1 / 129

ละเมิด คือ อะไร

ละเมิด คือ อะไร.

Download Presentation

ละเมิด คือ อะไร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ละเมิด คือ อะไร • ละเมิด คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของบุคคลอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น อาจเป็นการกระทำของตนเอง การกระทำของบุคคลอื่น หรือ ความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองดูแล ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ ในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี

  2. หลักการกระทำละเมิด • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อ บุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

  3. องค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิดองค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิด • กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • กระทำโดยผิดกฎหมาย • การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น • ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น ขอบเขตความรับผิดแค่ไหน อย่างไร เท่าใด จะกล่าวต่อไป ในเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

  4. ตัวอย่างการกระทำละเมิดตัวอย่างการกระทำละเมิด • คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5129/2546 จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพลศึกษา ถือได้ว่าได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนให้ได้รับความปลอดภัยในชั่วโมงดังกล่าวด้วย การสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายเป็นสิ่งที่เหมาะสม เมื่อนักเรียนวิ่งไม่เป็นระเบียบครบ 3 รอบแล้ว จำเลยที่ 1 ได้สั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ เป็นวิธีการทำโทษที่เหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว

  5. ตัวอย่างการกระทำละเมิดตัวอย่างการกระทำละเมิด • คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5129/2546 แต่การที่นักเรียนยังวิ่งไม่เรียบร้อยอีก ก็ควรหามาตรการหรือวิธีการลงโทษ โดยวิธีอื่นการสั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบและเมื่อไม่เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง เป็นการลงโทษที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพนักเรียนซึ่งอายุระหว่าง 11 ปี ถึง 12 ปีได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเป็นความประมาทเลินเล่อ ทั้งการออกกำลังกายโดยการวิ่งย่อมทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ จำนวนรอบที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อเป็นเวลานานย่อมเป็นอันตรายต่อหัวใจที่ไม่ปกติจนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วล้มลงในการวิ่งรอบที่ 11 และถึงแก่ความตาย ในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว จึงเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้ จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย

  6. แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหวังให้นักเรียนได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ยังมีความหวังดีต่อนักเรียนต้องการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้ เหมือนดังวิสัยของครูทั่วไป แม้เป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่จำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือกระทำการประมาทอย่างร้ายแรง เพียงแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อขาดความรอบคอบและไม่ใช้ความระมัดระวังเช่นผู้มีอาชีพครูสอนพลศึกษาจะพึงปฏิบัติและสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสุขภาพของเด็กชาย พ. ไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมายของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างความไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบตามกฎหมายไม่ได้ แต่ศาลก็สามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของการทำละเมิดได้

  7. ตัวอย่างการกระทำละเมิดตัวอย่างการกระทำละเมิด • คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5129/2546 (ต่อ) การที่จำเลยที่ 1 ทำการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษา(จำเลยที่ 2) การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อทำให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 วรรคหนึ่ง

  8. ตัวอย่างการกระทำละเมิดตัวอย่างการกระทำละเมิด • จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพอันเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลภายนอกนำเงินมาให้โจทก์เพื่อช่วยเหลืองานศพหรือจัดการศพเด็กชาย พ. ก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องหมดไปหรือลดน้อยลงไปได้ กรณีจึงไม่อาจนำเงินช่วยงานศพที่โจทก์ได้รับจากสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนมาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ ให้แก่โจทก์ได้

  9. สรุปหลักความรับผิดทางละเมิดที่ได้จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่  5129/2546 1.การลงโทษที่ไม่เหมาะสม ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนักเรียนเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเป็นความประมาทเลินเล่อ 2. การสอนวิชาพลศึกษาของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามและการลงโทษนักเรียน ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อเด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษา จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดา 3. รับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพกับค่าใช้จ่ายในการ จัดงานศพอันเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย ไม่อาจนำเงินช่วยงานศพที่โจทก์ได้รับจากสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนมาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนได้

  10. องค์ประกอบที่ 1 “การกระทำโดยจงใจ” • (1) การกระทำโดยจงใจ คือ การกระทำโดยรู้(สำนึก) การกระทำของตนว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดก็ตาม • คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๘๓/๒๕๕๑ การเก็บรักษาของกลางไม่มีระเบียบและการควบคุมที่รัดกุมเพียงพอ การเก็บรักษารถของกลางนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องเก็บรักษาไว้ภายในบริเวณสถานที่ทำการหรือสถานที่อื่นใดตามที่ผู้กำกับการตำรวจนครบาลกำหนด โดยมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวัง ตรวจตราของกลางให้เป็นอยู่ตามสภาพเดิมเท่าที่สามารถจะรักษาได้อีกทั้งจะต้องรีบนำส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อตรวจสอบให้เสร็จสิ้นภายใน ๓ เดือน ตามระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับรถของกลางพ.ศ. ๒๕๓๒ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในการเก็บรักษารถยนต์ของผู้ฟ้องคดี เจ้าหน้าที่ได้นำรถยนต์ไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านของนาย ก. ซึ่งไม่มีการจัดทำเอกสารหรือหลักฐานการขอเบิกรถยนต์หรือ การขอรับกุญแจรถแต่อย่างใด จึงเป็นการเก็บรักษารถยนต์ของกลางที่ไม่มีระเบียบและการควบคุมที่รัดกุมเพียงพอ ทั้งที่เจ้าหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลรักษารถยนต์ของกลาง ให้อยู่ในสภาพเดิมเท่าที่จะสามารถกระทำได้จึงเป็น การปฏิบัติที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้างต้น จึงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี

  11. องค์ประกอบที่ 1 “การกระทำโดยจงใจ” • คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๗/๒๕๕๒ กระทำการออกคำสั่งอนุมัติโดยฝ่าฝืนระเบียบ • ผู้อำนวยการโรงเรียนมีอำนาจพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ จะต้องใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านให้เข้าพักอาศัยในบ้านพักราชการที่ว่างอยู่ก่อนแต่กลับมีคำสั่งอนุมัติให้นางสาว ส. ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีบ้านพักครูว่างอยู่และมีสภาพสมบูรณ์เหมาะที่จะให้ข้าราชการครูเข้าพักอาศัยได้ นอกจากนั้นยังรู้อยู่แล้วว่าการอนุมัติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๔๑ เป็นการอนุมัติที่ผิดระเบียบ พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการจงใจกระทำ ผิดต่อกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ ทำให้ราชการได้รับความเสียหายอันถือเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • เรื่องนี้ ผอ.โรงเรียนจะต้องจัดให้ครูเข้าอยู่อาศัยแทนนักการภารโรงหญิงที่พร้อมจะย้ายออกตามคำสั่ง แต่ไม่ทำและอนุมัติเบิกค่าเช่าบ้าน ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน

  12. องค์ประกอบที่ 1 “การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ” • 2. (1) การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นและหากใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ แต่กลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๐/๒๕๕๒) • การพิจารณากระทำโดยประมาทเลินเล่อ จาก • ก. สภาพเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ(วิสัย) เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หรือชั้นผู้น้อย เป็นเจ้าหน้าที่ธรรมดา มีวิชาชีพหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น รวมถึงระยะเวลา ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นั้นด้วย

  13. องค์ประกอบที่ 1 “การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ” • การพิจารณากระทำโดยประมาทเลินเล่อ (ต่อ) • ข. เหตุภายนอกหรือปัจจัยแวดล้อมตัวผู้กระทำ (พฤติการณ์) ซึ่งอาจมีผลต่อระดับ ความระมัดระวังและทำให้การใช้ความระมัดระวังของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป เช่น สภาพของสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ อายุหรือจำนวนของนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือสภาพของทางเดินรถขณะเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น • โดยการพิจารณาทางกฎหมาย สมมติบุคคล(reasonable man)ขึ้นเปรียบเทียบ บุคคลที่มีสภาพร่างกายอย่างเดียวกับผู้กระทำ สภาพทางจิตใจในระดับสภาพร่างกายอย่างเดียวกัน ทั้งจะต้องสมมติว่าอยู่ในพฤติการณ์ภายนอกเช่นเดียวกับผู้กระทำด้วย เมื่อเปรียบเทียบกัน ถ้าบุคคลที่สมมติขึ้นจะไม่กระทำโดยขาดความระมัดระวังเหมือน ผู้ที่ได้กระทำไปแล้ว ย่อมถือว่าผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ • แต่ถ้าบุคคลที่สมมติจะกระทำเช่นเดียวกับที่ผู้กระทำได้กระทำไปแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ

  14. องค์ประกอบที่ 1“ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” • ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดภัยหรือความเสียหาย แต่ยังขืนทำลงโดยคิดว่าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภัยหรือความเสียหายขึ้นได้ ผู้กระทำเพียงคาดเห็นว่าผลอาจเกิดขึ้นได้โดย ไม่แน่ว่าจะเกิดและคิดว่าคงสามารถหลีกเลี่ยงผลนั้นได้ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ น. 375)

  15. องค์ประกอบที่ 1“ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” • ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (เดิม) คือ ลักษณะที่บุคคลนั้นได้ทำไปโดยขาดความระมัดระวัง ที่เบี่ยงเบนจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่า ความเสียหายเกิดขึ้นได้ หรือหากระมัดระวังสักเล็กน้อย ก็คงได้คาดเห็น การที่อาจเกิดความเสียหายเช่นนั้น (หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/087 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540)

  16. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • คำพิพากษาฎีกา ที่ 1789/2518 ควันไฟอันเกิดจากไฟไหม้เศษปอจากโรงงานของจำเลย (กระทรวงการคลัง) ถูกลมพัดลอยไปครอบคลุมผิวจราจรบนถนน เป็นเหตุให้รถโจทก์ถูกรถคันอื่นชนท้าย ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มควันไฟอันเกิดจากการเผาเศษปอของจำเลยได้เคยถูกลมพัดพาไปครอบคลุมถนนเป็นเหตุให้รถยนต์เกิดชนกันมาแล้ว 2-3 ครั้ง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้จัดการวางมาตรการป้องกันแต่อย่างใดคงปล่อยปละ ละเลยให้เหตุการณ์คงเป็นอยู่เช่นเดิมจนกระทั่งได้เกิดเหตุคดีนี้ขึ้นอีก พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นเหตุสุดวิสัยดังจำเลยอ้าง เพราะจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า ลมอาจจะพัดพาเอาควันไฟจากบ่อไปครอบคลุมผิวจราจรบนท้องถนนได้ ซึ่งจำเลยอาจจะป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวได้โดยย้ายบ่อเผาเศษปอให้ห่างไกลพอที่ลมไม่สามารถจะพัดพาควันไฟมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุได้ จำเลยก็หาได้กระทำเช่นว่านั้นไม่ คดีจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิด

  17. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2553) • “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” หมายถึง การกระทำ โดยมิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ และหากใช้ความระมัดระวัง แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ แต่กลับ มิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย (แนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.146/2553)

  18. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • คดีหมายเลขแดงที่ อ.146/2553 การที่ผู้ถูกฟ้องคดี(กรม)ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี(คนขับรถ)ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ได้ให้เหตุผลว่า ในระหว่างเดินทาง เกิดเหตุมีเสียงดังผิดปกติ เร่งไม่ขึ้น และพบหม้อน้ำมีน้ำไหลออกมาเป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ซึ่งถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำของผู้ฟ้องคดีซึ่งมีตำแหน่งเป็นพนักงานขับรถยนต์และมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลบำรุงรักษารถยนต์ของทางราชการให้อยู่ในสภาพที่ดีตามที่วิญญูชนทั่วไปพึงต้องระมัดระวัง จึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์เป็นเงิน 20,000 บาท นั้น

  19. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • คดีหมายเลขแดงที่ อ.146/2553 ศาลเห็นว่า การกระทำที่จะถือว่าเป็นการกระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำโดยมิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ และหากใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความ เสียหายได้ แต่กลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุละเมิดได้ต้องปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีละเลย ไม่เอาใจใส่ตรวจสอบดูแลบำรุงรักษารถยนต์ของทางราชการให้อยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางไปปฏิบัติราชการด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนก่อให้เกิดความเสียหาย

  20. ในวันเกิดเหตุ ผู้ฟ้องคดีได้ตรวจเช็คสภาพรถและเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทาง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการตรวจสอบสภาพรถก่อนออกเดินทาง และในระหว่างเดินทางขณะเกิดเหตุแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้อย่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า เมื่อมาตรวัดระดับความร้อนแสดงค่าความร้อนสูงขึ้นที่หน้าปัดรถยนต์อันเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งผู้ฟ้องคดีอาจจะทราบแต่ไม่ได้สังเกตเห็นและยังคงขับรถต่อไปจนกระทั่งเครื่องยนต์หยุดทำงานก็ตามแต่ความประมาทเลินเล่อดังกล่าวยังไม่ถึงขนาดเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของทางราชการ หากแต่ยังมีเหตุปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วน อุปกรณ์ของรถยนต์จากการใช้งาน เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีละเลยไม่เอาใจใส่ตรวจสอบดูแลบำรุงรักษารถยนต์ของทางราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด

  21. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๕๔/๒๕๕๕ (กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ) นาย ส. (ผู้ฟ้องคดี) เป็นเจ้าหน้าที่สังกัดมหาวิทยาลัย ตำแหน่งผู้จัดการโครงการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ของคณะพาณิชย์และการบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามใบกำหนดหน้าที่ (Jop Description)ซึ่งต้องดูแลการบริหารงานทั่วไปของโครงการและได้รับมอบหมายให้เก็บกุญแจห้องของโครงการ นาย ส. เห็นว่า ตนมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กาหนดไว้ในใบกาหนดงานเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการดูแลอาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่อีกหลายคนมีกุญแจที่สามารถเข้าห้องได้และไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นอกจากนี้ ความเสียหายไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท มหาวิทยาลัยไม่ต้องรายงานกระทรวงการคลัง หลังจากอุทธรณ์คาสั่งและมหาวิทยาลัย ได้ยกอุทธรณ์ นาย ส. จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง

  22. ประเด็นที่ 1แม้ผู้ฟ้องคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ และใบกำหนดหน้าที่ จะไม่มีรายละเอียดให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินภายในห้องของโครงการก็ตาม แต่ตามใบกำหนดหน้าที่ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานโดยทั่วไปของโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหน้าที่โดยปริยายที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของโครงการ การที่ผู้ฟ้องคดีมอบกุญแจให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการทุกคนถือ และ ผู้ฟ้องคดียังแขวนกุญแจลูกครอบไว้ที่โต๊ะในโครงการซึ่งสามารถมองเห็นและสามารถหยิบได้โดยง่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนในโครงการต่างทราบว่าผู้ฟ้องคดีแขวนกุญแจลูกครอบไว้ตรงจุดใด อันเป็นช่องทางหรือโอกาสให้เกิดมีการโจรกรรมเครื่อง ได้โดยง่าย พฤติกรรมของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นต้องมี ตามภาวะวิสัยและพึงใช้ความระมัดระวังให้มาก แต่ผู้ฟ้องคดีหาได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดี จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙

  23. นาย ส. ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงใด ? ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่งตั้ง ซึ่งปรากฏว่า มีบุคคลอื่นเข้ามาใช้ห้องเป็นคนสุดท้ายและมีพยานเห็นว่าประตูปิดล็อคเรียบร้อยตามปกติ เมื่อคำนึงถึงระดับความร้ายแรง แห่งการกระทำและความเป็นธรรมตามพฤติการณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เต็มจำนวน ความเสียหาย นอกจากนี้การที่ทรัพย์สินสูญหายส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่อง ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ไม่มีการวางระบบป้องกันทรัพย์สินเพื่อป้องกันการโจรกรรม โดยปล่อยให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษาจัดวางระบบดูแลทรัพย์สินกันเอง จึงหักส่วนแห่งความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๘ วรรคสองและ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงควรให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร้อยละ ๕๐ ของความเสียหายทั้งหมด

  24. ประเด็นที่ 3 มูลค่าความเสียหายที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบนั้น ได้แก่มูลค่าความเสียหายตามที่ปรากฏจากการตรวจสอบของคณะกรรมการการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด มิใช่มูลค่าความเสียหายภายหลังจากที่กระทรวงการคลังตรวจสอบและหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินแล้ว เมื่อคณะกรรมการฯ ดังกล่าวเห็นว่า มูลค่าความเสียหายคิดเป็นเงินได้ ๖๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหน้าที่รายงานกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ

  25. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.72/2550 เมื่อผู้ฟ้องคดี(สรรพากรอำเภอเขตปทุมวัน) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการบริหารงานของสำนักงานเขตควบคุมการปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีอากรและผลประโยชน์ของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแต่มิได้จัดทำสมุดทะเบียนคุมเช็คตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการรับชำระภาษีอากรเป็นเช็ค พ.ศ. 2539 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำการทุจริตได้โดยง่ายและมิได้ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นช่องทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอาศัยโอกาสดังกล่าวนำเช็คของบุคคลภายนอกที่มิได้ชำระภาษีอากรให้แก่ทางราชการและเบิกเงินตามเช็คไม่ได้สลับสับเปลี่ยนแทนที่เงินสดแล้วยักยอกเงินสดไปรวมทั้งสิ้น 5,874,024 บาท จึงถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ จึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดนั้น ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

  26. องค์ประกอบที่ 2“ กระทำโดยผิดกฎหมาย” • กระทำโดยผิดกฎหมาย หมายความว่ากระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะกระทำการ นั้นได้ นอกจากนี้ โดยที่มาตรา ๔๒๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” ดังนั้น การกระทำโดยผิดกฎหมายอันจะเป็นการกระทำละเมิดจึงหมายความรวมไปถึงการใช้สิทธิที่ผู้กระทำมีอยู่ตามกฎหมายทำให้บุคคลอื่นเสียหายด้วย

  27. องค์ประกอบที่ 2“ กระทำโดยผิดกฎหมาย” • คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๒/๒๔๙๙ • นาย ก. ขอรังวัดที่ดิน นาย ข. คัดค้านการรังวัดโดยอ้างว่านาย ก. นำรังวัดล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของตนและขอวัดสอบเขตก่อน แต่ก็ไม่ดำเนินการใด ๆ เมื่อนาย ก.จัดให้มีการรังวัดใหม่ นาย ข. ก็ยังคัดค้านแต่ก็ไม่ดำเนินการขอวัดสอบเขตเหมือนเช่นเดิม ดังนี้ เป็นการกระทำซึ่งมีแต่จะเสียหายแก่บุคคลอื่นตามมาตรา ๔๒๑

  28. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 236/2551 • เจ้าหน้าที่ในสังกัดของกรมการปกครอง ได้ดำเนินการออกที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกให้โดยอ้าง ส.ค. 1 ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดินสำหรับที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานในการออก ตลอดจนการบันทึกเสนอนายอำเภอโนนสะอาดเพื่อพิจารณามีคำสั่งและลงนามในหนังสือรับรองการทำประโยชน์อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอและเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ลงนามในน.ส. 3 ก. ที่จัดทำขึ้น ทั้งที่กฎหมายบัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ลงลายมือชื่อใน น.ส. 3 ก. เนื่องจากผู้บัญญัติกฎหมายมีความไว้วางใจในตัวข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งว่าจะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้วค่อยลงนามซึ่งหากได้ตรวจสอบด้วยความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ก่อนลงนามย่อมจะพบว่า ส.ค. 1 เลขที่ 106 ที่นำมาใช้ในการออกน.ส. 3 ก. มีอาณาเขตข้างเคียงไม่ถูกต้องทำประโยชน์อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น การดำเนินการออก น.ส. 3 ก. ฉบับดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี

  29. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันเกิดจากผลโดยตรงของผู้กระทำด้วย • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446 - 449/2516 • แม้ผู้ตายจะกำลังศึกษาเล่าเรียนแต่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นนักเรียนช่างกลปีที่ 3 แล้วซึ่งเป็นปีสุดท้ายก็อาจเรียนจบหลักสูตรและผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมายต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาแม้ในปัจจุบันผู้ตายยังศึกษาเล่าเรียนมิได้อุปการะบิดามารดาก็ดี บิดามารดาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุขาดไร้อุปการะได้

  30. คดีหมายเลขดำที่ อ.100/2551 ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ไม่ทำการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ตามกฎหมายทำให้ไม่ทราบว่าเอกสารที่ใช้ในการยื่นสอบราคาในนามของผู้ฟ้องคดีเป็นเอกสารปลอมผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการจัดซื้อจัดจ้างงานโครงการผู้เสนอราคา ต้องยื่นมากับ ซองใบเสนอราคาพร้อมรับรองความถูกต้องของเอกสารที่ยื่นด้วย เห็นได้ว่า ในการเสนอราคาทุกครั้งของผู้ฟ้องคดีที่ 1 โดยผู้ฟ้องคดีที่ 2 ได้มีหนังสือมอบอำนาจให้นาย พ. มีอำนาจในการยื่นซองเสนอราคา ต่อรองราคา และแก้ไขเอกสาร ตลอดจนให้ถ้อยคำต่างๆ ในการเปิดซองสอบราคา และลงนามในสัญญารับจ้างกับผู้ถูกฟ้องคดี

  31. เมื่อการยื่นซองสอบราคาดังกล่าว นาย พ. ได้ยื่นเอกสารครบถ้วนตามที่ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 ได้ประกาศไว้ และเอกสารทุกฉบับลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้ฟ้องคดี • ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 กำหนดว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา(ผู้ถูกฟ้องคดี)มีหน้าที่ดังนี้ (1) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกรายโดยเปิดเผยตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกรายแล้ว ให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น (2) ตรวจสอบคุณสมบัติของ ผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อกหรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา (3) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (2) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคา ต่ำสุด... ไม่อาจจะตรวจสอบได้ว่า เอกสารที่ใช้ในการยื่นสอบราคาเป็นเอกสารปลอมหรือไม่

  32. เมื่อได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้ง การเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้สั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมในนามของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ผ่านทางธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ ในนามผู้ฟ้องคดีที่ 1 พร้อมหักเงินภาษี ณ ที่จ่ายจำนวนร้อยละหนึ่งของมูลค่างานจ้างนำส่งสรรพากรทุกครั้ง ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีจึงได้ปฏิบัติตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แล้ว • จึงไม่เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

  33. 4.ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น4.ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น • ตามหลักเรียกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดกับความเสียหาย ความเสียหายในส่วนที่เป็นผล สืบเนื่องมาจากการกระทำของผู้กระทำละเมิด เป็นกรณีที่เมื่อผ่านการพิจารณาว่ามีการกระทำละเมิดแล้ว ต้องพิจารณาต่อไปว่า ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป

  34. ฏ. 3008 - 3009/2527 •  รถของโจทก์ถูกรถของจำเลยชนโดยประมาทพังขวางอยู่กลางถนนแล้วถูกรถของบุคคลอื่นชนซ้ำโดยไม่ใช่ความประมาทของบุคคลนั้น • แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นก็เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อน ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดในผลอันนี้ด้วย

  35. คำพิพากษาฎีกาที่ 598/2538 จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง โดยประมาทน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินไม่ขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย ในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ ดังนั้นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบ หรือตามที่จำเลยนำสืบ ก็ยังได้ชื่อว่าจำเลยมีส่วนประมาทอยู่นั่นเอง / เมื่อเปรียบเทียบร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ทั้งสามคันแสดงให้เห็นว่ารถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วถึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ทั้งปรากฏว่ามีรอยเบรกรถจำเลยยาวถึง 12 เมตร แสดงว่าขณะรถจำเลยชนท้ายรถ ส. น่าจะเป็นเพียงการลื่นไถล หลังจากที่จำเลยใช้ห้ามล้อยาวถึง 12 เมตรแล้ว แรงชนจากรถจำเลย จึงไม่มากนัก มีผลเพียงทำให้ ก.และ ท.ซึ่งนั่งอยู่หน้ารถจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจากจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ แม้จำเลยจะมิได้ขับรถมาชนท้ายรถ ส. ผู้ตายทั้งสองก็ถึงแก่ความตาย เนื่องจากรถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอยู่นั่นเอง ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสอง มิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดย ประมาทของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ก. และ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น

  36. ลักษณะความรับผิดเพื่อละเมิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาลักษณะความรับผิดเพื่อละเมิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา 1.การกระทำของผู้บริหารเอง 2.การกระทำของบุคคลอื่น 3. เกิดจากสัตว์และทรัพย์ที่อยู่ ในความครอบครองดูแล

  37. คำพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 เป็นเรื่องที่เด็กเอาพลุมายิงเล่นที่โรงเรียนแล้วทำให้เด็กนักเรียนคนอื่นตาบอด ผู้เสียหายฟ้องทั้งมารดาของเด็กและครูประจำชั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าครูได้ห้ามแล้วเอาพลุไปทำลาย ในช่วงเช้า แต่ในช่วงพักกลางวันเด็กก็แอบเอาพลุอันอื่นมาเล่นอีกนอกห้องเรียน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแล • ผู้เยาว์ตามมาตรา 430 แล้ว จึงไม่ต้องรับผิด ส่วนมารดาปล่อยให้เด็กเล่นพลุจนมีความชำนาญทำกระบอกพลุได้เอง ถือ • ว่ามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลบุตรผู้เยาว์

  38.   มาตรา 430  ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดีชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด  ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร • ความรับผิดของ ครู คือ ความรับผิดตามที่นักเรียนอยู่ในความดูแลได้กระทำลงไป

  39. คำพิพากษาฎีกาที่ 1488/2515 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ครูใหญ่ได้ให้ครูรองคอยควบคุมดูแลนักเรียนซึ่งรวมทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 เล่นบันไดโหนอย่างผาดโผน ครูรองเห็น ก็ห้ามปรามจำเลยที่ 1 พอขาดคำ บันไดก็ล้มทับโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดในเหตุที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น

  40. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2536 • จำเลยเป็นครูประจำชั้นให้เด็กนักเรียนในชั้นรวมทั้งผู้ตายซึ่งเป็นเด็กเล็ก อายุเพียง 11 ปี ไปช่วยจับปลาจากบ่อหนึ่งไปปล่อยในบ่อน้ำใหญ่ซึ่งมีช่วงที่ลึกและเป็นอันตรายแก่เด็ก เมื่อเสร็จงานแล้วก็เพิกถอนเสียมิได้ติดตามดูแลเด็กให้รีบกลับบ้านหรือห้ามปรามมิให้ลงเล่นน้ำ และเมื่อผู้ตายกับเพื่อน ๆ ลงเล่นน้ำในบ่อใหญ่แล้ว จำเลยก็มิได้ตักเตือนให้เล่นด้วยความระมัดระวังเพื่อจะได้ไม่ถลำลงไปในช่วงที่มีน้ำลึกและเป็นอันตราย ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นจำเลยกับพวกก็นั่งดื่มสุราอยู่ที่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อที่มีการจับปลานั่นเอง ผู้ตายลื่นลงไปในบ่อช่วงที่มีน้ำลึกและจมน้ำตาย ดังนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยให้ผู้ตายช่วยทำการงานในสถานที่ที่มีอันตรายแล้วไม่ดูแลให้ปลอดภัยตามสมควรแก่วัยของผู้ตายซึ่งเป็นเด็ก จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ถึงแก่ความตายและเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

  41. กรณีที่นักเรียนได้รับความเสียหายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครูกรณีที่นักเรียนได้รับความเสียหายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครู • การไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควร(ผู้มีวิชาชีพ)ในการทำหน้าที่ดูแลจนนักเรียนได้รับความเสียหาย เช่น การเอาใจใส่ดูแล ตักเตือน คำพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 ที่ศาลถือเอาการที่ ครูได้รับกระบอกพลุและห้ามปรามมิให้เด็กนักเรียนเล่นไม้กระบอกพลุเป็นการใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแล ฎีกาที่ 1488/2515 • การล่วงละเมิดทางเพศตามมาตรา 94 วรรคสาม

  42. โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นมารดาของเด็กหญิงวราภรณ์ขันขาวผู้ตายจำเลยเป็นครูประจำชั้นที่ผู้ตายเรียนหนังสืออยู่ เมื่อวันที่24 มิถุนายน 2531 จำเลยสั่งให้นักเรียนในชั้นเรียนที่จำเลยเป็นครูประจำชั้นไปที่บ้านจำเลยในวันที่ 25 มิถุนายน 2531 เพื่อจับปลาในสระที่บ้านจำเลยวันที่ 25 มิถุนายน 2531 ผู้ตายไปที่บ้านจำเลยและจับปลาในสระที่บ้านจำเลยไปใส่ไว้อีกสระหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกันซึ่งมีน้ำลึกมากจึงได้จมน้ำและถึงแก่ความตาย เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลย ขอให้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 212,850 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

  43.   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพผู้ตาย 6,150 บาทกับค่าขาดไร้อุปการะอัตราเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 17 ปีเป็นเงิน 204,000 บาทรวมเป็นเงิน 210,150 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ • ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 128,550 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

  44. ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า เด็กหญิงวราภรณ์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือไม่และจำเลยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใดพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีตัวโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานยืนยันเหตุการณ์ที่เด็กหญิงวราภรณ์ผู้ตายกับเพื่อน ๆ ไปช่วยจำเลยซึ่งเป็นครูประจำชั้นจับปลาการค้นหาศพผู้ตายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพ และความเสียหายที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการตายของผู้ตายกับมีเด็กหญิงโก้ ดุสิตและเด็กหญิงเชาวรัตน์ฉัตรเมืองปักเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นของผู้ตาย มาเบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่าจะมีการจับปลาที่บ่อและถามว่าใครจะไปด้วยบ้าง รวมทั้งเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุที่จำเลยพาพยานกับเพื่อนๆเดินทางจากบ้านไปที่บ่อเลี้ยงปลา และให้ลงจับลูกปลาจากบ่ออนุบาลใส่ถุงพลาสติกไปปล่อยลงในบ่อใหญ่กับให้จับปลาตัวใหญ่ขึ้นมาปิ้งกินแล้วปล่อยให้เด็กนักเรียนที่ไปช่วยจับปลาซึ่งรวมทั้งผู้ตายด้วยลงเล่นน้ำในบ่อใหญ่ที่ปล่อยปลาลงไป และมีน้ำลึกจนกระทั่งผู้ตายลื่นลงไปในบ่อช่วงที่มีน้ำลึกและจมน้ำตาย โดยที่จำเลยกับพวกก็นั่งดื่มสุราอยู่ที่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อที่มีการจับปลานั่นเองคำพยานโจทก์สอดคล้องต้องกัน เด็กหญิงโก้และเด็กหญิงเชาวรัตน์พยานล้วนแต่ได้ไปรู้เห็นเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุ และเป็นลูกศิษย์ของจำเลยเอง ไม่มีเหตุที่จะเบิกความเอนเอียงเข้ากับโจทก์และให้ร้ายจำเลยแต่อย่างใด พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าฟังได้ตามที่นำสืบการที่จำเลยซึ่งเป็นครูประจำชั้นให้เด็กนักเรียนในชั้นซึ่งเป็นเด็กเล็กอายุเพียง 11 ปี ไปช่วยทำงานเกี่ยวข้องกับบ่อน้ำใหญ่ซึ่งมีช่วงที่ลึกและเป็นอันตรายแก่เด็ก เมื่อเสร็จงานแล้วก็เพิกเฉยเสียมิได้ติดตามดูแลให้รีบกลับบ้านหรือห้ามปรามมิให้ลงเล่นน้ำในบ่อนั้นและเมื่อผู้ตายกับเพื่อน ๆ ลงเล่นน้ำในบ่อใหญ่แล้วจำเลยก็มิได้ตักเตือนให้เล่นด้วยความระมัดระวังเพื่อจะได้ไม่ถลำลงไปในช่วงที่มีน้ำลึกและเป็นอันตรายทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นจำเลยพร้อมด้วยนายสุครีพ นายแสวงและนายสุระก็นั่งดื่มสุราอยู่ที่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อที่มีการจับปลานั่นเอง ทำให้ผู้ตายลื่นลงไปในบ่อช่วงที่มีน้ำลึกและจมน้ำตายดังนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยให้ผู้ตายช่วยทำการงานในสถานที่ที่มีอันตรายแล้วไม่ดูแลให้ปลอดภัยตามสมควรแก่วัยของผู้ตายซึ่งเป็นเด็กจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ถึงแก่ความตายและเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

  45. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2471 • ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค. จำเลยเปนครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล ด. มาตรวจโรงเรียนได้รับรายงานจากครูประจำชั้นและตรวจดูบัญชีเห็นมีเด็กเกียจคร้านต่อการเรียนอยู่ ๖ คนล้วนแต่เปนเด็กดื้อดึงสั่งสอนยากครูได้ทำทัณฑ์กรรมหลายครั้งก็ไม่เข็ดหลาย ค. กับ ห. ปฤกษาพร้อมกันว่าควรจะเฆี่ยนเสียบ้างเพื่อดัดนิสัยไม่ให้เกียจคร้านต่อไปและก่อนจะเฆี่ยน ค. ได้เรียกเด็กทั้ง ๖ คนมายืนหน้าชั้นประกาศสั่งสอนถึงความผิดและตักเตือนไม่ให้ขาดโรงเรียน แล้วจึงเฆี่ยนเด็กทั้ง ๖ คนด้วยไม่เรียวคนละ ๔ ทีตามอำนาจของครูใหญ่เด็ก ส. และ บ. ถูกเฆี่ยนมีบาดเจ็บเล็กน้อยเพียงโลหิตขับส่วนเด็กอื่น ๆ ไม่มีบาดแผลแต่ปรากฏว่าจำเลยได้เฆี่ยนเด็กทั้ง ๖ คนแรงเท่า ๆ กันผู้ปกครองเด็กทั้ง ๒ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ม. ๓๓๘ ข้อ ๒ • ศาลเดิมพิพากษาว่าเพียงขาดเรียนเท่านั้นไม่ควรเฆี่ยนให้ถึงบาดเจ็บจำเลยมีผิดตาม ม. ๓๓๘ ข้อ ๒ • ศาลอุทธรณ์กลับสัตย์ศาลเดิมให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำโทษพอสมควร หวังจะปราบปรามเด็กให้ประพฤติตัวเรียบร้อยแลหมั่นต่อการเรียนจำเลยไม่มีผิด • ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

  46. ระเบียบกระทรวงศึกษาฯว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2543 • ข้อ 5 โทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดมี 5 สถาน ดังนี้ • 5.1 ว่ากล่าวตักเตือน • 5.2 ทำกิจกรรม • 5.3 ทำทัณฑ์บน • 5.4 พักการเรียน • 5.5 ไล่ออก

  47. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนโดยสถานศึกษา พ.ศ. 2543 • ข้อ 8 กำหนดว่า “การลงโทษเด็กและเยาวชน จะต้องไม่กระทำโดยการทรมานหรือทารุณแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือด้วยวิธีการโหดร้ายหรือประจานหรือกระทำโดยไร้มนุษยธรรมหรือโดยวิธีการอันไม่เหมาะสม • หนังสือกรมสามัญศึกษา ที่ ศธ0802/385 ลงวันที่ 24 มกราคม 2545 • ข้อบังคับกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแข่งขันกีฬาโรงเรียน พ.ศ. 2512 โดยในข้อ 7 กำหนดให้ โรงเรียนจัดครูไปควบคุมดูแลความประพฤติของนักเรียนให้มีจำนวนเพียงพอที่จะควบคุมนักเรียนได้ทั่วถึงและต้องอยู่ในสนามแข่งขันจนกว่านักเรียนของตนได้กลับหมดแล้ว

  48. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2529 • 1. ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองนักเรียนก่อนโดยเฉพาะการไปค้างคืนและไปนอกราชอาณาจักร • 2. ให้เป็นไปด้วยความสมัครใจเพื่อทัศนศึกษาเท่านั้น • 3. ให้ส่งคำขออนุญาตถึงผู้มีอำนาจปกครองก่อนเดินทางไม่น้อยกว่า 15 วัน • 4. ให้ถือเกณฑ์นักเรียน 20 คนต่ออาจารย์ผู้ควบคุม 1 8o • 5. หากมีนักเรียนหญิงให้มีครู อาจารย์ผู้หญิงร่วมเดินทางไปด้วย • 6. เลือกพนักงานขับรถที่มีประวัติดี ชำนาญการ สุขุมและรู้เส้นทาง • 7. จัดให้มีแผ่นป้ายข้อความให้เห็นว่าเป็นยานพาหนะใช้บรรทุกนักเรียน • 8. ควรเดินทางเฉพาะกลางวันเท่านั้น

  49. หน้าที่ในการใช้ความระมัดระวัง (duty of care) • ครูเป็นผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำการตามระดับมาตรฐานวิชาชีพ (standard of care) และไม่ทำให้นักเรียนเสี่ยงภัยโดยไม่มีเหตุอันสมควร (unreasonable risk) • จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ฝ่าฝืนระเบียบ (fault) • ตัวอย่าง คดี Donohue v. Stevenson (1932) A.C. 562

  50. หน้าที่ในการใช้ความระมัดระวัง (duty of care) • การป้องกันโอกาสที่เกิดความเสียหาย คือ หากความเสียหายนั้น มีบุคคลที่สามารถคาดเห็นได้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้น ทั้งในอดีตเคยเกิดและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีก ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู จะต้องทำการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายนั้นขึ้นอีก เช่นคดี Fryer v. Salford Corporation ที่ศาลตัดสินให้โรงเรียนต้องรับผิดต่อนักเรียนที่โดนไฟลวกในวิชาคหกรรม เนื่องจากละเลยไม่จัดหาอุปกรณ์ที่จะใช้ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเตาหุงต้ม ทั้งที่โรงเรียนสามารถคาดเห็นได้

More Related