1 / 22

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8 2. นางสาว จารุวรรณ เคณาอุประ 483230015-9 3. นางสาว รุ่งรัตน์ ภาคำตา 483230097-1 รายงาน เรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย. ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย.

carlos-ruiz
Download Presentation

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8 2.นางสาว จารุวรรณ เคณาอุประ 483230015-9 3.นางสาว รุ่งรัตน์ ภาคำตา 483230097-1 รายงาน เรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย

  2. ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทยประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย • 2429  กิจการรถไฟได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่อรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กให้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯถึงสมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร  หลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2433  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นสังกัดกระทรวงโยธาธิกาครั้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439พระองค์จึงเสด็จทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ - อยุธยาระยะทาง 71 กิโลเมตรซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟ

  3. ต่อมาในปี 2504 ได้เริ่มโครงการ Dieselization โดยทยอยจัดหารถจักรดีเซลมาใช้แทนรถจักรไอน้ำซึ่งใช้เวลา14 ปี จึงแล้วเสร็จในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนักทรัพย์สินทั้งทางอาคาร  และรถจักรล้อเลื่อนได้รับความเสียหายมากจำต้องเร่งบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม โดยเร็วถ้าจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจากธนาคารโลกมาสมทบในระหว่างการเจรจากู้เงินนั้นธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่    เพื่อให้เกิดความคล่องตัวใน การบริหารกิจการในเชิงธุรกิจกรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการ  ภายใต้ชื่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา โดยดำเนินการอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ. 2494   ซึ่งในหลักการรัฐคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหารคุมอัตราเงินเดือน

  4. ปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท. โดยการปรับโครงสร้างบริหารจากเดิมที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบทั้งงานด้านพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่งและงานบริการเดินรถขนส่งพร้อมกัน ให้เหมือนกับระบบขนส่งอื่น กล่าวคือจะแยกงานบริการเดินรถขนส่งออกจากงานด้านพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่ง โดยจะเป็นผู้รับภาระงานพัฒนาและบำรุงรักษารัฐบาลโครงสร้างขนส่งทั้งหมด ส่วนการรถไฟฯจะดำเนินการด้านงานบริการเดินรถขนส่งและการบริหารพัฒนาจัดการทรัพย์สิน และต้องชำระค่าใช้ทางให้แก่งานพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่ง ทั้งนี้การรถไฟฯจะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบบัญชีใหม่ เพื่อให้มีระบบบัญชีรองรับในแต่ละด้าน ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังนำเสนอ ครม.เพื่อขอรับความเห็นชอบ และภายหลังการปรับโครงสร้างบริหารแล้วจะส่งผลให้การขนส่งทางรถไฟเป็นระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

  5. โครงสร้างบริหารที่เสียเปรียบระบบขนส่งอื่นๆโครงสร้างบริหารที่เสียเปรียบระบบขนส่งอื่นๆ

  6. การดำเนินงานภายใต้โครงการใหม่การดำเนินงานภายใต้โครงการใหม่

  7. สรุปผลการดำเนินงานเรื่อง การปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย • คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 เห็นชอบในหลักการการปรับโครงสร้างของ รฟท. โดยให้เริ่มดำเนินงานตามโครงสร้างที่ปรับปรุงใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2543 โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งคือการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดการแยกบัญชีฯตามโครงสร้างใหม่บนหลักการพื้นฐานที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาให้ใช้เงินจากโครงการความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ตามโครงการ Structural Adjustment Loan (SAL)

  8. ผลความคืบหน้าของการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ผลความคืบหน้าของการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ 1.การพิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างการรถไฟฯ 2การกำกับการดูแลการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้าง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 2.1โดยกระทรวงคมนาคม 2.2โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย 3. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปรับโครงสร้าง 4. การจ้างที่ปรึกษาระยะสั้นด้านการเงิน 5. การจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การปรับโครงสร้าง 6. คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบในหลักการให้การรถไฟฯ

  9. 1. โครงการตามนโยบายด้านการคมนาคมและขนส่งแห่งชาติ 2. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครสายเหนือ 3. โครงการปรับปรุงทาง 4. โครงการเสริมความมั่นคงทางรถไฟ 5. โครงการจัดหารถลากจูงพร้อมเครน 2 คัน 6. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนและระบบอาณัติสัญญาณ 7. โครงการจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ

  10. 8.โครงการบริหารงานในหน่วยงานสนับสนุน 9. โครงการศึกษาและวางระบบตัวชี้วัดตามผลงาน 10. แผนงานขนส่งผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 11. แผนงานขนส่งสินค้า 12. แผนงานเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า 13. แผนงานปรับเปลี่ยนบริหารงานภายในให้เป็นหน่วยธุรกิจ 14. แผนปรับเปลี่ยนทัศนคติ บุคลากร เพื่อรองรับการจัดโครงสร้าง 15. แผนฝึกอบรมทั่วไป

  11. แผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟแผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เพื่อศึกษาจัดลำดับความสำคัญและช่วงเวลาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของการก่อสร้าง • ระบบทางคู่ การปรับปรุงทางรถไฟ และการพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณฯ ตามความจำเป็นเร่งด่วนแต่ละช่วง/ตอนและนำมาประกอบการพิจารณาลงทุนดำเนินการอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม การรถไฟฯได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟโดยดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 -พฤศจิกายน 2545

  12. โครงการก่อสร้างเพื่อขยายขีดความสามารถของสถานี ICD ที่ลาดกระบัง(ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548  งานแล้วเสร็จ 100% )

  13. โครงการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างขยายเครือข่ายทางรถไฟ(ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549)

  14. โครงการศึกษาเส้นทางขนส่งมวลชนระบบรางสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SBIA-RAP) • เนื่องจากการพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในแผนแม่บทระยะที่ 1ได้รับการจัดลำดับความสำคัญไว้ค่อนข้างสูงเพราะเป็นระบบที่จะนำผู้โดยสารจากชานเมืองเข้ามาป้อนให้กับระบบขนส่งมวลชนอื่นในเมืองซึ่งได้รับการออกแบบระบบให้เชื่อมโยงกันไว้บ้างแล้ว ประกอบกับรัฐบาลมีกำหนดจะเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี 2548 และท่าอากาศยานดังกล่าวอยู่ห่างจากเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเพียง 5 กม.ดังนั้นหากเร่งรัดการพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในส่วนนี้ขึ้นให้ทันการเปิดใช้งานท่าอากาศยานใหม่ได้แล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางในกทม. และการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปพร้อมกันด้วย

  15. ผลการดำเนินงานถึงปัจจุบันผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน • รฟท. เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานรฟท.ได้นำเสนอแผนการลงทุนเรื่องการสร้างทางรถไฟยกระดับซึ่งประกอบด้วยการสร้างทางรถไฟยกระดับจากสถานีบางซื่อถึงสถานีรังสิต ระยะทาง 23 กม. งบประมาณก่อสร้าง 23,000 ล้านบาท และการสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ งบประมาณก่อสร้าง 35,035 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมฯมีความเห็นว่างบประมาณในการก่อสร้างตามที่ รฟท. เสนอสูงเกินไปประกอบกับงบประมาณของรัฐบาลมีอยู่ค่อนข้างจำกัดจึงให้ทบทวนรูปแบบและขนาดของโครงการเสียใหม่โดยให้พัฒนาสถานีรถไฟบางซื่อให้เป็นสถานีกลางเพื่อรองรับขบวนรถไฟระหว่างเมืองที่มาจากเส้นทางสายเหนือและสายใต้แทนการใช้สถานีกรุงเทพและให้พิจารณาก่อสร้างทางรถไฟบนระดับพื้นดินในสัดส่วนที่มากกว่าเดิมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

  16. ต่อเนื่องจากความเห็นของที่ประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าควรดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับสายเหนือช่วง บางซื่อ-รังสิตเป็นอันดับแรก (รายงานสำนักงานติดตามและประสานงานตามการสั่งการของนายกรัฐมนตรี พร้อมจัดทำเอกสารแล้วส่งมอบให้กระทรวงคมนาคม เพื่อมอบหมายผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้รับทราบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการมาตรวจงานที่การรถไฟฯเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2545 ว่าคงจะยังไม่จำเป็นต้องเร่งรัดการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้ทันกำหนดเปิดใช้งานในปี 2548 ท่าอากาศยานสามารถเปิดใช้งานไปก่อนได้โดยยังไม่มีระบบรถไฟเชื่อมโยง การสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงยังไม่มีลำดับความสำคัญ ในการลงทุนและการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทำการสำรวจออกแบบตามที่ขอตั้งงบประมาณไว้ในปี 2546 จำนวน 140 ล้านบาทจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้

  17. แผนงานปรับปรุงรถดีเซลรางและรถโดยสารใช้แล้ว จากบริษัท JR-WEST ประเทศญี่ปุ่น • การรถไฟฯได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารใช้แล้วจากบริษัท JR-West ประเทศญี่ปุ่น โดยไม่คิดมูลค่าจำนวน 54 คัน ประกอบด้วยรถโดยสารปรับอากาศ 28 คัน และรถดีเซลรางปรับอากาศ 26 คัน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 การรถไฟฯได้ทำการปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แล้วนำออกให้บริการผู้โดยสาร โดยเดินเป็นขบวนรถชานเมือง และพ่วงเข้าขบวนรถโดยสาร เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการและความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร • ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2542 การรถไฟฯยังได้รับรถดีเซลรางปรับอากาศจากบริษัท JR-WEST เพิ่มอีก 20 คัน เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้นที่ 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการว่าจ้างซ่อมดัดแปลง

  18. แผนงานซ่อมและปรับปรุงรถเสบียงแผนงานซ่อมและปรับปรุงรถเสบียง • ตามที่การรถไฟฯมีนโยบายในการปรับปรุงสภาพรถเสบียงให้ได้มาตรฐาน โดยดำเนินการซ่อมและปรับปรุง สภาพทั้งภายนอกและภายในใหม่ ก่อนที่จะส่งมอบรถเสบียงให้ผู้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถ นำไปให้บริการผู้โดยสารต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว การรถไฟฯได้จัดทำแผนงานซ่อมและปรับปรุงสภาพรถเสบียง จำนวน 33 คัน

  19. แผนงานซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงสภาพรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่2 เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2จำนวน20คันแผนงานซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงสภาพรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่2 เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2จำนวน20คัน • ในจำนวนรถโดยสารที่การรถไฟฯมีใช้การอยู่ปัจจุบัน มีรถบางประเภทเป็นที่ได้รับความนิยมใช้บริการมาก ได้แก่รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 ทำให้รถที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการพิจารณาแล้วเห็นว่ารถนั่งและนอนชั้นที่ 2ที่มีอยู่ปัจจุบัน บางส่วนสามารถนำไปดัดแปลงติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และยังใช้การได้ดี ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหารถใหม่ได้ด้วยเหตุนี้การรถไฟฯเห็นสมควรนำรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 มาทำการดัดแปลง และปรับปรุงสภาพ เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 เพิ่มอีกจำนวน 20 คัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร • การรถไฟฯ ตกลงว่าจ้างบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด เป็นผู้รับจ้างดำเนินการดัดแปลงและปรับปรุงสภาพโดยมีการลงนามในสัญญาเมื่อ 3 มิถุนายน 2546 ขณะนี้ดำเนินการดัดแปลงเสร็จ ส่งออกใช้งานแล้ว จำนวน 4 คัน

  20. แผนงานการว่าจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 60 คัน • การรถไฟฯประสบปัญหาอุปสรรคในเรื่องงบประมาณลงทุน การขาดแคลนแรงงาน และการจัดการที่เป็นระบบราชการ กอปรกับเป็นนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนการรถไฟฯได้ดำเนินการเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 แต่เนื่องจากผู้ยื่นราคาเสนอเอกสาร ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด จึงได้ยกเลิกการประกวดราคาในครั้งนั้นแล้วออกประกวดราคาใหม่ โดยเปิดซอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ซึ่งในครั้งนี้การรถไฟฯ ไม่สามารถรับเงื่อนไขของบริษัทฯ ได้ ทั้งราคาที่เสนอยังสูงกว่าราคาประเมิน การรถไฟฯ จึง ยกเลิกการประกวดราคาอีกครั้ง

  21. ได้มีการปรับปรุงราคาประเมินให้เหมาะสม แล้วออกประกวดราคาใหม่ การรถไฟฯ ได้ตกลงทำสัญญาว่าจ้าง บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท CPCSTRANSCONLIMITED เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 เพื่อทำการศึกษาความเหมาะสมในการว่าจ้างเอกชน ซ่อมบำรุง รถจักรดีเซลแบบ Full Service โดยให้ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ เสนอแนะแนวทาง รูปแบบ โครงสร้างองค์กร ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนขั้นตอนในการดำเนินการที่เหมาะสมในการจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ และ ป้องกันการผูกขาดในด้านต่างฯ ด้วย โดยมีระยะเวลาดำเนินงานการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเวลา 4 เดือน

  22. โครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ตามโครงการก่อสร้างทางคู่ 234 กม. • เป็นโครงการออกแบบจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณชนิดประแจกลไฟฟ้า บังคับการเตรียมทางสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ และสัญญาณไฟสีพร้อมระบบทางสะดวกชนิดสัมพันธ์กับสัญญาณประจำที่ โดยจัดให้มีระบบควบคุมอาณัติสัญญาณทางไกลจากศูนย์กลาง (Centralized Traffic Control System) ตลอดจนการติดตั้งระบบควบคู่ที่จำเป็นในระบบควบคุมการเดินรถและปรับปรุงระบบโทรคมนาคม

More Related