1 / 90

เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการพัฒนาสมรรถนะครูสุขศึกษาและพลศึกษา สังกัด สพฐ

เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการพัฒนาสมรรถนะครูสุขศึกษาและพลศึกษา สังกัด สพฐ. เรื่อง การจัดการเรียนรู้พลศึกษาให้สอดคล้องกับ การปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2. วันที่ 2 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30-10.30 น. ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรรวี บุญชัย.

blade
Download Presentation

เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการพัฒนาสมรรถนะครูสุขศึกษาและพลศึกษา สังกัด สพฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการพัฒนาสมรรถนะครูสุขศึกษาและพลศึกษา สังกัด สพฐ

  2. เรื่องการจัดการเรียนรู้พลศึกษาให้สอดคล้องกับ การปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2 วันที่ 2 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30-10.30น. ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ

  3. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรรวี บุญชัย ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  4. การจัดการเรียนรู้พลศึกษาให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ ๒ องค์ความรู้ที่จำเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (ฉบับที่ 3)

  5. องค์ความรู้ที่จำเป็น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  6. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (ฉบับที่ 3) เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

  7. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษา • การศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนามนุษย์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมให้เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ ความคิด ทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ

  8. ตลอดจนพฤติกรรมที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติที่พึงประสงค์ของสังคม ดังปรากฏในความมุ่งหมายและหลักการของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

  9. ความมุ่งหมายและหลักการความมุ่งหมายและหลักการ • มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

  10. ประเด็น มาตรา 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ • สอดคล้องกับความมุ่งหมาย (Goals) และจุดประสงค์ (Objectives) ของวิชาพลศึกษาอย่างไร • ศึกษาย้อนยุคตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 – 1990

  11. ช่วงหลังปี ค.ศ. ๑๘๐๐ (Sargent) • Hygienic (ถูกสุขอนามัย) • Educative (ความรู้) • Recreative(นันทนาการ/สันทนาการ) • Remedial (แก้ไข/เยียวยา)

  12. ปี ค.ศ. ๑๙๑๐(Hetherington) • Organic Education (อวัยวะ) • Psychomotor Education (doing) • Intellectual Education (ทางปัญญา/ความรู้) • Character Education (อุปนิสัย/ลักษณะ/บุคลิก/ความประพฤติ)

  13. ปี ค.ศ. ๑๙๓๔ (APEA-American Physical Education Association) • Physical Fitness • Mental Health and Efficiency • Social-Moral Character • Emotional Expression and Control • Appreciation (การเห็นคุณค่า/ความซาบซึ้ง)

  14. ปี ค.ศ. ๑๙๕๐ (AAHPER) • Develop and maintain maximum physical efficiency • Develop useful skills • Conduct oneself in socially useful ways • Enjoy wholesome recreation (เหมาะแก่สุขภาพ)

  15. ปี ค.ศ. ๑๙๖๔ (Bucher) • Physical development • Motor and movement development • Mental development • Social development

  16. ปี ค.ศ. ๑๙๖๕ (AAHPER) • Skillful and effective movement • Development of organic system of the body • Understanding and appreciation of movement

  17. ปี ค.ศ. ๑๙๖๕ (ต่อ) • Understanding and appreciation of scientific principles related to movement • Development of interpersonal relationships

  18. ปี ค.ศ. ๑๙๗๑ (AAHPER) • Health insurance • Contributes to academic achievement • Skills and experiences to last a time • Positive self-image • Ability to complete and cooperate with others

  19. ปี ค.ศ. ๑๙๙๐ (AAHPERD) • Skills to perform a variety of Physical activities • Physical fitness • Regular participation in physical activity

  20. ปี ค.ศ. ๑๙๙๐ (AAHPERD) (ต่อ) • Knows benefits and implications of involvement in physical activity • Values physical activity and its contribution to a physically active lifestyle

  21. National Standards for PE 2004 (USA) • มีทั้งหมด ๖ มาตรฐาน • The goal of physical education is to develop physically educated individuals who have knowledge, skills, and confidence to enjoy a lifetime of healthful physical activity.

  22. Learning in the Three Domains • Cognitive domain (thinking) เกี่ยวกับความรู้และการนำความรู้ไปใช้ • Affective domain (feeling) ส่งเสริมในเรื่องค่านิยม ทักษะทางสังคม และด้านอารมณ์ • Psychomotor domain (doing) เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกลไกและ physical fitness

  23. ที่มา: Wuest, D.A. & Bucher, C.A. (2009). Foundation of Physical Education, Exercise Science, and Sport. New York, NY: McGraw-Hill.

  24. ขอบข่ายของพลศึกษา/สมรรถนะของมนุษย์ขอบข่ายของพลศึกษา/สมรรถนะของมนุษย์ (domains of physical education/human performance • ทักษะพิสัย (psychomotor domain) เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาด้านการเคลื่อนไหว การทำงานของกล้ามเนื้อ ทักษะการใช้มือ ความสัมฤทธิ์ด้านทักษะ

  25. พุทธิพิสัย (cognitive domain) • เกี่ยวข้องกับสติปัญญา การระลึกได้ การจำ การรู้จัก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หลักการเคลื่อนไหว กฎ กติกา ความปลอดภัย การสร้างสมรรถภาพ ประวัติของกิจกรรมทางกายต่าง ๆ

  26. เจตพิสัย (affective domain) • เกี่ยวข้องกับความสนใจ เจตคติ ความทราบซึ้ง ความมีน้ำใจนักกีฬา ความร่วมมือ ความสามารถในการปรับตัว การเป็นผู้นำ ผู้ตาม

  27. สมรรถภาพพิสัย (health-related domain) • เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกลไก ความสามารถทางกลไก ที่มา: Lacy & Hastad, 2003, p. 25-27

  28. Hastad, D. N., & Lacy, A. C. (1998). Measurement and Evaluation in Physical Education and Exercise Science. Boston, MA: Allyn and Bacon.

  29. แนวการจัดการศึกษา • มาตรา 22 การจัดการศึกษายึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

  30. มาตรา 23 • ............ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ (๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

  31. มาตรา 24 • การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปนี้ (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

  32. มาตรา 24 (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

  33. มาตรา 24 (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

  34. มาตรา 24 (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

  35. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย

  36. จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพใน การศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็น จุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

  37. จุดหมาย ๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  38. จุดหมาย ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต ๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

  39. จุดหมาย ๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

  40. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการคิด ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

  41. คุณลักษณะอันพึงประสงค์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ ๑. รักชาติศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้

  42. สาระการเรียนรู้ • สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้

  43. ทำไมต้องเรียนสุขศึกษาและพลศึกษาทำไมต้องเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา • สุขภาพ หรือ สุขภาวะ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ สุขภาพหรือสุขภาวะจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเกี่ยวโยงกับทุกมิติของชีวิต ซึ่งทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจนิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ

  44. เรียนรู้อะไรในสุขศึกษาและพลศึกษาเรียนรู้อะไรในสุขศึกษาและพลศึกษา • พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา

  45. สาระการเรียนรู้ • สาระที่เป็นกรอบเนื้อหาหรือขอบข่ายองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาประกอบด้วย • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ • ชีวิตและครอบครัว

  46. สาระการเรียนรู้ • การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล • การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค • ความปลอดภัยในชีวิต

  47. มาตรฐานการเรียนรู้ • มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

  48. สาระการเรียนรู้และมาตรฐานสาระการเรียนรู้และมาตรฐาน สาระที่ ๑การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สาระที่ ๒ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

  49. สาระการเรียนรู้และมาตรฐานสาระการเรียนรู้และมาตรฐาน สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา มาตรฐาน พ ๓.๒ รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขันและชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

  50. สาระการเรียนรู้และมาตรฐานสาระการเรียนรู้และมาตรฐาน สาระที่ ๔การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

More Related