1 / 30

เชาว์ปัญญา

เชาว์ปัญญา. ดร.รังสรรค์ โฉมยา. เชาว์ปัญญา. ทำไมเด็กบางคนเรียนรู้ได้เร็วบางคนเรียนรู้ได้ช้า ความแตกต่างจาก กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เชาว์ปัญญาก่อให้เกิดความแตกต่างในความสามารถด้านการเรียน Slow Learner or Giftedness

Download Presentation

เชาว์ปัญญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เชาว์ปัญญา ดร.รังสรรค์ โฉมยา

  2. เชาว์ปัญญา • ทำไมเด็กบางคนเรียนรู้ได้เร็วบางคนเรียนรู้ได้ช้า • ความแตกต่างจาก กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม • เชาว์ปัญญาก่อให้เกิดความแตกต่างในความสามารถด้านการเรียน • Slow Learner or Giftedness • การคำนึงถึงความแตกต่างในเชาว์ปัญญาช่วยในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

  3. นิยาม • เชาว์ปัญญา ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของบุคคลที่ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (Aiken, 1979 : 107) • นักจิตวิทยาอธิบายว่าเชาว์ปัญญาคือความสามารถในด้าน 1.การเรียนรู้ 2.การคิดอย่างมีเหตุผล คิดในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน และเป็นนามธรรม 3.การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี

  4. ทฤษฎีเชาว์ปัญญา • ทฤษฎีองค์ประกอบ 2 ประการ (Spearman) เชาว์ปัญญาประกอบด้วย ความสามารถทั่วไป (G) ใช้ในการทำงานทุกชนิด และความสามารถเฉพาะ (S) ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะของงาน • นาย ก อาจจะวาดรูปเก่งกว่า นาย ข ทั้งๆ ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นาย ข เรียนเก่งกว่า ทั้งนี้เนื่องมาจากผลของ G และ S ที่ต่างกัน

  5. ทฤษฎี Thurstoneนักจิตวิทยาชาวสหรัฐ : เชาว์ปัญญาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ • 1.ความเข้าใจภาษา (verbal Comprehension) เข้าใจวลี ประโยค การอุปมา อุปไมยทางภาษา • 2.ความคล่องในการใช้คำ (Word Fluency) ใช้คำถูกต้อง รวดเร็ว จัดหมวดหมู่คำได้ดี • 3.ความสามารถด้านการคำนวณ (Numerical Ability) คำนวณถูกต้อง รวดเร็ว

  6. 4.มิติสัมพันธ์ (Spatial Relation) รับรู้ว่าภาพนั้นเมื่อเปลี่ยนมุมมองจะมีลักษณะเช่นไร 5.ความจำ (Memory) จำรายละเอียดของสิ่งที่ประสบมาได้ดี 6.การใช้เหตุผล (Reasoning) สรุป คิดเชิงเหตุผล 7.ความเร็วในการรับรู้ (Perceptual Speed) เช่น ใช้สายตาตรวจสอบรายละเอียดที่เหมือนหรือแตกต่างได้อย่างรวดเร็ว

  7. องค์ประกอบการใช้เหตุผลสัมพันธ์กับทุกองค์ประกอบองค์ประกอบการใช้เหตุผลสัมพันธ์กับทุกองค์ประกอบ • ทฤษฎีโครงสร้างเชาว์ปัญญาของกิลฟอร์ด แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ • 1.มิติการคิด (Operations)มี 6 แบบ • การรู้จักและเข้าใจ (Cognition) การเข้าใจสิ่งที่พบเห็น เช่น สัญลักษณ์ต่างๆ • การจำชั่วขณะ (Memory Recording) การจำ

  8. เพื่อใช้งานขณะนั้น เสร็จแล้วลืม • การจำถาวร (Memory Retention) จำนาน เช่น วันเกิดเพื่อน เหตุการณ์ที่ประทับใจ • การคิดอเนกนัย (Divergent production) คิดหลายทาง แปลกใหม่ เพื่อให้ได้คำตอบมากที่สุด • การคิดเอกนัย (Convergent Production) คิดเพื่อตัดสินใจเลือก จากสิ่งที่กำหนดให้ • คิดเพื่อประเมิน (Evaluation) คุณค่า ความ

  9. เหมาะสม ใช้การคิดแบบอื่นๆ ร่วมด้วย โดยมีการคิดเป็นเอกนับเป็นพื้นฐาน • 2.มิติเนื้อหาการคิด (Contents)มี 5 ลักษณะคือ • ภาพ (Visual) การรับรู้ด้วยตา รูปทรง แผนผัง • เสียง (Auditory) รับรู้ด้วยหู เสียง โทน จังหวะ • สัญลักษณ์ (Symbolic) อักษร ตัวเลข โน้ต รหัส • ภาษา (Semantic) ถ้อยคำ วลี ประโยค • พฤติกรรม (Behavior) เจตคติ อารมณ์ ความคิด

  10. 3.มิติผลการคิด (Products)ผลจากการคิดของสมองมีรูปแบบต่างกัน 6 ประเภท • หน่วย (Units) ส่วนย่อยที่สมบูรณ์ในตัวเอง มีคุณสมบัติเฉพาะต่างจากสิ่งอื่น เช่น นกแต่ละชนิด • กลุ่ม (Classes) กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะร่วมกัน สัตว์ปีก ผลไม้รสหวาน นิสิตเอกไทย • ความสัมพันธ์ (Relations) การเชื่อมโยงหน่วยหรือกลุ่ม โดยอาศัยลักษณะบางอย่าง เช่น การหา

  11. คำตรงข้าม การอุปมาอุปไมย • ระบบ (Systems) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ผลการคิดหลายๆ อย่างเข้าหากันอย่างเป็นระบบ • การแปลงรูป (Transformations) การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใหม่ จัดระเบียบใหม่ ความหมายใหม่ • การประยุกต์ (Implications) การพัฒนาสิ่งที่เป็นอยู่ให้เป็นสิ่งใหม่ต่างไปจากเดิม การคาดการณ์

  12. การทำนายผลจากข้อมูลที่กำหนดให้การทำนายผลจากข้อมูลที่กำหนดให้ การวัดเชาว์ปัญญา • บิเนต์ (ฝรั่งเศส) 1905 แยกเด็กมีปัญหาการเรียนออกจากเด็กปกติ • บิเนต์และซิมง (1908) ปรับปรุง เสนอคำว่า อายุสมอง (Mental Age หรือ MA) • เทอร์แมน (1916) ปรับปรุงบิเนต์ เสนอคำว่า IQ

  13. โดย IQ มาจาก อายุสมอง/อายุจริง (Chronological Age : CA) และคูณด้วย 100 • MA หาได้จากแบบทดสอบ CA นับตามอายุจริง • มีการปรับปรุงอีกในปี 1937, 1960, 1986 จนถึงปัจจุบัน • เวคส์เลอร์ (1939) พัฒนาแบบวัด WAIS เพื่อวัด IQ ในผู้ใหญ่ ซึ่งมีการปรับปรุง 1955, 1981, 1997 แบบวัด WPPSI วัดเด็ก 4-6 WISC เด็ก 6-16

  14. IQ และการแปล (สแตนฟอร์ด บิเนต์) • 132 ขึ้นไป ฉลาดมาก (Very Superior) • 121-131 ฉลาด (Superior) • 111-120 ค่อนข้างฉลาด (High Average or Bright) • 89-110 ปกติ (Average or Normal) • 79-88 ค่อนข้างต่ำกว่าปกติ (Low Average or Dull) • 68-78 โง่ คาบเส้น เรียนช้า (Slow Learner) • 67 ลงไป บกพร่องทางสมอง (Mentally Retarded)

  15. เชาว์ปัญญากับการสอน • เด็กมีความแตกต่างกัน จะจัดแยกกลุ่มอย่างไร • Between Class Ability Grouping (BCA) เด็กพอๆ กันไว้ห้องเดียวกัน เกิดความต่างระหว่างห้อง • Within Class Ability Grouping (WCA) เด็กต่างกันไว้ด้วยกัน แต่แบ่งกลุ่มในห้อง เด็กพอๆ กันไว้กลุ่มเดียวกัน

  16. BCA ข้อดี เด็กเก่งจะกระตือรืนร้น เรียนดี เกิด อัตมโนทัศน์ทางบวก ภาคภูมิใจในตน พัฒนาการเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพ ข้อเสีย ไม่ช่วยเด็กที่ด้อย อ่อน ให้ดีขึ้น ซ้ำยังก่อให้เกิดปัญหากับเด็กเหล่านี้ ครูมักจะตั้งเป้าต่ำ สอนไม่มีชีวิต ขาดความกระตือรือร้น ครูมีทัศนคติทางลบต่อเด็กอ่อน ด้อย

  17. WCA ข้อดี ก่อให้เกิดผลทางบวกต่อเด็กทุกระดับ แต่ต้องดำเนินการตามแผน • 1.จัดกลุ่มยึดผลการเรียนในวิชานั้นๆ เปลี่ยนไปตามรายวิชา • 2.ไม่ควรเน้นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม แต่ส่งเสริมการพัฒนาตนของเด็ก • 3.ไม่ควรมากกลุ่ม ง่ายต่อการเตรียมสอน วัสดุ • 4.ปรับวิธีการสอนให้เหมาะกับกลุ่ม

  18. เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำเด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำ เด็กปัญญาอ่อน ปัญญาพิการ บกพร่องทางสมอง มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ 1.เชาว์ปัญญาต่ำกว่ามาตรฐาน IQ < 70 ลงมา 2.ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ พฤติกรรมไม่เหมาะสมกับอายุ ตามความคาดหวังของสังคม ลักษณะ ศีรษะโต หน้าผากโปน เดินผิดปกติ หนังศีรษะบางเป็นมัน หน้าแบบมงโกล (ดาวน์)

  19. หน้าแบน ตาโปน หางตาชี้ขึ้น จมูกเล็ก ช่องปากเล็ก ลิ้นสั้น จุกปาก แขนขาสั้น มือเท้าสั้น พุงพลุ้ย พฤติกรรม พัฒนาการช้า จำคนใกล้ชิดไม่ได้ หนีอันตรายไม่เป็น การใช้กล้ามเนื้อเชื่องช้า มีประมาณร้อยละ 1-2 ในประชากร (ระดับน้อย ร้อยละ 75 พอเรียนได้ ระดับปานกลาง ร้อยละ 20 พอฝีกได้ ระดับมาก ร้อยละ 5 เรียนและฝึกไม่ได้ ต้องพึ่งพาอย่างเดียว)

  20. การสอนเด็กเชาว์ปัญญาต่ำการสอนเด็กเชาว์ปัญญาต่ำ • โรงเรียนทั่วไปจะไม่มี ระดับปานกลาง มาก • การสอน ต้องเป็นขั้นตอน ลำดับ ช้าๆ รายบุคคล โดยมีวิธีการดังนี้ • 1.ตรวจสอบความพร้อมของเด็กก่อนสอน ขณะสอน และก่อนจะไปเรื่องต่อไป • 2.กำหนดจุดมุ่งหมายทั่วๆ ไป • 3.จุดมุ่งหมายเฉพาะ เน้น พฤติกรรมที่จะให้ทำได้

  21. 4.เสนอเนื้อหาน้อย ไปทีละขั้น เน้นการฝึกปฏิบัติก่อนจะไปสู่ขั้นต่อไป 5.ห้ามข้ามขั้น สอนให้เชื่อมโยง อย่าคิดว่าเด็กจะเชื่อมโยงด้วยตัวเองเป็น 6.เน้นการปฏิบัติซ้ำ สอนเรื่องเดิม โดยหลายวิธี 7.ตั้งต้นใหม่ เมื่อเด็กตามไม่ทัน 8.กระตุ้นแรงจูงใจ ความสนใจ และสมาธิตลอด 9.หลีกเลี่ยงเนื้อหา ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาโง่

  22. 10.มอบหมายงานง่ายๆ เมื่อทำได้ ชมเชย ให้รางวัล 11.จงตระหนักว่า เด็กพวกนี้ต้องเรียนซ้ำในเรื่องเดิมหลายๆ ครั้ง ปฏิบัติเรื่องเดิมหลายครั้ง 12.ให้ความสนใจ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เพราะเด็กกลุ่มนี้มักจะขาดเพื่อน ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม

  23. การสอนเด็กปัญญาเลิศ • IQ 130 ขึ้นไป มีประมาณร้อยละ 2-4 ของประชากร มักมีความสามารถเด่นหลายด้าน • แยกเป็น 2 กลุ่ม Academic Giftedness เลิศทางวิชาการ พวกนี้จะเรียนรู้ได้เร็ว ง่ายดาย Creative Giftedness เลิศทางการสร้างสรรค์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ประยุกต์เก่ง มักประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่ากลุ่มแรก

  24. ลักษณะเด็กปัญญาเลิศ มีความสามารถด้านเชาว์ปัญญา ถนัดในสาขาวิชาต่างๆ หรือวิชาเฉพาะ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำ มีความสามารถทางศิลปะ ดนตรี การแสดง และความสามารถทางด้านการใช้กล้ามเนื้อ โรงเรียนที่สอนเด็กปัญญาเลิศ จะจัดโปรแกรม 2 ประเภทให้กับเด็ก คือ โปรแกรมเร่ง และโปรแกรมเสริม

  25. การสอนเด็กปัญญาเลิศ ลักษณะของครู รู้ดีในสิ่งที่สอน เข้าใจจิตวิทยา มีทักษะการผลิตและใช้สื่อ เตรียมเนื้อหาได้ดี มีทักษะในการถาม อธิบาย ชอบแนะมากกว่าชอบสั่ง และเป็นครูที่ประสบความสำเร็จในการสอนเด็กปกติมาแล้ว ข้อควรปฏิบัติในการสอน 1.เตรียมเนื้อหาให้ดี กว้าง ลึกซึ้ง

  26. 2.เตรียมแบบฝึกหัดให้มาก2.เตรียมแบบฝึกหัดให้มาก 3.ปล่อยให้เด็กศึกษาในสิ่งที่สนใจอย่างเต็มที่ 4.ยอมรับจุดด้อยของเด็ก 5.ให้งานหรือแบบฝึกหัดมากกว่าเด็กปกติอื่นๆ 6.ให้อิสระในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน 7.ฝึกให้เด็กพึ่งตนเอง 8.เน้นคุณภาพงานมากกว่าปริมาณ 9.ให้เด็กทราบเกณฑ์มาตรฐานที่ครูต้องการ

  27. 10.ฟัง สนทนา กับเนื้อหาที่ลึกซึ้งกับเด็ก 11.ตอบคำถามเด็กด้วยมีเมตตา 12.ให้คำถามแบบปลายเปิดให้มาก 13.เตรียมแหล่งความรู้เสริมเพิ่มเติม 14.ปฏิบัติต่อเด็กเหมือนเด็กปกติทั่วๆ ไป 15.เปิดโอกาสให้เด็กติดต่อกับครูให้มากที่สุด 16.ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างลึกซึ้ง 17.ให้เขาแสวงหาคำตอบที่เขาสนใจ ให้รายงาน

  28. 18.ให้เด็กรับผิดชอบตนเองและผู้อื่น18.ให้เด็กรับผิดชอบตนเองและผู้อื่น 19.เมื่อเด็กทำสิ่งใดสำเร็จ กระตุ้นให้เขาเลื่อนความคาดหวังให้สูงขึ้น 20.ให้กำลังใจเมื่อเขาทำสำเร็จ สิ่งที่ครูไม่ควรทำ 1.ให้เด็กแยกจากกลุ่ม เป็นศิลปินเดี่ยว 2.ให้เด็กอิ่ม กับผลงาน พอแล้ว 3.ไม่ให้เด็กพูด

  29. 4.เมื่อเด็กถาม ตอบเด็กว่า “ให้หาคำตอบในบทต่อไป” 5.ถามคำตอบจากเขาคนเดียว ไม่ถามคนอื่นบ้าง 6.ออกคำสั่ง 7.ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาไม่ปกติเหมือนคนทั่วไป 8.ชมชอบเขาเป็นพิเศษ 9.แสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่างานเขาประหลาด พิสดาร หรือยอดเยี่ยมกว่าคนอื่น

  30. 10.ใช้ให้เด็กสอนแทนตน 11.ปกป้องเด็กปัญญาเลิศมากเกินไป 12.ให้เรียนหนักเกินไป 13.เน้น กระตุ้น ให้เขาตั้งใจมากเกินไป 14.ให้ทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ 15.อย่าเข้าใจว่าเด็กจะรู้ทุกอย่าง เข้าใจทุกเรื่อง

More Related