1 / 16

กระบวนการ จัดทำ วิทยานิพนธ์/การ ค้นคว้าอิสระ

การสัมมนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏ เชียงใหม่ วันที่ 26-27 ธันวาคม 2553 ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราช ภัฏ เฉลิมพระเกียรติ. กระบวนการ จัดทำ วิทยานิพนธ์/การ ค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราช ภัฏ เชียงใหม่ โดย

Download Presentation

กระบวนการ จัดทำ วิทยานิพนธ์/การ ค้นคว้าอิสระ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสัมมนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ • วันที่ 26-27 ธันวาคม 2553 ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ กระบวนการจัดทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ • โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยุทธ วงศ์แปง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  2. การจัดทำวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์เป็นผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วัตถุประสงค์หลักของการทำวิทยานิพนธ์คือ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถ สาระความรู้ในสาขาวิชาและรายวิชาต่างๆ ที่ได้เล่าเรียนมา รวมทั้งความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทั้งหมดของตนมาบูรณาการในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ สนใจและมีประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนี้การทำวิทยานิพนธ์ยังมุ่งฝึกให้นักศึกษามีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยอย่างเป็นระบบ รู้จักการคิด การใช้เหตุผล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลหลักฐานต่างๆ จากการค้นคว้าอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ตลอดจนเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความสามารถในการเรียบเรียง และนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องและชัดเจน @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  3. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท 1.อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา 2.อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันและต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันและต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  4. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก 1. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา 2. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  5. การอนุมัติหัวข้อและอาจารย์ที่ปรึกษาการอนุมัติหัวข้อและอาจารย์ที่ปรึกษา การสอบเค้าโครง การอนุมัติเล่มเค้าโครง การสอบงานวิจัย การส่งตรวจงานวิจัยฉบับปรับปรุง การส่งเล่มสมบูรณ์ การส่งเรื่องขออนุมัติสำเร็จการศึกษา ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ สรุปขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ มีดังนี้ • การลงทะเบียน • การเสนอหัวข้อและเค้าโครงวิทยานิพนธ์อย่างย่อ • การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ • การทำวิทยานิพนธ์ตามแผนการดำเนินงาน • การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ • การจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ • การจัดทำบทความวิทยานิพนธ์สำหรับเผยแพร่เพื่อจบการศึกษา @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  6. ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ ตัวย่อ ป.หมายถึงประธานกลุ่ม/แขนง/สาขาวิชากก.บฑ. คณะหมายถึงคณะกรรมการบัณฑิตประจำคณะ บวหมายถึงบัณฑิตวิทยาลัย กก.หมายถึงกรรมการ ป.กก.หลักสูตรหมายถึงประธานกรรมการประจำหลักสูตร @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  7. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Proposal ภาษาไทยเรียกว่า เค้าโครงวิทยานิพนธ์ หรือโครงร่างวิทยานิพนธ์ ซึ่งหมายถึง แนวคิดในการทำวิทยานิพนธ์ที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์เขียนอธิบายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนลงมือทำวิทยานิพนธ์ เค้าโครงวิทยานิพนธ์จึงนับเป็นการวางแผน เตรียมการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาจุดมุ่งหมาย วิธีดำเนินการ สถานที่ และเวลาที่จะศึกษาไว้ล่วงหน้า @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  8. ประโยชน์ของเค้าโครงวิทยานิพนธ์ประโยชน์ของเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 1. ช่วยให้มองเห็นภาพของการทำวิทยานิพนธ์อย่างชัดเจน ทุกขั้นตอน 2. ช่วยให้มองเห็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนการทำวิทยานิพนธ์จริงๆ 3. ซึ่งทำให้สามารถเตรียมหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า 4. เป็นแนวทางให้ทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างสะดวกราบรื่น และได้รับผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ 5. เป็นเอกสารในการเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  9. ส่วนประกอบการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ส่วนประกอบการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 10.ระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาวิจัย 11.ปฏิทินปฏิบัติงาน 12.งบประมาณ 13.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 14.ผู้รับผิดชอบวิทยานิพนธ์ 15.หนังสืออ้างอิง 16.รูปแบบปกเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และใบอนุมัติให้ทำวิทยานิพนธ์ 1. ชื่อเรื่อง 2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 3. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4. ขอบเขตของการศึกษาวิจัย 5. ข้อตกลงเบื้องต้น 6. นิยามศัพท์เฉพาะ 7. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8. สมมุติฐาน (ถ้ามี) 9. วิธีดำเนินการวิจัย 9.1 รูปแบบการศึกษาวิจัย 9.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9.3 การรวบรวมข้อมูล 9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  10. ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปวิทยานิพนธ์ประกอบไปด้วย 5 ตอน แต่ละตอนอาจแบ่งออกเป็นหัวข้อหรือเป็นบทต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อหาที่จะเสนอ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1. ความนำหรือส่วนหน้า (Introduction หรือ Preliminary section) 2. ส่วนเนื้อความ (Text หรือ Main body) 3. ส่วนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference or bibliography) 4. ประวัติผู้วิจัย (Curriculum vitae) 5. ภาคผนวก (Appendix) @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  11. ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ (ต่อ) 1. ความนำหรือส่วนหน้า (Introduction หรือ Preliminary section) ส่วนหน้าหรือส่วนต้นของวิทยานิพนธ์ เป็นส่วนแนะนำและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ ได้แก่ 1.1 ปก ได้แก่ ปกหน้า (Cover) และปกใน (Title page) 1.2 หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ 1.3 บทคัดย่อ (Abstract) 1.4 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) 1.5 สารบัญเนื้อเรื่อง (Table of contents) 1.6 สารบัญตาราง (List of tables) 1.7 สารบัญภาพ (List of illustrations) ) @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  12. ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ (ต่อ) 2. ส่วนเนื้อความ (Text หรือ Main body) ส่วนเนื้อความเป็นส่วนสำคัญของวิทยานิพนธ์ เป็นส่วนที่เสนอสาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ทั้งหมดอย่างละเอียด แบ่งออกเป็นบท ๆ โดยปกติจะมี 5 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ (Introduction) บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related literature) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Research procedures) บทที่ 4 ผลการศึกษาวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Findings or analysis of data) บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Summary and discussion) @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  13. ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ (ต่อ) 3. ส่วนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference or bibliography) เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของหนังสือ เอกสาร ข้อมูล และผลการวิจัยต่างๆ ที่ ผู้ทำวิทยานิพนธ์จะได้ศึกษาค้นคว้า และนำมาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ การเขียนบรรณานุกรมเป็นเรื่องสำคัญ มีหลักเกณฑ์และรูปแบบในการเขียนเฉพาะ 4. ประวัติผู้วิจัย (Curriculum vitae) เพื่อความสะดวกในกรณีที่มีผู้ต้องการติดต่อกับผู้ทำวิทยานิพนธ์ รายละเอียดควรประกอบด้วย 4.1 ชื่อ – สกุล (ระบุคำนำหน้า) 4.2 วัน เดือน ปีเกิด 4.3 ที่อยู่ปัจจุบัน 4.4 วุฒิ สถานศึกษา ปีที่สำเร็จการศึกษา 4.5 ประสบการณ์การทำงาน 4.6 สถานที่ทำงานปัจจุบัน (ระบุชื่อหน่วยงานที่สังกัด) @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  14. ส่วนประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ (ต่อ) 5. ภาคผนวก (Appendix) คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ที่นำมาแสดงประกอบให้วิทยานิพนธ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่วิทยานิพนธ์บางเรื่อง อาจไม่มีภาคผนวกก็ได้ ถ้ามีจะพิมพ์ในหน้าต่อจากประวัติผู้ทำวิทยานิพนธ์ เนื้อหาในภาคผนวกอาจจะเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย รายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตัวอย่างในการคำนวณ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งคาดว่าอาจเป็นที่ต้องการและเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยนั้น เช่น จดหมายติดต่อหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้อง @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  15. หลักเกณฑ์และรูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์หลักเกณฑ์และรูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์เป็นผลงานทางวิชาการที่ต้องมีความถูกต้อง ทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบ ซึ่งนักศึกษาต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และตรวจทานแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกัน จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ไว้ นักศึกษาสามารถดูหลักเกณฑ์และรูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์ ได้จากเล่มคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ @ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  16. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

More Related