1 / 20

วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws

วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws. นางสาวคัชรินทร์ ทองฟัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก Kacha_9@mail.plc.rmutl.ac.th Kacha_th@yahoo.com. บทที่ 1 ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจเว็บไซต์. 1. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Download Presentation

วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws นางสาวคัชรินทร์ ทองฟักมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก Kacha_9@mail.plc.rmutl.ac.th Kacha_th@yahoo.com

  2. บทที่ 1 ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจเว็บไซต์ 1. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 5. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบรักษาความปลอดภัย

  3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Commerce หรือ E-Commerceคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อให้เกิดนวัตกรรม 3 ประการ คือ • ประการที่ 1 เกิดตลาดใหม่ • ประการที่ 2 เกิดกระบวนการทำงานแบบใหม่ • ประการที่ 3 เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่

  4. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) 2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business-to-Government หรือ B2G) 3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to Consumer หรือ B2C) 4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government-to-Government หรือ G2G) 5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government-to-Citizen หรือ G2C) 6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือC2C)

  5. รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) 2. ร้านค้าปลีก (E-Tailer) 3. การประมูลสินค้า (Auction) 4. การประกาศขายสินค้า (Web Board) 5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-marketplace)

  6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ยุคที่ 1 พ.ศ. 2537-2540 ยุคที่ 2 พ.ศ. 2541-2543 ยุคที่ 3 พ.ศ. 2544- ปัจจุบัน

  7. กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ • 1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • สามารถระบุตัวตนผู้ส่งข้อความได้ • รักษาความเป็นส่วนตัว • เนื้อความถูกต้อง • ผู้ส่งไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบภายหลังได้

  8. กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ • 2. ระบบรักษาความปลอดภัย SSL • ช่องแสดงชื่อเว็บไซต์ • ในกรอบด้านล่างของโปรแกรม Browser จะมีรูปกุญแจล็อกอยู่

  9. กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ 3. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 ภูมิพลอดุลยเดชป.ร. ให้ไว้ณวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2545 โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้

  10. เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1. มาตรา 7 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฏหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” 2. มาตรา 9 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้วถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน”

  11. เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3. มาตรา 10 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์และ(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ความถูกต้องของข้อความตาม (1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความเว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม…”

  12. เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4. มาตรา 23 ระบุไว้ว่า “การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลหากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้นแต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูลซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”

  13. เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 5. มาตรา 25 ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ในการให้บริการประชาชนได้ โดยต้องออกประกาศ หรือกฎกระทรวงเพิ่มเติม

  14. เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 6. มาตรา 27 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ “(1) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต (2) แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยมิชักช้าเมื่อ(ก) เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (ข) เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์...”

  15. ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้นซึ่งถือว่าเป็น"ทรัพย์สินทางปัญญา" 1. ความหมายที่มาและความสำคัญของลิขสิทธิ์2. ประเภทของลิขสิทธิ์3. ผลของการกระทำที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และแนวทางในแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก การละเมิดลิขสิทธิ์

  16. ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิของผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำได้ (เช่นการทำซ้ำ ดัดแปลงเผยแพร่ให้เช่าหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ์) เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น สิทธิบัตร มีด้วยกัน 2 ความหมาย คือ 1.สิทธิบัตรหมายถึงหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 2. สิทธิบัตรหมายถึงสิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นเช่นการผลิตและจำหน่ายเป็นต้นและสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น

  17. ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร สิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์หมายถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม 2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หมายถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม

  18. ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร สิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงานและมิต้องจดทะเบียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด 2. สิทธิบัตร จะแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบทั้งสองประเภทจะต้องเป็นผลงานที่คิดขึ้นมาใหม่ยังไม่เคยมีและเผยแพร่ที่ไหนมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้องมีการจดทะเบียนและเสียค่าธรรมเนียมจนถึงกำหนดอายุในการคุ้มครอง

  19. ถาม-ตอบเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลกถาม-ตอบเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก 1. ลิขสิทธิ์เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลกอย่างไร  2. ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงที่มีสิทธิในการถ่ายทอดและการใช้ภาพวาดและ สัญลักษณ์ต่างๆของการแข่งขันฟุตบอลโลก 3. เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องมาจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาก่อนหรือไม่และมีสิทธิอย่างไรบ้าง 4. ถ้าเปิดทีวีชมการถ่ายทอดที่บ้านหรืออัดวิดีโอ (หรือวีซีดี) ไว้ดูเองจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ 5. ถ้านำภาพวาดหรือสัญลักษณ์หรือตัวการ์ตูนสิงโตไปสกรีนลงบนเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆหรือนำไปทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึกจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

  20. ฝากไว้ให้คิด…? 1. ทำไมเราควรให้ความสำคัญกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ระบบรักษาความปลอดภัย SSL มีการทำงานอย่างไร 3. เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีอะไรบ้าง

More Related