1 / 30

มาตรการการคลังเพื่อคนยากจนและด้อยโอกาส

มาตรการการคลังเพื่อคนยากจนและด้อยโอกาส. ศ.ดร. ปราณี ทินกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยมาตรการการคลังเพื่อสังคมและสุขภาวะ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. ประเด็นของรายงาน 1. ข้อมูลเกี่ยวกับคนจน

Download Presentation

มาตรการการคลังเพื่อคนยากจนและด้อยโอกาส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรการการคลังเพื่อคนยากจนและด้อยโอกาสมาตรการการคลังเพื่อคนยากจนและด้อยโอกาส ศ.ดร. ปราณี ทินกรคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยมาตรการการคลังเพื่อสังคมและสุขภาวะ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

  2. ประเด็นของรายงาน 1. ข้อมูลเกี่ยวกับคนจน 2. กองทุนและมาตรการช่วยเหลือคนยากจนของภาครัฐ 3. งบประมาณการให้ความคุ้มครองทางสังคม 4. มาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคนจน

  3. 1. ข้อมูลเกี่ยวกับคนจน • ความยากจนคืออะไร • จำนวนคนยากจน • ลักษณะของคนยากจน

  4. ความยากจนคืออะไรความยากจนมีหลายมิติความยากจนคืออะไรความยากจนมีหลายมิติ • ความยากจนทางรายได้ (income poverty) หรือความยากจน ทางการบริโภค (consumption poverty) • ความขาดแคลนทางวัตถุ (material lack or want) - นอกจากรายได้ยังรวมถึงการไม่มีทรัพย์สิน เช่น ขาดที่อยู่ อาศัย เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ • ความขาดแคลนทางความสามารถ (capability deprivation) - คนที่ไม่สามารถทำสิ่งที่อยากทำ หรือเป็นอะไรที่อยากเป็น ครอบคลุมทั้งด้านวัตถุ ทักษะ(skill) ความสามารถทาง กายภาพ (physical abilities) และศักดิ์ศรี (self respect)

  5. World Bank’s Voice of the Poor(60,000 poor people from 50 countries) • คนที่รู้สึกจนคือ ผู้ที่รู้สึกว่า - ไม่มีความอยู่ดีมีสุข (ill being) - ไม่มีความมั่นคงในชีวิตในหลายๆด้าน (many aspects of insecurity) - อยู่อาศัยในสถานที่เลวร้าย (living in bad places) - มีความสัมพันธ์ไม่ดีทางสังคม (bad social relations) - รู้สึกว่าตนขาดอำนาจ (powerlessness) - ขาดเสรีภาพในการเลือก (lack of freedom of choice)

  6. จำนวนคนจน – วัดทางด้านรายได้ ตารางแสดง เส้นความยากจน สัดส่วน และ จำนวนคนจนด้านรายได้ พ.ศ.2547 ที่มา: ข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

  7. ลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือนที่ยากจน

  8. สัดส่วนคนจน (ด้านรายได้) จำแนกตามอายุของหัวหน้าครัวเรือน ปี 2547 ที่มา: สศช.ตารางข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้ (ตาราง19) จาก website http://poverty.nesdb.go.th

  9. สัดส่วนคนจน (ด้านรายได้) จำแนกตามการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ปี 2547 ที่มา: สศช. ตารางข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้ (ตาราง20) จาก website http://poverty.nesdb.go.th

  10. สัดส่วนคนจน (ด้านรายได้) จำแนกตามขนาดครัวเรือน ปี 2547 ที่มา: สศช. ตารางข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้ (ตาราง21) จาก website http://poverty.nesdb.go.th

  11. สัดส่วนของคนจน (ด้านรายได้) จำแนกตามสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2547 ที่มา: สศช. ตารางข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้ (ตาราง22) จาก website http://poverty.nesdb.go.th

  12. 2. กองทุนที่รัฐบาลตั้งเพื่อช่วยเหลือคนจน/ผู้มีรายได้น้อย • กองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน • กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส • กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

  13. กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนจน/เกษตรกรกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนจน/เกษตรกร • กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร(พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ.2517) • เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือ เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2528) • กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร พ.ศ.2534) • กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542)

  14. กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาสกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส 1. กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา (พ.ร.บ.กองทุนเพื่อ โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ประถมศึกษา พ.ศ. 2535 ) 2. กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ) 3. กองทุนคุ้มครองเด็ก (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ 2546 ) 4. กองทุนผู้สูงอายุ (พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 )

  15. กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 1. เงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ /กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนบัตร ประกันสุขภาพ พ.ศ.2538/พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ) 2. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา /กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต /กองทุนเงินให้เปล่า (พ.ร.บ.เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2541 ) 3. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ) 4.กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546)

  16. ตารางการจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนที่มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และคนด้อยโอกาส ปีงบประมาณ 2549-2550 ที่มา: เอกสารงบประมาณโดยสังเขป ปี 2542-2550 website: http://www.bb.go.th หมายเหตุ: ปีพ.ศ.ในวงเล็บคือปีที่เริ่มจัดตั้งกองทุน

  17. ข้อสังเกตเกี่ยวกับกองทุนเหล่านี้ข้อสังเกตเกี่ยวกับกองทุนเหล่านี้ ประการแรก การจัดตั้งกองทุนต่างๆของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือคนยากจนนั้น ส่วนใหญ่มิได้มีลักษณะมุ่งไปที่คนจน โดยตรง หากแต่มักจะมุ่งเน้นไปที่ภาคเกษตร คงเป็นเพราะว่าคนยากจนส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการเกษตร อย่างไรก็ตามมาตรการช่วยเหลือในด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดจำหน่าย และการพยุงราคา รวมทั้งการให้เกษตรกรกู้เงินอาจจะไปไม่ถึงเกษตรกรที่ยากจนจริงๆอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ได้ (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2527) พบปัญหาหลายประการเกี่ยวกับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และระบุว่า วิธีการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในทางปฏิบัติรั่วไหลไปเป็นประโยชน์แก่พ่อค้าคนกลาง เจ้าของโรงสี พ่อค้าผู้นำเข้าปัจจัยการผลิต และเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นเหตุให้เกษตรกรมิได้รับประโยชน์จากการใช้เงินกองทุนเท่าที่ควร) ประการที่สาม นักการเมืองมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและคนยากจน เพื่อเป็นการเรียกคะแนนนิยม หรือหาเสียงให้แก่ตนเองและพรรคที่สังกัด ความข้อนี้เห็นได้ชัดเจนจาก กรณีจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งในหลักการเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มแหล่งเงินทุนให้เกษตรกร และชาวบ้านยากจนในชุมชนได้กู้ยืม (micro finance) มีแนวคิดคล้ายกับธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ที่ก่อตั้งโดยนาย Muhammad Yunus ในประเทศบังคลาเทศ ที่ให้คนยากจนกู้เงินโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (no collateral) แต่ในกรณีของกองทุนหมู่บ้านมีลักษณะเร่งรีบกระทำ เนื่องจากต้องการใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย จึงกระจายเงินไปสู่ทุกหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท และก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ผู้ที่กู้เงินและได้รับประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้าน เป็นคนยากจนจริงๆหรือไม่ แต่ผลทางด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจคงจะเกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านกู้ยืมเงินไปจับจ่ายใช้สอย จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นหนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยในปี 2543 กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 20% แรกของประเทศ มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นหนี้ร้อยละ 65.9 และสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.4 ในปี 2545 และร้อยละ 73.4 ในปี 2547 (ดูตางรางที่ 11)

  18. ประการที่สอง แม้ว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสจะดูเหมือนมีลักษณะมุ่งไปที่ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งก็คงจะมีคนยากจนในกลุ่มนี้จำนวนมาก แต่โครงการส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เพิ่งตั้งในปีพ.ศ.2546 และได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยมาก จนไม่น่าเชื่อว่าผู้ด้อยโอกาสจะได้รับประโยชน์จากกองทุนเหล่านี้ สำหรับกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งจัดตั้งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 ซึ่งปัจจุบันมีเงินทุนอยู่ 6,000 ล้านบาท นั้นก็เคยมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริตในการจัดซื้อนมให้เด็กในปี พ.ศ.2545 ดังนั้นจึงมีเหตุให้พอจะเชื่อได้ว่า การใช้จ่ายเงินจากกองทุนมีส่วนรั่วไหล และผู้ด้อยโอกาสตามที่กองทุนเหล่านี้ต้องการให้ความช่วยเหลือคงจะไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่นักจากงบประมาณดังกล่าว

  19. ประการที่สาม นักการเมืองมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและคนยากจน เพื่อเป็นการเรียกคะแนนนิยม หรือหาเสียงให้แก่ตนเองและพรรคที่สังกัด ความข้อนี้เห็นได้ชัดเจนจาก กรณีจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งในหลักการเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มแหล่งเงินทุนให้เกษตรกร และชาวบ้านยากจนในชุมชนได้กู้ยืม มีแนวคิดคล้ายกับธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ที่ก่อตั้งโดยนาย Muhammad Yunus ในประเทศบังคลาเทศ ที่ให้คนยากจนกู้เงินโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ในกรณีของกองทุนหมู่บ้านมีลักษณะเร่งรีบดำเนินการ เนื่องจากต้องการใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย จึงกระจายเงินไปสู่ทุกหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท และก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ผู้ที่กู้เงินและได้รับประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้าน เป็นคนยากจนจริงๆหรือไม่

  20. 3. งบประมาณการให้ความคุ้มครองทางสังคม

  21. ตารางแสดงงบประมาณรายจ่ายของประเทศไทยจำแนกตามภารกิจตารางแสดงงบประมาณรายจ่ายของประเทศไทยจำแนกตามภารกิจ

  22. ข้อมูลพื้นฐานของประเทศไทยเปรียบเทียบกับบางประเทศในปี พ.ศ.2547

  23. การเปรียบเทียบสัดส่วนงบประมาณคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยกับบางประเทศ การเปรียบเทียบสัดส่วนงบประมาณคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยกับบางประเทศ

  24. 4.ข้อเสนอแนะ • - แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อคนจน • - มาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือคนจน

  25. นโยบายสาธารณะเพื่อคนยากจนนโยบายสาธารณะเพื่อคนยากจน • Adam Smith (ค.ศ. 1723 – 1790) • John Rawls (ค.ศ.1921 – 2002) • Ramon Magsaysay (ค.ศ.1907 – 1957) “I believe that he who has less in life should have more in law.” “ คนที่เกิดมามีน้อย รัฐพึงหยิบยื่นให้มาก” ( อ้างถึงในสุนทรพจน์ตอบรับรางวัล Ramon Magsaysay Award for Government Service ในปีค.ศ.1965 ของ ศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ )

  26. มาตรการการคลังเพื่อช่วยคนจนมาตรการการคลังเพื่อช่วยคนจน 1. ลดช่องว่างของรายได้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน • มีลักษณะพุ่งสู่เป้าหมาย (targeting the poor) • unconditional cash transfer (คนยากจนที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และ คนพิการ) • Conditional cash transfer • การจ้างงานคนยากจนที่ทำงานได้ (ในปีพ.ศ. 2548 ประเทศอินเดียออกกฎหมายชื่อ National Rural Employment Guarantee Act ให้หลักประกันจำนวนวันทำงาน 100 วัน แก่คนยากจนในชนบท)

  27. ตารางแสดงจำนวนคนพิการ จำแนกตามลักษณะความพิการ 5 ประเภท และเพศ พ.ศ.2544 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  28. มาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือคนยากจนมาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือคนยากจน 2. การจัดให้มีหลักประกันสังคม (social security) • มีลักษณะครอบจักรวาล (universal coverage) • หลักประกันทางการศึกษา • หลักประกันด้านสุขภาพ • ฯลฯ

  29. มาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือคนยากจนมาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือคนยากจน 3. มาตรการสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถพึ่งตนเอง • ปัญหาหลักของคนจนที่ลงทะเบียนกับ ศูนย์อำนวยการต่อสู้ เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) • ปัญหาหนี้สิน (38.41%) • ปัญหาที่ดินทำกิน (32.5%) • ปัญหาที่อยู่อาศัย (15.5%) • ปัญหาอื่นๆ (13.6%) (ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ คนเร่ร่อน, ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย, นักเรียน/นักศึกษาไม่มีงาน, ถูกหลอกลวง, ปัญหาอื่นๆ)

  30. มาตรการสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถพึ่งตนเองมาตรการสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถพึ่งตนเอง • คนยากจนมีปัญหาด้านปัจจัยการผลิต: - แรงงานไม่มีคุณภาพ - มีปัญหาที่ดิน - ไม่มีเงินทุน (นอกเหนือไปจากการขาดปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต) • รัฐควรจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น: - ถนน ไฟฟ้า น้ำ ระบบโทรคมนาคม และระบบเงินกู้แบบ micro finance ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (เช่น Grameen Bank)

More Related