1 / 38

การเลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลานิล. ของ. สหกรณ์ประมงพาน จำกัด จังหวัดเชียงราย. ความรู้เกี่ยวกับปลานิล. ปลานิลมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบอยู่ตามหนอง บึงและทะเลสาบในประเทศซูดาน อูกันดา ชุกชุมมากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ ปลานิลเจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี

Download Presentation

การเลี้ยงปลานิล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเลี้ยงปลานิล ของ สหกรณ์ประมงพาน จำกัด จังหวัดเชียงราย

  2. ความรู้เกี่ยวกับปลานิลความรู้เกี่ยวกับปลานิล ปลานิลมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบอยู่ตามหนอง บึงและทะเลสาบในประเทศซูดาน อูกันดา ชุกชุมมากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ ปลานิลเจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี ปลานิลได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกโดยเจ้าฟ้าอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 1,000 ตัว ให้แก่กรมประมง นำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่กรมประมง และสถานีประมงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรรวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงและขยายพันธ์พร้อมกัน

  3. รูปร่างลักษณะและนิสัยรูปร่างลักษณะและนิสัย ปลานิลเป็นปลาน้ำจืด รูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ มีลักษณะพิเศษคือ ริมปากบนและล่างแสมอกัน มีเกล็ด 4 แถว ตรงบริเวณแก้ม ตามลำตัวมีลายพาดขวาง จำนวน 9-10 แถบ มีครีบหลังเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวาง ในประเทศไทยปัจจุบันพบปลานิล สีเหลือง ขาว ส้ม ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ

  4. ความเป็นอยู่และนิสัย ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถแพร่พันธุ์วางไข่ได้เองตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบการใช้ฮอร์โมนกระตุ้น การเพาะปลานิลจึงทำได้ง่าย แต่การจะได้ลูกปลาจำนวนมากและสม่ำเสมอนั้นจำเป็นต้องอาศัยการจัดการที่เหมาะสม ปลาชนิดนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต

  5. SUPPLY CHAIN การเลี้ยงปลานิลของ สหกรณ์ประมงพาน จำกัด การจัดเตรียม บ่อปลา การจัดหา พันธุ์ปลา กระบวน การ เลี้ยงปลา การจับปลา ขาย การจำหน่าย ปลา 5 2 4 3 1 ลักษณะบ่อปลา สหกรณ์จัดซื้อลูกปลาที่ได้มาตรฐาน การให้อาหารปลาตามขนาดอายุปลา การเตรียมการจับปลาของสมาชิก จำนวนพ่อค้าขายส่งปลานิล 5.1 4.1 2.1 1.1 3.1 กำจัดศัตรูปลา สมาชิกปล่อยลูกปลา สหกรณ์ทำหน้าที่ในการจับปลา ราคาตามราคาตลาด การให้เวชภัณฑ์ปลา 4.2 2.2 3.2 5.2 1.2 ทำความสะอาดบ่อปลา เตรียมการจัดหาเครื่องตีน้ำ การใช้เครื่องตีน้ำ สหกรณ์ได้ค่าบริการจากพ่อค้า กิโลกรัมละ 1 บาท การจัดระบบบำบัดน้ำทิ้ง 1.3 3.3 2.3 4.3 5.3 เติมน้ำดีในบ่อ จัดระบบน้ำเข้า 3.4 1.4 การกำจัดวัชพืชริมบ่อ 3.5

  6. สรุปกิจกรรมปลานิล ส่วนของสมาชิก ส่วนของสหกรณ์ ส่วนของผู้ค้าและผู้บริโภค ผลผลิตปลานิล การบริหารจัดการปลา การทำการตลาด การแปรรูป พ่อค้า การให้ความรู้ การเลี้ยงปลา ผลลัพธ์ทางการเงิน จัดเรียงลำดับการปล่อยปลา/จับปลาของสมาชิก ผู้บริโภค การกำหนดวันปล่อยปลา จับปลาของสมาชิก พื้นที่ดินจัดทำบ่อปลา การเจรจาการขาย การขายส่ง-ปลีก ดูแลรักษาและการจับปลา การประชาสัมพันธ์ การรวบรวมปลา น้ำ ทุน การให้เงินกู้ธุรกิจปลา การจับปลาให้พ่อค้า พันธุ์ปลา เตรียมการจับปลา การรับค่าบริการ การจำหน่ายอาหารปลา ทุน ผลลัพธ์ทางการเงิน การจำหน่ายปลา การจำหน่ายเวชภัณฑ์

  7. 1. การจัดเตรียมบ่อปลา สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 วัน หลักวิชาการ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 วัน

  8. 1.1 ลักษณะบ่อปลา หลักวิชาการ • บ่อขุดใหม่ : ก่อนใช้บ่อใหม่จะต้องปรับสภาพดิน ควรแช่น้ำขังไว้หลาย ๆ วันก่อนและระบายน้ำทิ้งหรือล้างความเป็นกรดออก จากนั้นโรยปูนขาวตาม pH ของดิน • บ่อเก่า : ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือปลาเป็นโรค และยากต่อการแก้ไข หากไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว บ่อเก่าควรจับสัตว์น้ำออกให้หมด ระบายน้ำให้เหลือน้อย กำจัดศัตรูปลาไม่ให้เหลืออยู่ภายในบ่อ ขจัดวัชพืชทั้งหมด ลอกเลนล้างบ่อ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ • บ่อขุดใหม่ • เกิดปัญหาเรื่องดินเป็นกรด • ก่อนใช้บ่อใหม่ควรต้องปรับสภาพดิน โดยวิธีแช่น้ำขังไว้หลาย ๆ วัน เพื่อล้างความเป็นกรด • ใช้ปูนขาวตาม pHของดินแล้วจึงเข้าสู่การกำจัดศัตรูปลา • บ่อเก่า • ปัญหาก้นบ่อเก่า • เน้นการทำความสะอาด • -การลอกเลนออก

  9. 1.2 กำจัดศัตรูปลา สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ วิธีการกำจัด • จับออก • ไฟช็อต • ใส่ไซยาไนต์ หลักวิชาการ การกำจัดศัตรูปลาขนาดเล็ก - ในการเติมน้ำควรจะกรองโดยเนื้ออวนตาถี่เพื่อป้องกันไข่ปลาอื่น ๆ - พวกศัตรูปลาขนาดเล็กที่ติดมากับน้ำ ควรกำจัดออก - บ่อที่เตรียมไว้ล่วงหน้านาน ๆ ควรกำจัดแมลงในน้ำ ด้วยการใช้น้ำมันพืช หรือน้ำมันระเหยเร็ว เช่นน้ำมันโซล่า เทใส่เล็กน้อยให้กระจายคลุมผิวหน้าน้ำ เป็นวิธีกำจัดแมลงในน้ำ และตัวอ่อนหลายชนิด ที่จะทำอันตรายต่อสัตว์น้ำวัยอ่อน จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  10. 1.3 ทำความสะอาดบ่อปลา หลักวิชาการ ใส่ปูนขาวโดยโปรยให้ทั่วพื้นก้นบ่อและขอบบ่อ ควรใส่เมื่อดินหมาด ๆ การปรับสภาพความเป็นกรดด่างในดินให้เหมาะสมด้วย ตากทิ้งไว้ 3 – 5 วัน แล้วเติมน้ำบ่อ เช่น ค่าความเป็นกรดด่าง(pH 5.5-6.0) ดินเหนียวปนทราย ใส่ปูนขาว 80 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณปูนขาวที่ต้องการ คลิกที่นี่ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ ใส่ปูนขาวประมาณ 10 กระสอบ (ประมาณ 100 กิโลกรัม) เพื่อปรับสภาพน้ำให้ได้ pH 7 – 8.5

  11. 1.4 จัดระบบน้ำเข้า หลักวิชาการ การวางท่อน้ำเข้าและท่อระบายน้ำออก กำหนดบริเวณที่จะวางท่อน้ำเข้า และท่อระบายน้ำออกสำหรับทางระบายน้ำออกนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ ในกรณีที่เป็นที่สูง สามารถระบายน้ำได้ดีควรมีท่อระบายน้ำ แต่บางครั้งที่ระดับน้ำต่ำมาก การระบายน้ำออกต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ท่อระบายน้ำออก ก็ไม่ต้องมี สำหรับบ่อขุดใหม่ ควรจะต้องเตรียมการไว้ตั้งแต่มีการขุดบ่อเลย สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ น้ำเข้า : จากระบบชลประทาน น้ำออก : สูบออกใส่พื้นที่นา

  12. 2. การจัดหาพันธุ์ปลา หลักวิชาการ ระยะเวลาประมาณ 7 วัน สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ ระยะเวลาประมาณ 7 วัน

  13. 2.1 สหกรณ์จัดซื้อลูกปลาที่ได้มาตรฐาน หลักวิชาการ พันธุ์ปลานิลสามารถหามาได้ 3 ทาง คือ 1. การรวบรวมพันธุ์จากธรรมชาติ 2. การเพาะพันธุ์ 3. การซื้อลูกพันธุ์ปลาจากโรงเพาะฟักมาเลี้ยง สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ 1. สหกรณ์จะต้องหาแหล่งผลิตและทดสอบมาตรฐานการรอดของลูกปลาใช้เกณฑ์ 80 % 2. ลูกปลา 1 ถุง บรรจุถุงละ 1,000 ตัว ใช้ลูกปลาบ่อละ 10 ถุง 3. ราคาทุน 0.35 บาท/ตัว ราคาจำหน่ายสมาชิก 0.37 บาท/ตัว

  14. 2.2 สมาชิกปล่อยลูกปลา หลักวิชาการ • อัตราการปล่อยปลานิลแปลงเพศ ขนาด 2-3 เซนติเมตร ควรปล่อยลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่น 2.5 ตัวต่อตารางเมตร (8,000 ตัว ต่อ 2 ไร่) • ปลานิลขนาด 7-10 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร (6,400 ตัวต่อ 2 ไร่) สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ ลูกปลาที่ใช้ขนาด 3 – 5 เซนติเมตร10,000 ตัว ต่อ 2 ไร่

  15. 2.3 เตรียมการจัดหาเครื่องตีน้ำ หลักวิชาการ เครื่องตีน้ำ 1 เครื่องต่อไร่ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ 1. ราคาประมาณ 20,000 บาท/เครื่อง (1 เครื่องต่อ 2 ไร่) 2. ค่าไฟฟ้า 250 บาท/เดือน ค่าน้ำมัน 450 บาท/เดือน

  16. 3. กระบวนการเลี้ยงปลา หลักวิชาการ แนวทางในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน : ได้มีการกำหนดรูปแบบการเลี้ยงปลานิล 3 ลักษณะ 1. แบบยังชีพ เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน 2. แบบพื้นบ้าน เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภค และส่วนที่เหลือนำไปจำหน่าย 3. แบบเชิงพาณิชย์ เป็นการเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายผลผลิตเป็นหลัก ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 5-6 เดือน สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ กระบวนการเลี้ยงปลาใช้ระยะเวลา 7 เดือน

  17. 3.1 การให้อาหารปลาตามขนาดอายุปลา หลักวิชาการ การให้อาหาร 1. ปลานิลสามารถกินอาหารตามธรรมชาติ เช่นแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ รวมทั้งซากอินทรีย์ การเพิ่มอาหารเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการเพิ่มปุ๋ยลงในบ่อ 2. ปลานิลยังกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว และเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง 3. ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ 1. สมาชิกจะอนุบาลปลาตัวเล็กจนครบอายุ 3เดือน. 2. ให้อาหารปลาตามสูตรอายุของปลา อายุ 1 เดือน จำนวน 1 กระสอบ อายุ 2 เดือน จำนวน 3 กระสอบ อายุ 3 เดือน จำนวน 10 กระสอบ การให้อาหารปลา 4 เดือนหลังใช้อาหารชนิดเดียวกัน อายุ 4 เดือน จำนวน 60 กระสอบ อายุ 5 เดือน จำนวน 90 กระสอบ อายุ 6 เดือน จำนวน 90 กระสอบ อายุ 7 เดือน จำนวน 120 กระสอบ

  18. 3.2 การใช้เวชภัณฑ์ปลา หลักวิชาการ ปลานิลจะเป็นโรคได้อันเนื่องมาจากเชื้อโรคที่เกิดขึ้นในน้ำ อันเกิดจาก สภาพของน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางไม่ดี ทำให้ปลาเกิดความเครียด อ่อนแอ ซึ่งต้องใช้เวชภัณฑ์ตามชนิดโรคของปลา เช่น โรคจุดขาว ใช้ ฟอร์มาลิน มาลาไคต์กรีนและเมทิลินบลู สามารถศึกษาโรคปลาเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ การใช้เวชภัณฑ์ -วิตามินซีผสมในอาหารปลา -ใช้เกลือสมุทรปรับสภาพน้ำ

  19. 3.3 การใช้เครื่องตีน้ำ หลักวิชาการ ก่อนการใช้เครื่องตีน้ำ จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำก่อน และควรหมั่นตรวจสอบน้ำอย่างสม่ำเสมอ ว่าอย่าให้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำกว่า 1 ppm ซึ่งจะแก้ไขโดยการใช้เครื่องตีน้ำในการช่วยเพิ่มออกซิเจน วิธีการใช้ 1 ตัวต่อ 1 ไร่ การใช้เครื่องตีน้ำ : เพื่อให้ปลาสมบูรณ์และผลผลิตเพิ่มขึ้น โดย - ในช่วงบ่ายจะทำให้อุณหภูมิและออกซิเจนผสมกันทุกระดับ - ปลาสามารถใช้ออกซิเจนในเวลากลางคืน - ควรให้ออกซิเจนอีกครั้งตอนเช้ามืด สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ ใช้เครื่องตีน้ำเมื่อต้องการเพิ่มออกซิเจน 1 เครื่อง ต่อ บ่อ (2 ไร่)

  20. 3.4 เติมน้ำดีในบ่อ หลักวิชาการ การเปลี่ยนน้ำหรือถ่ายเทน้ำ ในช่วงระหว่างการเลี้ยง ในการเลี้ยงปลานิลช่วงเดือนแรกจะไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ จะเปลี่ยนถ่ายน้ำนับจากเดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 6 การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของปลา และสภาพดินฟ้าอากาศด้วย สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ เติมน้ำดีลงในบ่อเมื่อน้ำลดลงจาก ระดับปกติ

  21. 3.5 การกำจัดวัชพืชริมบ่อ หลักวิชาการ มีการกำจัดวัชพืชบริเวณขอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูปลา สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ การกำจัดวัชพืช โดยการ ตัดหญ้าขอบบ่อ ค่าไฟฟ้า 50 บาท/เดือน ค่าน้ำมัน 50 บาท/เดือน

  22. 4. การจับปลาขาย หลักวิชาการ การจับปลานิลทำได้ 2 วิธี คือ 1. จับปลาแบบไม่วิดบ่อแห้ง จะใช้อวนตาห่างจับปลา เพราะจะได้ปลาที่มีขนาดตามต้องการ ส่วนปลาตัวเล็กก็คงปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป 2. จับปลาแบบวิดบ่อแห้ง ต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วตีอวนเช่นกัน แล้วสูบน้ำออกจากบ่ออีก เมื่อน้ำแห้งปลาจะมารวมกันที่ร่องบ่อแล้วทำการจับปลา สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ 1. น้ำหนักปลาต่อบ่อ 5,500 กิโลกรัม 2. ใช้เวลาจับ 2 วัน

  23. 4.1 การเตรียมการจับปลาของสมาชิก หลักวิชาการ ก่อนการจับปลาเพื่อการจำหน่ายปลานิลควรทราบข้อมูลการจับปลานิลล่วงหน้าก่อน ดังนี้ 1. ทราบกำหนดเวลาจับล่วงหน้า ปริมาณและขนาดของปลาที่ต้องการ 2. ควรงดให้อาหารปลา ก่อนจับปลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 3. ควรเตรียมอุปกรณ์จับปลาและภาชนะบรรจุปลาให้เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรจับปลาให้มีชีวิตมากที่สุด สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ สมาชิกเตรียมการ -ปล่อยน้ำออกจากบ่อ 50 % (1 วัน) -เตรียมอาหารน้ำดื่ม -เตรียมน้ำจืดใส่ถังปลา -อำนวยความสะดวกในการจับปลา -ทราบการจับปลา 2 วันจากสหกรณ์ • วันแรก 3,000 กก • วันที่ 2 2,500 กก

  24. 4.2 สหกรณ์ทำหน้าที่ในการจับปลา หลักวิชาการ เป็นเงื่อนไขระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก 1. กำหนดในระเบียบของสหกรณ์ 2. การทำข้อตกลงระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ 1. แจ้งวันจับปลาให้สมาชิกทราบ 2. สหกรณ์หาคนงาน จำนวน 6 คน ค่าจ้าง 175 บาทต่อคนต่อวัน 3. สหกรณ์ทำหน้าที่รวบรวมปลา สมาชิกรับผิดชอบจ่ายค่าจ้าง

  25. 4.3 การจัดระบบบำบัดน้ำทิ้ง หลักวิชาการ มีระบบบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดี สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ • เตรียมการบำบัดน้ำทิ้ง • เตรียมการจัดพื้นที่ • เตรียมเครื่องสูบน้ำ • สูบน้ำทิ้งออกจากบ่อ

  26. 5. การจำหน่ายปลา หลักวิชาการ การเลี้ยงปลานิลเชิงการค้า จะใช้ปลานิลแปลงเพศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปลานิลให้ได้ผลผลิตสูง ขนาดสม่ำเสมอ น้ำหนักตัวละประมาณ 300-600 กรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการมาก และได้ราคาสูง แต่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ - สหกรณ์เป็นผู้กำหนดพ่อค้าซื้อปลาเอง - ใช้ระยะเวลา 2 วัน

  27. 5.1 จำนวนพ่อค้าขายส่งปลานิล สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ จำนวนพ่อค้าขายส่งปลานิล 18 ราย หลักวิชาการ กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

  28. 5.2 ราคาตามราคาตลาด หลักวิชาการ ราคาและผลผลิตปลานิลแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน ตลาดในชนบทต้องบริโภคตัวเล็ก ตรงข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการบริโภคปลาตัวใหญ่ ราคาปลาจึงแตกต่างกัน ความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้ และราคาขายส่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล การขายปลาโดยปกติราคาขายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลา สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ - ราคาตามราคาตลาด - สหกรณ์เป็นผู้ร่วมเจรจาต่อรองราคา

  29. 5.3 สหกรณ์ได้ค่าบริการจากพ่อค้า กิโลกรัมละ 1 บาท หลักวิชาการ กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ สมาชิก/สหกรณ์ปฏิบัติ สหกรณ์ได้ค่าบริการจากพ่อค้า กิโลกรัมละ 1 บาท

  30. โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิลโรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล โรคที่สำคัญที่เกิดกับปลานิล ที่ควรต้องเอาใจใส่ และระมัดระวัง และควรป้องกันทันทีเมื่อเกิดโรคขึ้น ดังนี้ 1. โรคจุดขาว : เป็นโรคจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าปลายเข็ม กระจายอยู่ทั่วลำตัวและครีบ เกิดในปลาน้ำจืด เรียกว่า Ichthyopthirius multifiliis ที่เรียกกันว่า อิ๊ก ถ้าเกิดในน้ำกร่อยเรียกว่า Cryptocaryon irithans ซึ่งสามารถเลือกสารเคมีใช้ดังต่อไปนี้ 1) ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง 2) มาลาไคต์กรีน 1.0-1.25 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 20 นาที สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง 3) เมทิลินบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน /ปรสิตชนิดนี้...

  31. โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ)โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ) ปรสิตชนิดนี้ขยายพันธุ์รวดเร็ว ดังนั้นควรป้องกันและวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้ปลาที่นำมาเลี้ยงปราศจากการปนเปื้อนปรสิต โดยดำเนินการดังนี้ 1) ก่อนที่จะนำปลามาเลี้ยงควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อนประมาณ 7-0 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีปรสิตติดมาหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำไปเลี้ยงต่อ 2) การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้โดยวิธีง่าย ๆ คือ เมื่อปลาเป็นโรค ควรย้ายออก แล้วนำไปรักษาที่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในน้ำเดิมทิ้งไว้ 10-12 ชั่วโมง เพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แล้วจึงถ่านน้ำทิ้งไป ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง /2. โรคเห็บระฆัง...

  32. โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ)โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ) 2. โรคเห็บระฆัง : โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิในกลุ่ม Trichodinids มีลักษณะรูปร่างกลม ๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์ เกาะอยู่กลางลำตัวและเหงือกปลา ทำให้ปลาเกิดเป็นแผล ขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา สามารถทำให้ปลาตายได้หมดบ่อ การป้องกันทำได้โดยการตรวจสอบปลาก่อน ที่จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตนี้ติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มีโรค แล้วค่อยปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้ามีปรสิตเกิดขึ้นให้ใช้ยาและสารเคมีคือฟอร์มาลีน 25-30 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง /3. โรคเชื้อรา ...

  33. โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ)โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ) 3. โรคเชื้อรา : เชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ หลังจากที่ปลาเกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้ว ลักษณะเป็นปุยขาว ๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมอยู่ การป้องกันและรักษา 1) ปลาป่วยในโรงเพาะฟัก ใช้มาลาไคต์กรีน จำนวน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง 2) ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินป่วยเป็นโรคเชื้อรา มักจะพบสาเหตุมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับคุณภาพน้ำด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ 4. โรคพยาธิปลิงใส : ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวตามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ หากเป็นในขั้นรุนแรงจะมองเห็นว่าปลามีขนสีขาว ๆ สั้น ๆ ตามลำตัว ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้ จะเป็นได้กับลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อขุดใหม่ ๆ สามารถรักษาในระยะแรก ๆ ให้หายได้ การป้องกันและการรักษา 1) ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง 2) ใช้ไตรคลอร์ฟอน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง /5. โรคเห็บปลา ...

  34. โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ)โรคสำคัญที่เกิดกับปลานิล(ต่อ) 5. โรคเห็บปลา : เห็บปลาเป็นปรสิตภายนอก รูปร่างค่อนข้างกลม มีสีเขียวปนน้ำตาล ขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกาะอยู่ตามลำตัว หัวและครีบ ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุรายและพยายามถูตัวเองกับข้างบ่อ เพื่อให้พยาธิหลุด ทำให้เกิดแผลเลือดออกตามลำตัว การป้องกันและรักษา 1) แช่ปลาที่มีพยาธินี้ในสารละลายยาไตรคลอร์ฟอน (Trichlorfon) ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง 2) แช่ปลาในสารสละลายด่างทับทิมในอัตราส่วน 1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงย้ายปลาไปใส่ในน้ำสะอาด 3) กำจัดเห็บปลาออกโดยการจับออกด้วยปากคีบ หากพยาธิชนิดนี้เกาะแน่นเกินไป ให้หยดน้ำเกลือหรือด่างทับทิมเข้มข้น ประมาณ 1-2 หยด ลงบนตัวพยาธิ แล้วใช้ปากคีบดึงออก พยาธิหลุดออกได้ง่าย 4) กำจัดเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำได้โดยการตากบ่อให้แห้ง แล้วโรยปูนขาวในอัตราส่วน 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ให้ทั่วบ่อ กลับ 3.2 เวชภัณฑ์ปลา

  35. ความต้องการปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างในดินที่เหมาะสมความต้องการปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างในดินที่เหมาะสม กลับ 1.3 ทำความสะอาดบ่อปลา

  36. การให้ความรู้กับสมาชิก เกี่ยวกับ 1. การเลี้ยงปลานิล 2. การรวบรวมปลานิล 3. ข้อบังคับของสหกรณ์ 4. ระเบียบว่าด้วย การรวบรวมผลผลิตการให้เงินกู้แก่สมาชิก และการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายสมาชิก เป็นต้น กลับหน้าสรุปกิจกรรมปลานิล

  37. ใช้ซอฟแวร์ในการบริหารจัดการใช้ซอฟแวร์ในการบริหารจัดการ กลับหน้าสรุปกิจกรรมปลานิล

  38. สหกรณ์กำหนดระเบียบและวางเงื่อนไขกับสมาชิกสหกรณ์กำหนดระเบียบและวางเงื่อนไขกับสมาชิก กลับหน้าสรุปกิจกรรมปลานิล

More Related