1 / 9

ตำนานเมืองแก่งคอย เด็กชายวีระชัย บัวขำ เด็กชายมีชัย เตโช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 9

ประวัติและความเป็นมา. สภาพทั่วไป. ลักษณะ ภูมิ ประเทศ. ตำนานเมืองแก่งคอย เด็กชายวีระชัย บัวขำ เด็กชายมีชัย เตโช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 9. ศาสนา. สภาพ เศรษฐกิจ. การ คมนาคม ทางน้ำ. การ คมนาคม ทางบก ทางรถไฟ. การ ท่องเที่ยว. ประวัติและความ เป็นมา

Download Presentation

ตำนานเมืองแก่งคอย เด็กชายวีระชัย บัวขำ เด็กชายมีชัย เตโช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 9

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติและความเป็นมา สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ • ตำนานเมืองแก่งคอย • เด็กชายวีระชัย บัวขำ • เด็กชายมีชัย เตโช • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 9 ศาสนา สภาพเศรษฐกิจ การคมนาคมทางน้ำ การคมนาคมทางบก ทางรถไฟ การท่องเที่ยว

  2. ประวัติและความเป็นมา • อำเภอแก่งคอย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ ในขณะนั้น ยังใช้ชื่อเรียกหน่วยงาน การปกครองระดับอำเภอ " แขวง " อยู่โดยมีหลวงพลกรมการ เป็นผู้ปกครองแขวงคนแรก และที่มีทำการแขวง อยู่ที่บ้านตาลเดี่ยว  • พุทธศักราช ๒๔๐๐ มีการตรวจพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ขึ้นกำหนดรูปการปกครองใหม่ โดยเปลี่ยนนามเรียกขานจาก " แขวง " เป็น " อำเภอ" และให้มีการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานการปกครองระดับรองลงไป  • ภายหลังที่ใช้ชื่อหน่วยงานการปกครองว่า " อำเภอ " ได้มีการย้ายที่ทำการ รวม ๒ ครั้ง คือ • พุทธศักราช ๒๔๕๘ ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมแควป่าสัก มาสร้างขึ้นที่ ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตรงด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟแก่งคอย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๗ ทางราชการได้เวนคืนที่ดินบริเวณอำเภอ ให้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย และสร้างที่ว่าการอำเภอแก่งคอยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในส่วนราชการของอาคารที่ทำการอำเภอ นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๑ ครั้ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ โดยสร้างตามแบบที่ว่าการอำเภอชั้นตรี (ไม้สองชั้น) ของกรมโยธาธิการ เลขที่ ๖๑๘๖ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาท) อาคารนี้แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ และ ฯ พลฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้น ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายอาคารในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๐๗ อาคารหลังดังกล่าวได้ใช้เป็นที่ทำการอำเภอเรื่อยมาจนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ จึงได้มีการรื้ออาคารและก่อสร้างใหม่ตามแบบมาตรฐาน เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น แล้วเสร็จในเดือน ตุลาคม ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นอาคารที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

  3. สภาพทั่วไปของอำเภอแก่งคอยสภาพทั่วไปของอำเภอแก่งคอย ที่ตั้ง อำเภอแก่งคอย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๔ กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงเทพมหานคร โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร เนื้อที่และอาณาเขต อำเภอแก่งคอย มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘๐๑.๑๖๒ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ร้อยละ ๒๒.๔๐ ของพื้นที่จังหวัดสระบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัด ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

  4. ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแก่งคอยลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแก่งคอย สภาพพื้นที่ของอำเภอแก่งคอย มีทั้งบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ทางทิศตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงและภูเขาโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงต่ำ สลับซับซ้อน จึงได้ถูกกำหนดเป็นป่าสงวน แห่งชาติ และเขตวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ตอนกลางเป็นแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน จากทางทิศเหนือไปทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศ ภูมิอากาศของอำเภอแก่งคอย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะด้วยกันตามสภาพภูมิประเทศ กล่าวคือ บริเวณที่ราบสูง ฤดูร้อนจะค่อนข้างร้อนจัด และในฤดูหนาวอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็นส่วน ในฤดูฝน พื้นที่บริเวณที่ราบสูงนี้ ฝนมักไม่ตกต้องตามฤดูกาล บริเวณเทือกเขา ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ส่วนฤดูฝน ฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๓๓.๒ องศาเซลเซียส ต่ำสุด ๒๓.๔ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ ๑,๔๓๗ มิลลิเมตรต่อปี

  5. สภาพเศรษฐกิจ อำเภอแก่งคอย เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง ๒๒ โรงงาน โรงงานในเขตมีถึง ๗๑ โรงงาน ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีรายได้จากการใช้แรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรส่วนมากได้ขาย ที่ดินซึ่งใช้ทำการเกษตรไปมากแล้ว จึงทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดีขึ้น อนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯ ได้กำหนดให้ชุมชนเมืองแก่งคอยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมที่จะกระจายตัวมาจากกรุงเทพมหานคร อันจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของอำเภอแก่งคอยในอนาคต

  6. การท่องเที่ยว   ภายในอำเภอแก่งคอย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติและสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ ล่องแก่งแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าคล้อ น้ำตกเจ็ดคตก หมู่ที่ ๘ ตำบลชะอม วังสีทา (วังเก่า) หมู่ที่ ๘ ตำบลสองคอน พระพุทธบาทน้อย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลสองคอน ถ้ำบ่อปลา(พระธาตุเจริญธรรม) หมู่ที่ ๑๐ ตำบลสองคอน ผาเสด็จ หมู่ที่ ๕ ตำบลทับกวาง ถ้ำโพธิสัตว์ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลทับกวาง ผาหมีเนือเสือใต้

  7. การคมนาคม อำเภอแก่งคอย มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ และรถไฟ เป็นทางผ่านที่จะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักของอำเภอ ภายในเขตตำบล หมู่บ้านต่างๆ มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกันอย่างทั่วถึง เส้นทางคมนาคมที่สำคัญมีดังนี้ ทางบก  ถนนมิตรภาพ ผ่านท้องที่อำเภอแก่งคอย รวมความยาวประมาณ ๑๙ กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอ - จังหวัดสระบุรี ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร  ถนนสายแก่งคอย - บ้านนา ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร  ถนนสายอดิเรกสาร ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน นอกจากนี้มีทางรถไฟสายแก่งคอย - บัวใหญ่ โครงการรถไฟสายแก่งคอย - นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

  8. ทางน้ำ มีลำน้ำป่าสักไหลผ่าน แต่ใช้เฉพาะการสัญจรไปมาในระหว่างพื้นที่ใกล้ ๆ ในบางฤดูเท่านั้นการบริการทางการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ และทางรถไฟ ส่วนใหญ่ใช้ในการขนส่งวัตถุดิบในการก่อสร้าง เช่นปูนซีเมนต์ รองลงมาเป็นพืชไร่ และข้าวสาร ภายในอำเภอมีรถโดยสารประจำทางบริการทั่วถึงทุกตำบล เส้นทางรถไฟนับว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด

  9. ศาสนา การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม  ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีเพียงบางส่วนนับถือ ศาสนาคริสต์ และศาสนา อิสลาม ศาสนสถานในเขตอำเภอมีดังนี้  วัดพระพุทธศาสนา ๘๕ แห่ง  สังกัดมหานิกาย ๘๑ แห่ง  สังกัดธรรมยุต ๔ แห่ง  ทีพักสงฆ์ ๑๕ แห่ง  ศาลเจ้า ๑ แห่ง

More Related