1 / 82

ยินดีต้อนรับสู่ การนำเสนอโดย

ยินดีต้อนรับสู่ การนำเสนอโดย. นาวสาวพัชรา เวช ไธย สงค์ หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางาน การบัญชี. สื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้. บทที่ 1 บทนำ. ความเป็นมาของโครงงาน

blithe
Download Presentation

ยินดีต้อนรับสู่ การนำเสนอโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยินดีต้อนรับสู่การนำเสนอโดยยินดีต้อนรับสู่การนำเสนอโดย นาวสาวพัชรา เวชไธยสงค์ หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางาน การบัญชี

  2. สื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้สื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้

  3. บทที่ 1บทนำ • ความเป็นมาของโครงงาน ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจ หน้าที่การขายหรือการหารายได้ ถือได้ว่าเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจ ที่มีวัตถุประสงค์ในการหากำไร ธุรกิจทุกประเภทจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้ก็ต้องอาศัยการวางแผนวางระบบอย่างรัดกุมเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้เพราะถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจการให้ดำเนินงานต่อไปได้ เจ้าของกิจการจึงให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการวางระบบบัญชี

  4. ในการเรียนการสอนนั้นย่อมจะต้อง มีสื่อการสอนที่เป็นความจริงสามารถที่จะสื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้สอนที่จะทำให้นักศึกษาแต่ละคนเข้าใจในรายวิชานั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะการเรียนรู้หากจะเรียนในหนังสือเรียนอย่างเดียวก็จะทำให้น่าเบื่อจำเจ นักศึกษาก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ยากและช้า ดังคำที่กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสื่อตัวกลางที่ช่วยให้การสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิ์ภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายในเนื้อหาบทเรียนได้ตรงตามที่ผู้สอนต้องการไม่ว่าจะเป็นสื่อแบบใดชนิดใดก็ล้วนแต่เป็นทรัพย์กรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น

  5. ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ โดยจัดทำในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ในโปรแกรม Proshowgoldเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชา ระบบการบัญชี

  6. วัตถุประสงค์ของโครงงานวัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ 1.2.2 เพื่อเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนในเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ ให้ผู้เรียนสนใจเข้ามาศึกษาเอกสารทางการบัญชี

  7. ขอบเขตของโครงงาน 1.3.1 การวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ 1.3.1.1 วัตถุประสงค์ของระบบบัญชีเกี่ยวกับการ ขายและการควบคุมลูกหนี้ 1.3.1.2 ประเภทของการขาย 1.3.1.3 ระบบการขายเชื่อ 1.3.1.4 ระบบการส่งคืนสินค้าและการให้ส่วนลด 1.3.1.5 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อและการจัดทำ บัญชีลูกหนี้ 1.3.1.6 การควบคุมภายในเกี่ยวกับการขายและ บัญชีลูกหนี้ 1.3.2 สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ในโปรแกรมProshowgold

  8. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 1.4.1 ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ 1.4.2 สามารถเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนในเรื่องการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและการควบคุมลูกหนี้ ให้ผู้เรียนสนใจเข้ามาศึกษาเอกสารทางการบัญชี

  9. วิธีการดำเนินการ ตารางที่ 1.1 ตารางวิธีการดำเนินการ

  10. บทที่ 2 ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง • วัตถุประสงค์ของการวางระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้าและการควบคุมลูกหนี้ 1. ค้าขายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นขายเงินสดหรือขายเงินเชื่อก็ตาม ได้มีการบันทึกไว้อย่างถูกต้องและทันเวลา 2. การนำสินค้าออกไปจากที่เก็บ ไม่ว่าจะนำไปขายหรือเพื่อการใดก็ตาม จะต้องได้อนุมัติและอยู่ในความควบคุมอย่างดีเพื่อป้องกันการทุจริต 3. เงินที่ได้รับชำระหนี้จากการขาย ได้มีการลงบัญชีอย่างถูกต้อง

  11. 4. การรับคืนสินค้านั้น ได้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทุจริต และผิดพลาด 5. มีการแยกหน้าที่เกี่ยวกับการขายและการรับเงินออกจากกัน โดยให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับเงินจากค่าขายทุกรายการครบถ้วน 6. มีการควบคุมอย่างพอเพียงสำหรับการขายเชื่อ ทั้งนี้เพื่อให้มีการตรวจสอบความถูกต้องได้เป็นประจำ และมีการควบคุมภายในเกี่ยวกับลูกหนี้อย่างดีด้วย

  12. ประเภทของการขายสินค้าประเภทของการขายสินค้า การขายสินค้าหรือบริการ จะแบ่งตามลักษณะของการขาย ได้ดังนี้ - ประเภทการขายแยกตามเกณฑ์การชำระเงิน - ประเภทการขายแยกตามผู้จำหน่าย ประเภทการขายแยกตามเกณฑ์การชำระเงิน 1. ขายเป็นเงินสด (Cash Sale) คือการขายสินค้าที่ได้รับชำระเงินทันทีที่ขายและมีการตกลงกับลูกค้า โดยจะส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าแล้วจะเรียกเก็บเงินทันทีซึ่งไม่มีการให้เครดิต แต่ถ้าขายสินค้าจำนวนมาก ก็อาจเรียกบางส่วนจึงส่งมอบสินค้าก็ได้ เมื่อส่งมอบสินค้าครบก็จ่ายเงินส่วนที่คงเหลือทันที

  13. การแบ่งหน้าที่เกี่ยวกับการขายเป็นเงินสดการแบ่งหน้าที่เกี่ยวกับการขายเป็นเงินสด 1.การเสนอราคา เมื่อลูกค้าติดต่อสอบถามราคามาที่แผนกขายเพื่อต้องการทราบราคาของสินค้าที่ต้องการซื้อ แผนกขายจะจัดทำเอกสารใบเสนอราคาขึ้นมา 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ส่งให้กับลูกค้า ฉบับที่ 2 (สำเนา) ส่งให้แผนกบัญชีเพื่อตรวจสอบกับเอกสารใบสั่งจอง ใบสั่งขายและใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ฉบับที่ 3 (สำเนา) เก็บเข้าแฟ้มที่แผนกไว้เป็นหลักฐาน

  14. 2.การสั่งจอง หลังจากที่ลูกค้าได้รับทราบราคาสินค้าที่แผนกขายเสนอให้แล้วนั้น หากมีความพอใจในราคาของสินค้า ลูกค้าจะจัดทำเอกสารใบสั่งซื้อให้กับแผนกขาย และเมื่อแผนกขายได้รับเอกสารใบสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วจะจัดทำเอกสารใบสั่งจองขึ้นมา 3 ฉบับ แล้วส่งให้กับแผนกคลังสินค้า เมื่อแผนกคลังสินค้าได้รับเอกสารใบสั่งจองแล้วตรวจสอบจำนวนสินค้าตามใบสั่งจองว่ามีสินค้าตามของจองมาหรือไม่ จากนั้นจะลงชื่อในเอกสารใบสั่งจองเพื่อบ่งบอกว่าทางแผนกสินค้าได้จองสินค้าตามที่ขอจองมาไว้ให้แล้ว แลจัดส่งเอกสารให้กับที่ต่าง ๆ ดังนี้ ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ส่งให้กับแผนกขายเพื่อบ่งบอกว่าสินค้าที่แผนกขายต้องการนั้นคลังสินค้าได้จองไว้ให้ไว้แล้ว

  15. ฉบับที่ 2 (สำเนา) ส่งให้แผนกบัญชีเพื่อตรวจสอบกับเอกสารใบเสนอราคา ใบสั่งขาย ใบกำกับภาษี ฉบับที่ 3 (สำเนา) เก็บไว้ที่แผนกไว้เป็นหลักฐาน 3.การสั่งขาย สำเนาเอกสารใบสั่งจองที่แผนกคลังสินค้าส่งมาให้กับแผนกขายแล้วนั้น แผนกขายจะตรวจสอบว่าแผนกคลังสินค้าได้จองสินค้าได้จองสินค้าให้หรือยัง แล้วจัดทำเอกสารใบสั่งขายสินค้าขึ้นมา 2 ฉบับ แล้วจัดส่งให้กับแผนกบัญชี เมื่อแผนกบัญชีได้รับเอกสารใบสั่งขายจากแผนกขายแล้ว จะตรวจสอบรายการสั่งขายว่าสั่งขายให้กับลูกค้ารายใด และตรวจสอบรายละเอียดของลูกค้าที่สั่งขาย เช่นยอดหนี้คงค้างของลูกค้ารายนี้ วงเงินอนุมัติ หลังจากนั้นจะลงชื่อในใบสั่งขายและจัดส่งเอกสารให้กับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้

  16. ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ส่งให้กับแผนกขายเพื่อแจ้งว่าสามารถขายให้กับลูกค้ารายนี้ได้ ฉบับที่ 2 (สำเนา) เก็บเข้าแฟ้มที่แผนกไว้เป็นหลักฐาน 4.การออกบิลหรือการบันทึกขาย งานในหน้าที่นี้จะเหมือนกับระบบของการขายเชื่อต่างกันในส่วนที่มีการจัดทำเอกสารใบเสร็จรับเงินพร้อมกับเอกสารใบสั่งของ/ใบกำกับภาษีด้วย เอกสารใบเสร็จรับเงินนี้จะจัดทำ 2 ฉบับ แล้วจัดส่งเอกสารใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินให้กับแผนกคลังสินค้าเพื่อทำการจ่ายสินค้าและจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า 5.การจ่ายสินค้า งานในหน้าที่ของการจ่ายสินค้าจะเหมือนกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเอกสารที่จัดส่งให้กับลูกค้ามีใบเสร็จรับเงินด้วย

  17. 6.การรับเงิน เมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้ว ลูกค้าจะทำการตรวจนับและลงชื่อรับของในเอกสารใบส่งของ/ใบกำกับภาษีและจ่ายเช็คให้ และเมื่อพนักงานเก็บเงินได้รับแล้วจะลงชื่อรับเงินในเอกสารใบเสร็จรับเงินและให้ต้นฉบับเอกสารใบเสร็จรับเงินกับลูกค้า ส่วนสำเนาใบเสร็จรับเงิน เช็ค และสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี 2 ฉบับ พนักเก็บเงินจะนำกลับมาที่แผนกบัญชี หลังจากแผนกบัญชีได้รับเอกสารแล้ว จะถ่ายสำเนาเช็ครับ และทำใบนำฝากเพื่อนำเช็คฝากธนาคาร แล้วจัดทำเอกสารใบสำคัญรับแนบรวมกับเอกสารสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี (ฉบับที่ 3) สำเนาใบเสร็จรับเงิน สำเนาเช็ครับ สำเนาใบนำฝาก สำเนาใบเสนอราคา สำเนาใบสั่งจอง สำเนาใบสั่งขาย

  18. บันทึกรายการในสมุดรายวันรับเงินแล้วเก็บเข้าแฟ้มใบสำคัญรับเรียงตามเลขที่ใบสำคัญ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษี (ฉบับที่ 2) เก็บเข้าแฟ้มสำเนาใบกำกับภาษีเพื่อจัดทำรายงานภาษีขาย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายเงินสด ได้แก่ ใบเบิกสินค้า,ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี/ใบกำกับสินค้า,ใบสำคัญรับ,รายงานสินค้าคงเหลือ เป็นต้น

  19. 2. ขายเป็นเชื่อ (Credit Sale) คือ การขายสินค้าที่ยังไม่ได้รับเงินในขณะที่ทำการขายเพื่อต้องการเพิ่มยอดขายให้กับกิจการมากขึ้น การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าไปก่อนและให้ระยะเวลาแก่ลูกค้าในการชำระหนี้ตามเงื่อนไข เช่น 2/10,n/30 เป็นต้น การแบ่งหน้าที่เกี่ยวกับงานขายเป็นเงินเชื่อ กิจการแต่ละแห่งควรมีการแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสนอราคา การสั่งจอง การอนุมัติการขาย การจ่ายของและการรับเงินค่าขายออกจากกันเพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายใน ทั้งนี้ต้องกำหนดวิธีการให้รัดกุมและใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  20. หน้าที่ต่าง ๆ แบ่งออกได้ดังนี้ - การเสนอราคา การสั่งจอง การสั่งขาย งานในหน้าที่ของการเสนอราคา การสั่งจองและการสั่งขาย หลังจากนั้นจะสั่งขายนี้จะเหมือนกับงานของระบบการขายสินค้าเป็นเงินสด - การออกบิลหรือการบันทึกขาย หลังจากที่แผนกบัญชีส่งเอกสารใบสั่งขายให้กับแผนกขายแล้ว จะจัดทำเอกสารใบส่งของ/ใบกำกับภาษีขึ้นมา 5 ฉบับ และบันทึกรายการขายในสมุดรายวัยขาย หลังจากนั้นจะส่งเอกสารทั้ง 5 ฉบับให้กับแผนกคลังสินค้า

  21. - การจ่ายสินค้าการจ่ายสินค้า เมื่อแผนกคลังสินค้าได้รับเอกสารใบส่งของ/ใบกำกับภาษีแล้ว ก็จะจัดสินค้าตามรายการในเอกสาร และดึงสำเนาฉบับที่ 4 ของเอกสาร ไปลงรายการใบบัตรสินค้า และเก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นหลักฐาน แล้วจัดส่งสินค้าพร้อมเอกสารให้กับลูกค้า หลังจากที่ลูกค้าได้รับสินค้าแล้วจะคืนเอกสารสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีฉบับที่ 2 และ 3มาที่แผนกบัญชี แผนกบัญชี แผนกบัญชีจะเก็บเอกสารฉบับที่ 2เข้าแฟ้มสำเนาใบกำกับภาษีเพื่อจัดทำรายงานภาษีขาย ส่วนฉบับที่ 3 แนบกับสำเนาเอกสารใบเสนอราคา ใบสั่งขาย เก็บเข้าแฟ้มลูกหนี้รายตัวเรียงตามวันครบกำหนด

  22. 3. ขายผ่อนชำระ (Installment Sale) คือ ขายสินค้าให้กับลูกค้า โดการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งลูกค้าต้องจ่ายเงินชำระค่าสินค้าบางส่วนก่อนเรียกว่าเงินดาวน์ (Down Payment) ส่วนที่เหลือจะชำระเป็นงวด ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งตามกฎหมายถือว่าการผ่อนชำระนั้น กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการผ่อนชำระจะมีลักษณะที่แตกต่างจากการขายปกติ โดยเฉพาะเรื่องการรับรู้รายได้

  23. บางครั้งกิจการก็ประสบปัญหาในการรับรู้รายได้ให้เป็นไปตามมาตรา 65 คือ การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้ ซึ่งเป็นการนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดบัญชีหนึ่ง แม้จะยังไม่ได้ รับชำระในรอบบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในบัญชีรอบนั้น และให้นำรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในรอบบัญชีนั้น เช่น กิจการขายสินค้าไปแล้วในปี 2550 แต่จะได้รับเงินในปี 2551 การใช้เกณฑ์สิทธิจะถือเป็นรายได้ของปี 2550 เป็นต้น การวินิจฉัยตีความของสรรพากร จะยึดตามมาตรา 65 และหลักเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 เรื่องการรับรู้รายได้ ซึ่งกล่าวไว้ว่ากิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังนี้

  24. 1. กิจการได้โอนความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว เช่น ความล้าสมัย การเสื่อม หรือผลตอบแทนที่จะได้ในอนาคตซึ่งลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบ 2. กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่อง ในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม 3. กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ ได้อย่างน่าเชื่อถือ 4 . มีความเป็นไปได้ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น 5. สามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือเนื่องจากรายการบัญชีนั้นน่าเชื่อถือ

  25. การบันทึกรับรู้รายได้จากการขายสินค้าโดยปกติแล้ว จะต้องบันทึกเป็นรายได้ของกิจการ เมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เพราะเข้าเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ ตามมาตรฐานการรับรู้รายได้ แต่ก็มีบางกรณีที่แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ก็จะต้องบันทึกรับรู้รายได้ เช่น ทำการขายและเตรียมสินค้าไว้พร้อมนำส่งแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบ เนื่องจากความประสงค์ของลูกค้าและกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าได้เป็นของลูกค้าหมดแล้ว ถือว่าย่อมต้องรับรู้เป็นรายได้ ในกรณีการรับรู้รายได้จากการขายสินค้าอย่างมีเงื่อนไข โดยทั่วไป กิจการจะรับรู้เป็นรายได้ เมื่อส่งมอบสินค้าให้ กับผู้ซื้อแล้ว แต่หลายครั้งที่กิจการจะต้องขานสินค้าไปอย่างมีเงื่อนไข เช่น ต้องติดตั้งสินค้าให้แก่ลูกค้า มีการรับประกัน เป็นต้น ซึ่งหากกิจการไม่ปฏิบัติตาม ลูกค้าก็มีสิทธิ์ที่จะบอกเลิกไม่รับสินค้านั้นได้ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว

  26. ดังนั้นกิจการจะไม่รับรู้รายได้จนกว่าผู้ซื้อจะยอมรับ และได้ตรวจรับสินค้านั้นแล้ว เมื่อเทียบกับเงื่อนไขการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว ดังนี้ 1. กิจการได้โอนความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว เช่น สินค้าล้าสมัย สินค้าเสื่อมสภาพ หรือการสูญหายของสินค้า ผลตอบแทนที่จะได้จะสินค้าในอนาคต ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบ 2. กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่อง ในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือ ไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม

  27. ประเภทการขายแยกตามผู้จำหน่ายประเภทการขายแยกตามผู้จำหน่าย ขายปลีก คือ การขายสินค้าที่เป็นลักษณะปลีกย่อยเป็นรายชิ้น เช่น ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ฯลฯ ขายส่ง คือ การขายสินค้าในแต่ละครั้งในปริมาณมากโดยตรงจากผู้ผลิตสินค้า ยี่ปั๊ว เป็นต้น ถ้าหากเป็นกิจการขนาดย่อมหรือร้านขายของทั่วไป ลักษณะการขายจะเป็นการขายปลีกหน้าร้าน แต่ถ้าเป็นหน้าร้านขายของที่ใหญ่ขึ้น ก็อาจจะขายในลักษณะการขายส่งด้วย ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็จะเป็นการขายเชื่อที่มีลักษณะเป็นการขายส่ง หรืออาจจะมีการขายที่เป็นเงินสดด้วยก็ได้

  28. การแบ่งแยกหน้าที่ที่เกี่ยวกับการขายส่งและการขายปลีกการแบ่งแยกหน้าที่ที่เกี่ยวกับการขายส่งและการขายปลีก - การขาย (พนักงานขาย) เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าชนิดไหน ก็จะแจ้งให้พนักงานขายทราบ หลังจากนั้นพนักงานขายจะลงรายการในใบรายการขายประจำวันของตนเองและนำใบรายงานการขาย สินค้าและเงินที่ได้รับจากลูกค้าไปให้กับพนักงานรับเงินที่จุดรับชำระเงิน - การรับเงิน (พนักงานรับเงิน) พนักงานรับเงินจะบันทึกรายการขายในเครื่องบันทึกเงินสดและออกใบเสร็จรับเงินจำนวน 3 ฉบับพนักงานรับเงินจะลงชื่อรับเงินในใบเสร็จรับเงินและในใบรายงานการขายของพนักงานและจะนำสินค้ามาบรรจุหีบห่อ แล้วนำต้นฉบับใบเสร็จรับเงินพร้อมกับสินค้าที่บรรจุหีบห่อแล้วให้กับพนักงานขายเพื่อส่งให้ลูกค้า สำเนาฉบับที่ 1 ส่งให้กับแผนกบัญชีเพื่อตรวจสอบกับรายงานการขายของพนักงานขาย ส่วนสำเนาฉบับที่ 2 ติดเล่มไว้เป็นหลักฐาน

  29. ระบบบัญชีการขายเชื่อ ระบบบัญชีการขายเชื่อ ในการขายเงินเชื่อ เปรียบเสมือนกับผู้ขายได้ให้เงินทุนกับผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายเชื่อย่อมต้องใช้เงินทุนมาก และผู้ขายยังเสียเปรียบในการไม่ได้รับชำระหนี้ หรือเกิดหนี้สูญ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงหนี้ หรือฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ดีการขายเชื่อยังมีผลดี คือ ทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น และช่วยให้ประกอบธุรกิจมีความคล่องตัวและขยายตัวได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ก่อนที่จะมีการขายเชื่อ ผู้ขายควรพิจารณาว่า สมควรจะให้เครดิตหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สูญ ในการให้เครดิต ควรพิจารณาข้อมูลดังนี้ 1. ศึกษาถึงภาวะของธุรกิจโดยทั่วไปว่าเหมาะสมที่จะขายเชื่อหรือไม่ 2. ถ้าหากเป็นลูกค้าเดิมให้พิจารณาจากบัญชีของลูกค้า หรือหลักฐานเก่า ๆ ที่ธุรกิจบันทึกเอาไว้

  30. 3. สำหรับลูกค้าใหม่ ก่อนที่จะพิจารณาให้เครดิตจะต้องทราบที่อยู่ รายได้ รายจ่ายโดยประมาณหรือธนาคารที่ลูกค้าที่มีเงินฝากอยู่หรือชื่อเสียงโดยการสอบถามจากธุรกิจอื่น ๆ ที่ลูกค้าเคยติดต่อด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบัญชีการขายเชื่อ มีดังนี้ 1. แผนกขายได้รับใบสั่งซื้อจากลูกค้า ก็จะสอบถามแผนกคลังสินค้าว่ามีสินค้าเพียงพอที่จะขายหรือไม่ แล้วจึงส่งใบสั่งซื้อไปให้แผนกสินเชื่อ แผนกสินเชื่อจะพิจารณาประวัติการติดต่อกับบริษัท ฐานะการเงินของลูกค้า แล้วจึงอนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในใบสั่งซื้อและส่งกลับคืนไปให้แผนกขาย 2. เมื่อแผนกขายได้รับใบสั่งซื้อกลับคืนมาก็จะตรวจสอบว่ามีการอนุมัติจากแผนกสินเชื่อหรือไม่ เมื่ออนุมัติแล้วจึงจัดทำใบกำกับสินค้าจำนวน 6 ฉบับ ดังนี้

  31. ฉบับที่ 1,2 ส่งให้แผนกออกบิล ฉบับที่ 3 ส่งให้แผนกจัดส่งสินค้าหรือแผนกส่งของ ฉบับที่ 4,5,6 ส่งให้แผนกคลังสินค้า 3. เมื่อแผนกคลังสินค้าได้รับใบกำกับสินค้าทั้ง 3 ฉบับแล้ว ก็จะจัดส่งสินค้าพร้อมเซ็นชื่อในใบกำกับสินค้าทั้งหมด และส่งใบกำกับสินค้าฉบับที่ 6 แนบไปพร้อมกับสินค้าส่งให้แผนกจัดส่งสินค้า ฉบับที่ 4 ส่งให้กับแผนกบัญชี ส่วนฉบับที่ 5 แผนกคลังสินค้าจะเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป 4. เมื่อแผนกอกบิลได้รับใบกำกับสินค้าฉบับที่ 1,2 ก็จะตรวจสอบราคาสินค้าและเงื่อนไขการชำระเงิน ว่าตรงกับใบแจ้งราคาที่ให้ไว้กับลูกค้าหรือไม่

  32. 5. แผนกจัดส่งสินค้า เมื่อได้รับสินค้าพร้อมใบกำกับสินค้าฉบับที่ 6 แล้ว ก็จะตรวจสอบสินค้ากับรายการในใบกำกับสินค้าฉบับที่ 3 จึงนำไปบรรจุหีบห่อและส่งใบกำกับสินค้าฉบับที่ 3,6 ให้แผนกออกบิล 6. แผนกออกบิลจะนำใบกำกับสินค้าฉบับที่ 3.6 ไปเปรียบเทียบกับฉบับที่ 1,2 แล้วจึงมอบใบกำกับสินค้าฉบับที่ 1,2,3,6 ส่งให้แผนกจัดส่งสินค้า 7. แผนกจัดส่งสินค้า จะนำสินค้าพร้อมใบกำกับสินค้าฉบับที่ 1,2,3,6 ซึงรับมาจากแผนกออกบิลส่งให้ลูกค้าเซ็นชื่อในใบกำกับสินค้าทั้ง 4 ฉบับ และจัดส่งดังนี้

  33. ฉบับที่ 1 ส่งให้แผนกการเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการเก็บเงิน ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกบัญชี เพื่อบันทึกรายการบัญชีขายลบัญชีลูกหนี้รายตัว ฉบับที่ 3 ส่งให้แผนกขาย เพื่อแจ้งว่าได้มีการส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้ว ฉบับที่ 6 ส่งให้ลูกค้า 8. เมื่อมีการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้ว แผนกออกบิลจะเก็บรวบรวมใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของที่ผู้ซื้อเซ็นรับของแล้วออกบิลเก็บเงินโดยอ้างถึงเลขที่หรือใบส่งของ บิลเก็บเงินจะมี 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ส่งให้ลูกค้า ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกการเงินเพื่ออกใบเสร็จรับเงิน ฉบับที่ 3 แผนกออกบิลจะเก็บไว้เป็นหลักฐาน

  34. 8. เมื่อมีการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้ว แผนกออกบิลจะเก็บรวบรวมใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของที่ผู้ซื้อเซ็นรับของแล้วออกบิลเก็บเงินโดยอ้างถึงเลขที่หรือใบส่งของ บิลเก็บเงินจะมี 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 (ต้นฉบับ) ส่งให้ลูกค้า ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกการเงินเพื่ออกใบเสร็จรับเงิน ฉบับที่ 3 แผนกออกบิลจะเก็บไว้เป็นหลักฐาน

  35. ผังทางเดินเอกสาร-ระบบบัญชีการขายเชื่อผังทางเดินเอกสาร-ระบบบัญชีการขายเชื่อ

  36. ระบบบัญชีการขานเงินสดระบบบัญชีการขานเงินสด การขายเงินสด ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที หรือชำระให้ทันกำหนดระยะเวลาที่ผู้ขายให้ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) ซึ่งส่วนลดเงินสดนี้ มักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า มีเงื่อนไขการชำระเงินที่เกี่ยวกับการขายเงินสด เช่น C.O.D (Cash on Delivery หรือ Collect on Delivery) หมายความว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินก่อนที่จะได้รับสินค้า หรืออาจจะชำระให้ทันทีที่ได้รับสินค้า

  37. การแบ่งแยกหน้าที่ที่เกี่ยวกับการขายสดการแบ่งแยกหน้าที่ที่เกี่ยวกับการขายสด 1. การเสนอราคา (แผนกขาย) การสั่งจอง (แผนกขายและแผนกคลังสินค้า) การสั่งขาย (แผนกขายและแผนกบัญชี) งานในหน้าที่ของการเสนอราคา การสั่งจอง และการสั่งขายนี้จะเหมือนกับงานของระบบการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 2. กรออกบิลหรือการบันทึกขาย (แผนกบัญชี) งานในหน้าที่นี้จะเหมือนกับระบบของการขายเชื่อ ต่างกันที่มีการจัดทำเอกสารใบเสร็จรับเงินพร้อมกับเอกสารใบส่งของ / ใบกำกับภาษีด้วย เอกสารใบเสร็จรับเงินนี้จะจัดทำ 2 ฉบับ แล้วจัดส่งเอกสารใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินให้กับแผนกคลังสินค้าเพื่อทำการจ่ายสินค้าและจัดส่งให้กับลูกค้า

  38. 3. การจ่ายสินค้า (แผนกคลังสินค้า) งานในหน้าที่ของการจ่ายสินค้าจะเหมือนกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ เอกสารที่จัดส่งให้กับลูกค้าจะมีใบเสร็จรับเงินด้วย 4. การรับเงิน (แผนกบัญชี) เมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้ว ลูกค้าจะทำการตรวจนับและลงชื่อรับของในเอกสารใบส่งของ / ใบกำกับภาษีและจ่ายเช็คให้ และเมื่อพนักงานเก็บเงินได้รับแล้วจะลงชื่อรับเงินในเอกสารใบเสร็จรับเงินและให้ต้นฉบับเอกสารใบเสร็จรับเงินกับลูกค้าส่วนสำเนาใบเสร็จรับเงิน เช็ค และสำเนาใบส่งของ / ใบกำกับภาษี 2 ฉบับ พนักงานเก็บเงินจะนำกลับมาที่แผนกบัญชี

  39. หลังจากแผนกบัญชีได้รับเอกสารแล้ว จะถ่ายสำเนาเช็ครับ และนำใบนำฝากเพื่อนำเช็คฝากธนาคาร แล้วจัดทำเอกสารใบสำคัญรับแนบรวมกับเอกสารสำเนาใบส่งของ / ใบกำกับภาษี (ฉบับที่ 3) สำเนาใบเสร็จรับเงิน สำเนาเช็ครับ สำเนาใบฝาก สำเนาใบเสนอราคา สำเนาใบสั่งจอง สำเนาใบสั่งจอง สำเนาสั่งขาย บันทึกรายการในสมุดรายวันรับเงินแล้วเก็บเข้าแฟ้มใบสำคัญรับเรียงตามเลขที่ใบสำคับ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษี (ฉบับที่ 2) เก็บเข้าแฟ้มสำเนาใบกำกับภาษีเพื่อจัดทำรายงานภาษีขาย

  40. วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบัญชีการขายเงินสด มีดังนี้ 1. หลักในการวางระบบบัญชีการขายเงินสดจะมีวิธีการเหมือนกับการขายเงินเชื่อ แต่ระบบบัญชีการขายเงินสดจะไม่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน 2. เมื่อแผนกออกบิลได้นับใบกำกับสินค้าฉบับที่ 1,2 ก็จะตรวจสอบราคาสินค้าและเงื่อนไขการชำระเงินว่าตรงกับใบแจ้งราคาที่ให้ไว้กับลูกค้าหรือไม่ และส่งไปให้แผนกการเงินเพื่อออกใบเสร็จรับเงินและลูกค้าก็จะรับมอบสินค้า เมื่อลูกค้าชำระเงินพร้อมทั้งสำเนาฉบับที่ 2 เรียบร้อยแล้ว จึงส่งให้แผนกบัญชีเพื่อบันทึกรายการในสมุดรายวันเงินสด

  41. 3. ในกรณีที่กิจการได้รับเงินสดจากรายได้ค่าบริการ ให้วางระบบบัญชีการรับรู้รายได้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 (ปรังปรุง) ดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว

  42. ระบบบัญชีรับคืนสินค้าและการให้ส่วนลดระบบบัญชีรับคืนสินค้าและการให้ส่วนลด วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบัญชีรับคืนสินค้าและการให้ส่วนลด มีดังนี้ 1. เมื่อมีการนำสินค้ามาคืน ต้องมอบหมายให้พนักงานคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบในการรับคืนและให้ส่วนลดแก่ลูกค้า โดยติดต่อที่แผนกรับคืนสินค้าของกิจการ 2. เมื่อมีการอนุมัติรับคืนแล้ว ลูกค้าก็จะนำใบขอคืนพร้อมกับสินค้าไปให้แผนกรับของ ซึ่งแผนกรับคืนสินค้าจะจัดทำใบรับคืนสินค้าจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้

  43. ฉบับที่ 1 ส่งให้ผู้ซื้อ (ลูกค้า) เพื่อเป็นหลักฐานการรับคืน ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกคลังสินค้าพร้อมสินค้าที่คืน ฉบับที่ 3 ส่งให้แผนกบัญชี ฉบับที่ 4 ส่งให้แผนกออกบิล เพื่อออกใบลดหนี้ ฉบับที่ 5 แผนกรับของจะเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน 3. แผนกออกบิลได้รับใบรับคืนฉบับที่ 4 ก็จะนำไปเปรียบเทียบกับใบกำกับสินค้าออกให้ลูกหนี้แล้วทำใบลดหนี้ (Cash Note) จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้

  44. ฉบับที่ 1 ส่งให้ลูกค้า ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกบัญชี เพื่อบันทึกบัญชีลูกหนี้ ฉบับที่ 3 เก็บไว้เป็นหลักฐานและแนบติดไว้กับใบรับคืนสินค้า 4. ถ้าสินค้าที่รับคืนมานั้นอยู่ในสภาพที่ดี ก็จะส่งเข้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อขายต่อไป

  45. การควบคุมภายในเกี่ยวกับการขาย 1. มีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร 2. คำสั่งซื้อของลูกค้ามีการตรวจสอบอนุมัติก่อน โดย - ผู้จัดการแผนกขาย - ผู้จัดการแผนกสินเชื่อ 3. ใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี จัดทำโดยพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับ - การจัดส่งของให้ลูกค้า - บันทึกบัญชีลูกหนี้ - การรับจ่าย และเก็บรักษาเงินสด

  46. 4. มีการเรียงลำดับหมายเลขของ ใบส่งของหรือใบอินวอยซ์/ใบกำกับภาษี ไว้ล่วงหน้าทั้งหมด 5. มีการตรวจสอบราคา โดยพนักงานที่รับผิดชอบกับรายการราคา (Price List) 6. รายการราคา (Price List) ได้มีการตรวจสอบโดยผู้จัดการขายเป็นครั้งคราว 7. พนักงานตรวจสอบใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นคนละคนกับพนักงานส่งของ พนักงานการเงิน พนักงานบัญชีลูกหนี้ จะต้องกระทำการตรวจสอบในเรื่อง - ราคาและการลดราคา - บันทึกบัญชีลูกหนี้ - การรับจ่าย และการรักษาเงินสด

  47. 8. เมื่อมีการยกเลิกใบส่งของหรือใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษีฉบับใด จะต้องเก็บสำเนาทุกฉบับไว้ด้วยกัน 9. พนักงานนำของไปส่งให้ลูกค้าจะต้องนำต้นฉบับที่มีลายเซ็นรับของมาเก็บไว้ที่แผนกรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการเก็บเงิน 10. มีการตรวจสอบ เปรียบเทียบใบสั่งซื้อของลูกค้ากับใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี

More Related