1 / 16

10.6 ดัชนีฤดูกาล (Seasonal index)

Seasonal. 10.6 ดัชนีฤดูกาล (Seasonal index)

Download Presentation

10.6 ดัชนีฤดูกาล (Seasonal index)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Seasonal 10.6 ดัชนีฤดูกาล (Seasonal index) ในการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีองค์ประกอบของฤดูกาลนี้ จะวัดการเปลี่ยนแปลงออกมาในรูปของดัชนีฤดูกาล ซึ่งมีวิธีที่ใช้ในการคำนวณหลายวิธีด้วยกัน ในที่นี้จะขอเสนอเพียงวิธีอัตราส่วนเทียบกับค่าแนวโน้ม (the ratio to trend method) ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาที่มีแนวโน้มเป็นองค์ประกอบ ส่วนวิธีการหาดัชนีฤดูกาลอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากหนังสืออนุกรมเวลาทั่ว ๆ ไป Statistics

  2. Seasonal ข้อสังเกต เรามักจะใช้ Seasonal Index ในกรณีที่ข้อมูลเวลาเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายสัปดาห์ (t) เพราะข้อมูลเหล่านั้นมักถูกอิทธิพลของฤดูกาลทำให้ข้อมูลตัวแปรตาม (y) ขึ้น ลง ไม่คงที่ตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ลองพิจารณาข้อมูลนี้ ท่านเห็นอะไร?

  3. ลองพิจารณารูป

  4. ลองพิจารณารูป เมื่อพยากรณ์ด้วยเส้นแนวโน้ม

  5. Seasonal ข้อสังเกต จะพบว่าข้อมูลที่เป็นอนุกรมเวลาแบบนี้ ไม่สามารถพยากรณ์ให้ถูกต้องด้วยการพยากรณ์แนวโน้มเชิงเส้นตรงได้ เพราะยอดขายมีอิทธิพลของฤดูกาลที่ทำให้ยอดขายไม่สม่ำเสมอ ถ้าทำการพยากรณ์ด้วยสมการเส้นแนวโน้มชนิดที่เป็นเส้นตรง จะเกิดความคาดเคลื่อนในการพยากรณ์มาก และในทางปฏิบัติจะขาดความน่าเชื่อถือ อืม งี้นี่เอง

  6. Seasonal 10.6 ดัชนีฤดูกาล (Seasonal index) ขั้นตอนของการคำนวณ 1. สร้างสมการเส้นแนวโน้ม (ควรจะใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด) แล้วคำนวณค่าพยากรณ์จากสมการเส้นแนวโน้มที่ได้จากข้อมูลที่กำหนดให้ 2. คำนวณหาค่าอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้ม 3. หาค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้มแต่ละฤดูกาล เช่น เดือน (ถ้าข้อมูลเป็นรายเดือน) หรือแต่ละไตรมาส (ถ้าข้อมูลเป็นรายไตรมาส) ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเลขคณิต เพื่อกำจัดอิทธิพลเนื่องจากความผันแปรตามวัฏจักร และความผันแปรเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้มแต่ละเดือน (หรือแต่ละไตรมาส) ที่คำนวณได้เป็นค่าดัชนีฤดูกาลโดยประมาณ แต่ถ้าผลรวมของค่าดัชนีฤดูกาลโดยประมาณของ 4 ไตรมาส ไม่เท่ากับ 400 หรือผลรวมของค่าดัชนีฤดูกาล 12 เดือน จะไม่เท่ากับ 1,200 จึงต้องทำการปรับค่าดัชนีฤดูกาลให้มีฐานเป็น 400 ในรอบไตรมาสหรือปรับให้มีฐานเป็น 1,200 ในรายเดือน

  7. ตัวอย่าง ข้อมูลผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมรายไตรมาสซึ่งทำการเก็บข้อมูลทุก ๆ 3 เดือน (หน่วยเป็นพันตัน) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 – ปี พ.ศ. 2540 เป็นดังตาราง จงหาค่าดัชนีฤดูกาล โดยวิธีอัตราส่วนเทียบกับค่าแนวโน้ม

  8. วิธีทำ วิธีทำ 1. คำนวณค่าแนวโน้มจากข้อมูลที่กำหนดให้ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ได้สมการแนวโน้มคือ = 395.95 + 4.787t จุดเริ่มต้นอยู่ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 t มีหน่วยเป็นไตรมาส Y เป็นผลผลิตราย 3 เดือน อย่าบอกนะว่าคิดไม่เป็น

  9. 1. คำนวณหาค่าแนวโน้มหรือค่าพยากรณ์จากชุดข้อมูลเดิมทั้งหมด วิธีทำ ค่าแนวโน้มคือค่าที่พยากรณ์มานะ

  10. 2. คำนวณหาค่าอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้ม วิธีทำ

  11. วิธีทำ 3. หาค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้มแต่ละไตรมาสด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเลขคณิต เพื่อกำจัดอิทธิพลเนื่องจากความผันแปรตามวัฎจักร และความผันแปรเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอ ผลรวม 400.29 400

  12. วิธีทำ ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนร้อยละต่อค่าแนวโน้มแต่ละไตรมาสที่คำนวณได้เป็นค่าดัชนีฤดูกาล โดยประมาณ ซึ่งผลรวมของค่าดัชนีฤดูกาลโดยประมาณของ 4 ไตรมาสเท่ากับ 400.29 จึงทำการปรับค่าดัชนีฤดูกาลให้มีฐานเป็น 400 แล้วคำนวณค่าดัชนีฤดูกาลจริงของแต่ละไตรมาส โดยเทียบบัญญัติไตรยางศ์ เช่น ต้องการปรับค่าดัชนีฤดูกาลไตรมาสที่ 1 ค่าดัชนีฤดูกาลโดยประมาณ 400.29 ค่าดัชนีฤดูกาลจริงเท่ากับ 400 ถ้าค่าดัชนีฤดูกาลโดยประมาณ 78.82 ค่าดัชนีฤดูกาลจริงเท่ากับ

  13. วิธีทำ ความหมายของดัชนีฤดูกาลที่ปรับแล้วในไตรมาสต่าง ๆ เช่น ดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 1 เท่ากับ 78.76% หมายถึง ถ้าไม่มีฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางโรงงานจะผลิตสินค้าได้ 100 ตัน แต่เนื่องจากอิทธิพลของฤดูกาลจึงทำให้ผลผลิตที่ทางโรงงานผลิตได้ต่ำกว่าปกติถึง 21.24 ตัน (หรืออิทธิพลเนื่องจากฤดูกาลทำให้ผลผลิตลดลงถึง 21.24%) เป็นต้น Seasonal Index

  14. วิธีทำ • ถ้าจะลองพยากรณ์ปี พ.ศ. 2541 ไตรมาสที่ 1 สามารถทำได้ดังนี้ • พยากรณ์ด้วยสมการแนวโน้ม = 395.95 + 4.787(21) = 496.477 • พยากรณ์ให้ถูกต้องมากขึ้นด้วยการปรับค่าพยากรณ์จากสมการแนวโน้มด้วยดัชนีฤดูกาล เนื่องจากโจทย์ต้องการให้พยากรณ์ไตรมาสที่ 1 ดังนั้นเราจะนำดัชนีฤดูกาลของไตรมาสที่ 1 มาปรับ • =496.477 * (78.76)/100 = 391.0253 • นั้นคือ ปี พ.ศ. 2541 ไตรมาสที่ 1 จะมีผลผลิตเท่ากับ 391 Seasonal Index

  15. เฮ้อ....จบการพยากรณ์ซะที พอเข้าใจกันหรือเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจต้อง แต่ถ้าเข้าใจแล้วลองทำแบบฝึกหัดดูนะ ดูใหม่ Ex ครับผม

  16. จบบทแล้ว

More Related