1 / 47

การอุทธรณ์ และการ ร้องทุกข์

พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.กลุ่มงานนิติ กรด้านสอบสวน , วน. กองวินัย สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ โทร. 08 1-325-4740. การอุทธรณ์ และการ ร้องทุกข์. การอุทธรณ์. ความหมาย

Download Presentation

การอุทธรณ์ และการ ร้องทุกข์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวน, วน. กองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร.081-325-4740 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

  2. การอุทธรณ์ • ความหมาย การที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้ยกเรื่องขึ้นพิจารณาใหม่ให้เป็นไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้อง การอุทธรณ์เป็นกระบวนการในการบริหารงานบุคคลในระบบคุณธรรมที่สำคัญประการหนึ่งถือเป็นหลักประกันความเป็นธรรมและความมั่นคงในอาชีพแก่ข้าราชการทำให้ผู้บังคับบัญชา เพิ่มความระมัดระวังในการพิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ

  3. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ • มาตรา ๑๐๕ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม พ.ร.บ.นี้ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎ ก.ตร.

  4. หลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ๑.ให้อุทธรณ์ภายใน ๓๐วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ๒.ในกรณีผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูก สั่งให้ออกจากราชการถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดของผู้นั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งแทนได้ภายใต้กำหนดระยะเวลาตาม ข้อ ๑

  5. การแจ้งคำสั่งลงโทษหรือให้ออกจากราชการการแจ้งคำสั่งลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ๑.บุคคลเป็นผู้แจ้ง ๒.ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ๓.ส่งทางเครื่องโทรสาร

  6. ๑.บุคคลเป็นผู้แจ้ง • แจ้งแก่ผู้ถูกสั่งลงโทษที่ที่ทำงานหรือ • ตามที่อยู่ที่ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่หรือ • ภูมิลำเนาของผู้ถูกสั่งลงโทษ - ลงลายมือชื่อวันที่รับ - มอบสำเนาให้ไว้ ๑ ฉบับ

  7. ๒.ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ๒.ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ • ภูมิลำเนาของผู้ถูกสั่งลงโทษ หรือ • ตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ - ๗ วันภายในประเทศ - ๑๕ วันกรณีส่งต่างประเทศ • เมื่อปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้นั้นได้รับคำสั่งดังกล่าวหรือมี ผู้ได้รับแทนแล้วให้ถือว่าได้รับแจ้ง

  8. ๓.ส่งทางเครื่องโทรสาร๓.ส่งทางเครื่องโทรสาร • เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน • มีหลักฐานจากหน่วยงาน ผู้จัดบริการโทรคมนาคมที่เป็นสื่อในการส่งโทรสาร • ต้องส่งคำสั่งตัวจริงในทันทีที่กระทำได้

  9. การใช้สิทธิอุทธรณ์ • ๑.การใช้สิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน ให้อุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษหรือ ก.ตร.แล้วแต่กรณี • ๒.การใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการให้อุทธรณ์ต่อ ก.ตร.

  10. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไม่ร้ายแรงการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ๑.ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ รอง ผบก.หรือเทียบเท่าลงมา เป็นผู้สั่งลงโทษ - ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ดำรงตำแหน่ง ผบก.หรือเทียบเท่าที่เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้สั่งลงโทษ ๒. ผู้ดำรงตำแหน่ง รอง ผบช.หรือเทียบเท่าลงมา ถึง ผบก.หรือ เทียบเท่าเป็นผู้สั่งลงโทษ - ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ดำรงตำแหน่ง ผบช. หรือเทียบเท่าที่เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้สั่งลงโทษ

  11. ๓.ผู้ดำรงตำแหน่ง ผบก.หรือเทียบเท่าของ บก. ที่ขึ้นตรงต่อ สำนักงาน ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งลงโทษ - ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อ ผบ.ตร. ๔. ผู้ดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่าลงมาถึง ผบช. หรือเทียบเท่าเป็นผู้สั่งลงโทษ - ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อ ผบ.ตร. ๕. ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งลงโทษ - ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อ ก.ตร.

  12. การยื่นหนังสืออุทธรณ์การยื่นหนังสืออุทธรณ์ ๑.ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งเหนือผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ - ให้ทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชานั้นพร้อมกับสำเนารับรองถูกต้อง ๑ฉบับ - ให้ยื่นที่ส่วนราชการของผู้บังคับบัญชานั้น ๒.ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ ก.ตร. - ให้ทำหนังสือถึง ประธาน ก.ตร. หรือเลขานุการ ก.ตร. พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้อง ๑ฉบับจะยื่นที่สำนักงาน ก.ตร. หรือผ่านผู้บังคับบัญชาก็ได้

  13. หนังสืออุทธรณ์ ต้องทำเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริง และเหตุผลในการอุทธรณ์ให้เห็นว่าได้ถูกลงโทษโดยไม่ถูกต้อง เหมาะสม หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร - ลงลายมือชื่อและ - ที่อยู่ของผู้อุทธรณ์

  14. สิทธิของผู้อุทธรณ์ ๑. สิทธิในการขอแถลงการณ์ด้วยวาจา (ให้แสดงความประสงค์ในหนังสืออุทธรณ์นั้น หรือในกรณีที่ทำเป็นหนังสือต่างหากก็ต้องยื่นภายใน ๓๐วันนับแต่วันที่ยื่นหนังสืออุทธรณ์ ) ๒. สิทธิขอตรวจ หรือคัดรายงานการสืบสวนของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หรือของผู้สืบสวนสอบสวน

  15. ๓. สิทธิคัดค้านผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ หรือกรรมการข้าราชการตำรวจผู้พิจารณาอุทธรณ์ ๔. สิทธิยื่นอุทธรณ์เพิ่มเติม หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือ ก.ตร. พิจารณาอุทธรณ์ แต่ต้องไม่เกิน ๖๐วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานขึ้นภายหลังระยะเวลาดังกล่าว

  16. ๕. สิทธิในการรับทราบคำแนะนำถึงสาระสำคัญของหนังสืออุทธรณ์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ๖. สิทธิในการขอถอนอุทธรณ์ (ก่อนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือ ก.ตร. พิจารณาวินิจฉัยเสร็จสิ้น) ๗. สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับพิจารณาอุทธรณ์ (อุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕วันนับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าว) ๘. สิทธิในการที่จะทราบเหตุผลในการพิจารณาวินิจฉัยทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

  17. ๙. สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาหรือ ผบ.ตร. สั่งเพิ่มโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการในทางที่เป็นโทษแก่ผู้อุทธรณ์ ๑๐. สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

  18. การคัดค้านผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือ ก.ตร.

  19. เหตุแห่งการคัดค้านผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือ ก.ตร. ๑. รู้เห็นเหตุการณ์ในเรื่องที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ๒. มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ๓. มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์

  20. ๔. เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดา กับผู้กล่าวหาหรือ ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ ๕.มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การพิจารณา เสียความเป็นธรรม

  21. หนังสือคัดค้านผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาหรือ ก.ตร. ๑. ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสืออุทธรณ์ หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือ ๒. ในกรณีที่เป็นการแจ้งเพิ่มเติม ต้องแจ้งก่อนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือ ก.ตร. เริ่มพิจารณาอุทธรณ์

  22. การพิจารณาอุทธรณ์ หลักเกณฑ์การพิจารณาอุทธรณ์ของผู้มีอำนาจพิจารณา ๑. ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จและแจ้ง ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน ๒๔๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาได้ ๒. ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน ๒ครั้งๆ ละไม่เกิน ๖๐วัน

  23. กรณีไม่รับอุทธรณ์ • แจ้งคำสั่งหรือมติไม่รับอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว • แจ้งเหตุผลในการไม่รับอุทธรณ์ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย • แจ้งสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ตร. • แจ้งสิทธิในการฟ้องคดีปกครองในกรณี ก.ตร.ไม่รับอุทธรณ์ • อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

  24. กรณีย้ายสังกัด • ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ • ยื่นอุทธรณ์ต่อองค์กรกลางบริหารบุคคลที่มีอำนาจพิจารณาของหน่วยงานที่ผู้อุทธรณ์ได้ย้ายหรือโอนไปสังกัด • ส่งเรื่องตามไปยังสังกัดใหม่

  25. หน้าที่ของผู้พิจารณาอุทธรณ์หน้าที่ของผู้พิจารณาอุทธรณ์ • ส่งหนังสืออุทธรณ์ไปยังผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกภายใน ๓ วันนับแต่วันรับหนังสืออุทธรณ์ • ผู้สั่งลงโทษส่งหลักฐานการรับทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ • ส่งสำนวนการสืบสวน เอกสารการพิจารณาในเบื้องต้นตามมาตรา ๘๔ • ส่งสำนวนการสอบสวนตามมาตรา ๘๖ หรือมาตรา ๑๐๑ • ส่งคำชี้แจงของผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ • ส่งภายใน ๑๕ วันพร้อมรายงานการดำเนินการทางวินัยหรือรายงานการให้ออกจากราชการของผู้อุทธรณ์และของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

  26. ผลการพิจารณาอุทธรณ์ • ถูกต้องเหมาะสมให้สั่งยกอุทธรณ์ • ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม - เพิ่มสถานโทษหรืออัตราโทษ - ลดสถานโทษหรือลดอัตราโทษ - เป็นความผิดเล็กน้อยมีเหตุอันควรงดโทษให้งดโทษโดยทำทัณฑ์บนหรือว่ากล่าวตักเตือน - ไม่เป็นความผิดหรือพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่ากระทำผิดให้สั่งยกโทษ

  27. - สั่งเพิ่มโทษเป็นปลดออกหรือไล่ออก - ตั้งกรรมการสอบสวนหรือให้ออกตามมาตรา ๑๐๐ (๑)(๓)(๔) มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ - แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้ถูกต้องเหมาะสม • สั่งการตามควรแก่กรณีเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรม

  28. การพิจารณาของ ก.ตร. • ก.ตร.พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ • แจ้งผลอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย • แจ้งสิทธิในการฟ้องคดีปกครอง

  29. การแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์การแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ • แจ้งเหตุผลในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย • แจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งในกรณีที่อุทธรณ์ต่อไปได้หรือแจ้งสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองในกรณีที่อุทธรณ์ต่อไปไม่ได้

  30. การร้องทุกข์ การที่ข้าราชการตำรวจเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย หรือเกิดจากการปฏิบัติโดยมิชอบของผู้บังคับบัญชาต่อตน

  31. หลักเกณฑ์การร้องทุกข์หลักเกณฑ์การร้องทุกข์ ๑. ผู้ร้องทุกข์สามารถเลือกวิธีปรับความเข้าใจ ปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาผู้ทำให้เกิดทุกข์และผู้บังคับบัญชาผู้นั้นต้องให้โอกาสรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาระหว่างกัน (ข้อ ๓กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗) ๒. ผู้ร้องทุกข์สามารถเลือกร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือผู้บังคับบัญชาผู้ทำให้เกิดทุกข์ หรือ ก.ตร. แล้วแต่กรณี (ภายในระยะเวลา ๓๐วัน นับแต่วันที่ทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์) (ข้อ ๔กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗)

  32. การใช้สิทธิ์ร้องทุกข์การใช้สิทธิ์ร้องทุกข์ ๑. รองผู้กำกับหรือเทียบเท่าลงมา เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อผู้กำกับการหรือเทียบเท่า ๒. รองผู้บังคับการหรือเทียบเท่าลงมา ถึงผู้กำกับการหรือเทียบเท่า เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อ ผู้บังคับการหรือเทียบเท่า ๓. รองผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าลงมา ถึงผู้บังคับการหรือเทียบเท่า เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อ ผู้บัญชาการหรือเทียบเท่า หรือ ก.ตร.

  33. ๔. ผู้บังคับการหรือเทียบเท่าของหน่วยงานขึ้นตรง ตร. เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อ ตร. หรือ ก.ตร. ๕. จตช. รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่าลงมาถึง ผู้บัญชาการ หรือเทียบเท่า เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อ ผบ.ตร. หรือ ก.ตร. ๖. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือ ผบ.ตร. เป็นผู้ทำให้เกิดทุกข์ ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ตร. ๗.เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชาอื่นให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าสูงสุดหรือกลุ่มตำแหน่งที่สังกัด

  34. หนังสือร้องทุกข์ ให้ทำเป็นหนังสือและต้องแสดงรายละเอียดตามข้อ ๗ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗โดยผู้ร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและที่อยู่ของ ผู้ร้องทุกข์ด้วย ๑. แสดงข้อเท็จจริง และเหตุผลในการร้องทุกข์ ๒. แสดงให้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้อง หรือปฏิบัติโดยมิชอบต่อตนอย่างใด

  35. ๓. แสดงความประสงค์ของการร้องทุกข์ ๔. ทำสำเนาหนังสือและรับรองความถูกต้องด้วย ๑ฉบับ ๕.ทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาเหนือผู้บังคับบัญชาผู้ทำให้เกิดทุกข์ ๖.ทำหนังสือถึงประธาน ก.ตร.หรือเลขานุการ ก.ตร.

  36. การยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์การยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ • ยื่นหรือส่งผ่านผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ทำให้เกิดทุกข์ • ยื่นที่สำนักงาน ก.ตร. • กรณีมายื่นเองให้ออกใบรับหนังสือและลงทะเบียนรับไว้ • ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน • ยื่นเรื่องร้องทุกข์เพิ่มเติมได้แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา ๓๐ วันนับแต่วันยื่นเรื่องร้องทุกข์ เว้นแต่ปรากฏพยานหลักฐานใหม่

  37. การรับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณาการรับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณา • ต้องเป็นเรื่องที่ยื่นภายในกำหนดเวลา • เรื่องที่ยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาหากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการหรือการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมจะรับไว้พิจารณาก็ได้ • หนังสือร้องทุกข์ที่มีสาระไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือ สง.กตร.ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

  38. สิทธิผู้ร้องทุกข์ ๑. สิทธิคัดค้านผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรือกรรมการ ก.ตร. ผู้พิจารณาตามเหตุผลที่ระบุไว้ในข้อ ๘กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗ ๒. สิทธิได้รับการแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือจากผู้ใช้อำนาจพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรือ ก.ตร. ๓. สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กรณีได้รับหนังสือว่าไม่รับคำร้องทุกข์ หรือยกคำร้องทุกข์ (ข้อ ๑๑,๑๘,๒๑กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗)

  39. ๔. สิทธิขอถอนเรื่องร้องทุกข์ (ก่อนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์หรือ ก.ตร. ตามแต่กรณี มีคำพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้น)(ข้อ ๑๒กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗) ๕. สิทธิร้องทุกข์คำสั่งไม่รับพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ภายใน ๑๕วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าว ต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ลำดับเหนือขึ้นไป หรือ ต่อ ก.ตร. ตามแต่กรณี (ข้อ ๑๑วรรคหกกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗) ๖. สิทธิในการจะทราบเหตุผลในการพิจารณาวินิจฉัย ไม่รับคำร้องทุกข์ หรือข้อพิจารณาวินิจฉัย คำร้องทุกข์ ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

  40. ๗. สิทธิได้รับคำแนะนำกรณีหนังสือร้องทุกข์มีสาระสำคัญไม่ครบถ้วน หรือสิทธิยื่นหนังสือร้องทุกข์เพิ่มเติมหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ก่อนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันยื่นหนังสือร้องทุกข์เว้นแต่พยานหลักฐานที่ปรากฏขึ้นภายหลังระยะเวลาดังกล่าว

  41. เหตุคัดค้านผู้พิจารณาร้องทุกข์เหตุคัดค้านผู้พิจารณาร้องทุกข์ ๑. เป็นผู้ที่ทำให้เกิดเหตุแห่งการร้องทุกข์ ๒. มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ ๓. มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์

  42. ๔. เป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดา กับผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชาผู้ที่ทำให้เกิดทุกข์ ๕.มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การพิจารณาเสียความเป็นธรรม

  43. การคัดค้านผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจพิจารณาหรือ ก.ตร. ๑. ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือร้องทุกข์ หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือ ๒. ในกรณีที่เป็นการแจ้งเพิ่มเติม ต้องแจ้งก่อนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาร้องทุกข์หรือ ก.ตร. เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์

  44. กรณีย้ายสังกัด • ยื่นร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาร้องทุกข์ที่ผู้นั้นย้ายไป • ยื่นร้องทุกข์ต่อองค์กรกลางบริหารบุคคลที่มีอำนาจพิจารณาของหน่วยงานที่ผู้ร้องทุกข์ได้ย้ายหรือโอนไปสังกัด

  45. การพิจารณาคำร้องทุกข์การพิจารณาคำร้องทุกข์ • มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งหนังสือร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาที่ทำให้เกิดทุกข์ทราบโดยเร็ว • ให้ผู้บังคับบัญชาที่ทำให้เกิดทุกข์ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและคำชี้แจง(ถ้ามี)ไปเพื่อประกอบการพิจารณาภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ • กรณีที่ผู้บังคับบัญชารับหนังสือไว้ให้ส่งหนังสือดังกล่าวไปยังผู้ที่ทำให้เกิดทุกข์ภายใน ๓ วันนับแต่วันที่รับหนังสือ และให้ส่งคำชี้แจงไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาหรือ ก.ตร.ภายใน ๗ วันทำการ

  46. ผู้รับคำร้องทุกข์ต้องพิจารณาและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน ๙๐วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์และเอกสารหลักฐาน กรณีมีเหตุจำเป็นสามารถขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน(ตามข้อ ๖วรรคท้ายแห่ง กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๔๗)

More Related