1 / 24

อ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ งานสัมมนาวิชาการ (Symposium) ประจำปี พ.ศ. 2552

การแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทข้ามชาติ:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย Harness Gain from MNE Backward Linkages: Experience of Thai Auto-part Suppliers. อ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ งานสัมมนาวิชาการ (Symposium) ประจำปี พ.ศ. 2552 22 กรกฎาคม 2552.

bly
Download Presentation

อ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ งานสัมมนาวิชาการ (Symposium) ประจำปี พ.ศ. 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นซัพพลายเออร์ของบริษัทข้ามชาติ:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยHarness Gain from MNE Backward Linkages: Experience of Thai Auto-part Suppliers อ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ งานสัมมนาวิชาการ (Symposium) ประจำปี พ.ศ.2552 22 กรกฎาคม 2552

  2. Introduction • ภายใต้กระแสการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างกิจการต่างๆมีความเหนี่ยวแน่นกันมากขึ้น เครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น • MNEs นั้นสามารถมีส่วนเกี่ยวข้อง (เชื่อมโยง) กับประเทศเจ้าบ้าน ในสองช่องทางหลักคือ ผ่านช่องทางที่เป็น FDI และช่องทางที่ไม่ใช่ FDI (เช่น การซื้อขายเทคโนโลยี การ subcontracting การเป็นผู้ซื้อสินค้า • ผลกระทบของ “FDI technology spillover” ต่อกิจการท้องถิ่นผ่าน ความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม Inter-industry linkage effects หรือ Backward Linkage Spillover ผ่าน “International Production Network” • ปัจจัยที่มีผลต่อ FDI spillovers ขึ้นกับ: ความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีและช่องห่างทางเทคโนโลยี ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ลักษณะของกิจการท้องถิ่นลักษณะของการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยอื่นๆ

  3. Introduction • ประเทศกำลังพัฒนามักจะใช้มาตรการคุ้มครองตลาดภายในประเทศเพื่อดึงดูดการเข้ามาลงทุนของ MNEs และพยายามเข้าไปกำกับการดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเรียนรู้เทคโนโลยี และได้รับ FDI Spillover จาก MNEsให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้โดยผ่านมาตรการๆ เช่น การบังคับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ การบังคับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ฯลฯ • นักลงทุนต่างชาติอาจจะปิดโอกาสและทำลายขบวนการพัฒนาผู้ประกอบการภายในประเทศ (Crowding Out) • การดำเนินมาตรการแทรกแซงการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวไม่แน่เสมอไปว่าจะมีผลดีแต่อาจจะส่งผลเสียต่อบรรยากาศการลงทุน • กระแสการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างกิจการต่างๆมีความเหนี่ยวแน่นกันมากขึ้น เกิดเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ (International Production Network)

  4. Introduction • ภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศผ่านการดำเนินงานของ MNEs ส่งผลต่อการพัฒนาของผู้ประกอบการในประเทศไทยอย่างไร? • ผู้ประกอบการภายในประเทศจะอยู่ร่วมกับ MNEs เหล่านี้อย่างไร?เพื่อตักตวงผลประโยชน์ที่เกิดจากการเข้ามาของ MNEs • ภาครัฐควรกำหนดบทบาทของตนอย่างไร? • กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยBackward Linkage • วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์ 1st Tier/ 2nd Tier/ 3rd Tier (MNEs and Thai)

  5. II. กรอบนโยบายของภาครัฐและพัฒนาการโดยรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

  6. Pure Thai 23 % Local Suppliers โครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนฯของไทย Assembler LSEs (Car 16 Companies, Motorcycle 7 Companies) Foreign J/V Tier 1 (Total 648 Companies) Thai Majority 30 % Foreign Majority 47 %. Car 458 Companies Motorcycle 190 Companies Tier 2,3 lower SMEs (1,641 Companies) [* LSEs : Large Scale Enterprises SMEs : Small & Medium Enterprises] The data updated in January 2005 by TAI

  7. III. พัฒนาการโดยรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์โลก • การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) • Rationalization • Global Platform; Modularization; Global Sourcing; Global OEM • ปรากฏการณ์การลดลงของการมีส่วนรวมของผู้ผลิตท้องถิ่น หรือ “Denationalization”

  8. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage)ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการไหลเข้าของ FDI ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงระหว่าง 1970-2008): Japanese vs. Non Japanese • ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯญี่ปุ่น 1st tier มีการปรับตัวไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจนอกเครือข่าย (beyond keiretsu) การนำเอาระบบการจัดซื้อที่เป็นทางการและเป็นมาตรฐานเพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตให้กลายเป็นผู้ผลิตระดับโลก global scale • การยกเลิกข้อกำหนดการถือครองหุ้นของต่างชาติโดยเฉพาะหลังวิกฤตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้ทุนข้ามชาติเข้าควบรวมกิจการท้องถิ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ • การพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯที่แท้จริงเกิดขึ้นหลักจากมีการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนรวมของ MNEs เหล่านี้

  9. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลังในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์(ต่อ)

  10. Engine -Diesels, Motorcycles Engine Components - Starters, Alternators, Pumps, Filters, Hosed, Gears, Flywheels Body Parts - Chassis, Bumpers, Fenders, Hoods, Door Panels Brake Systems - Master Cylinders, Drums, Disc, Pads, Linings Steering Systems - Steering Wheels, Gears, Columns, Pumps, Linkages PARTS MANUFACTURERED IN THAILAND • Suspensions -Shocks, Coils, Ball Joints • Transmissions - Gears, Casings, Rear Axles, Drive Shafts, Propeller Shafts • Electrical / Electronic - Alternators, Starters, Speedometers, lamps, Motors, Flasher Relays • Interiors / Exteriors - Seats, Mats, Weather Strips, Console Boxes • Others - Windshields, Seat Belts, Radiators, Wheels, Compressors

  11. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลังในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์(ต่อ) • สัดส่วนมูลค่าการนำเข้า(ที่แท้จริง)ชิ้นส่วนนำเข้าต่อจำนวนรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศของประเทกำลังพัฒนาต่างๆ (พันเหรียญสหรัฐต่อคัน) 2540-2549 ที่มา: Kohpaiboon, 2007

  12. Automotive Clusters in Thailand

  13. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลังในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์(ต่อ) • เกิดปรากฏการณ์ “Denationalization” ขึ้น MNEs ได้เปรียบผู้ผลิตท้องถิ่นในเรื่องการทักษะความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ในการพัฒนา การออกแบบและการผลิตชิ้นส่วนฯ มีการขยายการผลิตของ MNEs ชิ้นส่วนเดิมที่อยู่ในประเทศ ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วน 1st tier สัญชาติไทยน่าจะมีไม่เกิน 10 รายเท่านั้น และส่วนใหญ่ทำการผลิตชิ้นส่วนที่เป็น stamping parts • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นหลักฐานช่วยยืนยันว่าการดำเนินนโยบายบังคับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลต่อการพัฒนาระดับเทคโนโลยีมากมายนักแต่เหตุผลจริงๆที่ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯท้องถิ่นสามารถผ่านการมาตรฐานใหม่ได้เกิดจากการได้รับความช่วยเหลือจากผู้ผลิตเพื่อการส่งออก

  14. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลังในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์(ต่อ) การเปลี่ยนแปลงลักษณะความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: • แรงจูงใจ • ช่องทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี • เทคโนโลยี • ปัญหาและอุปสรรค

  15. IV. ความเชื่อมโยงไปข้างหลังในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์(ต่อ) • การตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมที่จะให้ได้อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของ Lower tier supplier ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ความแข็งแรง (strength) ของความสัมพันธ์กับผู้ผลิต first tier เพราะความสัมพันธ์กับ 1st tier ที่มีเสถียรภาพจะช่วยลดความไม่แน่นอนของคำสั่งซื้อในอนาคต ยิ่งความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นจะยิ่งทำให้ผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการดำเนินการเพื่อพัฒนาตามที่ 1st tier ต้องการ ประการที่สองระดับของความเฉพาะทาง (degreeof specialization) ของกิจการที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยยิ่งสัดส่วนของรายได้ของกิจการมาจากอุตสาหกรรมที่เรียกร้องคุณภาพและบริการที่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้แรงจูงใจที่จะลงทุนพัฒนาเพื่อจะอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อก็จะยิ่งลดลง

  16. V. กรณีศึกษา: 5.1 การดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน (Supplier Development Program) • บริษัท A ได้ดำเนินการในสองส่วนด้วยกันคือ • การจัดโครงการอบรม และ • การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน (Supplier Development Program) • ในปี 2005 บริษัท A เปิดศูนย์ฝึกอบรม เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรที่สำคัญไว้ 4 ด้านด้วยกัน คือ   การบริหารงานและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน การพัฒนาทักษะการทำงาน วิศวกรรม และ ความปลอดภัยในการทำงาน โดย sub supplier เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง • บริษัท A ส่งทีมวิศวกรและช่างเข้าไปตรวจสอบ 2nd Tier supplier พร้อมให้คำแนะนำในด้านต่างๆ

  17. V. กรณีศึกษา: • ปัจจัยการคัดเลือก sub supplier ที่จะได้รับการช่วยเหลือ: มูลค่าการจัดซื้อชิ้นส่วนชิ้นส่วนที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ความคาดหวังของระยะเวลาที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน กระบวนการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น ความตั้งใจที่จะพัฒนาความสามารถของตัวเอง โดยเฉพาะจากผู้บริหารระดับสูง 5.2 การสร้างระบบการประเมินผลผู้ผลิตชิ้นส่วน • บริษัท A จะพิจารณาจาก คุณภาพ (Quality:10) ต้นทุน (Cost: 10) การขนส่ง (Delivery: 3) การบริหาร (Management: 4.5) และ การดูแลความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety and environment: 1.5) • จากน้ำหนักในแบบการประเมินแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตชิ้นส่วน 1st tier ให้ความสำคัญกับด้านคุณภาพและต้นทุน แต่ปัจจัยที่ผู้ผลิตชิ้นส่วน 2nd tier มีปัญหามักจะเป็นเรื่องการจัดส่งสินค้าและการบริหาร

  18. V. กรณีศึกษา: • กลุ่มแรก เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีระดับความสามารถ QCDEM ที่เพียงพอ ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่คือ มีพนักงานมากว่า 100 คน และผลิตสินค้าส่วนใหญ่เพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ผลิตในกลุ่มนี้จะร่วมกิจการที่มีเจ้าของเดียวกับผู้ผลิต 1st Tier ที่ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญ และหลายรายเป็นอดีต 1st Tier ที่ยังคงผลิตชิ้นส่วนเดิมแต่จัดส่งให้กับ 1st Tier ที่ผู้ผลิตรถยนต์ให้ความเชื่อมั่นในการจัดส่งชุดชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนขึ้น • กลุ่มที่สอง เป็นผู้ผลิตที่มีขนาดเล็กลงมา เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนที่อาจจะมีความสามารถบางด้านที่ไม่ได้มาตรฐานของการเป็นผู้ผลิต 2nd tier ที่ผู้ผลิต 1st tier กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามก็มีเงื่อนไขเบื้องต้น (prerequisite) สำหรับการปรับปรุงตัวเอง และ • กลุ่มที่สาม เป็นผู้ผลิตที่มีขนาดเล็กลงไปอีกมีผลการดำเนินการที่ไม่ดีเพียงพอและขาดเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาในด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่า

  19. V. กรณีศึกษา: • ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ประสบผลสำเร็จในการเชื่อมโยงกับเครือข่าย MNEs มีลักษณะร่วมกันหลายประการ • ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเหล่านี้มีทัศคติที่ดีต่อการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม และเข้าใจปรัญชาที่ว่า “อยากโตต้องผอม” การที่ผู้ผลิตรถยนต์พยายามที่จะผลักภาระให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน 1st tier ให้มีส่วนรวมในการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนตั้งแต่ต้นมากขึ้นโดยไม่ได้ยืนยันคำสั่งซื้อ ทำให้เกิดเกิดต้นทุนแอบแฝงในกระบวนการออกแบบและความไม่แน่นอนในผลิตและสั่งซื้อในผู้ผลิตระดับ 1st tier ซึ่งความไม่แน่นอนในความสัมพันธ์นี้ก็ถูกส่งผ่านมายัง sub supplier ด้วยเช่นกัน

  20. V. กรณีศึกษา: • หลายครั้งผู้ผลิต first tier ต้องตัดสินใจจัดซื้อโดยไม่ได้อิงกับระดับความสามารถทางเทคโนโลยีหรือต้นทุน แต่ต้องพิจารณาจากความเต็มใจที่จะลงทุนล่วงหน้า (upfront investment) ที่จะได้รับผลตอบแทนกลับเมื่อได้รับคำสั่งซื้อโดยหารเฉลี่ยต้นทุนต่อชิ้นงาน (piece price) แทน • ผู้ผลิต sub supplier ตัดสินใจที่ลงทุนในการเพิ่มความสามารถในการผลิตได้ยากขึ้น ความเสี่ยงที่ผู้ผลิต subsupplier ต้องช่วยแบกรับอาจจะไม่คุ้มค่าทางการเงินหรือในบางกรณีผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้เหมือนถูกบังคับในลงทุนสำหรับการผลิตชิ้นส่วนที่ไม่เคยได้รับคำสั่งซื้อ • อุตสาหกรรมฯนี้ความเชื่อใจ (Trust) เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา การคัดเลือก sub supplier ดูจากผลการทำงานในอดีตที่ผ่านมา

  21. V. กรณีศึกษา: • ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้มักมีกระบวนการที่ชัดเจนในทำงานร่วมกับผู้ผลิต 1st tier เช่น มีการตั้งทีมงานหรือหน่วยงานที่จะรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาความสามารถเทคนิคอย่างชัดเจน มีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความรู้และทรัพยากรมนุษย์ • ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้มีการพัฒนาความสามารถทางการผลิต (manufacturing excellence) กับมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (value added of product) • การแข่งขันเป็นแรงผลักดันในผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ 1st tier ที่เป็น MNEs จะพยายามสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและทุ่มเททรัพยากรในการพัฒนาผลิตภาพการผลิตของ sub supplier ให้สูงขึ้น แต่โอกาสในการได้รับเทคโนโลยีจากผู้ผลิตรถยนต์จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการพัฒนาความเชื่อมโยงของทั้งสองฝ่าย

  22. VI. บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • การเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนของ MNEs เป็นช่องทางการได้รับเทคโนโลยี และยังทำให้เห็นว่าการเป็นผู้ผลิตระดับ sub supplier ก็สามารถที่จะได้รับประโยชนจากการเข้าไปมีส่วนในเครือข่ายการผลิตของบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนฯ MNEs • การเพิ่มขึ้นของ FDI ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯ จึงไม่ได้หมายความว่าอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนของไทยจะถูกครอบงำโดย MNEs แต่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนรวมของ MNEs ที่มีต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วน • ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต้องแสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถทางเทคโนโลยี (Pre-requisite) พยายามยืนยันคำมั่นสัญญาระยะยาว และแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะทุ่มเททรัพยากรเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต

  23. VI. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • ภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความเชื่อมโยงนี้ได้โดยการเข้าไปแก้ไขความล้มเหลวของกลไกตลาดในกระบวนการสร้างความเชื่อมโยงตรงนี้ได้ เช่น การปิด “information gap” หรือ การปิด “capability gap” ระหว่างระดับความสามารถที่ทางผู้ซื้อต้องการกับระดับความสามารถที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นมีอยู่โดยการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ศูนย์การทดสอบ ฯลฯ • นโยบายการสร้างความเชื่อมโยงและพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ของไทยมีปัญหาในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการปฏิบัติการไม่มีประสิทธิภาพ • ประสบการณ์ของต่างประเทศ พบว่ามาตรการที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การเสริมสร้างความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนฯในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร • Supply side of Technology Capability: HR; Testing Center; R&D

  24. VI. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • พ.ศ. 2548 กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันยานยนต์ได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์” (Automotive Human Resource Development Project หรือ AHRDP) ความท้าทาย • รัฐบาลต้องกล้าลงทุน แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญ เติมช่องว่างที่หายไป • รัฐบาลไทยควรระวังการใช้นโยบายแทรกแซงในรูปแบบต่างๆ เพื่อการสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง MNEs กับกิจการท้องถิ่น • Policy-induced Linkage vs. Natural Linkage

More Related