1 / 63

พุทธประวัติ

พุทธประวัติ. สื่อการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูบังอร สุดยินดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๑. สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.

brooklyn
Download Presentation

พุทธประวัติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พุทธประวัติ

  2. สื่อการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูบังอร สุดยินดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๑

  3. สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

  4. การที่พระโพธิสัตว์จะลงมาอุบัติการที่พระโพธิสัตว์จะลงมาอุบัติ ขึ้นในโลกจะต้องพิจารณาถึงสิ่ง ต่อไปนี้ กาลอันสมควร๑ สถานที่ กำเนิด ๑ ถิ่นกำเนิด ๑ ตระกูล ๑ และพระมารดาผู้ให้กำเนิด ๑ ทรงเสด็จลงมาปฏิสนธิในพระ ครรภ์ของพระนางสิริมหามายา พระ ราชบิดาพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ กรุงกบิลพัสดุ์ ราชสกุลศากยวงศ์ ณ วันเพ็ญเดือน ๘ พระโพธิสัตว์ปฏิสนธิ

  5. พระโพธิสัตว์ประสูติ • ทรงประสูติในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ณ สวนลุมพินี ปัจจุบันอยู่ในประเทศ เนปาล ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าวมีดอกบัวผุดมา รองรับ • ในวันนี้ได้เกิดสหชาติ ๗ อย่างพร้อม กัน คือ ๑ พระนางพิมพา ๒ พระ อานนท์ ๓ นายฉันนะ ๔ ม้ากัณฐกะ ๕ กาฬุทายี ๖ ต้นมหาโพธิ์พฤกษ์ ๗ ขุมทรัพย์ทั้งสี่

  6. กาฬเทวิลทำนายลักษณะ • กาฬเทวิลเห็นพระลักษณะของ พระโอรส ทราบด้วยอนาคตังสญาณคือ ปัญญาที่หยั่งรู้อนาคต ว่าพระโอรสนี้เป็น อัจฉริยบุรุษ จักได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย

  7. เฉลิมนามพระโอรส • ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า ผู้สำเร็จในสิ่งที่ต้องการ พราหมณ์ ๘ คน พิจารณาลักษณะ มหาบุรุษ พราหมณ์ ๗ คน ได้พยากรณ์ ๒ นัยคือ ถ้าครองเพศฆราวาสจักได้เป็น มหาจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจักได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า มีเพียง ๑ คนที่ทำนาย เพียงนัยเดียวว่าจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แน่นอนคือ พราหมณ์โกณฑัญญะ

  8. เหตุแห่งการออกผนวช เมื่อเจริญวัยทรงสำเร็จการศึกษา ศิลปวิทยาต่างๆ พระราชบิดาทรงสร้าง ปราสาท ๓ หลังให้ประทับ และทรง อภิเษกพระนางยโสธรา เป็นอัครชายา วันหนึ่งเสด็จประพาสอุทยาน ทรง ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงดำริหาทางพ้นทุกข์

  9. ๑. ข้อความใดสัมพันธ์กับวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ? วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ พระนางสิริมหามายา สวนลุมพินี โกลิตะ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ สหชาติทั้ง ๗ อุปติสสะ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘

  10. ๒. สหชาติทั้ง ๗ ได้แก่ นายฉันนะ พระเทวทัต กาฬุทายี พระเจ้าสุทโธทนะ พระปชาบดีโคตมี ม้ากัณฐกะ เจ้าชายอานนท์ พระนางยโสธรา ต้นมหาโพธิ์พฤกษ์ ขุมทรัพย์ทั้งสี่ พระนางสิริมหามายา

  11. มหาภิเนษกรมณ์ (ออกผนวช) ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ พระพี่ เลี้ยงตามเสด็จออกผนวช เมื่อพระชนม์ ๒๙ พรรษา

  12. เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช เสด็จมายังริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงตัดพระเมาลี พระมัสสุ แล้วทรงอธิษฐาน ว่า “ถ้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าขอให้ผมจงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่สามารถตรัสรู้ได้ ก็ขอให้ตกลงบนพื้นแผ่นดิน แล้วเหวี่ยงขึ้นไปในอากาศพระเกศาลอยอยู่ในอากาศ” ท้าวสักกะเทวราชนำผอบรัตนะมารับนำไปประดิษฐานไว้ที่ พระเจดีย์ จุฬามณี ฆฏิการพรหมได้นำบริขาร ๘ จีวร สังฆาฏิ สบง บาตร มีด เข็มพร้อมด้าย รัดประคด และกระบอกกรองน้ำมาถวาย

  13. พระเจ้าพิมพิสาร • พระเจ้าพิมพิสาร ทูลเชิญพระโพธิ สัตว์สิทธัตถะ ครองราชย์สมบัติร่วมกัน พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพปรารถนาที่จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่าหาก พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอให้เสด็จมายังแคว้นหม่อมฉันด้วย

  14. ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา • ทรงศึกษาจากสำนักพระอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร เรียน สมาบัติ ๘ จนจบ ทรงดำริว่ายังไม่ใช่ หนทางแห่งความหลุดพ้น ทรงลาพระ อาจารย์มาศึกษาด้วยพระองค์เอง ด้วยการ ทรมานร่างกาย กัดฟัน กลั้นลมหายใจและ อดพระกระยาหารโดยมีพราหมณ์ ๕ คน คอยปรนนิบัติ ในที่สุดก็ไม่พบหนทางพ้นทุกข์ จึงหัน กลับมาเสวยพระกระยาหารดังเดิม พวก พราหมณ์ จึงพากันละทิ้งไป

  15. นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ในเช้าวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางสุชาดานำข้าวมธุปายาสมาถวาย เพื่อแก้บนที่นางได้มีบุตรชาย และคิดว่า เป็นเทวดาบนไว้

  16. ทรงลอยถาดอธิษฐาน • ทรงแบ่งข้าวมธุปายาส เป็น ๔๙ ก้อน และเสวย หลังจากนั้นทรงนำถาด ทองมาลอยและอธิษฐาน หากพระองค์ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอย ทวนน้ำขึ้นไป

  17. ผจญกับพญามาร • ทรงผจญกับพญามารที่มาขัดขวาง ไม่ให้พระองค์บำเพ็ญเพียร ด้วย ลม ฝน ก้อนหิน เครื่องประหาร ถ่านไฟ เถ้ารึง ทราย โคลน และความมืด ไม่สามารถ ทำอันตรายพระโพธิสัตว์ได้ อาวุธต่าง ๆ ได้กลายเป็นดอกไม้ตกลงมายังพื้นดิน

  18. ทรงชนะพญามาร • พญามารและบริวาร ถูกน้ำพัดพา พ่ายแพ้ไปในที่สุด ด้วยพระบารมีของ พระองค์ พญามารเห็นดังนั้นก็อัศจรรย์ ใจ ครั่นคร้ามในพระเดชานุภาพของ พระโพธิสัตว์ หนีกลับไปยัง ปรนิมมิตวสวัตตี อันเป็นเทวสถาน ของตน

  19. ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสรู้ในเรื่องต่อไปนี้ ยามแรก เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงชาติ ที่เคยเกิดมาก่อน(ระลึกชาติได้) ยามที่สอง เกิดปัญญาหยั่งรู้การตาย การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (ตาทิพย์) ยามที่สาม เกิดปัญญาหยั่งรู้ในธรรม ที่สิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลาย (ตรัสรู้) ทรงใช้เวลาศึกษา ๖ ปี

  20. เพราะเหตุใดพระโพธิสัตว์สิทธัตถะลาออกจากสำนักของเพราะเหตุใดพระโพธิสัตว์สิทธัตถะลาออกจากสำนักของ • พระอาจารย์? ก. เพราะไม่ชอบใจในการสอน ข. เพราะเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ ค. เพราะอยากมีอิสระแก่ตนเอง ง. เพราะไม่อยากเป็นครูสอนผู้อื่น

  21. ๔. การแก้ไขข้อบกพร่องของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะคือวิธีใด? ก. ทรมานตนเองอย่างหนัก ข. ให้ปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติ ค. พิจารณาเปรียบเทียบหาเหตุผล ง. ปล่อยให้เป็นไปเองตามธรรมชาติ

  22. พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าทรงอาศัยความรู้ข้อใดมากที่สุดพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าทรงอาศัยความรู้ข้อใดมากที่สุด ก. การฟัง ข. การเลียนแบบ ง. การฝึกอบรมพระองค์เองได้ ค. การทรมานตนเอง

  23. สัตตมหาสถาน สถานที่ประทับหลังจากตรัสรู้ ๗ แห่ง • พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสถานที่ ๗ แห่งลำดับดังนี้ ๑. โพธิบัลลังก์ ๒. อนิมิสเจดีย์ ๓. รัตนจงกรมเจดีย์ ๔. รัตนฆรเจดีย์ ๕. อชปาลนิโครธ ๖. ต้นมุจลินท์(ต้นจิก) ๗. ต้นราชายตนะ(ต้นเกตุ)

  24. อุบาสกคู่แรก • ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ถวายข้าวสัตตุ ผง สัตตุก้อน และขอเข้าถึงพระพุทธ พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระองค์ทรงรับด้วยบาตรศิลาที่ท้าว จตุมหาราชทั้ง ๔ นำมาถวาย พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศธาตุ (ผม) พาณิชทั้งสองได้นำเอาพระเกศธาตุ ไปบรรจุในพระเจดีย์ที่เมือง อสิตัญชนะ บ้านเกิดของตน

  25. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาให้แสดงธรรมท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาให้แสดงธรรม • ทรงเปรียบสัตว์โลกที่สั่งสอนได้กับ ดอกบัว ๔ เหล่า ๑. บัวพ้นน้ำ (อุคฆฏิตัญญู) ๒. บัวเสมอน้ำ (วิปจิตัญญู) ๓. บัวใต้น้ำ (เนยยะ) ๔. บัวติดตม (ปทปรมะ)

  26. ปัญจวัคคีย์ • ทรงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ทรงตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่า “พวกเธอ ทั้งหลาย เราได้พบธรรมที่ดับกิเลสและ กองทุกข์แล้ว เราจะแสดงธรรมนั้นแก่ เธอ พวกเธอเมื่อฟังและปฏิบัติตามแล้ว ไม่นานจักเข้าใจธรรมนั้นแจ่มแจ้งด้วย ปัญญาของเธอเอง”

  27. เทศนากัณฑ์แรก”ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”เทศนากัณฑ์แรก”ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” • วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรง เทศนากัณฑ์แรก ”ธัมมจักกัปปวัตตน สูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คน โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ และ โกณฑัญญะ ได้บรรลุ โสดาบันจึงทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรง ประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทาและเป็น วันที่พระรัตนตรัยครบองค์สาม

  28. รัตนตรัย • วันต่อมา พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทแก่ปํญจวัคคีย์ที่เหลือ จนได้บรรลุ โสดาปัตติผลโดยลำดับและทูลขอบวช ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา หลังจากนั้นทรงแสดง อนัตตลักขณ สูตร ให้ปัญจัวัคคีย์พิจารณาเห็น สภาวธรรม สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็น อนัตตา จบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ ทั้งหมดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

  29. ยสกุลบุตร • ยสะ ลูกชายเศรษฐีเมืองพาราณสี เกิด ความเบื่อหน่ายวุ่นวายที่เกิดขึ้นในบ้าน จึง เดินบ่นมาตามทาง ได้พบพระพุทธองค์และ ได้ฟังธรรมเกิดดวงตาเห็นธรรม บิดาของยสะได้ออกมาตามบุตรชาย ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์เดียวกันได้บรรลุ โสดาปัตติผล ส่วนยสะได้ฟังครั้งที่ ๒ บรรลุเป็นพระอรหันต์ ทูลขอบวช ต่อมาสหายของพระยสะได้บวชตามอีก ๕๔ คน

  30. ประกาศศาสนา • โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง (อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ) ถือลัทธิบูชาไฟ ซึ่งมีบริวาร ๑,๐๐๐ คน ให้หันมานับถือ พุทธศาสนา ทรงใช้เวลา นาน ๒ เดือน

  31. ๖. หลังจากตรัสรู้ทรงเสวยวิมุตติสุข เป็นเวลา ๔๙ วัน “วิมุตติสุข” หมายถึงข้อใด? ก. สุขเกิดจากการมีทรัพย์ ข. สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ ค. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ง. สุขเกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส

  32. ๗. พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่นักเรียนนำมา ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอคือข้อใด? ก. ทรงมีจิตสะอาดบริสุทธิ์ ข. ทรงเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ค. ทรงรู้จักหน้าที่ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข • ง. ทรงละความเกียจคร้านและมีความพากเพียร

  33. ๘. พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชฎิล ๓ พี่น้องที่มีบริวาร ๑,๐๐๐ คน นานถึง ๒ เดือน พวกชฎิลคือใคร? ก. ชาวนาที่ถวายหญ้าคาให้พระพุทธเจ้า ข. ผู้ที่ถวายสวนไผ่ให้พระพุทธเจ้า ค. พวกที่ต่อต้านศาสนาพุทธ ง. พวกที่นับถือลัทธิบูชาไฟ

  34. เสด็จกรุงราชคฤห์ • พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระ เจ้าพิมพิสาร ส่งผลให้ชาวเมืองจำนวน มากประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน พระเจ้าพิมพิสารบรรลุโสดาปัตติ ผล ทรงศรัทธา จึงถวายอุทยานสวน ไม้ไผ่ หรือเวฬุวัน เป็นวัดแห่งแรกใน พระพุทธศาสนา

  35. พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ • อุปติสสะ และโกลิตะพาบริวาร ๒๕๐ คนได้เข้ามากราบทูลขอบวชใน พระพุทธศาสนา ต่อมาอุปติสสะได้ยกย่องเป็นอัคร สาวกเบื้องขวา นามว่าพระสารีบุตร และโกลิตะ ได้รับยกย่องเป็นอัคร สาวกเบื้องซ้ายนามว่า พระโมคคัลลานะ

  36. จาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชา เหตุการณ์ เกิดขึ้น ๔ อย่าง ๑. มีพระภิกษุ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ๒. พระทุกรูปล้วนเป็นเอหิภิกขุ อุปสัมปทา ๓. พระภิกษุทุกรูปล้วนเป็นพระ อรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ ๔. เป็นวันมาฆปุณณมี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในวันนี้พระพุทธองค์ทรงแสดง”โอวาท ปาฏิโมกข์”

  37. เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ • พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงทราบว่าเจ้าชาย สิทธัตถะได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงส่งอำมาตย์ไปทูลอาราธนาถึง ๙ ครั้ง ครั้งสุดท้ายจึงโปรดให้กาฬุทายีมากราบทูล ให้เสด็จไปโปรดที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดาได้สำเร็จ พระสกทาคามี พระนางปชาบดีโคตมี พระ นางยโสธรา สำเร็จโสดาปัตติผล ส่วนพระราหุลพระพุทธองค์มีพระดำรัส ให้พระสารีบุตร บวชราหุลเป็นสามเณรองค์ แรกในพระศาสนา ซึ่งพระชนมายุได้ ๗ ชันษา

  38. อนาถบิณฑิกเศรษฐีมหาอุบาสกอนาถบิณฑิกเศรษฐีมหาอุบาสก • พระพุทธองค์เสด็จเมืองสาวัตถี ตาม คำทูลอาราธนาของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ซื้อที่จาก เจ้าเชต และได้สร้างวัดเชตวัน ถวายพระพุทธเจ้า ด้วยความเคารพและศรัทธาต่อพระพุทธ ศาสนา

  39. ศากยราช ๖ องค์ผนวช • เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชาย กิมพิละ และเจ้าชายเทวทัต เสด็จ ออกบวชพร้อมด้วยอุบาลี ช่างกัลบก ในราชสำนัก

  40. พระพุทธบิดานิพพาน • หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะ นิพพาน แล้ว พระนางปชาบดี ได้ขอบวช พระพุทธเจ้าทรงให้ถือครุธรรม ๘ และ เป็นภิกษุณี องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระนางยโสธราและพระนาง ชนปทกัลยาณี (น้องสาวของพระพุทธ องค์) ออกบวชตาม ไม่นานได้บรรลุ ธรรม

  41. เสด็จโปรดพุทธมารดา • หลังจากตรัสรู้ ได้ ๗ พรรษา ได้ เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ทรงแสดงอภิธรรมถวาย พุทธมารดาตลอดเวลา ๓ เดือน จน สำเร็จโสดาปัตติผล

  42. เสด็จลงมาจากเทวโลก พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ เทวโลกหลังโปรดพุทธมารดา ในวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

  43. .......๙. ครั้งสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะส่งอำมาตย์กาฬุทายีไปทูลเชิญ อาราธนาพระพุทธเจ้าได้ .......๑๐. อัครสาวกเบื้องขวาและอัครสาวกเบื้องซ้ายคือพระโกณฑัญญะและพระยสะ

  44. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนิพพานพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนิพพาน • หลังจากโปรดพุทธมารดา เสด็จยัง กรุงสาวัตถี ประทับที่พระเชตวันวิหาร ต่อพระสงฆ์เกิดแตกความสามัคคี เรื่องเกี่ยวกับพระวินัยแตกเป็น ๒ ฝ่าย พระองค์ตรัสโทษแห่งความแตกสามัคคี แต่ภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ฟัง จึงเสด็จไป ประทับจำพรรษาที่ป่าปาริเลยยกะ ประมาณพรรษาที่ ๑๒ พระมหาปชา บดีโคตมีเถรีและเหล่าภิกษุณี ๕๐๐ รูป เข้ามาทูลลานิพพาน

  45. นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางบรรลุโสดาปัตติผล เมื่ออายุ ได้ ๗ ปี เป็นหญิงที่งามถึงพร้อม ด้วยเบญจกัลยาณี นางได้ทำให้บิดาของสามีเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย และนางทำกุศลตามที่ ปรารถนาทุกประการ นางได้สร้างวัดบุพพารามถวาย พระพุทธเจ้า

  46. พระเจ้าอชาตศัตรู พระเทวทัต ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูให้ ปลงพระชนม์พระบิดาแล้วตั้งตนเป็น กษัตริย์ พระเจ้าพิมพิสารยินยอมสละราช สมบัติ พระเจ้าอชาตศัตรูได้จับพระบิดา ไปกักขังทรมาน จนสิ้นพระชนม์

  47. พระเทวทัต • พระเทวทัตอยากเป็นใหญ่ในหมู่สงฆ์ จึงหาทางยุยงให้สงฆ์แตกแยก จ้างพวก นายธนูไปลอบยิงพระพุทธเจ้า กลิ้งก้อน หินให้ทับ และปล่อยช้างนาฬาคิรีไปไล่ เหยียบพระพุทธเจ้า ต่อมาสำนึกผิด จึงเดินทางมาเฝ้า พระพุทธเจ้าเพื่อกราบขอขมา และได้ถูก ธรณีสูบไปเกิดในมหาอเวจีนรก

  48. พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก • ในพรรษาที่ ๒๐ พระพุทธองค์ทรง แต่งตั้งให้พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากทรง ปรนนิบัติพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิดดูและน้ำใช้ น้ำฉัน ไม้สีฟัน นวดพระหัตถ์และพระบาท นวดพระปฤษฎางค์ กวาดบริเวณพระคันธกุฎี ตรวจรอบพระคันธกุฎีคืนละ ๙ ครั้ง และพระ พุทธองค์สรรเสริญว่าเป็นผู้รอบรู้ มีสติปัญญา มีธรรมที่เป็นแบบอย่าง มีความมั่นคง เป็น อุปัฏฐากที่เลิศ พระอานนท์ เป็นหนึ่งในพระ อรหันต์ ๕๐๐ รูป ที่ทำสังคายนา หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน

  49. พระเจ้าปเสนทิโกศล พรรษาที่ ๒๑-๔๕ พระพุทธเจ้า องค์ประทับที่ กรุงสาวัตถี แคว้น โกศลนานที่สุด มีพระเจ้าปเสนทิ โกศล เป็นพระราชาที่เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา มีตระกูล อุบาสกอุบาสิกาที่ศรัทธาในพระ รัตนตรัย

  50. ๑๑. ข้อความใดเกี่ยวข้องกับนางวิสาขา.............................................................................................................................................................................................................................................................................. ผู้เลิศในการถวายทาน เบญจกัลยาณี สูกรมัทวะ วัดบุพพาราม วัดเชตวัน วัดเวฬุวันวิหาร ผ้าอาบน้ำฝน วัดอัมพปาลีวัน

More Related