดเลือกโดยวิธี Purposive sampling • เทคนิคการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ระดับลึกและการสังเกต

  10. สถานการณ์ของแม่นำ้น่านในปัจจุบันสถานการณ์ของแม่นำ้น่านในปัจจุบัน

  11. โครงการเคลื่อนย้ายชุมชนชาวเรือนแพโครงการเคลื่อนย้ายชุมชนชาวเรือนแพ • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ที่ทำการปกครองจังหวัด • องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก • เทศบาลนครพิษณุโลก

  12. โครงการแก้ไขปัญหา • โครงการระยะสั้น • ควบคุมจำนวนเรือนแพไม่ให้เพิ่มขึ้น • ป้องกันการต่อเติมดัดแปลงเรือนแพเป็นร้านขายอาหาร • แนะนำป้องกันการทิ้งขยะลงแม่นำ้ของชาวแพ • ส่งเสริมการทำสุขาและดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล จากเรือนแพ • โครงการระยะยาว • การเคลื่อนย้ายชุมชนชาวแพขึ้นบกและจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยใหม่ บริเวณที่สาธารณประโยชน์คลองโคกช้าง

  13. กระแสความเคลื่อนไหวจากสื่อมวลชนกระแสความเคลื่อนไหวจากสื่อมวลชน • เอกลักษณ์ของจังหวัด • การปรับปรุงและพัฒนาไม่จำเป็นต้องรื้อเรือนแพออก • เรือนแพเป็นส่วนน้อยที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะของแม่น้ำ • พัฒนาให้มีจิตสำนึกรักชุมชนและช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อม

  14. ผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล

  15. ข้อมูลทั่วไปของชุมชนชาวเรือนแพข้อมูลทั่วไปของชุมชนชาวเรือนแพ • จากสถิติของสำนักงานเทศบาลพิษณุโลก ปี 2543 พบว่า มีเรือนแพรวมทั้งสิ้น 192 หลัง แยกเป็น - แพที่อยู่อาศัย 189 หลัง ( เป็นแพที่เตรียมย้ายขึ้น 142 หลังและที่จะยังอยู่ต่อไป 50 หลัง ) - แพอาหาร 3 หลัง ( ยังอยู่ทั้งหมด ) • กว่าร้อยละ 50 มีอาชีพรับจ้างและบริการ รองลงมา คือ ค้าขาย และมีอาชีพประมงเพียง 2 ราย • รายได้ของครัวเรือน

  16. ข้อดี-ข้อเสียที่เกิดจากการอยู่แพมีอะไรบ้าง ? ข้อดี “ใช้น้ำจากแม่น้ำอาบ แกว่งสารส้มแล้วเอามา ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้า “ อยู่นี่ก็สะดวกดี เช้ามาก็ขนของขึ้นไปขายที่ตลาดได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ” “ย้ายขึ้นมาแล้วก็ลำบากตรงการเดินทาง อยู่แพใกล้โรงเรียนลูกใกล้ ที่ทำงาน บางบ้านรายได้น้อยไม่พอเจียดไปส่งเป็นรายเดือน”

  17. ข้อเสีย ปัญหาความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย “ ค่าบวบแพก็แพง ต้องมีคนอยู่โยงเฝ้าบ้าน 1 คน เวลาน้ำขึ้นน้ำลง บางทีคนเฝ้าบ้านเผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาลูกจมน้ำหายไปไหน ก็ไม่รู้ อีกอย่างเค้าก็มองว่าชาวเรือนแพทำให้แม่น้ำน่านสกปรกเรา เลยเห็นว่าย้ายขึ้นจะดีกว่า “ “ น้ำเสียที่เค้าทิ้งมาจากในเมืองมันมีกลิ่นเหม็น ยิ่งหลังฝนตกใหม่ๆ น้ำฝนมันชะล้างอะไรๆ ที่สิ่งสกปรกก็ทิ้งลงแม่น้ำหมด กลิ่นจะ เหม็นรุนแรงมาก เวลาจะใช้น้ำก็ต้องตักน้ำจากนอกตัวเรือนแพ “

  18. ปัญหาสุขภาพ สุขภาพร่างกาย “ ไม่รู้สินะตั้งแต่อยู่มาก็ไม่เห็นเคยมีโรคท้องร่วงระบาดเลย โรคอื่นๆ จากการใช้น้ำหรือผื่นคันที่ผิวหนังก็ไม่เห็นมี อาจเพราะเคยชินกัน มาตลอด แต่ตัวพี่เองช่วงเลี้ยงลูกก็จะต้มน้ำให้ลูกตลอด “ “ ใช้น้ำจากแม่น้ำมาตลอดร่างกายก็แข็งแรงดีไม่เห็นเป็นอะไร แต่ถ้ามีเด็กอ่อนก็จะต้มน้ำให้กินให้อาบพอมันโตเดินได้ ก็โน่น น้ำในแม่น้ำนั่นแหละ “

  19. สุขภาพจิต “ย้ายขึ้นมาอยู่บนบกแล้วก็สบายดีไม่เจ็บไม่ไข้และก็ไม่ต้องกลัวว่าใคร จะมาหาว่าเราทำแม่น้ำสกปรก ไม่มีใครเอารถไถมาไล่ขู่ให้รีบ ถอยแพหนีตอนที่เค้าจะทำเขื่อนอีก “ “เวลาน้ำขึ้นลงถ้าอยู่คนเดียวตอนสามีและลูกไปทำงานกันหมดก็ เหนื่อยเหมือนกันเวลาลากแพเข้าออก ยิ่งตอนมีพายุฝนดึกๆ ต้องอดหลับอดนอนเป็นห่วงแพ บางทีตอนท้องลูกคนเล็กเราก็ ท้องแก่แล้วยังต้องมาคอยลากแพอีกมันลำบากเหมือนกันถ้าลาก ไม่ไหวก็ปล่อยมันทิ้งไว้ แต่ทำอย่างไรได้ก็เรายังไม่มีเงินย้ายไปอยู่ไหน

  20. ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ? “ ชาวเรือนแพมีส่วนทำให้น้ำเสียบ้างเหมือนกันเพราะมีอยู่หลายหลัง มีอะไรก็ทิ้งลงแม่น้ำ้เลยไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย เศษอาหาร ขยะ อาจเป็นการแพร่เชื้อโรคได้ “ “ ชาวแพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำเสียและยังวางของไม่เป็น ระเบียบตามชายฝั่ง มันดูแล้วไม่น่ามอง แต่ถ้าเทียบกับท่อเทศบาลแล้ว น่าจะเป็นสาเหตุหลักมากกว่า “

  21. แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทัศนคติของชุมชนเป็นอย่างไร ? “ การแก้ปัญหาโดยย้ายชาวแพขึ้นมา แต่ในขณะที่ท่อของเทศบาลยังทิ้ง นำ้เสียลงมา ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เค้าควรบำบัดนำ้เสียก่อน ปล่อยลงน้ำจะดีกว่า ” “ ควรควบคุมจำนวนแพอย่าให้มีมากกว่านี้ จัดสุขาภิบาลการใช้นำ้ การขับถ่ายของเสีย ขยะมูลฝอยหรือมีส้วมบนบกไว้ใช้ อีกอย่างถ้าแพ ยังอยู่ต่อก็ควรช่วยกันดูแลแม่นำ้อย่าไปทิ้งอะไรลงไป “

  22. การย้ายเรือนแพขึ้นมาจะมีผลต่อเอกลักษณ์หรือไม่อย่างไร ? “ คำขวัญมันคงหายไป น้อยใจเหมือนกันเพราะเราอยู่กันมานาน นักท่องเที่ยวที่เค้าอยากมาดูก็ไม่ได้ดู “ “ ไม่ได้กระทบกระเทือนอะไรมากนักยกเว้นวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ เนื่องจากคนไทยกลัวการเปลี่ยนแปลง “ “ มีบ้างแต่ไม่มากนักเพราะยังมีจุดอื่นที่ promote ได้ ถ้านักท่องเที่ยว มาเห็นชาวแพทิ้งสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำอาจจะยิ่งแย่ไปกว่าการมองว่า น่าสนใจ “

  23. โครงการเคลื่อนย้ายเรือนแพยืดเยื้อมานานเนื่องมาจากสาเหตุใด ? สาเหตุที่มาจากชุมชนชาวเรือนแพ - ไม่มีเงิน - ความไม่มั่นคงในที่อยู่ใหม่ - ยังยึดถือวิถีการดำเนินชีวิตแบบเก่า สาเหตุที่มาจากหน่วยราชการ - วัตถุประสงค์ของโครงการที่สื่อสารกับชาวแพ - ปัญหาเรื่องงบประมาณ

  24. สรุปการวิจัยและข้อเสนอแนะสรุปการวิจัยและข้อเสนอแนะ

  25. ข้อเสนอแนะ 1. กลวิธีในการดำเนินโครงการควรมีการนำหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วย 2. แนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ คือ สร้างเรือนแพจำลอง 3. มีนโยบายที่เกี่ยวกับการดูแลแพอาหารและแพที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ 4. มีกิจกรรมที่เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชน 5. ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหามลภาวะของ แม่น้ำน่าน

  26. THE END

More Related