1 / 45

CHAPTER 3

CHAPTER 3. การพยากรณ์ (Forecasting). ความหมายและความสำคัญของการพยากรณ์ ( Defining Forecasting). การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาในอนาคต และนำค่าพยากรณ์ที่ได้นั้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อการตัดสินใจใดๆ โดยแบ่งตามหน้าที่หลักๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้

blenda
Download Presentation

CHAPTER 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHAPTER 3 การพยากรณ์ (Forecasting)

  2. ความหมายและความสำคัญของการพยากรณ์ (Defining Forecasting) การพยากรณ์ คือ การคาดการณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาในอนาคต และนำค่าพยากรณ์ที่ได้นั้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อการตัดสินใจใดๆ โดยแบ่งตามหน้าที่หลักๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1)ด้านการเงินและการบัญชี (Finance) : เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณการขาย เพื่อจัดสรรทรัพยากรให้ทุกส่วนขององค์การ อย่างทั่วถึงและเหมาะสม 2)ด้านการตลาด (Marketing): ใช้กำหนดโควตาการขายของพนักงาน หรือนำไปสร้างเป็นยอดขายของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการควบคุมกิจกรรมของฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด

  3. ความหมายและความสำคัญของการพยากรณ์ (Defining Forecasting) 3)ด้านการผลิต (Operation):นำมาใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการต่างๆ ในฝ่ายการผลิตคือการบริหารสินค้าคงคลังและการจัดซื้อ การบริหารแรงงาน การกำหนดกำลังการผลิต การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการผลิต คลังเก็บสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า การวางแผนผังกระบวนการการผลิตและการจัดตารางการผลิต

  4. องค์ประกอบของการพยากรณ์ที่ดี (Elements of a Good Forecast) ระบุวัตถุประสงค์ในการนำผลการพยากรณ์ไปใช้ และช่วงเวลาที่การพยากรณ์จะคลอบคลุมถึง รวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ ถูกต้องตามความเป็นจริง จำแนกประเภทของสินค้าที่มีลักษณะของอุปสงค์คล้ายกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน พยากรณ์สำหรับกลุ่ม แล้วจึงแยกกันพยากรณ์สำหรับแต่ละสินค้าในกลุ่มอีกครั้ง บอกข้อจำกัดและสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการพยากรณ์ หมั่นตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของค่าพยากรณ์ที่ได้กับค่าจริงที่เกิดขึ้นเป็นระยะ

  5. ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ 1) ระยะเวลาที่ใช้ในการพยากรณ์ (Forecasting time horizons) 1.1) การพยากรณ์ระยะสั้น (Short-Term Forecasting) พยากรณ์ช่วงเวลาที่ต่ำกว่า 3 เดือนใช้สำหรับการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดตารางการผลิตสายการประกอบหรือการใช้แรงงาน 1.2) การพยากรณ์ระยะปานกลาง (Medium-Term Forecasting) พยากรณ์ช่วงเวลาระหว่าง 3 เดือนถึง 2 ปีเพื่อใช้ในการวางแผนด้านบุคลากร การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิตรวม การจัดซื้อและการกระจายสินค้า ระยะเวลาที่นิยมพยากรณ์คือ 1 ปี เพราะเป็นหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

  6. ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ 1.3) การพยากรณ์ระยะยาว (Long-Term Forecasting) พยากรณ์ในช่วงเวลา 2 ปีขึ้นไปใช้พยากรณ์ยอดขายรวมขององค์การ เพื่อใช้ในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานและสิ่งอำนวยความสะดวก การวางแผนกำลังการผลิตและการจัดการกระบวนการผลิตในระยะยาว 2) อิทธิพลของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (The influence of product life cycle) ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ใน 2 ระยะแรกของวงจรชีวิต จำเป็นต้องพึ่งพาการพยากรณ์มากกว่าระยะอื่นๆ โดยคำนึงถึงระดับสินค้าคงเหลือที่บริษัทต้องการ เป็นต้น

  7. ประเภทของการพยากรณ์ (Types of Forecasting) วิธีการพยากรณ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quatitative Forecasting) เป็นการพยากรณ์โดยอาศัยข้อมูลหรือตัวเลขจากอดีต (เช่น ยอดขาย กำลังการผลิต) มาสร้างตัวแบบ และพยากรณ์ไปในอนาคต - การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Quanlitative Forecast) เป็นกลุ่มของวิธีการพยากรณ์ที่อาศัยข้อมูลและวิธีการเชิงคุณภาพ ใช้กับลักษณะของปัญหาที่ไม่มีข้อมูลย้อนหลังหรือมีข้อมูลไม่มากพอ มาใช้สร้างตัวแบบ

  8. เทคนิคของการพยากรณ์ (Technical of Forecasting) ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อนำมาพยากรณ์ โดยทั่วไปมีการใช้เทคนิคอยู่ 5 วิธีการด้วยกัน ได้แก่ - วิธีการ Least Square - วิธีการเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation forecasting) - วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) - วิธีการค่าเฉลี่ยเคลื่อนถ่วงน้ำหนัก (Weighted moving average) - วิธีการปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล (Exponential Smoothing)

  9. การพยากรณ์โดยวิธี Least Square อาศัยการสร้างสมการเส้นตรง เพื่อใช้ในการพยากรณ์ค่าในอนาคต โดย สมการของ Least Square คือ เมื่อ คือ ค่าพยากรณ์ของสิ่งที่ต้องการพยากรณ์ Xคือ เวลา aและb คือ ค่าคงที่ของสมการเส้นตรง หมายเหตุ : สมการ สมการ

  10. การพยากรณ์โดยวิธี Least Square ตัวอย่างที่ 1 : วิธี Least square จากข้อมูลด้านการขายของ 5 ปีที่ผ่านมาดังแสดงต่อไปนี้ จงพยากรณ์หาปริมาณการขายในปี พ.ศ. 2551 วิธีทำ: การคำนวณค่าต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการหาค่า a และ b โดยกำหนดให้ พ.ศ.2546 เป็นปีที่เริ่มต้นคือให้ x=0 แสดงดังต่อไปนี้

  11. การพยากรณ์โดยวิธี Least Square

  12. การพยากรณ์โดยวิธี Least Square แทนค่าลงในสมการ ดังนั้น การพยากรณ์ยอดขายสำหรับปี พ.ศ. 2551 คือ

  13. การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation forecasting) แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว เช่นยอดขายกับกำไร หรือ ราคากับยอดขาย ตัวอย่างที่ 2: วิธี Correlation forecasting ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่เกี่วกับการสร้างโรงแรมชั้นหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ ผู้วิเคราะห์โครงการได้รวบรวมตัวเลขยอดรายได้ทั้งหมดตั้งแต่ปี พ.ศ.2541-2550 และพบว่ารายได้ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาพักในกรุงเทพฯ ผู้วิเคราะห์โครงการพยากรณ์รายได้ของโรงแรมทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจำนวน 5 ล้านคน

  14. การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation forecasting)

  15. การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation forecasting) แทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า b แทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า a

  16. การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlation forecasting) แทนค่าในสมการถดถอยที่ประมาณขึ้น คือ ดังนั้นในปี พ.ศ.2551 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเท่ากับ 5 ล้านคนตามประมาณการ รายได้ของโรงแรมทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯ จะเป็น

  17. ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับรายได้ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับรายได้

  18. ตัวอย่างที่ 3: วิธี Correlation forecasting บริษัทแห่งหนึ่งพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนตัวของพนักงานมีความสัมพันธ์กับรายได้ เพื่อจะนำผลที่ได้ไปใช้ในการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของพนักงาน ผู้วิเคราะห์จึงได้ทำการสุ่มพนักงานมาวิเคราะห์จำนวนทั้งหมด 15 คน ให้ทำการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ a และ b ของสมการเส้นตรง

  19. แทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า b แทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า a แทนในสมการถดถอย

  20. ถ้าต้องการประมาณค่าใช้จ่ายของพนักงานที่มีเงินเดือน 10 (พันบาท)ก็จะประมาณค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ หรือมีรายได้เท่ากับ 7,690 บาท และถ้าต้องการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายของพนักงานที่มีเงินเดือน 7.5 พันบาท จะได้เท่ากับ หรือมีรายได้เท่ากับ 5,615 บาท

  21. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้

  22. วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(Moving averages) • สามารถหาได้จาก ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ = เมื่อ n = จำนวนช่วงเวลาในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ต้องการ ตัวอย่างที่ 4 : แสดงการคำนวณหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ยอดขายของบริษัท แสดงในช่องกลางของตาราง ใช้เวลา 3 เดือนในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

  23. วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(Moving averages)

  24. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted moving average) เป็นวิธีการให้น้ำหนักกับข้อมูลปัจจุบันมากกว่าข้อมูลในอดีตที่ไกลออกไปตามลำดับ ซึ่งสามารถหาได้จาก ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก = ตัวอย่างที่ 5:แสดงวิธีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ข้อมูลจากตัวอย่างที่ 4 ตัดสินใจที่จะพยากรณ์ยอดขายโดยการถ่วงน้ำหนัก ใช้ระยะเวลา 3 เดือน

  25. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted moving average) การอธิบายการคิดค่าน้ำหนักที่ใช้

  26. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted moving average)

  27. แสดงความต้องการที่แท้จริง เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และวิธีถ่วงน้ำหนักค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

  28. วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล (Exponential smoothing) เป็นการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ง่ายต่อการใช้งาน ใช้ข้อมูลในอดีตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยสามารถหาได้จาก ค่าพยากรณ์ความต้องการใหม่ = การพยากรณ์ช่วงที่ผ่านมา + (ความต้องการที่แท้จริงช่วงที่ผ่านมา – การพยากรณ์ช่วงที่ผ่านมา คือ น้ำหนักหรือค่าคงที่ปรับเรียบ (smoothing constant) ซึ่งเป็นปัจจัยน้ำหนักที่ใช้ในการพยากรณ์ค่าปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล (Exponential smoothing) และ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 α α α

  29. วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล (Exponential smoothing) จากสมการข้างต้น สามารถเขียนเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ได้ คือ Ft = Ft-1 + α (At-1- Ft-1) กำหนดให้ Ft =ค่าพยากรณ์ใหม่ที่ต้องการ Ft-1 =ค่าพยากรณ์ช่วงที่ผ่านมา α =ค่าคงที่ปรับเรียบ, 0 ≤ a ≤ 1 At-1 =ความต้องการที่แท้จริงช่วงที่ผ่านมา

  30. วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล (Exponential smoothing) ตัวอย่างที่ 6 : ในเดือน ม.ค. ตัวแทนขายคาดคะเนว่าความต้องการรถยนต์ Ford เดือนก.พ. คือ 142 คัน ความต้องการที่แท้จริงในเดือน ก.พ. คือ 153 คัน เมื่อฝ่ายบริหารกำหนด เท่ากับ0.2 จงพยากรณ์ความต้องการในเดือนมี.ค. (แทนที่ข้อมูลจากสมการ) ดังนี้ Ft = Ft-1 + α (At-1- Ft-1) แทนค่า Ft= 142 + [0.2*(153 - 142)] = 142 + 2.2 = 144.2 ความต้องการรถในเดือนมี.ค.มีประมาณ 144 คัน α

  31. การเลือกค่าคงที่ปรับเรียบ(Selecting the smoothing constant) ความเหมาะสมของค่าคงที่ปรับเรียบ (smoothing constant) หรือ สามารถทำให้ความแตกต่างระหว่างการพยากรณ์ที่แน่นอน และไม่แน่นอนมีความใกล้เคียงกัน หรือเพื่อการวัดการพยากรณ์ที่มี่ความถูกต้องมากที่สุด การพยากรณ์ที่แน่นอนสามารถทำได้โดยเปรียบเทียบมูลค่าการพยากรณ์ สำหรับช่วงที่ผ่านมาในอดีตกับค่าที่เป็นจริง หรือการสังเกตความต้องการสำหรับช่วงเวลาเหล่านั้น α

  32. การเลือกค่าคงที่ปรับเรียบ(Selecting the smoothing constant) ค่าความผิดพลาดในการพยากรณ์ คำนวณได้ดังนี้ ความผิดพลาดการพยากรณ์ (Forecast error) = ค่าความต้องการที่แท้จริง (Demand) – ค่าการพยากรณ์ (Forced) หรือ ความผิดพลาดการพยากรณ์ (Forecast error) = At - Ft

  33. ค่าเฉลี่ยการเบี่ยงเบนสมบูรณ์(Mean Absolute Deviation : MOD) เป็นการพยากรณ์ความผิดพลาดทั้งหมด โดยนำผลรวมของมูลค่าสมบูรณ์ของการพยากรณ์ความผิดพลาดแต่ละอย่าง แล้วหารด้วยจำนวนช่วงเวลาของข้อมูล (n)

  34. ค่าเฉลี่ยการเบี่ยงเบนสมบูรณ์(Mean Absolute Deviation : MOD) ตัวอย่างที่ 7:เป็นการใช้แนวคิดแบบลองผิดลองถูก (trial-and-error testing) ของค่า จำนวนค่าระหว่างช่วง 8 ไตรมาสที่ผ่านมา บริษัทข้าวไทยขนส่งข้าวขึ้นเรือ ผู้จัดการต้องการทดสอบใช้วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล เพื่อดูว่าเทคนิคการทำงานใช้ได้ดีเพียงใด ในการคาดคะเนน้ำหนักที่ทำการคาดว่าจะขนข้างขึ้นจากเรือในไตรมาสแรกได้ 175 ตันค่าของ จำนวน 2 ค่าในการทดสอบ

  35. ค่าเฉลี่ยการเบี่ยงเบนสมบูรณ์(Mean Absolute Deviation : MOD)

  36. ค่าเฉลี่ยการเบี่ยงเบนสมบูรณ์(Mean Absolute Deviation : MOD)

  37. คำนวณค่าพยากรณ์ผิดพลาดในรูปของการเปลี่ยนแปลงภายในค่าการเบี่ยงเบนสมบูรณ์ และค่าเฉลี่ยของความเบี่ยงเบนสมบูรณ์

  38. คำนวณค่าพยากรณ์ผิดพลาดในรูปของการเปลี่ยนแปลงภายในค่าการเบี่ยงเบนสมบูรณ์ และค่าเฉลี่ยของความเบี่ยงเบนสมบูรณ์ เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าค่าคงที่ปรับเรียบ เพราะค่าเฉลี่ยของความเบี่ยงเบนสมบูรณ์จะน้อยกว่าการพยากรณ์

  39. ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง(Mean squared error : MSE) สามารถคำนวณค่าความผิดพลาดของการพยากรณ์ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างการพยากรณ์ และค่าการสังเกต n กำลังสอง มีสูตรดังนี้

  40. ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง(Mean squared error : MSE)

  41. ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง(Mean squared error : MSE) ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง (MSE) จะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง (MSE) ของแต่ละค่า เช่น หากพบว่าค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง (MSE) ที่ มีค่า MSE=201.5 จะได้ว่าค่า MSE ที่หาได้จาก ตัวอย่างที่ 8 ที่ มีผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากเราต้องการค่า MSE ที่น้อยที่สุด และยังสามารถยืนยันความถูกต้องได้อีกด้วย การดูที่ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนสมบูรณ์ (MAD) ใน ตัวอย่างที่ 7ประกอบ

  42. คำถามท้ายบท • 1. จงพยากรณ์ด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ความต้องการสินค้าประเภทเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง จากการบันทึกของผู้บริหารเกี่ยวกับความต้องการสินค้าประเภทนี้ 3 เดือน คือ มกราคม 320 ขวดกุมภาพันธ์ 400 ขวดและมีนาคม 380 ขวดให้ทำการพยากรณ์ว่าเดือนเมษายนเป็นอย่างไร • 2. จากโจทย์ข้อ 1 จงพยากรณ์ด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (Weighted moving average) ให้ทำการพยากรณ์ในไตรมาสที่ 2 ทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร

  43. 3. โรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งหนึ่ง ต้องการพยากรณ์ยอดขายเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์โครงการขยายโรงงานปูนซีเมนต์แห่งใหม่ ฝ่ายวิเคราะห์โครงการทำการรวบรวมข้อมูลในอดีตของยอดขายที่สัมพันธ์กับปริมาณการผลิต จงคำนวณหาค่าพยากรณ์ยอดขายในปี พ.ศ.2551 ที่คาดวว่าปริมาณการผลิตจะเท่ากับ 5.4 ตัน/วัน

  44. 4. จากข้อมูลยอดขาย 3 ปีคือ 2548-2550 จงพยากรณ์หาปริมาณการขายในปี พ.ศ. 2551 ด้วยวิธีการพยากรณ์แบบ Least Square 5. จากข้อมูลยอดขาย 3 ปีคือ 2548-2550 จงหาค่าเฉลี่ยการเบี่ยงเบนสมบูรณ์ (Mean Absolute Deviation : MOD)เมื่อฝ่ายบริหารกำหนด เท่ากับ 0.5 และหาค่าเฉลี่ยความผิดพลาดยกกำลังสอง (MSE) โดยมีค่าการพยากรณ์ในต้นปี 2548 เท่ากับ 6.5 (พันล้าน)

More Related