1 / 32

ประวัติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์. รัชกาลที่ 1 กับการย้ายราชธานี. ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปสร้างกรุงรัตนโกสินทร์. ทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของ แม่น้ำเจ้าพระยา. เหตุผล. 1.กรุงธนบุรีอยู่ฝั่งท้องคุ้งถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย. 2. มีแม่น้ำผ่ากลางเป็นเมืองอกแตก ป้องกันเมืองยาก.

Download Presentation

ประวัติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์

  2. รัชกาลที่ 1 กับการย้ายราชธานี ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของ แม่น้ำเจ้าพระยา เหตุผล 1.กรุงธนบุรีอยู่ฝั่งท้องคุ้งถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย 2. มีแม่น้ำผ่ากลางเป็นเมืองอกแตก ป้องกันเมืองยาก 3. คับแคบขยายไม่ออกเนื่องจากมีวัดแจ้ง -วัดท้ายตลาดขนาบอยู่

  3. ทรงสถาปนาราชวงค์จักรี สร้างพระบรมมหาราชวัง สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในวัง เหมือนกรุงศรีอยุธยามีวัดพระศรีสรรเพชญ พระมหากษัตริย์ 3 พระองค์แรก ก่อร่างสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน โดยยึดถือตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

  4. อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร เจิดหล้า บุญเพรงพระหากสรร ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้น ใจเมือง

  5. พระราชอัธยาศัยกับพระราชภารกิจพระราชอัธยาศัยกับพระราชภารกิจ รัชกาลที่ 1 ใครเป็นนักรบก็โปรด รัชกาลที่ 2 ใครเป็นกวีก็โปรด รัชกาลที่ 3 ใครสร้างวัดก็โปรด รัชกาลที่ 4 ใครรู้ภาษาต่างประเทศก็โปรด

  6. การเมืองการปกครอง ส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก กรมพระกลาโหม หัวเมืองประเทศราช กรมมหาดไทย สมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือ กรมเวียง กรมวัง สมุหพระกลาโหม หัวเมืองฝ่ายใต้ กรมคลัง กรมนา กรมพระคลัง หัวเมืองชายทะเลรอบอ่าวไทย

  7. รัชกาลที่ 1 โปรดให้รวบรวมชำระกฎหมาย กฎหมายตราสามดวง ตราราชสีห์ ตราบัวแก้ว ตราคชสีห์ เป็นหลักในการปกครองราชอาณาจักรจนถึงรัชกาลที่ 5

  8. ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ร. 1 สงครามเก้าทัพกับพม่า ร. 2 การท้าทายอำนาจจากเวียดนาม ร. 3 สงครามอันนัมสยามยุทธ

  9. รัชกาลที่ 2 ยุคทองของวรรณกรรม รัชกาลที่ 2 กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน แกะสลักบานประตูวิหารวัดสุทัศน์ ฯ สุนทรภู่ กวีเอก พระอภัยมณี นิราศภูเขาทอง ฯลฯ

  10. การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แบ่งบุคคลในสังคมเป็น 2 ระดับ ระดับมูลนาย * ชนชั้นปกครอง กษัตริย์(มูลนายสูงสุด) เจ้านาย ขุนนาง ศักดินา 400 ขึ้นไป ระดับสามัญชน * ชนชั้นผู้ถูกปกครอง มูลนายระดับล่าง ถือศักดินาต่ำกว่า 400 รวมทั้งกลุ่มไพร่ทาส ไพร่หลวง ไพร่สม ไพร่ส่วย

  11. ด้านเศรษฐกิจ การค้าสำเภาจีนและต่างประเทศอื่น ๆ รายได้จากการค้าสำเภาหลวง กำไรจากการผูกขาดสินค้า ภาษีปากเรือ ภาษีขาเข้า ภาษีขาออก รายได้ภายในประเทศ * จังกอบ อากร ฤชา ส่วย การค้าเฟื่องฟูมากระบบซื้อขายด้วยเงินตราเริ่มเข้ามามีบทบาทร่วมกับระบบเศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งเป็นระบบดั้งเดิมของไทย

  12. นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยมนโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เริ่มต้นด้วยการเข้ามาค้าขาย ต่อมาอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ ความล้าหลัง ด้อยความเจริญ จำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงให้ทันสมัยด้วยการยึดครอง 1. การผ่อนหนักเป็นเบา * ยอมทำสัญญาเสียเปรียบ * ยอมเสียดินแดน 2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย เพื่อไม่ให้อ้างได้ว่าไทยล้าหลังด้อยพัฒนา 3. การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป * รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง * ผูกไมตรีกับรัสเซีย

  13. การปรับปรุงประเทศให้ทันแบบสมัยตะวันตกการปรับปรุงประเทศให้ทันแบบสมัยตะวันตก เริ่ม รัชกาลที่ 3 - 5 การรับวัฒนธรรมตะวันตกระยะแรก ในรัชกาลที่ 3 มิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่ศาสนา หมอบรัดเล่ย์ -วิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ริเริ่มการผ่าตัด แท่นพิมพ์ ตัวพิมพ์ภาษาไทย ประกาศห้ามสูบฝิ่น เป็นประกาศของทางการฉบับแรกที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ หนังสือพิมพ์รายปักษ์ฉบับแรกของไทย – บางกอกรีคอเดอร์ พ.ศ.2387 บุคคลชั้นสูงศึกษาวิทยาการตะวันตก เจ้าฟ้ามงกุฎ (วชิรญาณภิกขุ) ศึกษาภาษาละติน อังกฤษ ดาราศาสตร์ เจ้าฟ้าจุฑามณี ศึกษาวิชาทหาร

  14. รัชกาลที่ 4 ทรงปรับเปลี่ยนธรรมเนียมที่ล้าสมัย แก้ไขข้อบังคับของบ้านเมือง คำนึงถึงการยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากขึ้น ให้มีเสรีภาพ ในการนับถือศาสนา อนุญาตให้สตรีในวังที่มิได้เป็นเจ้าจอมมารดาถวายบังคมลาออกจากวังไปแต่งงานใหม่ได้ ประกาศห้ามบิดามารดาขายบุตรลงเป็นทาส ให้โอรส ธิดา เจ้านายในวัง เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า

  15. ความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ สนธิสัญญาเบาวริง พ.ศ.2398 - อังกฤษ และได้ใช้เป็นต้นแบบในการทำสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป รวม 12 ประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งสำคัญของไทยจากการเลือกคบค้ากับต่างชาติอย่างระมัดระวังมาเป็นการให้ความร่วมมือกับประเทศตะวันตกมากขึ้น

  16. ข้อดีของสัญญาเบาวริง 1. การรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ จากการโอนอ่อนผ่อนปรน แม้จะรู้ว่าเป็นสัญญาที่ไทยเสียเปรียบ 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เร่งเพิ่มผลผลิตเพื่อการส่งออก ข้าว ดีบุก ไม้สัก 3 . การรับอารยธรรมตะวันตก และวิทยาการสมัยใหม่ ข้อเสียของสัญญาเบาวริง 1. ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาล 2. อังกฤษกลายเป็นชาติอภิสิทธิ์ ไทยทำสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ กับชาติอื่น อังกฤษต้องได้รับสิทธินั้นด้วย 3. ข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาในสัญญาไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจะทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย

  17. การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจัยภายนอก การขยายอิทธิพลทั้งจากอังกฤษและฝรั่งเศส ปัจจัยภายใน 1. การปกครองยังขาดความเป็นปึกแผ่น 2. การคลังรัฐขาดรายได้ ผลประโยชน์เป็นรายได้ส่วนตัวของเจ้าภาษีนายอากร ขุนนางในหัวเมือง ขุนนางส่วนกลางที่ดูแลหัวเมือง 3. ขุนนางบางตระกูล (บุนนาค) มีอำนาจทางการเมืองสูง 4. สังคมไทยยังล้าสมัยด้านการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร การเกิด 5. ความไม่สงบภายในประเทศโดยเฉพาะปัญหาคนจีนที่เป็นอั้งยี่

  18. การปฏิรูปประเทศระยะแรก พ.ศ. 2416-2418 5 ปี แรกที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. 2411-2415) ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ พ.ศ. 2416 ทรงบรรลุนิติภาวะ เข้าบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง จึงเริ่มนำแบบแผนการบริหารประเทศที่เหมาะสมมาใช้ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

  19. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีสภา องคมนตรีสภา ถวายคำปรึกษาข้อราชการแผ่นดิน พิจารณาร่าง พ.ร.บ. และกฎหมายต่าง ๆ ที่ปรึกษาราชการในพระองค์ ช่วยปฏิบัติราชการตามแต่พระราชประสงค์ คล้ายสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน คล้ายคณะองคมนตรีในปัจจุบัน

  20. พระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อดูแลรายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน ต่อมาคือกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ รัชกาลที่ 5 กับการเปลี่ยนแปลง ด้านการคลัง การยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร การยกเลิกระบบกินเมืองของเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค การแยกเงินของแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกัน การจัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก พ.ศ. 2439

  21. การปฏิรูปการคลังส่งผลให้เจ้านาย-ขุนนางที่เสียประโยชน์ไม่พอใจการปฏิรูปการคลังส่งผลให้เจ้านาย-ขุนนางที่เสียประโยชน์ไม่พอใจ เกิดวิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ.2418 เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่าง “วังหลวง” กับ “วังหน้า” ทำให้ต้องทรงหยุดความเคลื่อนไหวพื่อการปฏิรูปไปนาน 10 ปี

  22. การปฏิรูปการปกครอง พ.ศ.2435 การบริหารราชการส่วนกลาง ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ์ทั้ง 4 จัดตั้งกระทรวง 12 กระทรวง * มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง คลัง เกษตร ต่างประเทศ ยุติธรรม ธรรมการ โยธาธิการ

  23. การบริหารราชการส่วนภูมิภาคการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ยกเลิกการแบ่งหัวเมืองเป็นชั้น ๆ ที่มีความสำคัญไม่เท่ากัน ยกเลิกระบบกินเมืองที่สืบทอดตำแหน่งกันในตระกูลของเจ้าเมือง ระบบมณฑลเทศาภิบาล ตามแบบที่อังกฤษใช้ปกครองพม่า มลายู ข้าหลวงเทศาภิบาลไปประจำมณฑล ปกครองเมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ลดหลั่นกันลงไป

  24. การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมืองการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง แห่งแรกที่ บางปะอิน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การจัดตั้งสุขาภิบาลให้ราษฎรมีส่วนร่วม ในการบริหารท้องถิ่นของตน แห่งแรกที่ ต.ท่าฉลอม สมุทรสาคร

  25. การปฏิรูปสังคม เดิมสังคมไทยมีระบบไพร่ไว้ควบคุมกำลังคน ทำการผลิตในยามปกติ เป็นไพร่พลรบในยามสงคราม ขุนนางที่มีอำนาจ ตำแหน่งสูง สามารถมีไพร่พลมากในสังกัด ไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ จึงทรงยกเลิกระบบไพร่ ทาส ใช้ระบบการเกณฑ์ทหาร มาควบคุมไพร่พลแทน ใน พ.ศ. 2448 ผล-ไพร่ทาส ส่วนใหญ่เปลี่ยนฐานะเป็นชาวไร่ ชาวนา เป็นเสรีชนในสังคมใหม่

  26. การปฏิรูปการศึกษา ทรงตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบขึ้นในวัง เพื่อให้การศึกษาแผนใหม่แก่พระราชวงศ์ บุตรหลานขุนนาง (พ.ศ.2414) จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรสามัญชนตามวัดต่าง ๆ เริ่มด้วย โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในกรุงเทพ ฯ พ.ศ. 2427 และได้ขยายไปหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร ทุนเล่าเรียนหลวง จัดตั้ง ร.ร.ข้าราชการพลเรือน ร.ร.ยันตรกรรม ร.ร.แพทยาลัย ร.ร.กฎหมาย ร.ร.ฝึกหัดครู (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) / ร.ร.นายร้อย ร.ร.นายเรือ ร.ร.แผนที่ ร.ร.การไปรษณีย์โทรเลข

  27. การปฏิรูปทางการศาลและกฎหมายการปฏิรูปทางการศาลและกฎหมาย กฎหมายไทยยังล้าหลังในสายตาต่างชาติตะวันตก จึงทรงให้ยกเลิกบทลงโทษแบบจารีตนครบาล กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ในการจัดระบบศาล จัดทำประมวลกฎหมายขึ้นใหม่ตามแบบสากล พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าลูกยาเธอเป็นกำลังสำคัญ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

  28. การเลิกทาส แนวพระราชดำริ การมีทาสเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ ความป่าเถื่อน ไม่ยุติธรรมในสังคม ต่างชาติดูถูกคนไทย ว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนไม่ให้กระทบผลประโยชน์ของนายเงิน และตัวทาสเอง การตรากฎหมายการเลิกทาส พ.ศ.2417 ลดค่าตัวของทาสให้ต่ำลงเพื่อให้ไถ่ถอนเป็นอิสระง่ายขึ้น พ.ศ.2448 จึงทรงตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ.124

  29. การปฏิรูปการคลัง หอรัษฎากรพิพัฒน์*จัดการรายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2433*รวบรวมการจัดเก็บรายได้ทั้งปวงให้มารวมที่เดียวกัน เปิด สนง.รับฝาก-ให้กู้เงิน “บุคคลัภย์” (BookClub) 2447 ก่อตั้ง “แบงค์สยามกัมมาจลทุนจำกัด” 2449

  30. การเปลี่ยนแปลงระบบการเงินการเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน ในรัชกาลที่ 5 ยกเลิกเงินพดด้วง ให้ใช้เงินเหรียญบาท เหรียญสลึง เหรียญสตางค์แทน มีหน่วยเงินตราใหม่ 100 สตางค์ = 1 บาท ใช้ธนบัตรครั้งแรก พ.ศ. 2445 รุ่นแรกราคาต่ำสุด 5 บ. สูงสุด 1,000 บ.

  31. ผลจากการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435 4. กรุงเทพ ฯเป็น ศูนย์กลางแห่งอำนาจ ที่แท้จริง 1. เกิดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง K มีอำนาจสูงส่งขึ้น 2. เป็นการสร้าง “รัฐชาติ” สำเร็จประชาชนรวมศูนย์ผูกพันกัน 3. รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ

  32. กลุ่มหัวก้าวหน้า ร.ศ.103 แนวคิดประชาธิปไตยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถานการณ์บ้านเมืองก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เทียนวรรณ ก.ศ.ร.กุหลาบ

More Related