1 / 23

ชื่อผู้วิจัย ไกรสร ศรีภูวงศ์ ( sripuwong@hotmail )

ชื่อผู้วิจัย ไกรสร ศรีภูวงศ์ ( sripuwong@hotmail.com ) ตำแหน่งครู วิทย ฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหนองขามวิทยา คาร จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. ชื่อที่ปรึกษา 1.รศ.ดร. เพ็ญณี แนรอท ( st.hian@hotmail.com )

branxton
Download Presentation

ชื่อผู้วิจัย ไกรสร ศรีภูวงศ์ ( sripuwong@hotmail )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชื่อผู้วิจัย ไกรสร ศรีภูวงศ์ (sripuwong@hotmail.com) ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษโรงเรียนหนองขามวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ชื่อที่ปรึกษา 1.รศ.ดร.เพ็ญณีแนรอท( st.hian@hotmail.com) นักวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ปรึกษา 2.รศ.สมปัตตัญตรัยรัตน์ (tsompa@kku.ac.th) อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และ เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 กล่าวถึงการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สอดคล้องกับสมปัตตัญตรัยรัตน์ (2549) กล่าวว่านอกจากนั้นแล้วการอ่าน คิด เขียน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นเกณฑ์การผ่านมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับพุทธศักราช 2551 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือของชีวิตในยุคปัจจุบัน ทั้งด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การสร้างความบันเทิง การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆของบุคคล อาจกล่าวได้ว่า ผู้ใดที่มีทักษะทางภาษาดี ผู้นั้นสามารถครองโลกได้ แต่ปัญหาอันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดขณะนี้คือ ความสามารถในการอ่าน การคิด การเขียน ของเด็กไทยอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วงที่สุด จากผลการประเมินการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.88 37.78 และ 72.11 ในปีการศึกษา 2551-2553 และทักษะที่เป็นปัญหามากที่สุดคือทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน

  3. จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ทักษะการอ่าน คิดและเขียน เป็นปัญหา ที่ควรได้รับการแก้ไขและปรับปรุง ผู้วิจัยเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด และเขียนของนักเรียน และคาดหวังว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความสามารถด้านการอ่าน คิด เขียน อยู่ในระดับดี

  4. 1.เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  5. 1.นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะการอ่าน คิด เขียน จะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น 2.นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะการอ่าน คิด เขียน จะมีความก้าวหน้าทางการเรียน 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับ เห็นด้วย

  6. ประชากร : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร ที่กำลังเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 148 คน กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร ที่กำลังเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 37 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

  7. ตัวแปรต้น :วิธีการสอนอ่าน การคิด และการเขียน ตัวแปรตาม :ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการอ่าน คิด และการเขียน

  8. ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 12 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2554 ถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554

  9. แนวคิดหลัก • พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด และเขียน • ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนด้านการอ่าน คิด เขียน • ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิดย่อย • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 • ทักษะการอ่าน คิด และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 • ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กรอบแนวคิดในการวิจัย

  10. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

  11. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิด และเขียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวัดทักษะการอ่าน คิด และเขียน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิด และเขียน

  12. กำหนดจุดประสงค์ กำหนดกรอบของการสร้าง สร้างเครื่องมือ กำหนดรูปแบบ ร่างเครื่องมือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ทดลองใช้ ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์เครื่องมือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สรุป นำไปใช้

  13. รูปแบบการวิจัย • รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประเภทกึ่งทดลอง กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีการทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test) และหลังการทดลอง (Post-test )

  14. ขั้นเตรียม ปฐมนิเทศนักเรียน • ทดสอบก่อนทดลอง • ดำเนินการทดลอง 12 ครั้ง • ทดสอบหลังทดลอง • เก็บรวบรวมข้อมูล นำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล

  15. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 1.1 ค่า (IOC) 1.2 ค่า t-test (t-Dependent) 1.3 ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (Percentage)

  16. ผลการวิจัยสรุปว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด และเขียน สูงขึ้น นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิด เขียน อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผลการวิจัย

  17. การอภิปรายผล สาเหตุสำคัญที่นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิด และเขียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน คิด และเขียนสูงขึ้น อาจเป็นเพราะ 1. นักเรียนตื่นเต้นกับกระบวนการและวิธีการที่ใช้จัดการเรียนรู้ เพราะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนการอ่าน การคิด และการเขียนอย่างเป็นระบบและชัดเจน เป็นไปตามลำดับ 2. นักเรียนได้รับการฝึกทักษะจากเรื่องที่ง่ายใกล้ตัว ไปสู่เรื่องที่ยากขึ้นและไกลตัว 3. นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ด้วยเพลง เกม นิทาน ข่าว เหตุการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ 4. ใบกิจกรรมที่ใช้ เรียงลำดับเป็นขั้นตอน ประกอบด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีรูปภาพและข้อความที่สั้นและน่าสนใจ ผลงานของนักเรียนมีโอกาสนำเสนอให้เพื่อน ๆ ได้ชมเชย 5. การเรียนรู้ใช้ใบกิจกรรม ทำให้นักเรียนรู้จักการจัดระบบ เรียบเรียงถ้อยคำและลำดับความคิด เพื่อให้ได้คำตอบที่แสดงถึงทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ การคิดวิเคราะห์ การเขียนสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้จึงเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน ที่ได้ใช้ความสามารถตามศักยภาพของตนเอง ได้อย่างอิสระและมีเหตุผล

  18. 1. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ก่อนดำเนินการควรทำความเข้าใจขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการอ่าน ขั้นการคิด ขั้นการเขียน ดังนั้นควรเตรียมเนื้อหา ใบงาน แบบฝึก และแบบทดสอบให้พร้อมก่อนทำการสอนทุกครั้ง 2. ผู้วิจัยใช้ภาพ นิทาน บทความ เพลง ข่าวเหตุการณ์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจ เป็นเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น หากจะนำงานวิจัยดังกล่าวไปใช้พัฒนาทักษะการอ่าน คิดและเขียนของนักเรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจก่อนการสอน และควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากเนื้อหาที่ง่าย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียนเป็นอันดับแรกก่อน

  19. 1. ควรศึกษาผลการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด ควบคู่ไปกับความสามารถด้านการอ่าน คิด เขียน ในการเรียนด้วยเทคนิค วิธีการที่หลากหลาย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือค้นคว้าจากเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 2. ควรศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เนื้อหาที่หลากหลาย ไม่มีรูปภาพประกอบ หรือเนื้อหาในการอ่าน คิดวิเคราะห์ที่ยากและซับซ้อนขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ที่หลากหลายและสูงขึ้น

  20. ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ผู้วิจัยได้ทำงานบรรลุผลสำเร็จ หากบกพร่องประการใดผู้วิจัยจะนำข้อเสนอแนะ ไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ขอบคุณค่ะ

More Related