1 / 35

ความล้มเหลวของตลาด ( Market failure)

ความล้มเหลวของตลาด ( Market failure). หมายถึง ราคาไม่สามารถใช้เป็นสัญญาณที่เหมาะสม ในการจัดสรรทรัพยากร สำหรับผู้บริโภคและผู้ผลิต ผลลัพธ์ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ. สาเหตุของความล้มเหลวของตลาด. - อำนาจเหนือตลาด (market power) (เรียนมาแล้ว จะไม่พูดซ้ำ)

cais
Download Presentation

ความล้มเหลวของตลาด ( Market failure)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความล้มเหลวของตลาด (Market failure) หมายถึง ราคาไม่สามารถใช้เป็นสัญญาณที่เหมาะสม ในการจัดสรรทรัพยากร สำหรับผู้บริโภคและผู้ผลิต ผลลัพธ์ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ

  2. สาเหตุของความล้มเหลวของตลาดสาเหตุของความล้มเหลวของตลาด - อำนาจเหนือตลาด (market power) (เรียนมาแล้ว จะไม่พูดซ้ำ) - สารสนเทศไม่สมบูรณ์ (imperfect information) - ผลกระทบภายนอก (externalities) - สินค้าสาธารณะ (public goods)

  3. ในเรื่องสารสนเทศที่ไม่สมบูรณ์ เราจะศึกษากรณีที่ตลาดมีความไม่สมมาตรของสารสนเทศ (market with Asymmetric information) ซึ่งเกิดระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเป็นหลัก ความไม่สมมาตรของข้อมูล คือ สถานการณ์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความแตกต่างในข้อมูลทางธุรกรรม

  4. Classic as คือ the market for lemons lemons คือ สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่สังเกตเห็นได้ แต่ผู้ขายจะรู้โดยที่ผู้ซื้อไม่รู้ ตลาดรถเก่าเป็นตัวอย่างที่นิยมพูดถึง

  5. SH PH PL 10,000 SL DH DM DM 5,000 DLM DLM DL DL 25,000 50,000 QH 50,000 75,000 QL (a) High-Quality Cars (b) Low-Quality Cars

  6. อีกปัญหาหนึ่งของความไม่สมมาตรของสารสนเทศ คือ การเลือกที่ไม่เป็นธรรม (adverse selection) Adverse selection เกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งราคาเดียวกับสินค้าบริการที่มีคุณภาพต่างกัน จนทำให้สินค้าบริการที่มีคุณภาพต่ำอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมากและสินค้าบริการที่มีคุณภาพสูงก็หดหายไป

  7. ตลาดประกันภัย เป็นตัวอย่างของการมี adverse selection บริษัทประกันเก็บเบี้ยประกันราคาเดียวกันทุกคน (ทั้งที่มีความเสี่ยงสูงและต่ำ) แต่ผู้ซื้อประกันที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่บริษัทประกันประเมินไว้ ทำให้มีการจ่ายสินไหมทดแทนเพิ่มมากกว่าที่บริษัทคำนวณไว้ จนทำให้บริษัทขาดทุนได้

  8. การแก้ไขปัญหา lemons ผู้ขายอาจทำให้ผู้ซื้อรู้คุณภาพของสินค้าบริการโดย 1. ชื่อเสียงที่สั่งสมมา (reputation) 2. มาตรฐานของสินค้าบริการ (standardization)

  9. การแก้ไขปัญหาความไม่สมมาตรที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การส่งสัญญาณตลาด (market signaling) Market signaling เป็นกระบวนการที่ผู้ขายส่งสัญญาณให้ผู้ซื้อ ซึ่งเป็นการสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าบริการนั้น ๆ

  10. ตัวอย่างที่ใช้มักจะเป็นตลาดแรงงาน ผู้สมัครงานมีสารสนเทศมากกว่านายจ้าง คำถามคือ นายจ้างจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สมัครจะมีผลิตภาพตามที่อวดอ้าง คำตอบคือ ต้องดูสัญญาณบางอย่างจากผู้สมัครที่สะท้อนถึงผลิตภาพได้ เช่น การศึกษาของผู้สมัคร

  11. Value of College Education Value of College Education (a) Group I (b) Group II CI(y) = 40,000y CII(y) = 20,000y 100,000 100,000 B(y) B(y) 0 4 Years of College 0 4 Years of College y* y* Optimal Choice of y forGroup I Optimal Choice of y forGroup II

  12. หา y* ที่ทำให้ทั้งสองกลุ่มมีต้นทุนและผลได้ที่ต่างกัน Group I : 100,000 < 40,000y* y* > 2.5 Group II: 100,000 > 20,000y* y* < 5 ดังนั้น y* อยู่ระหว่าง 2.5 กับ 5

  13. ลองใช้ y*= 4 Group Iจะได้เรียนถึง y*= 4 เพราะว่า 100,000 < 160,000 แต่ Group II จะเรียนถึง y*= 4 เพราะว่า 100,000 > 80,000 ถ้าให้ y*= 4 เป็นเกณฑ์ คนที่มี y > 4 จะได้ค่าจ้าง 20,000 คนที่มี y < 4 จะได้ค่าจ้าง 10,000

  14. Moral hazard (การไร้คุณธรรม) เกิดขึ้นจากความไม่สมมาตรของสารสนเทศในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปจนกลายเป็นภาระของอีกฝ่ายหนึ่ง เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ฝ่ายหลังมีต้นทุนสูงในการติดตามสิ่งที่เกิดขึ้น (high monitoring cost)

  15. ตัวอย่างเช่น การมีประกันสุขภาพ - หากไม่มีประกันสุขภาพ ไปหาหมอปีละ 3 ครั้ง (เฉพาะต้องจ่ายเงินเอง) - เมื่อมีประกันสุขภาพ ไปหาหมอเพิ่มเป็นปีละ 10 ครั้ง โดยที่ลักษณะสุขภาพไม่ต่างไปจากเดิม (เนื่องจากไม่ต้องจ่ายเงินเอง)

  16. Cost per Mile $1.50 MC $1.00 MC’ D = MB Miles per Week 0 100 140

  17. การวิเคราะห์ Moral hazard ทำได้ในหลายกรณี - การเปลี่ยนความน่าจะเป็น (probability) ของการเกิดเหตุการณ์ที่ระบุในประกัน - การเปลี่ยนอุปสงค์ (move along demand curve) ทำให้ใช้บริการมากกว่าเดิม (เช่นจากรูป $0.5 ที่เป็นเบี้ยประกันได้จ่ายไปแล้ว ทำให้ไม่เอามาคิดอีก cost จึงเป็นเพียง $1 ซึ่งทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นเป็น 140 Miles per Week)

  18. ผู้ที่ทำ Moral hazard คิดว่าภาระที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนจะไปเฉลี่ยไปกับทุกคน ดังนั้น ตนเองจะรับภาระน้อยมาก Moral hazard จึงสร้างความไร้ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ซึ่งเกิดจากต้นทุนหรือผลได้ของปัจเจกชนไม่เท่ากับของสังคม

  19. ความไม่สมมาตรของสารสนเทศสร้างปัญหา principal-agent ขึ้นมา (นายจ้างกับตัวแทน) ปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่ agent ทำงานเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ของตนแต่ไม่สนองจุดประสงค์ของ principal โดยที่ principal มีต้นทุนสูงในการบังคับให้ agents ทำตามที่ต้องการ

  20. ตัวอย่างเช่น แพทย์ กับ คนไข้ ผู้จัดการ กับ ผู้ถือหุ้น แก้ไขได้โดยใช้สัญญาว่าจ้างตามรายรับที่ทำได้หรือเป็นแบบโบบัส วิธีการดังกล่าวสร้างแรงจูงใจในการให้รางวัลกับ agent ที่ทำตามจุดประสงค์ของ principal

  21. สมมติให้ effort ที่เกิดกับแรงงาน (c) c = $10,000 * a รายรับที่ได้เป็นดังนี้ โชคร้าย โชคดี effort ต่ำ (a=0) $10,000 $20,000 effort สูง (a=1)$20,000 $40,000

  22. ถ้าเป็น Revenue sharing scheme โดยกำหนดให้ค่าจ้าง (w) เป็น 2 กรณี 1. ถ้ารายรับเป็น $10,000 หรือ $20,000 แล้ว w = 0 2. ถ้ารายรับเป็น $40,000 แล้ว w = $24,000

  23. ดังนั้น ถ้า a = 0 จะได้ R = $10,000 หรือ 20,000 และ w = 0 ถ้า a = 1 จะได้ R = 40,000 และ w = $24,000 แต่มีโอกาสที่ a = 1 จะได้ R = 20,000 ซึ่งทำให้ w = 0 ดังนั้น E(w)= ($24,000 + 0)/2 = $12,000 เมื่อเทียบกับ effort= 10,000 แล้วจะได้เพิ่ม = $2,000 ดังนั้นแรงงานเลือกที่จะมี effort สูง

  24. ถ้าเป็น bonus system โดยกำหนดให้ w = R - $18,000 w = 0 ถ้า R < $18,000 ดังนั้น ถ้า a = 0 แล้ว จะได้ w ใน 2 กรณี w = 0 เพราะว่า R = $10,000 หรือ w = $20,000 - $18,000 = $2,000 ในกรณีที่ R = $20,000 E(w) = ( 0 + $2,000 ) / 2 = $1,000

  25. ถ้า a = 1 แล้ว จะได้ w ใน 2 กรณี w = $20,000 - $18,000 = 2,000เมื่อ R = $20,000 หรือ w = $40,000 - $18,000 = $22,000 เมื่อ R = $40,000 ดังนั้น E(w) = ( 2,000 + $22,000 ) / 2 = $12,000 เมื่อเทียบกับ effort= $10,000 แล้วจะได้เพิ่ม = $2,000 ดังนั้นแรงงานจะเลือกมี effort สูง

  26. วิธีการสร้างแรงจูงใจในการแก้ปัญหา Principal-agent ใน integrated firm โครงสร้างของ firm คือ มี centralmanagement (CM) กับ divisional management (DM) DM เป็น agent ของ CM ซึ่งเป็น principal CM อยากรู้ถึงศักยภาพในการผลิตของ DM เพื่อวางแผนได้ถูกต้อง แต่ DM ไม่ต้องการให้รู้ เพราะถ้าทำไม่ได้ตาม capacity นั้นอาจถูกลงโทษได้

  27. การตั้งเงื่อนไขของโบนัสมีโอกาสทำให้ผู้จัดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพได้ เช่น ตัวอย่างต่อไปนี้ ถ้า Q > Qfแล้ว B = 0.3 Qf+ 0.2( Q-Qf ) ถ้า Q < Qfแล้ว B = 0.3 Qf- 0.5(Qf -Q)

  28. จะพิจารณาใน 3 กรณี - ผู้จัดการตอบน้อยเกินไป - ผู้จัดการตอบมากเกินไป - ผู้จัดการตอบพอดี เมื่อเทียบกับ capacity ของตนเอง (Q) โดยสมมติให้ Q = 20,000 หน่วย

  29. ถ้าผู้จัดการตอบน้อยเกินไป เช่น Qf = 10,000 หน่วย B = (0.3 * 10,000) + 0.2(20,000 – 10,000) = 3,000 + 2,000 = 5,000

  30. ถ้าผู้จัดการตอบมากเกินไป เช่น Q = 30,000 หน่วย B = (0.3 * 30,000) - 0.5(30,000 – 20,000) = 9,000 - 5,000 = 4,000

  31. ถ้าผู้จัดการตอบพอดี เช่น Q = 20,000 หน่วย B = (0.3 * 20,000) - 0.5(20,000 – 20,000) = 6,000 - 0 = 6,000

  32. ดังนั้น การตอบมากไปหรือน้อยไปกว่า Q ที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้โบนัสต่ำกว่าที่ควรจะได้ ผู้จัดการจึงมีแรงจูงใจที่จะตอบให้ตรงกับศักยภาพของตนมากที่สุด สูตรทั่วไป คือ ถ้า Q < Qfแล้ว B = βQf- (Qf -Q) ถ้า Q > Qfแล้ว B = βQf+ α(Q - Qf ) เมื่อ > β> α > 0

  33. ปรากฏการณ์ที่สำคัญในตลาดแรงงานที่เกี่ยวกับความไม่สมมาตรของสารสนเทศ คือ การที่มีแรงงานยอมรับค่าจ้างต่ำกว่าทั่วไป ทั้งนี้นายจ้างยังคงจ้างทั้งแรงงานที่รับค่าจ้างตาม w = MP และแรงงานที่รับค่าจ้างต่ำกว่านี้พร้อมๆกัน นั่นคือ มีการแบ่งแยกค่าจ้างและการว่างงานในขณะเดียวกัน

  34. Efficiency wage คือ ค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แรงงานสูงกว่าค่าจ้างตลาดเพื่อให้ลูกจ้างมีแรงจูงใจในการทำงานและไม่อู้งาน แต่การจ่ายที่สูงกว่าค่าจ้างในตลาด ทำให้มีอุปสงค์น้อยลงกว่าดุลยภาพ ดังนั้นจึงมีการว่างงานเกิดขึ้น

  35. SL Wage No-Shirking Constraint (NSC) Demand for Labor we w* DL Quantity of Labor 0 Le L*

More Related