1 / 24

Nitrofurans

Nitrofurans. เป็นยาที่นิยม ใช้ผสมอาหารสัตว์ และออกฤทธิ์ได้ดี โดยเฉพาะต่อ โรคติดเชื้อในลำไส้และโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แต่ค่อนข้างจะเป็นอันตรายทั้งในคนและในสัตว์ กลไกการออกฤทธิ์

bin
Download Presentation

Nitrofurans

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Nitrofurans • เป็นยาที่นิยมใช้ผสมอาหารสัตว์และออกฤทธิ์ได้ดี โดยเฉพาะต่อโรคติดเชื้อในลำไส้และโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แต่ค่อนข้างจะเป็นอันตรายทั้งในคนและในสัตว์ กลไกการออกฤทธิ์ • ตัวยาในกลุ่มนี้จะต้องถูกสลายตัวโดยเอนซัยม์จากแบคทีเรียก่อน จึงจะสามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียได้โดยไปทำลายดีเอ็นเอของเชื้อ ออกฤทธิ์แบบ bactericide Nitrofurans

  2. ขอบเขตการออกฤทธิ์ • ออกฤทธิ์กว้างต่อแบคทีเรียโดยเฉพาะแกรมลบ โปรโตซัว เช่นเชื้อบิด และเชื้อราบางชนิด • ยาในกลุ่มนี้ เช่น Nitrofurans Furatadone Nifuroquin และ Furasolidone ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ • ยามีผลยับยั้งเอนซัยม์บางตัวของโฮสต์ นอกจากนี้มีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งและสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง • บางประเทศค่อนข้างจำกัดการใช้ยาในสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร Nitrofurans

  3. Sulfonamides • กลุ่มยาซัลฟาเป็นกลุ่มยาที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในการรักษาโรคที่เกิดจากจุลชีพ ก่อนที่จะมีการค้นพบยากลุ่มเพนนิ-ซิลลินหรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ • ปัจจุบันมียาซัลฟามากกว่า 5,400 ชนิดที่ผลิตขึ้นมาในหลายรูปแบบมากที่สุด ทั้งยากิน ยาฉีด ยาทาและยาผสมอาหารเพื่อป้องกันโรค Sulfanomides

  4. คุณสมบัติทางเคมี • ผลึกสีขาว ไม่ละลายน้ำ • มักใช้ในรูปเกลือโซเดียม ซึ่งละลายน้ำได้ดีกว่ารูปเดิม • ออกฤทธิ์ที่ pH 4.78-8.56 Sulfanomides

  5. กลไกการออกฤทธิ์ • ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเจริญเติบโตและยับยั้งการขยายตัวของแบคทีเรีย เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียไม่สามารถใช้กรดโฟลิคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเซล เช่น จากอาหาร แต่จำเป็นต้องสร้างจากกรดพาราอะมิโนเบนโซอิค การยับยั้งนี้จะไม่เกิดโดยทันทีทันใด แต่แบคทีเรียยังคงขยายตัวได้ระยะหนึ่งในระหว่างที่รอให้ยาออกฤทธิ์ ต่อมาจะพบว่าเมตาบอไลท์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรียจะลดลงอย่างมากจนถึงระดับที่การเจริญของเชื้อถูกยับยั้ง • ดังนั้น ซัลฟา จึงมีกลไกการออกฤทธิ์ antimetabolites และออกฤทธิ์แบบ bacteriostatic Sulfanomides

  6. (กรดโฟลิคสร้างจาก กรดกลูตามิค รวมกับ ไดไฮโดรพะเทอริดีนได้เป็นกรดไดไฮโดรพะเทอริอิค และกรดตัวนี้รวมตัวกับ กรดพาราอะมิโนเบนโซอิค (PABA) ได้เป็นกรดโฟลิค ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ DNA ของแบคทีเรีย) แต่ยามีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับกรดพาราอะมิโนเบนโซอิคซึ่งเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างกรดโฟลิคของแบคทีเรีย จึงมีผลทำให้ยาไปแข่งขันกับกรดพาราอะมิโนเบนโซอิค ทำให้ไม่มีการสร้างกรดโฟลิคส่วนคนและสัตว์สามารถใช้กรดโฟลิคที่ได้จากอาหาร ไม่ต้องสังเคราะห์เองเหมือนแบคทีเรีย Sulfanomides

  7. ภาพที่ แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของยาซัลฟา Sulfanomides

  8. ขอบเขตการออกฤทธิ์ • ยาออกฤทธิ์กว้าง มีผลทั้ง แบคทีเรียแกรมลบ และ แกรมบวก รวมทั้งโปรโตซัวเช่น เชื้อบิด พยาธิในเลือดบางชนิด • ยาไม่มีผลต่อ ไวรัสและเชื้อรา • Sulfa + Trimethoprim ในอัตราส่วน 5:1 ให้ผล synergism Sulfanomides

  9. การแบ่งกลุ่มยา Sulfa • สามารถจำแนกได้ตามความสะดวกในการใช้ยาได้ดังนี้ • .กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในระบบต่างๆ • .ตัวอย่างยาที่นิยมใช้ในสัตว์ ได้แก่ Sulfathiazole, Sulfamerazine, Sulfadiazine, Sulfaethoxypyridazine, Sulfadimethoxine, Sulfamethosypyridazine • .กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ Sulfafisoxazole • .กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Sulfaguanidine, Phthalylsulfathiazole, Phthalylsulfasetamide, Succinylsulfathiazole • .กลุ่มยาที่ใช้เฉพาะแห่ง ได้แก่ Sulfaacetamide, Mafenide Sulfanomides

  10. นอกจากนี้ยังแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มตามฤทธิ์ทางเภสัชจลนศาสตร์(สุวัฒน์, 2542) • 1. พวกออกฤทธิ์สั้น (ให้ทุก 4-6 ชม.) • ยากลุ่มนี้ถูกดูดซึมได้ดี สามารถผ่าน blood brain barrier ได้แต่ไม่จับกับโปรตีนในกระแสเลือด ทำให้ถูกขับออกทางไตได้เร็วมาก • เหมาะสำหรับใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทั่วไปและไตอักเสบ • ตัวอย่างเช่น Sulfadiazine, Sulfisoxazole, Sulfamerazine และ Sulfamethazine • นอกจากนี้มี Sulfonamide mixture ซึ่งเป็นการรวมยา Sulfa 2-3 ชนิดเข้าด้วยกันเพื่อลดการเกิด crystalluria โดยทำให้เกิดสภาวะเป็นด่างมากขึ้น และการรวมยาบางตัวเข้าด้วยกันจะออกฤทธิ์เป็นแบบ additive effect ด้วย Sulfanomides

  11. 2. พวกออกฤทธิ์นาน • ยาพวกนี้ถูกดูดซึมได้เร็วมาก แต่การขับถ่ายช้ามาก เนื่องจากยารวมกับโปรตีนได้สูง (ร้อยละ 85) ทำให้ไม่สามารถถูกขับออกทางไตได้ • ข้อดีคือ ยามีฤทธิ์อยู่ได้นาน ให้ยาเพียงวันละ 1-2 ครั้งและให้ในขนาดที่ไม่สูง เหมาะจะใช้ในรายติดโรคแบบเรื้อรัง แต่ข้อเสียคือไม่เหมาะจะใช้ในการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน และต้องระวังปัญหาจากผู้แพ้ยา รวมทั้งไม่ควรใช้ในรายไตเสื่อม • ตัวอย่างยาเช่น Sulfamethoxypyridazine, Sulfadimethoxine และ Sulfadoxine + pyrimethomine (ซึ่งใช้รักษาโรคมาเลเรีย) Sulfanomides

  12. 3. พวกออกฤทธิ์ปานกลาง • บางตำราจัดอยู่ในพวกออกฤทธิ์นาน แต่ดูดซึมและขับถ่ายช้ากว่า รวมทั้งละลายน้ำได้ยากกว่าด้วย • ยาพวกนี้ จะมีการนำไปใช้ร่วมกับ Trimethoprim ทำให้ออกฤทธิ์ดีขึ้นและแบคทีเรียดื้อยาได้น้อยลง • ตัวอย่างยาเช่น Sulfamethoxazole + Trimethoprim (Co-trimoxazole) Sulfanomides

  13. 4. .พวกถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้น้อย • พวกนี้ถูกดูดซึมได้เพียงร้อยละ 5 จึงเหมาะจะใช้รักษาการติดเชื้อในลำไส้ แต่มีข้อเสียคือจะทำลาย normal flora ทำให้มีผลถึงการขาดไวตามิน K และไวตามิน B รวม • ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Sulfaguanidine, Phthalylsulfathiazole, Succinyl sulfathiazole, Sulfasalazine เป็นต้น Sulfanomides

  14. 5. พวกที่ใช้เฉพาะที่ • ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะทำให้เกิดการแพ้ยาแบบ sensitization • ตัวอย่างเช่น Sodium sulfacetamide ใช้เป็นยาหยอดตา Silver sulfadiazine ใช้เป็นยาทาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก • 6. พวกที่ใช้กับโรคเฉพาะ • ตัวอย่างเช่น Sulfapyridine ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ Sulfasalazine ใช้รักษาลำไส้อักเสบเป็นแผลหลุม Sulfanomides

  15. ฤทธิ์ยาทางเภสัชจลนศาสตร์ฤทธิ์ยาทางเภสัชจลนศาสตร์ • 1. การดูดซึม • ยาถูกดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร (ยกเว้นพวกที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่) มียาบางชนิดถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารได้ แต่ประมาณ 70-100% ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ระดับยาจะสูงสุดในเลือดใช้เวลา 2-6 ชม. ขึ้นกับชนิดของยา Sulfanomides

  16. 2. การกระจาย • ยาจับกับโปรตีนได้สูง และขึ้นกับชนิดของยาด้วย (45-98%) หลังจากยาจับกับโปรตีนจนอิ่มตัวแล้วยาจึงสะสมในกระแสเลือดจนถึงขนาดที่ออกฤทธิ์ได้ • ยากระจายไปได้ทั่วร่างกายได้ดี รวมทั้งผ่าน blood-brain barrier ผ่าน placental barrier และออกมากับน้ำนมได้บ้าง Sulfanomides

  17. 3. การขับออก • ยาเกิด conjugation ที่ตับและถูกขับออกกับปัสสาวะ • sulfonamides ละลายน้ำได้น้อยจึงสามารถตกตะกอนที่ไต ทำให้เกิดผลึกในปัสสาวะเรียกว่าเกิดอาการ crystalluria ทำให้เกิดอันตรายต่อไตและอุดทางเดินปัสสาวะ • หากเพิ่ม pH (ด่าง) ของปัสสาวะจะเพิ่มการละลายของยา และ metabolites จะเพิ่มการขับออก (โดยให้ sodium bicarbonate, sodium citrate) • ส่วน carnivores, herbivores ปัสสาวะเป็นด่างอยู่แล้ว Sulfanomides

  18. ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ • พิษต่อไตตามที่กล่าวมาแล้ว • ทำให้เกิดโลหิตจางเนื่องจากเกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ในบางราย • มีรสขม สัตว์ไม่ชอบกิน • ไม่สามารถให้ร่วมกับการให้ไวตามินบี • ยาหลายชนิดมีการสะสมในผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น เนื้อ ไข่ นม • ยาซัลฟามักมีผลข้างเคียงทำให้ไข่ลด Sulfanomides

  19. การใช้ยา • ยา sulfa ที่ผลิตเพื่อใช้ในสัตว์นั้นมีมากกว่ายาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นๆ ตัวยาที่มีรูปแบบการผลิตมากและเป็นที่นิยมใช้สูงสุดคือ Sulfamethazine สามารถให้ได้ทั้งการฉีดและการกินในสัตว์ทุกชนิด แนะนำให้ยาครั้งแรกโดยฉีดเข้าหลอดเลือดในขนาด 100 มก./กก. แล้วตามด้วยการให้กินยาในขนาดที่ลดลงครึ่งหนึ่งคือ 50 มก./กก. ทุก 12 ชม. • ยามี side effects ดังนั้นจึงนิยมใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ๆ ก่อน และควรใช้ยาในช่วงต้นของโรค เพราะหากโรคลุกลาม ยาจะแข่งกับ PABA ได้น้อยลง • ให้ได้ทั้ง parenterally, orally และ topically Sulfanomides

  20. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดการฉีดยาเข้าหลอดเลือด • มักให้ในกรณีมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง • ต้องระวังในการฉีดยาเพราะยามักอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง หากเกิดยารั่วจากเส้นเลือด จะมีผลทำให้เกิดความระคายเคืองจนถึงเกิดเป็นเนื้อตายในบริเวณที่ฉีดได้ • ยาจะออกฤทธิ์เร็วมากและถูกขับออกอย่างรวดเร็ว • ยาที่ให้โดยวิธีนี้ต้องระวังเรื่องการเกิดตกผลึกในท่อไต โดยการเดินยาอย่างช้าๆ • ไม่แนะนำให้ยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดหลายครั้งติดต่อกัน หลังจากที่ให้โดยการฉีดในครั้งแรกแล้ว ควรให้ยาโดยการกินในครั้งต่อๆไป Sulfanomides

  21. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนังการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง • ต้องเลือกยาที่มี pH เป็นกลาง หากใช้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะระคายเคืองและเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด การฉีดยาเข้าช่องท้อง • จะต้องเป็นยาที่ดูดซึมเร็ว • ไม่ใช้ยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง Sulfanomides

  22. การให้ยาเข้ามดลูก • ใช้ฉีดเข้าไปในรูปของสารละลายหรือสอดเข้าช่องคลอดในรูปของยาลูกกลอน ซึ่งมาลินี (2540) แนะนำให้ผสมยูเรียในตัวยาด้วยจะทำให้ยาซัลฟาสามารถละลายได้ดีขึ้นและลดการรวมตัวกับโปรตีนในเลือด ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น การให้ยาเฉพาะแห่ง • มักไม่ค่อยได้ผลเนื่องจาก เลือด น้ำหนอง ตลอดจนเนื้อตายสามารถทำลายฤทธิ์ยา ยกเว้น Sulfacetamideที่อยู่ในรูปสารละลายและขี้ผึ้งที่ได้มีการทดสอบแล้วว่าให้ผลดีต่อการรักษาการติดเชื้อที่นัยน์ตา Sulfanomides

  23. การให้กินยา • เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดและสามารถดูดซึมได้ดีทั้งในสัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์กระเพาะรวม แต่ต้องระวังฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ในการทำลาย normal flora ในสัตว์กระเพาะรวม และการให้กินยานานๆจะทำให้สัตว์เกิดการขาดวิตามินเคและวิตามินบีได้ Sulfanomides

  24. ตารางแสดงขนาดและวิธีให้ยาในกลุ่ม Sulfonamides(มาลินี, 2542) Sulfanomides

More Related