1 / 42

253233 : ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน Geography of Settlement อ.ดร.นฤมล อินทรวิเชียร

253233 : ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน Geography of Settlement อ.ดร.นฤมล อินทรวิเชียร. บทที่ 5 ขนาดและหน้าที่ของการตั้งถิ่นฐาน บทที่ 6 ปัญหาในเขตเมือง บทที่ 7 ปัญหาในเขตชนบท บทที่ 13 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานและการวางแผนของประเทศไทย. บทที่ 5 ขนาดและหน้าที่ของการตั้งถิ่นฐาน.

camden
Download Presentation

253233 : ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน Geography of Settlement อ.ดร.นฤมล อินทรวิเชียร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 253233 : ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน Geography of Settlement อ.ดร.นฤมล อินทรวิเชียร

  2. บทที่ 5 ขนาดและหน้าที่ของการตั้งถิ่นฐาน บทที่ 6 ปัญหาในเขตเมือง บทที่ 7 ปัญหาในเขตชนบท บทที่ 13 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานและการวางแผนของประเทศไทย

  3. บทที่ 5ขนาดและหน้าที่ของการตั้งถิ่นฐาน การแบ่งแยกขนาดของการตั้งถิ่นฐานนั้นอาจใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น จำนวนประชากร อาชีพหลัก ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้อาจใช้เกณฑ์หลายๆ อย่างที่มีความสัมพันธ์กันเพื่ออธิบายขนาดของการตั้งถิ่นฐานชนิดนั้นๆ ได้เหมาะสมและถูกต้องยิ่งขึ้น

  4. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน เป็นการแบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานทั้งที่เป็นชนบทและเมือง โดยคำนึงถึงจำนวนประชากรเป็นหลักรองลงมาคือโครงสร้างทางหน้าที่ของบริเวณนั้นๆ

  5. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 1. Isolated Farmsteadหรือ Isolated Settlement คือบ้านแบบโดดเดี่ยว มักพบในบริเวณที่เป็นแหล่งเกษตรกรรม เป็นการสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เกษตรของตนเองโดยไม่รวมอยู่กันเป็นกลุ่ม

  6. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 2. Hamlet คือ กลุ่มบ้านหรือหมู่บ้านเล็กๆ ในประเทศไทยหมายถึง “หมู่บ้าน” โดยทั่วๆ ไป ซึ่งอาจจะมีการตั้งถิ่นฐานเพียง 3-5 หลังคาเรือน ไปจนถึง 30 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรระหว่าง 20-150 คน ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทางด้านการเกษตร ภายในหมู่บ้านเล็กๆ เหล่านี้มีศูนย์กลางในการให้บริการที่ไม่ใหญ่ โดยจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กมีจำนวนไม่เกิน 10 ร้าน และจะเป็นร้านที่ขายของที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

  7. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 3. Village คือหมู่บ้าน ซึ่งตรงกับความหมายคำว่า “ตำบล” ในประเทศไทย เป็นบริเวณที่มีจำนวนประชากรอยู่ระหว่าง 150-1,000 คน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานอาจจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น หรืออยู่แบบกระจัดกระจายห่างกันออกไปเป็นบริเวณกว้าง ตำบลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีศูนย์กลางเช่น โบสถ์ โรงเรียน โรงมหรสพ บ่อน้ำสาธารณะ ไปรษณีย์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กลางการค้าหรือตลาดที่ให้บริการสินค้าที่มากขึ้น

  8. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 4. Town คือเมืองขนาดเล็ก เป็นบริเวณที่มีปะชากรอยู่ระหว่าง 1,000-15,000 คน ภายในเมืองประกอบด้วยร้านค้าและสถานบริการต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีบริการสินค้าเฉพาะอย่างขึ้น เช่น คลินิก แพทย์ ร้านซักแห้ง ร้านขายเครื่องโลหะ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ธนาคาร เป็นต้น ส่วนประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้มักประกอบอาชีพนอกเหนือจากการเกษตร เช่น การค้า การบริการต่างๆ อุตสาหกรรม เพื่อให้บริการแก่ประชากรรอบนอก

  9. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 5. City คือเมืองทั่วๆ ไป ซึ่งตรงกับคำว่า “จังหวัด” แบ่งออกเป็น 2 ขนาดคือ 5.1 Small City เป็นเมืองขนาดรองที่มีจำนวนประชากรรวมกันอยู่ระหว่าง 15,000-100,000 คน 5.2 Big Cityเมืองใหญ่มีประชากรรวมกันระหว่าง 100,000-2,500,000 คน ได้แก่จังหวัดเกือบทั้งหมดของประเทศไทย ในบริเวณเมืองดังกล่าวนี้เป็นบริเวณที่มีร้านค้าและบริการหลายประเภท

  10. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน 6. Metropolis คือมหานครหรือนครหลวง เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่สุด มีจำนวนประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันมากกว่า 2,500,000 คน ตัวอย่างได้แก่กรุงเทพมหานคร มีสินค้า และบริการจำนวนมากที่สุดเพื่อให้บริการแก่คนในเขตนครหลวงเอง และคนที่อยู่รอบนอก โดยทั่วไปสินค้าที่ไม่พบที่ในเมืองขนาดอื่นๆ แล้วมักจะพบในเขตนครหลวง

  11. จากการแบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานทั้ง 6 ประเภทสามารถกำหนดว่าเป็นเมืองและชนบท ได้ดังนี้

  12. การแบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานนอกจากการใช้จำนวนประชากรเป็นเกณฑ์ที่กล่าวแล้วนั้น ยังมีการใช้เกณฑ์ขนาดของพื้นที่มาร่วมพิจารณาด้วย เช่น นอร์ทัม (Ray M. Northam) ได้แบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานออกเป็น 9 ขนาด คือ

  13. โรบินสัน (H. Robinson)ได้แบ่งชนิดของการตั้งถิ่นฐานแบบถาวรไว้ 7 ชนิดคือ 1. Isolated Building 2. Hamlet 3. Village 4. Small town 5. City (Large Town) 6. Ribbon Development 7. Conurbation ฟิลบริค (Philbrik) ยังได้แบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานโดยคำนึงถึงจำนวนประชากรตลอดจนโครงสร้างและหน้าที่ในการให้บริการต่อบริเวณรอบนอก โดยนำเอาความสำคัญในระดับภูมิภาคเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นว่าแต่ละภูมิภาคอาจมีเมืองขนาดใหญ่มากของภูมิภาคนั้นๆ ดังเช่น 1. Hamlet 2. Village 3. Town 4. City 5. Regional City (เมืองระดับภูมิภาค) 6. Regional Metropolis (มหานครระดับภูมิภาค) 7. National Metropolis (มหานครระดับชาติ)

  14. จำนวนประชากรกับกฎการเรียงลำดับตามขนาดของเมือง จำนวนประชากรกับกฎการเรียงลำดับตามขนาดของเมือง ซีพฟ์ (G.K. Zipf) ได้เสนอกฎการเรียงลำดับตามขนาดของเมืองใน พ.ศ.2488 เรียกว่า Rank Size Rule โดยกล่าวว่า ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของแต่ละประเทศถ้าใช้จำนวนประชากรเป็นหลักในการกำหนดขนาดของเมือง ให้จัดลำดับเมืองจากเล็กที่สุดไปลำดับใหญ่ที่สุด หรือจัดลำดับจากใหญ่ที่สุดมายังเล็กที่สุดแล้ว ขนาดของเมืองจะมีความสัมพันธ์กันตามขนาดโดยจะลดหลั่นกันไปตามลำดับที่ เมืองใหญ่สุดจะมีจำนวนประชากรมากกว่าเมืองลำดับรองลงไป 2 เท่า และมากกว่าเมืองอันดับที่สาม ถึง 3 เท่า เมืองใหญ่จะมีจำนวนน้อยและเมืองขนาดรองๆ ลงไปจะเพิ่มขึ้น

  15. จำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐานจำนวนประชากรกับขนาดของการตั้งถิ่นฐาน คำนวณได้จาก การเอาจำนวนประชากรของเมืองที่ใหญ่ที่สุดหารด้วยลำดับที่ของเมืองที่ต้องการทราบจำนวนประชากร สูตร Pr = P1/R Pr คือ จำนวนประชากรของเมืองในลำดับที่ต้องการทราบ P1 คือ จำนวนประชากรของเมืองใหญ่ที่สุด R คือ ลำดับที่ของเมืองที่ต้องการทราบ

  16. ตัวอย่าง ประเทศ ก. มีเมืองทั้งหมด 8 เมือง โดยเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีประชากร 500,000 คน ถ้าต้องการจัดลำดับตามขนาดของเมือง อยากทราบว่าแต่ละลำดับของเมืองจะมีประชากรเท่าใด สูตรPr = P1/R แทนค่า Pr =500,000/2  เมืองลำดับที่ 2 จะมีประชากร 250,000 คน เมืองลำดับที่ 3 จะมีประชากร 166,666 คน เมืองลำดับที่ 4 จะมีประชากร 125,000 คน เมืองลำดับที่ 5 จะมีประชากร 100,000 คน เมืองลำดับที่ 6 จะมีประชากร 83,333 คน เมืองลำดับที่ 7 จะมีประชากร 71,428 คน เมืองลำดับที่ 8 จะมีประชากร 62,500 คน

  17. ลักษณะการกระจายของเมืองลักษณะการกระจายของเมือง *Primate City หรือเอกนคร หรือเมืองโตเดี่ยว มีเมืองใหญ่ที่สุดเพียงเมืองเดียวหรือสองเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองขนาดรองลงไปหลายเท่าตัว โดยไม่มีเมืองขนาดกลางอยู่เลย *Intermidiate Pattern หรือ Polynary Pattern หรือ Binary Pattern มีลักษณะการกระจายตามขนาดของเมืองอยู่ระหว่าง Rank-Size Rule กับ Primate City คือลักษณะการกระจายของเมืองขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรเท่าๆ กันหลายเมือง และเมืองขนาดรองลงไปมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ

  18. เบอร์รี่ (B.J.L. Burry) ได้ศึกษาลักษณะเมืองในประเทศต่างๆ และสรุปการศึกษาเป็นตารางดังนี้ ตารางแสดงรูปแบบการกระจายของเมืองในประเทศต่างๆ

  19. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้กรุงเทพฯ เป็นเอกนครและมีการขยายตัว อย่างรวดเร็วมากคือ 1. ลักษณะภูมิประเทศ กรุงเทพฯ และบริเวณโดยรอบอยู่ในบริเวณที่มีลักษณะ เป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 2 เมตร เป็นที่ราบกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ 2. ที่ตั้ง (Location) กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ให้ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศในด้านต่างๆ 3. ที่ตั้งสัมพันธ์ (Relative Location) กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในภาคกลาง ซึ่งเป็นจุด ศูนย์กลางของประเทศโดยสามารถติดต่อกับภาคอื่นๆ ของประเทศได้สะดวก 4. ศูนย์กลางในการบริหารประเทศ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของการปกครอง กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐจะอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น

  20. 5. ศูนย์กลางในด้านการบริการ การบริการต่างๆ 5.1 การบริการด้านการแพทย์ 5.2 การบริการด้านการศึกษา 5.3 เป็นศูนย์กลางในการบริการสังคมด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์ โรงละคร โรงมหรสพ สถานบันเทิงต่างๆ 6. ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ 6.1 การอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ และบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ เป็น แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและอุตสาหกรรมเหล่านี้มี แนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้น 6.2 การพานิชกรรม ผลผลิตของประเทศทุกอย่างที่จะส่งไปขายยัง ตลาดภายในประเทศหรือจะส่งไปยังตลาดต่างประเทศ หรือจะส่งจาก ต่างประเทศมายังประเทศไทย จะต้องส่งมายังกรุงเทพฯ เพื่อที่จะ ดำเนินการขนส่งต่อไป 6.3 ตลาดแรงงาน

  21. 7. ศูนย์กลางการคมนาคม 7.1 การคมนาคมทางบก มีทางหลวงแผ่นดินที่มีศูนย์กลางออกจาก กรุงเทพฯ 7.2 การคมนาคมทางน้ำ 7.3 การคมนาคมทางอากาศ

  22. การแบ่งประเภทของเมืองตามบทบาทและหน้าที่การแบ่งประเภทของเมืองตามบทบาทและหน้าที่ เมืองทุกๆ เมืองจะมีหน้าที่แตกต่างกันโดยเมืองนั้นๆ มักจะทำ หน้าที่เด่นในกิจกรรมด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ในบางครั้งอาจจะ ทำหน้าที่คล้ายกันแทบทุกเมือง คือ การให้บริการสินค้าและบริการ ด้านอื่นๆ แก่ประชากรที่อยู่ในเมืองรวมทั้งบริเวณที่อยู่โดยรอบ ซึ่งใน การแบ่งเมืองตามบทบาทและหน้าที่นั้นได้มีนักวิชาการพยายามจะแบ่ง เมืองที่ทำหน้าที่เด่นในแต่ละอย่างให้ครอบคลุมหน้าที่ต่างๆ อย่าง กว้างขวางดังเช่น ฮัดสัน (F.S. Hudson) ได้แบ่งเมืองออกเป็น 9 ประเภทตามหน้าที่เฉพาะด้านดังนี้คือ

  23. โรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.แม่เมาะ 1. เมืองเหมืองแร่ เป็นเมืองที่ผู้ใช้แรงงานในกิจการเดียวกับเหมือง แร่มากกว่าร้อยละ 15 ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในเมือง โดยเมือง เหมืองแร่แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1.1 เมืองเหมืองแร่โลหะ (Mining Towns) 1.2 เมืองเหมืองแร่อโลหะ (Quarrying Towns)

  24. 2. เมืองอุตสาหกรรม เป็นเมืองที่มีผู้ใช้แรงงานในกิจการเดียวกับโรงงาน อุตสาหกรรมมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดภายในเมือง

  25. 3. เมืองศูนย์กลางการขนส่ง เป็นเมืองที่มีผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับการขนส่ง มากกว่าร้อยละ 11 ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด โดยเมืองเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นศูนยน์กลางในการคมนาคมขนส่งติดต่อกับบริเวณโดยรอบ

  26. 4. เมืองการค้า เป็นเมืองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับศูนย์รวมในการซื้อขาย ผลผลิตทางการเกษตร การธนาคาร การเงิน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ

  27. 5. เมืองบริหาร เป็นเมืองที่ทำหน้าที่ในการปกครอง และบริหารประเทศ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อื่นๆ รวมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลและมักจะเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย

  28. 6. เมืองทหารหรือเมืองศูนย์กลางด้านยุทธศาสตร์ เป็นเมืองที่ทำหน้าที่ปกป้องประเทศจากการรุกรานของศัตรูภายนอก โดยเมืองเหล่านี้มักจะมีป้อมปราการ ฐานทัพทางทหารต่างๆ

  29. 7. เมืองวัฒนธรรม เป็นเมืองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา ศิลปกรรม โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ตลอดจนการศึกษาด้านต่างๆ

  30. 8. เมืองนันทนาการ เป็นเมืองที่ทำหน้าที่ในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ อาจจะประกอบด้วยป่าไม้ ภูเขา น้ำตา ทัศนียภาพอื่นๆ

  31. 9. เมืองที่พักอาศัย เป็นเมืองที่เป็นที่พักอาศัยของผู้ที่ทำงานในเมืองใหญ่ โดยเมืองที่พักอาศัยเหล่านี้อาจจะอยู่บริเวณชานเมืองรอบๆ เมืองใหญ่

  32. การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่มี ลักษณะตั้งถิ่นฐานแบบชนบทกระจายอยู่ทั่วไป การขยายตัวเป็นชุมชน เมืองน้อยมาก ในระยะหลังการขยายตัวเป็นชุมชนเมืองค่อยๆ มีจำนวน มากขึ้นแต่ก็ไม่มาก โดยประมาณว่าช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ราว พ.ศ. 2438 การตั้งถิ่นฐานที่มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองมีไม่ถึงร้อยละ 10 ของประชากรโลก จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การตั้งถิ่นฐานเริ่ม เป็นชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะได้มีการ เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นแบบการค้ามากขึ้น มีการปฏิวัติ อุตสาหกรรม มีการย้ายถิ่นประชากรในชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น ซึ่งทำ ให้การตั้งถิ่นฐานในชนบทหลายแห่งขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นเมือง และแนวโน้มของประชากรเองมักจะอยู่อาศัยในเมืองขนาดใหญ่มากขึ้น

  33. ความเป็นเมือง (Urbanization) คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวน ประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองกับประชากรทั้งหมด จำนวนประชากร ทั้งหมด หมายถึงประชากรทั้งโลก ประชากรทั้งประเทศ หรือประชากร บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ทำการศึกษา เช่น จังหวัด อำเภอ โดยค่าความ เป็นเมืองจะไม่เกิน 1.00 ประเทศใดมีความเป็นเมืองสูงค่าความเป็น เมืองจะใกล้เคียง 1.00 ในทางตรงข้ามประเทศใดมีความเป็นเมืองต่ำค่า ความเป็นเมืองที่ได้จะน้อย

  34. ในการศึกษาค่าความเป็นเมืองนั้น เทรวาร์ตา (Glenn T. Trewartha) ได้แบ่ง ความเป็นเมืองออกเป็น 4 ประเภทดังนี้คือ 1. ความเป็นเมืองต่ำ (Low Urbanization) เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่ ในเขตเมืองต่ำกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือค่าความเป็นเมืองต่ำกว่า 0.20 2. ความเป็นเมืองอยู่ในระดับกลางค่อนข้างต่ำ (Medium Low Urbanization) เป็นบริเวณที่มีประชากรอยู่ในเขตเมืองระหว่างร้อยละ 20-30 ของประชากร ทั้งหมด หรือค่าความเป็นเมืองระหว่าง 0.20-0.30 3. ความเป็นเมืองอยู่ในระดับกลางค่อนข้างสูง (Medium High Urbanization) เป็นบริเวณที่มีประชากรอยู่ในเมืองระหว่างร้อยละ 30-40 ของ ประชากรทั้งหมด หรือค่าความเป็นเมืองอยู่ระหว่าง 0.30-0.40 4. ความเป็นเมืองสูง (High Urbanization) เป็นบริเวณที่มีประชากรอยู่ใน เมืองสูงกว่าร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด หรือค่าความเป็นเมืองสูงกว่า 0.40

  35. ประเทศที่มีค่าความเป็นเมืองต่ำ มีลักษณะสำคัญดังนี้คือ 1. เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และอัตราการเพิ่ม ประชากรตามธรรมชาติเขตชนบทอยู่ในเกณฑ์สูง 2. เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกร 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจไม่สอดคล้องกับอัตราการเพิ่มประชากร ประเทศที่มีค่าความเป็นเมืองสูง จะมีลักษณะแตกต่างกับประเทศที่ กล่าวมาแล้วดังนี้คือ 1. มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ ที่ทำให้กิจการในด้านการเกษตรในชนบทใช้แรงงานคนน้อยแต่ได้ ผลผลิตจำนวนมาก 2. เป็นประเทศที่เปลี่ยนจากระบบการเกษตรไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ที่ ต้องการแรงงานมาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานดังกล่าวเป็นแรงงานที่ เหลือจากชนบทย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่กำลังขาดแรงงานและให้ค่าตอบแทนที่สูง กว่า

  36. ความเป็นเมืองของประเทศไทยความเป็นเมืองของประเทศไทย ในการศึกษาความเป็นเมืองของประเทศไทยรวมทั้งประเทศ พ.ศ. 2525 ปรากฏว่าอยู่ในระดับกลางค่อนข้างต่ำ โดยได้ค่าเฉลี่ย 0.29ดังตารางที่ 5.10 ตารางที่ 5.10 แสดงค่าความเป็นเมืองเป็นรายจังหวัดปี 2525 เรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด MS WordFile

  37. งานคู่/เดี่ยว ให้นิสิตหาจำนวนประชากรไทยแบ่งตามรายจังหวัด ในปี พ.ศ.2554 1. แบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐาน ตามการศึกษาของ นอร์ทัม(Ray M. Northam)ซึ่งได้แบ่งขนาดของการตั้งถิ่นฐานออกเป็น 9 ขนาด ตามหนังสือหน้าที่….. หน้า 119 2. แบ่งประเภทของเมืองตามบทบาทและหน้าที่ โดยคำนวณหาค่าความเป็นเมืองตามการศึกษาของ เทรวาร์ตา (Glenn T. Trewartha) ซึ่งได้แบ่งความเป็นเมืองออกเป็น 4 ประเภท ตามหนังสือหน้าที่….. หน้า 142 (เขียนด้วยลายมือใส่กระดาษรายงานแบบเส้น พร้อมบอกที่มาของข้อมูล ได้แก่ ชื่อหน่วยงานหรือแหล่งที่มา URL: )

  38. Question ?

More Related