1 / 65

การผลิตไก่เนื้อ วิชาการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ

การผลิตไก่เนื้อ วิชาการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ. รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย. ประเทศไทยผลิตเป็นอันดับ 7 ของโลก จำนวน 147.5 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 32,963 ราย (ปี48) คิดเป็นผลิตภัณฑ์ประมาณ 0.95 ล้านตัน

blythe
Download Presentation

การผลิตไก่เนื้อ วิชาการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การผลิตไก่เนื้อวิชาการผลิตสัตว์เศรษฐกิจการผลิตไก่เนื้อวิชาการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  2. อุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทยอุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย • ประเทศไทยผลิตเป็นอันดับ 7 ของโลก • จำนวน 147.5 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 32,963 ราย (ปี48) • คิดเป็นผลิตภัณฑ์ประมาณ 0.95 ล้านตัน • อันดับหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกา 15.8 ล้านตัน • จีน อันดับสอง 9.9 ล้านตัน

  3. การผลิตเพื่อบริโภคภายใน 68% ส่งออก 32% • ส่งออก 32 % แบ่งเป็นโรงงานชำแหละมาตรฐาน 66 โรงงาน และโรงงานแปรรูปเพื่อการส่งออก 25 โรงงาน • มูลค่าการส่งออก 23,700 ล้านบาทในปี 2547 • ตลาดสำคัญคือ สหภาพยุโรป (EU) ประมาณ 40% และ ญี่ปุ่นประมาณ 30 % • ส่งออกในรูปเนื้อไก่แปรรูป (เดิมส่งไก่ชำแหละได้ แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องไข้หวัดนก)

  4. ปัญหาสำคัญ • 1. คู่แข่งที่สำคัญคือ บราซิล สหรัฐ และจีน มีศักยภาพในการผลิตที่ดี และมีข่าวเรื่องปัญหาไข้หวัดนกระบาดน้อยกว่า • 2. ตลาดที่นำเข้าเนื้อไก่ไทย มีความกังวลในเรื่องการระบาดของไข้หวัดนก รวมทั้งมาตรฐานการผลิตและการแปรรูป สารปนเปื้อนทำให้ใช้เป็นข้ออ้างในการระงับการนำเข้า (ต้องผ่านการตรวจรับรองจากประเทศที่นำเข้า) • 3. ประชาชนผู้บริโภคเกิดความตระหนกในเรื่องโรคไข้หวัดนกทำให้ลดการบริโภคภายในประเทศ • 4. วัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง รวมทั้งค่าขนส่งที่แพงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

  5. พันธุ์ไก่เนื้อ • ไก่เนื้อหรือไก่กระทงเป็นไก่ที่มีอายุการเลี้ยงสั้นเพียง 28 วัน จากลูกไก่น้ำหนัก 45 กรัม เป็นไก่เนื้อน้ำหนัก 1.2 กก. • อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยวันละประมาณ 40-42 กรัม • พันธ์ที่ใช้เป็นพันธ์ลูกผสม (ไฮบริด) ระหว่างหลายสายพันธ์ ซึ่งทำให้ลูกผสมมีคุณสมบัติดีกว่าพ่อแม่ (Hybrid vigor)

  6. กล่าวคือ มีอัตราการเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพการใช้อาหารดี และมีคุณภาพซากดี แต่ไม่มีคุณสมบัติที่ดีในด้านการสืบพันธุ์ • (คนเลี้ยงจึงต้องซื้อลูกไก่กระทงมาขุนตลอดไม่สามารถผสมขยายพันธ์ต่อไปได้เอง)

  7. โรงเรือน • 1. โรงเรือนแบบเปิด เป็นโรงเรือนหลังคาจั่ว มีผนังเป็นตาข่ายทำให้ลมถ่ายเทได้สะดวก ปัจจุบันไม่นิยม เพราะควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดี แต่มีค่าใช้จ่ายถูก 2. โรงเรือนแบบปิด เป็นโรงเรือนปิด เพื่อควบคุมอุณหภูมิโดยใช้พัดลมดึงไอน้ำผ่านอากาศร้อนภายใน ทำให้อุณหภูมิภายในลดลงเหลือเพียงประมาณ 28 องศาเซลเซียส

  8. โรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิดEVAP(EVAPORATIVE COOLING SYSTEM)โดย สุรชัย ศิริจรรยาผู้จัดการทั่วไปกิจการผลิตไข่ไก่ใช้สำหรับการบรรยายให้นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  9. หลักการทำงานพื้นฐานของระบบ ของ EVAP คือ การนำอากาศผ่านเข้าไปในร่องของแผ่นเยื่อกระดาษ (COOLING PAD) ที่เปียกน้ำ และอากาศจะคายความร้อนให้น้ำ ทำให้อากาศเย็นลง

  10. แปลนเล้า ปิด

  11. ส่วนประกอบที่สำคัญของโรงเรือนระบบ EVAP • 1. แผ่น COOLING PAD • 2. พัดลมดูดอากาศ • 3. ผ้าม่าน • 4. ปั้มน้ำและบ่อเก็บน้ำ • 5. อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของพัดลมและปั้มน้ำ

  12. 1.แผ่น COOLING PAD • เป็นแผ่นกระดาษเคลือบด้วย cellulose เพื่อให้แข็งแรง • ลักษณะเป็นร่องลูกฟูกประกบกัน • คุณสมบัติเปียกน้ำง่ายแต่ไม่เปื่อยยุ่ย • ติดตั้งไว้ส่วนต้นของโรงเรือนด้านตรงข้ามกับพัดลม

  13. 2.พัดลมดูดอากาศ • เป็นพัดลมในระบบดูดอากาศ ติดตั้งไว้ท้ายเล้า • มี shutters ช่วยป้องกันลมย้อนเข้าเล้าเมื่อพัดลมตัวนั้นหยุดทำงาน • กรวยพัดลมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพัดลม

  14. 3.ผ้าม่าน • ทำจากพลาสติก PVC ที่มี UV PROTECT • ต้องปิดให้สนิทเพื่อป้องกันอากาศร้อนจากภายนอกรั่วเข้ามา • ติดตั้งอุปกรณ์ผ้าม่านตก เผื่อกรณีไฟฟ้าดับ ผ้าม่านด้านบน ผ้าม่านด้านข้าง

  15. ผ้าม่านด้านบน

  16. 4.ปั้มน้ำและบ่อเก็บน้ำ4.ปั้มน้ำและบ่อเก็บน้ำ • ประสิทธิภาพของปั้มน้ำต้องส่งน้ำได้พอเพียงกับความต้องการของ cooling pad • บ่อเก็บน้ำต้องมีปริมาณน้ำพอเพียงเพื่อให้ปั้มน้ำใช้งานได้ตลอดเวลาและมีการกรองตะกอนก่อนใช้ราดPAD

  17. 5.อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของพัดลมและปั้มน้ำ5.อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของพัดลมและปั้มน้ำ • เพื่อควบคุมพัดลมและปั้มน้ำให้ทำงานตามอุณหภูมิที่ต้องการภายในโรงเรือน • จุดที่ติดตั้งต้องสามารถบอกสภาพอากาศภายในโรงเรือนได้ดี • ติดตั้งบริเวณกลางเล้า สูง 2 – 5 ฟุตจากพื้นเล้า

  18. อุปกรณ์เสริมที่สำคัญ(กรณีไฟฟ้าดับ)อุปกรณ์เสริมที่สำคัญ(กรณีไฟฟ้าดับ) • สัญญาณเตือน • ชุดผ้าม่านตก • เครื่องสำรองไฟฟ้า

  19. สัญญาณเตือน .

  20. ชุดผ้าม่านตก

  21. เครื่องสำรองไฟฟ้า

  22. พัดลม

  23. EFFECTIVE TEMPERATURE A. TEMP. RH AIR SPEED E. TEMP. 80F 50% 0 82F 80F 70% 0 86F 80F 50% 400 66F 80F 70% 400 69F

  24. พื้นคอก • พื้นปูน ปูด้วยแกลบหนาประมาณ 2-3 นิ้ว มีความชื้นไม่เกิน 25% • มีรางให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ • โรงเรือนเปิดอาจเลี้ยงได้ไม่เกิน 2,000 ตัว /โรงเรือน ในอัตรา 10 ตัว ต่อ ตารางเมตร • โรงเรือนปิดอาจเลี้ยงได้ถึง 20,000 ตัว/ โรงเรือน ในอัตรา 12 ตัว ต่อตารางเมตร

  25. อุณหภูมิที่ลูกไก่ต้องการอุณหภูมิที่ลูกไก่ต้องการ

  26. อาหาร • อาหารไก่เล็ก มีโปรตีนประมาณ 22 % พลังงาน 3,200 kcal/kgซึ่งเมื่อลูกไก่โตขึ้นมีการปรับเป็นอาหารที่มีโปรตีนต่ำลงเหลือ 20 % • ส่วนใหญ่บริษัทจะแบ่งอาหารออกเป็น • 1-20 วัน Starter • 21-35 วัน Grower • 36 วันขึ้นไป Finisher

  27. น้ำ • น้ำ ใช้หลักคำนวณคือ • 10 N ลิตร ต่อไก่ 1,000 ตัว โดยที่ N เท่ากับอายุไก่เป็นสัปดาห์ เช่น ไก่อายุ 2 สัปดาห์ ให้น้ำ 2x 10 =20 ลิตร ไก่อายุ 3 สัปดาห์ ให้น้ำ 3 x 10 = 30 ลิตร

  28. เมื่อนำไก่เข้าฟาร์ม • 1. เตรียมคอก ติดตั้งไฟกก รางน้ำ รางอาหาร • 2. ให้ลูกไก่ได้รับน้ำและอาหาร โดยเฉพาะไวตามิน และยาปฏิชีวนะชนิดละลายน้ำทันที • 3. มีการเพิ่มแสงเพื่อเพิ่มการกินได้ของไก่ • 4. ทำวัคซีน เช่นนิวคลาสเซิล หรือ ฝีดาษ ตามโปรแกรม โดยก่อนทำวัคซีนควรงดน้ำเป็นเวลา1-2 ชม. ( ถ้าร้อนก็งดช่วงสั้นๆ)

  29. 5. ตัดปากไก่เมื่ออายุประมาณ 9 วัน 6. เสริมกรวดเพื่อช่วยย่อย 5.0 กก. ต่อไก่ 1,000 ตัว 7. สุ่มตรวจสุขภาพตลอดเวลา 8. มีการระบายอากาศที่ดี มีกาซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 3,000 ppm. กาซแอมโมเนีย ไม่เกิน 20 ppm. 8. งดอาหาร ก่อนส่งโรงฆ่า 2 -4 ชม.

  30. โปรแกรมแสง

  31. การผลิตไก่ไข่ • การผลิต จำนวน 41 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 20,760 ราย (ปี 48) ในปี 2547 ผลิตไข่ประมาณ 6,600 ล้านฟอง มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปัญหาเรื่องไข้หวัดนก และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น (ประมาณ 1.96 บาท/ฟอง ขายได้ 2.00 บาท กำไร 0.04 บาท)

  32. การนำเข้า มีการนำเข้าผลิตไข่เช่น ไข่ขาวผง ไข่รวมผง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และขนม ประมาณ 1,161 ตัน (318 ล้านบาท)

  33. การเปิดการค้าเสรี อาจมีผลทำให้ไข่จาก จีน สหรัฐและอินเดียเข้าสู่ไทยได้ • การส่งออก ปี 2547 ส่งออก 45 ล้านฟอง สู่ ฮ่องกง, แอฟริกา และโอมาน • คู่แข่ง จีน เยอรมัน และฮอลแลนด์

  34. ปัญหาและอุปสรรค • 1. สุขอนามัย เช่นโรคไข้หวัดนก สารปนเปื้อน • 2. ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากวัตถุดิบอาหาร ค่าขนส่ง • 3. ถ้ามีการเปิดเขตการค้าเสรี ทำให้คู่แข่งสามารถส่งไข่ราคาถูกกว่าเข้ามาขายในไทยได้

  35. การจัดการไก่ไข่ • เลี้ยงไก่เล็กเป็นไก่รุ่นพร้อมไข่ ที่อายุ ประมาณ 119-120 วัน (17 สัปดาห์) • โดยจัดการเลี้ยงไก่เล็ก (0-4 สัปดาห์) จาก 0-35 วันให้อาหาร 900 กรัม ตัดปาก ที่อายุ 1 วันมาจากโรงฟัก หรือตัดที่ฟาร์มที่อายุ 10 วัน ประมาณ 1/3 ของปาก

  36. การจัดการช่วง 4-16 สัปดาห์ (ระยะไก่รุ่นก่อนไข่) • ความหนาแน่น โรงเรือนเปิด 8 ตัว/ ตร.ม. • โรงเรือน ปิด 12 ตัว/ตร.ม. • ใช้อาหารไก่รุ่น จนกระทั่งไก่เริ่มไข่ได้ก่อนถึง 2% (ของทั้งฝูง) ให้เปลี่ยนเป็นอาหารไก่ไข่ • ให้ไก่กินอาหารให้หมดทุกวัน และในช่วงที่ไก่อายุได้ 10-12 สัปดาห์ควรปล่อยให้อาหารหมด 2-3 ชม.ต่อวัน เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว

  37. ชั่งน้ำหนักไก่โดยสุ่มชั่งประมาณ 10 % ของฝูง • ให้แสงวันละ 15-16 ชม. • เพื่อให้ไก่มีน้ำหนักตัวดี และให้ไข่เร็วขึ้น • ทำการย้ายไก่เข้าโรงเรือนไก่ไข่ที่อายุ 15-17 สัปดาห์ (เฉลี่ยที่ 16 สัปดาห์) • ทำวัคซีนก่อนย้าย 1 สัปดาห์ • น้ำหนักควรจะประมาณ 1,380 กรัม (ต่ำสุด 1,250 กรัม)

  38. การจัดการระยะไก่ไข่ (17 สัปดาห์ เป็นต้นไป) • 1. ย้ายทำให้ไก่เครียดและน้ำหนักลด 5-10 % • 2. เมื่อย้ายเข้าโรงเรือนไก่ไข่ เพิ่มแสงให้เป็น 23-24 ชม. ต่อวัน เป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้ไก่ได้กินน้ำและอาหารให้เต็มที่และลดลงมาเหลือ 15 ชม. • 3. อุณหภูมิในโรงเรือนปิดประมาณ 25-29 องศา ซ. • 4. ให้อาหารเพียงวันละครั้งๆละ 115-120 กรัมต่อตัว

  39. 5. มีการควบคุมการให้แสง • 6. มีการชั่งน้ำหนัก สุ่ม 3-5 % (2 สัปดาห์ต่อครั้ง) • 7. มีการเก็บไข่ 4-6 ครั้งต่อวัน (ไก่ไม่ได้ไข่ในเวลาเดียวกันทุกตัว) • โดยไก่มักจะไข่ช้าไปกว่าวันก่อนประมาณ 1-2 ชม. และไม่ค่อยไข่ในช่วงบ่าย

  40. 8. กระตุ้นการกินอาหารโดยการเคาะรางอาหารบ่อยๆ และให้อาหารตอนอากาศเย็น • ไก่จะเริ่มไข่ที่อายุประมาณ 17 -19 สัปดาห์ • มีระยะไข่สูงสุด (ประมาณ 95%) ในช่วงอายุ 35-50 สัปดาห์ • ปลดไก่ออกเมื่ออายุประมาณ 80 สัปดาห์ โดยในช่วงท้าย เมื่อไก่อายุ 72 สัปดาห์ ไก่จะไข่เหลือประมาณ 75 % • รวมแล้วจากไก่ไช้เวลาไข่ประมาณ 52-60 สัปดาห์ มีอายุในช่วงปลดประมาณ 1.5-1.8 ปี

  41. ตารางการให้แสงของไก่ไข่ตารางการให้แสงของไก่ไข่

  42. การผลิตเป็ด .

  43. การผลิตเป็ด • เป็ดเนื้อ 6.5 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 84,164 ราย (ปี 48) • เป็ดเทศ 4.5 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 42,604 ราย (ปี 48) • เป็ดไข่ 10.5 ล้านตัว ผู้เลี้ยง 99,617 ราย (ปี 48) • เริ่มเปลี่ยนจากระบบเลี้ยงปล่อย(ฟาร์มเปิด) และระบบไล่ทุ่ง เป็นระบบฟาร์มปิด และมีการพัฒนาโรงเรือนแบบ Evap. เช่นเดียวกับการผลิตไก่ เนื่องจากปัญหาไข้หวัดนก และการควบคุมด้านมาตรฐานฟาร์ม

  44. เป็ดเนื้อและเป็ดเทศ • 1. เป็ดปักกิ่ง มีขนสีขาวครีม ขนาดประมาณ 4-5 กก. สามารถเลี้ยงส่งตลาดได้ในระยะเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ ที่น้ำหนัก 3.5-4 กก. • 2. เป็ดเทศ (มัสโควี่, Muscovy duck) เป็ดจากอเมริกา มีขนาดใหญ่ประมาณ 4.5-6 กก. หน้าและหัวมีสีแดง ผิวขรุขระเหมือนไก่งวงตัวผู้ และมีสีขาว น้ำเงิน ปนสีดำ

  45. เป็ดเทศ

  46. 3. เป็ดปั๊วฉ่าย เป็นเป็ดลูกผสมระหว่างเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมือง ซึ่งมีลักษณะการเจริญเติบโตที่ดีเลี้ยงง่าย มีน้ำหนักประมาณ 3-4 กก. • 4. เป็ดเชอรี่ วอลเล่ย์ (Cherry valley) เป็ดลูกผสมทางการค้า ใช้เวลา 7 สัปดาห์ มีน้ำหนักประมาณ 3.3 กก.

More Related