1 / 42

เทคนิคการสอนงาน

เรียนรู้ ทำตาม ดูแลผล. เทคนิคการสอนงาน. กุญแจสำคัญสู่การพัฒนาคน สร้างคุณภาพงาน. OJT FIT FOR YOU. สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. มีนาคม 2546. เทคนิคการสอน ทำให้การเรียนรู้ได้ง่าย ทั้งความรู้ในเรื่อง เชิงทฤษฎี เชิงปฏิบัติ และเชิงผลลัพธ์. สารจากกจก. ปูนท่าหลวง. เรียบง่ายสบายใจ Easy & Enjoy

beulah
Download Presentation

เทคนิคการสอนงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรียนรู้ ทำตาม ดูแลผล เทคนิคการสอนงาน กุญแจสำคัญสู่การพัฒนาคน สร้างคุณภาพงาน OJT FIT FOR YOU สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ มีนาคม 2546 เทคนิคการสอน ทำให้การเรียนรู้ได้ง่าย ทั้งความรู้ในเรื่อง เชิงทฤษฎี เชิงปฏิบัติ และเชิงผลลัพธ์

  2. สารจากกจก. ปูนท่าหลวง เรียบง่ายสบายใจ Easy & Enjoy ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เทคนิคการสอนงาน (88 หน้า) 1. การสอนงาน 2. แนวพุทธ นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ( ท่าหลวง ) จำกัด จ. สระบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2546 จำนวน 1,000 เล่ม ISBN 974-912161-9-X ด้วยบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด มีนโยบายที่จะ เพิ่มความปรีชาสามารถของพนักงานทุกระดับเพื่อเป็นทั้งคนเก่งและ คนดีอันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในภาวะการแข่งขันสูงในยุคปัจจุบัน โดยใช้วิธีการสอนในระหว่างที่ทำงาน ซึ่งจะสอนได้ตรงจุดตรงเป้าตาม เนื้องานได้มากกว่าการสอนด้วยการบรรยายอย่างเดียว การสอนคนนั้นเหมือนช่างปั้นหม้อ ต้องสอนแล้วสอนอีก บ่อย ๆ จนกว่าจะเข้าไปอยู่ในจิตใจ เหมือนการปั้นหม้อที่จะต้องทุบแล้ว ทุบอีกจนกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยตามที่ต้องการ สำหรับการเรียนนั้นก็เหมือนการเก็บก้อนกรวดก้อนหินที่ อาจคิดว่าไม่มีค่า แล้วเอาไปเจียรไนภายหลังให้เป็นเพชรพลอยที่พร้อม จะขึ้นเรือนขึ้นแหวน ด้วยบริษัทฯ เห็นว่า ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างก็เป็นพนักงาน ในบริษัทฯ ทุกระดับ จึงจำเป็นต้องให้พนักงานรู้หลักเทคนิคการสอน ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้ นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ผู้จัดการส่วน เหมือง เขียน “เทคนิคการสอนงาน” ขึ่นมา โดยใช้หลักการทาง พุทธศาสนามาประยุกต์ใช้งานโดยใช้ภาษาง่าย ๆ นายสมเกียรติ พันธุ์อนุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด มีนาคม 2546 Download ไฟล์นี้ ได้ที่เว็บไซต์ พุทธวิธีบริหาร (ก)

  3. สารจากผู้จัดการส่วนบุคคลสารจากผู้จัดการส่วนบุคคล คำปรารภจากผู้เขียน ด้วยปูนท่าหลวง มีนโยบายจะเพิ่มพูนความรู้ทักษะความ สามารถให้กับพนักงานทุกระดับ โดยเน้นไปที่วิธีการสอนแบบในงาน นั่นคือ การสอนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตรงจุด ตรงเป้าแห่งภารกิจของ งาน โดยใช้สถานที่ทำงานเป็นหลัก ผู้สอนก็อาจเป็นเพื่อนเป็นนาย หรือ เป็นลูกน้องก็ได้ หากคิดว่าสิ่งที่สอนทำให้คน ๆ หนึ่ง รายบุคคลสามารถ ทำงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น แข่งขันได้ อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ในการสอนก็มีอยู่ในหน้างานแล้ว ไม่ต้องไปเตรียมการอะไรมากนัก ผู้เขียนเล็งเห็นว่าวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าเป็นการสอน แบบในงานเหมือนกัน และอาจจะลึกซึ้งมากกว่าในบางเรื่องที่เกี่ยวกับ สัมพันธภาพของผู้เรียน ผู้สอน จังหวะเวลา อุปกรณ์การสอนในธรรม ชาติ เป็นต้น จึงขอนำเสนอมาให้ลองอ่านและพิจารณาดู โดยใช้ภาษา แบบเรา ๆ ใช้สำนวนที่ประยุกต์ให้เข้ากับงาน แล้วเลี่ยงภาษาบาลี อธิบาย คิดว่าคงจะเห็นลีลาการสอนเชิงพุทธมีประโยชน์เหมือนที่ ผู้เขียนเห็น นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ผู้จัดการส่วนเหมือง ปูนท่าหลวง มีนาคม 2546 การพัฒนาพนักงานและผู้รับเหมาให้มีความรู้ความสามารถ จำเป็นต้องมีการสอนให้ความรู้ในเรื่องของงานและแนวคิดของธุรกิจ อันจะนำไปสู่ความปรีชาสามารถในการแข่งขันยุคโลกาภิวัฒน์ เทคนิคการสอนงานสามารถช่วยทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจได้เร็วขึ้น และไม่ผิดพลาด โดยใช้ เทคนิคให้เหมาะสมกับบุคคล กาลเวลา โอกาส และสถานที่ หนังสือที่ ผจส.สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ เขียนขึ้นมานี้ ทำ เพื่อใช้เป็นที่คู่มือเสริมความรู้ของการทำ OJT ของปูนท่าหลวง เพื่อ เสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนของพนักงานและผู้รับเหมา นายสมชาย เดชนิมิตรชัย ผู้จัดการส่วนบุคคล ปูนท่าหลวง มีนาคม 2546 (ข) (ค)

  4. สารบัญ คำขวัญ สารจากกจก.ปูนท่าหลวง (ก) สารจากผู้จัดการส่วนบุคคล (ข) คำปรารภจากผู้เขียน (ค) คำขวัญ (ง) สารบัญ (จ) 1. หมวดแนวคิดที่ต้องเรียนรู้ 1 เรียนรู้ศึกษาอบรมเรื่องอะไร 2 การเรียนรู้ 6 ระดับ 3 ความรู้กับปัญญา 4 มุมมองผู้สอนผู้เรียน 5 จุดหมายของการสอน 6 องค์ประกอบของการสอน 7 ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ 8 2. หมวดเนื้อหาที่จะสอน 9 เนื้อเรื่องที่สอน 10 3. หมวดครูผู้สอน11 ใครคือครูของเรา 12 คุณสมบัติของผู้สอนที่ดี 13 ลักษณะผู้สอนที่หาได้ยาก 14 คุณสมบัติของครูผู้สอน 15 เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี คำขวัญวันเด็กปี 2546 นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ฝึกตน พ้นอบาย เรียบง่าย สบายใจ คำขวัญประจำตัวของนายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ (ง) (จ)

  5. สารบัญ (ต่อ) สารบัญ (ต่อ) นิสัยครูที่ยิ่งใหญ่ที่พึงมี 16 คุณธรรมของผู้สอน 17 ตัวผู้สอน 18 4. หมวดผู้เรียน19 ตัวผู้เรียน 20 การปฏิบัติต่อผู้สอน 21 แนวทางการฟังในการเรียนรู้ 22 ผู้เรียนต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย 23 บุคคลที่กำลังทำกิริยา 16 ประการที่ไม่ควรสอน 24 ผลจากการฟัง 25 5. หมวดวิธีการสอน 27 ปรัชญาของการสอน 28 ความยากในการสอน 29 วิถีการสอน 31 ลำดับขั้นตอนในการสอน 32 เทคนิคต่าง ๆ ในการสอน 33 เทคนิคการสอนตามแนวกระบวนการแก้ปัญหา 34 กลวิธีอุบายประกอบการสอน 35 หลากหลายวิธีการสอน 36 ลีลาการสอน 37 หลักธรรมการแสดงคำสอน 5 ประการ 38 หลักการสอน 39 วิธีสอนแบบวิธีดักใจ 40 วิธีสอนแบบวิธีดักใจของเซ็น 41 วิธีสอนแบบใช้เทคนิคพิเศษ 42 วิธีการสอนแบบปาฏิหาริย์ 43 วิธีการสอนคนบัว 4 เหล่า 44 การสอนในชีวิตการทำงาน 45 แนวทางการสอนในงานต่าง ๆ 46 แนวทางการสอนให้ถึงจุดหมาย 47 “เล่นเรียน” การสอนแบบไม่สอน 48 การสอนแบบฉากเรื่องราว 49 วิธีการตอบปัญหา 50 6. หมวดวิธีการเรียน51 หลักการเรียนที่ให้ผลสัมฤทธิ์ 52 เทคนิคการเรียนเพื่อการเข้าใจที่ดีขึ้น 53 (ฉ) (ช)

  6. สารบัญ (ต่อ) เทคนิคการสอนงาน ศิลปะการถ่ายทอด อุบายสอนคน ลีลาการสอน 7. หมวดสถานที่เรียน 55 สถานที่เหมาะสำหรับการสอน 56 สถานที่เหมาะสำหรับการสอน 7 สบาย 57 สถานที่ไม่เหมาะสำหรับการสอน 58 8. หมวดส่งท้าย 59 ความปรีชาสามารถที่องค์กรต้องการ 60 คิดแบบหมวก 6 ใบ 61 สิงโตสอนลูก 63 หน้าที่ของครูและศิษย์ 64 น้ำใสใบยอกอไผ่ไข่เน่า 65 บันได 5 ขั้น ของการสอนงาน 66 เทคนิคการสอนเหมาะสำหรับใคร 67 คำคมท้ายเล่ม 68 สรุปความ 69 หนังสืออ้างอิง 70 อุดมการณ์ 4 ประการ ของเครือซิเมนต์ไทย เราเชื่อมั่นในคุณค่าของคน เราจึงคิดว่าคนสามารถได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่งและเป็นคนดีได้ ด้วย … เทคนิคการสอนงาน (ซ) (ฌ)

  7. เรียนรู้ศึกษาอบรมเรื่องอะไรเรียนรู้ศึกษาอบรมเรื่องอะไร การศึกษาคือ “กระบวนการเรียนรู้ความจริงระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปในทางดีในตัวผู้รู้เอง ในคนอื่นและในสิ่งแวดล้อม” แนวทางประยุกต์ในการทำงานในองค์กรมีดังนี้ การเรียนรู้คือ “กระบวนการเรียนรู้หลักการทำงานของพนักงานใน ระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น อันจะนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงาน ภารกิจจนเกิดผลดีต่อองค์กร และสังคม” การเรียนรู้ 3 ด้าน มีดังนี้ 1. เรียนด้านความรู้และภูมิปัญญา 1.1 หลักแห่งความจริงตามธรรมชาติ 1.2 เทคนิควิชาการที่เกี่ยวข้องกับงาน 1.3 เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานและของตน 1.4 แนวทางเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย 2. เรียนด้านการปฏิบัติ 2.1 วิธีการปฏิบัติงานจริง 2.2 วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2.3 วิธีการป้องกันปัญหา 3. เรียนด้านผลลัพธ์ 3.1 วิธีการวิเคราะห์ แปลผลลัพธ์ 3.2 วิธีการตรวจรับงาน 3.3 วิธีการนำบทเรียนไปสู่ภูมิปัญญาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ อ้างอิง : “การศึกษาคืออะไร” วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม 1 หมวดแนวคิดที่ต้องเรียนรู้ (2) (1)

  8. การเรียนรู้ 6 ระดับ ความรู้กับปัญญา การสอนก็เพื่อให้รู้ อยากรู้ก็ต้องเรียน รู้แล้วก็เอาไปใช้งาน เพื่อ ทำให้เกิดประโยชน์ การเรียนก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาสอนทั้งหมด หลายอย่างก็ต้องเรียนรู้เอง การเรียนรู้มี 6 ระดับ ดังนี้ 1. รู้อารมณ์ โดยการใช้การเห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส กายสัมผัส และสร้างภาพ ซึ่งจะรู้จากสิ่งใกล้ตัว 2. รู้จำ รู้โดยจำได้หมายรู้จากรูป เสียง รส สัมผัส กลิ่น ภาพในใจ ส่วนใหญ่ จำได้ทันที หลายครั้งก็ต้องนึกก่อน จึงจะจำได้ 3. รู้จิต ด้วยมโนทัศน์ รับรู้ด้วยใจอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ สามารถรู้สิ่งที่เกิดขึ้นไกลๆได้ บางครั้งระลึกชาติได้ สิ่งนี้มักเกิดจาก บุญเก่าและการเข้าสมาธิ 4. รู้คิดเห็น ด้วยความคิดเห็น เป็นภาพรวบยอดของคน ของปัญหา คิดเห็น อย่างไรก็ทำอย่างนั้น ซึ่งความคิดเห็นนั้นมาจากการฟัง การคิด และการทำ ใจสงบๆ รู้แบบนี้สำคัญที่สุดในการสอน 5. รู้เพ่ง เป็นความรู้จากการเพ่งเฉยๆ ไปที่สิ่งนั้นๆ โดยไม่ต้องคิดหาเหตุผล (ความคิดหาเหตุผลจะปิดความเห็น) การรู้เพ่งจะเกิดจากจิตไร้สำนึก เหนือ การควบคุมของปัญญา อยู่ดีๆ ความรู้ก็จะแว๊บเข้ามา วิธีนี้ควรใช้บ่อยๆ 6. รู้จริง เป็นการรู้หลักความจริงสัจจะสูงสุด พร้อมทั้งรู้ว่าได้ทำ 3 ระยะ แล้ว มี รู้ถึงเหตุปัญหาแล้ว รู้ว่าได้ทำแล้ว และรู้ว่าผลเกิดขึ้นแล้ว อ้างอิง : “ความรู้ระดับต่างๆ” วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม 1. ความรู้ เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการฟัง การเรียน การเล่น เป็นความรู้จากการ รวบรวมสิ่งรู้ เป็นคลังเก็บความรู้ โดยทั่วไปมักจะเรียกว่าวิชา เช่น ภูมิศาสตร์ 2. ปัญญา เป็นความรู้ประเภทเข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้คัดเลือก รู้วินัย รู้ที่จะจัด การ ในการสอนนั้น ผู้สอนจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความรู้ และเกิดปัญญา ด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในการทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างดีงาม อ้างอิง : “สุตะ และปัญญา“ พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต (4) (3)

  9. จุดหมายของการสอน มุมมองผู้สอนผู้เรียน การสอนมีจุดหมายหลายระดับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน เดิมว่าเป็นระดับใด และต้องการไปสู่จุดหมายระดับใด จุดหมายมี 5 ระดับ ดังนี้ 1. ขั้นแก้อาการดับอาการ (ดับเพลิง) ทำให้เกิดการบรรเทา ลดอาการทุรนทุราย เป็นการแก้ปัญหา ชั่วคราว 2. ขั้นสะกดไว้ข่มใจไว้ (ทำให้เชื้อเพลิงชื้น) ทำให้ปัญหาหมดไปโดยการสะกดไว้ ข่มเอาไว้ แต่เหตุรากเหง้ายัง อยู่ 3. ขั้นหมดอยาก (แยกเชื้อเพลิงออกจากเชื้อไฟ) แก้ปัญหาได้เด็ดขาด ไม่กลับมาเกิดอีก โดยการดับเหตุรากเหง้า ของปัญหา 4. ขั้นไม่ไปเห็นอีกแล้ว (ไม่มีเชื้อเพลิง เชื้อไฟอีกแล้ว) แก้ปัญหาได้ด้วยความสงบ ปัญหาไม่เกิดเพราะมีภูมิคุ้มกันแล้ว ทุก ๆ เหตุปัจจัย 5. ขั้นก้าวพ้นเหตุปัจจัยแล้ว (เลิกใช้เชื้อเพลิง เชื้อไฟอีกแล้ว) แก้ปัญหาโดยการออกไปอย่างถาวร ถึงเห็นก็ไม่นึกอยาก ออกจาก กรอบเดิม ๆ แล้ว อ้างอิง :วิถีนักเทศน์ โดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี มุมมองผู้สอน เราจะสอนไปทำไม เพื่ออะไร (จุดหมาย) เราจะสอนอะไร (หัวข้อเรื่อง) เราจะสอนใคร (ผู้เรียน) เราจะสอนเมื่อไร นานเท่าใด (กาละ) เราจะสอนที่ไหน (เทศะ) เราจะสอนอย่างไร (เทคนิคการสอน) มุมมองผู้เรียน เราจะเรียนไปทำไม (จุดประสงค์) เราจะเรียนอะไร (เรื่องที่สนใจ) เราจะเรียนจากใคร (การเลือกครู) เราจะเรียนเมื่อไร นานเท่าใด (ความพร้อม) เราจะเรียนที่ไหน (สถานที่เรียน สำนักอบรม) เราจะเรียนอย่างไร (เทคนิคการเรียน) อ้างอิง : นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ (5) (6)

  10. องค์ประกอบของการสอน ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ เมื่อเรียนรู้จากการสอน หรือรู้เองแล้ว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ตัวผู้รู้ 5 ด้าน ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ปัญหา เมื่อรู้แล้วก็สามารถแก้ปัญหาตาม เหตุ ถ้าชำนาญมาก ๆ ก็จะแก้ปัญหาได้เร็ว 2. จิตใจเบาสบาย เมื่อรู้เท่ากัน ก็ไม่ไปยึดกับสิ่งนั้นมาก ไม่หลงมาก รู้ วิธีแก้แบบ ไม่ต้องไปเบียดเบียน หรือโกรธคนอื่น ตรงไปตรงมาแต่มี กลยุทธ์ ยิ่งเรียนต้องยิ่งเบา ไม่ใช่ยิ่งหนัก 3. อารมณ์สงบ ไม่วุ่นวายใจ เพราะรู้วิธีการที่จะเข้าไปควบคุมสิ่งนั้น หรือจัดการสิ่งนั้น ๆ อารมณ์ก็จะสงบสุข 4. ทัศนคติต่อโลกเชิงบวก คิดสงสาร อยากช่วยเหลือ มากกว่าไปคิด อิจฉาริษยา “เราพ้นแล้ว แต่เขาซิยังตกอยู่ในบ่ออยู่เลย” 5. พฤติกรรมสง่างาม มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบให้ ชอบช่วยเหลือ ท่า ทางองอาจสง่างาม เพราะมั่นใจ อ้างอิง :“สิ่งที่มีค่าควรรู้” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม องค์ประกอบทั่วไปในการสอนมี 3 ด้าน คือ 1. เนื้อเรื่องที่สอน 2. ตัวผู้เรียน 3. ตัวผู้สอน (7) (8)

  11. เนื้อเรื่องที่สอน 1. เรื่องที่เห็นอยู่แล้วให้สอนจากง่ายไปหายาก ให้เริ่มจากสิ่งที่เข้า ใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เข้าใจได้ยาก หรือเริ่มจากผลไปหาเหตุ 2. เรื่องที่ยากๆให้สอนลงลึกไปตามตามลำดับ ลงไปทีละขั้น ๆ ต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป แบบน้ำตกลงทีละขั้น 3. เรื่องที่แสดงได้ให้สอนด้วยของจริง โดยพาไปเห็นของจริง สัมผัส เอง รู้เอง เพ่งดูการเปลี่ยนแปลงเอง 4. สอนตรงจุด ไม่วกวน ไม่ออกนอกเรื่องจนไขว้เขว 5. สอนมีเหตุมีผล ตรงตามที่เห็นจริงได้ 6. สอนเท่าที่จำเป็นพอดี ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ 7. สอนแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ต่อตัวเขาเอง หากไม่มีประโยชน์ก็ไม่สอน ตลอดจนต้องหาจังหวะเวลาที่สอนด้วย อ้างอิง :“หลักทั่วไปในการสอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 2 หมวดเนื้อหาที่จะสอน (9) (10)

  12. ใครคือครูของเรา ครู คือ ผู้ที่สอนเรา เพื่อให้เราเป็นคนดี และคนเก่ง ใครคือครูของเรา มีดังนี้ 1. พ่อแม่ เป็นครูคนแรกที่สอนเราให้เดิน ให้กิน ให้อยู่ได้ในสังคม 2. ครูในโรงเรียน ที่สอนวิชาต่าง ๆ ให้เรา 3. พระพุทธเจ้า คือ ครูเรา ที่สอนหลักการและวิธีการในการดำรง ชีวิตให้อยู่อย่างปกติสุข 4. พระธรรม คือ ครูเรา เพราะเราได้อ่าน หากเราเชื่อ เราก็ปฏิบัติ ตาม 5. พระสงฆ์ คือ ครูของเรา ที่เทศนาสั่งสอนให้เราเป็นคนดี 6. หนังสือตำราต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของครู หรืออาจารย์ถ่ายทอด ความรู้ลงในตัวอักษรให้เราอ่าน 7. บทเรียนจากการทำงาน คือ ผิดก็เป็นครู และถูกก็เป็นครู 8. เพื่อนร่วมงานคือ ครูเรา มีทั้งนาย เพื่อน และลูกน้อง 9. แม้บางครั้งเราก็เป็นครูของตัวเอง คิดเอง รู้เอง และปฏิบัติตาม เอง อ้างอิง : สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ 3 หมวดครูผู้สอน (11) (12)

  13. คุณสมบัติของผู้สอนที่ดีคุณสมบัติของผู้สอนที่ดี ลักษณะผู้สอนที่หาได้ยาก คุณสมบัติของผู้สอนที่ดี มี 2 ส่วน คือ บุคลิกภาพ และคุณธรรม 1. บุคลิกภาพ เพื่อสร้างความน่าเลื่อมใส ชวนให้น่าเรียนด้วย และสร้าง บรรยากาศในการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมี 3 อย่างดังนี้ 1.1 มีบุคลิกภาพร่างกายสง่างาม 1.2 เสียงไพเราะ วาจาสุภาพ สละสลวย มีคุณลักษณะ 8 อย่าง คือ แจ่มใส ชัดเจน นุ่มนวล ชวนฟัง กลมกล่อม ไม่พร่า ซึ้ง กังวาน 1.3 กิริยามารยาททุกอย่างงดงาม น่าเลื่อมใส มีคุณสมบัติผู้ดี องอาจ สง่างาม สงบ เยือกเย็น 2. คุณธรรม ผู้สอนต้องมีลักษณะ 3 อย่าง ดังนี้ 2.1 ปัญญาลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจของผู้เรียนว่าผู้สอนเก่ง พอที่จะสอนเขาได้ 2.2 บริสุทธิ์ลักษณะ เพื่อทำให้ผู้เรียนไม่ระแวงว่าผู้สอนมีเจตนา อำพรางซ่อนเร้นที่มาสอนเพื่อหาผลประโยชน์อันใด 2.3 กรุณาลักษณะ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่า ผู้สอนเป็นที่ พึ่งได้ ตั้งใจมาช่วยเหลือแก้ปัญหาได้จริง ๆ ทั้งในเรื่องการเรียน การงาน และชีวิตเขา อ้างอิง :“คุณสมบัติของผู้สอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 1. สอนสิ่งที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง 2. เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้สมบูรณ์ 3. สอนด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคำสอนเป็นที่ตั้ง โดยไม่หวัง ผลตอบแทน 4. ทำได้จริงอย่างที่สอน เป็นตัวอย่างที่ดีได้ 5. มีบุคคลิกภาพโน้มน้าวจิตใจเข้าใกล้ชิด สนิทสนม และพึงพอใจ ได้ความสุข 6. มีหลักการสอนและวิธีการสอนยอดเยี่ยม “ สอนคนให้เชื่อฟัง พอพวกเขาศรัทธา เขาก็ปฏิบัติตาม โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมาย บังคับ” อ้างอิง : “พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต (13) (14)

  14. นิสัยครูที่ยิ่งใหญ่ที่พึงมีนิสัยครูที่ยิ่งใหญ่ที่พึงมี คุณสมบัติของครูผู้สอน 1. เป็นนักสังเกตุ เพื่อให้เกิดความรู้จากการพิจารณาธรรมชาติ 2. เป็นนักคิดเหตุผล หาความจริงรวบยอดที่อยู่เบื้องหลัง หาตรรกะ หาอุปมัย อุปมาน 3. เป็นนักเสียสละ เช่น อำนาจ คนรัก ทรัพย์ ความสุขสบาย 4. เป็นนักพิสูจน์ทดลอง เพื่อหาวิธีการที่ถูกต้อง และเป็นความจริง จากคำสอนของผู้อื่น หรือของตน 5. เป็นนักทำงานเพื่อส่วนร่วม หาเวลาสั่งสอนถึง 7 เวลา ในแต่ละวัน มีแต่เช้ามืด เช้าตรู่ สาย เที่ยง บ่าย ค่ำ และดึก 6. เป็นครูชั้นยอด ครูปกติจะสอนความรู้ได้เพียง 2 ระดับ คือ ขั้นจำ และ ขั้นความเห็น ครูพิเศษต้องสอนความรู้ได้ถึง 6 ระดับ 7. มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ โดยสนทนาปราศัย แลกเปลี่ยนกับ คนมีแนวคิดอื่น ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ 8. เป็นนักปฏิบัติและนักปฏิรูป ให้คิดใหม่ ทำใหม่ 9. เป็นนักบริหาร ใช้เวลาสั้น ๆ ในการสอนให้บรรลุความรู้ได้หลายคน มีรูปแบบการเผยแพร่ความรู้ มีการประชุมเพื่อสื่อสาร และทบทวน ความจำเป็นระยะ ๆ ให้นับถือผู้อาวุโส ทำอะไรก็เป็นหมู่เหล่า เน้นการมี ส่วนร่วม สามัคคี ควบคุมดูแลซึ่งกันและกัน อ้างอิง : “พระพุทธเจ้า-ครูตัวอย่าง” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม ครูที่ดีควรมีคุณสมบัติ 7 ประการ ดังนี้ 1. มีความกรุณา สงสารศิษย์ การสอนมุ่งช่วยศิษย์ให้พ้นทุกข์ โดยไม่ หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 2. ไม่ถือตัวไม่หยิ่งยโส เพื่อความรู้ของศิษย์แล้วไปไหน ๆ ก็ได้ นั่งที่ ไหนก็ได้ พบกับใครก็ได้ ยอมฟันฝ่าเข้าไปสอน แม้นว่าจะเป็นสิ่งสกปรก หรือเป็นผู้ป่วยโรคร้าย 3. มีความอดทนใจเย็น แม้จะถูกรุกรานด้วยคำหยาบคาย เหยียด หยาม ก็ตาม ก็จะทำใจเป็นปกติ 4. มีความยุติธรรมไม่เห็นแก่หน้า แม้ว่าคนที่มาเชิญไปสอน มียศศักดิ์สูงกว่า ก็ไม่ปฏิเสธศิษย์ต่ำต้อยที่มาเชิญก่อน 5. มีความรอบคอบ พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ไม่รับตัดสินใจอย่าง หุนหันพลันแล่น สอนแต่สิ่งที่จริงและเป็นประโยชน์ โดยเลือกจังหวะเวลา สอนที่เหมาะสม 6. มีความประพฤติน่าเคารพบูชา ครูจะต้องเป็นทั้งผู้ชี้แนะ ผู้นำ และปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนสอน 7. รู้จักภูมิปัญญาของผู้เรียน รู้จักระดับสติปัญญาของผู้เรียน แล้วปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม อ้างอิง :“คุณสมบัติของครูตามแบบอย่างพระพุทธองค์” วิธีการสอนของพระ พุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม (15) (16)

  15. คุณธรรมของผู้สอน ตัวผู้สอน 1. ปัญญาลักษณะ (เก่งพอที่จะสอน) มี 2 อย่าง คือ 1.1 รอบรู้ 10 อย่าง คือ เข้าใจเนื้อหาและระดับบุคคล รู้พฤติกรรม มนุษย์ รู้กลวิธีเข้าสู่เป้าหมาย รู้ทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา รู้ความแตก ต่างบุคคล และความถนัด รู้ระดับสติปัญญา พัฒนาการ และความพร้อมรู้ รู้ปัจจัยที่เป็นตัวถ่วงและส่งเสริมการเรียนรู้ รู้ประวัติพื้นเพผู้เรียน สังเกตผู้ เรียนว่ามีปัญญาในชีวิตจริงและสาเหตุ สุดท้ายเป็นรู้เข้าใจ ผลสุดท้ายของ การเรียนคืออะไร อย่างไร และทำได้จริง 1.2 แตกฉาน 4 อย่างคือ เข้าใจความหมายชัด นำมาตั้งเป็นกระทู้ หัวข้อได้ ใช้ภาษาแสดงให้คนอื่นเข้าใจ และเห็นตามได้ และมีไหวพริบเข้า ใจและเชื่อมโยงความรู้ได้ 2. บริสุทธิ์ลักษณะ (สร้างความน่าเชื่อถือเลื่อมใส) มี 3 อย่าง คือ ไม่ กระทำความชั่วให้เป็นที่ตำหนิได้ สอนเขาอย่างไรก็ทำตัวแบบนั้น และสอน โดยเห็นประโยชน์ต่อผู้เรียน โดยปราศจากการหวังผลประโยชน์ส่วนตน หรือต้องการผลตอบแทนใด ๆ 3. กรุณาลักษณะ (สร้างความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร) 3.1 ใช้หลักสติสัมปชัญญะ และอุเบกขาในการสอน 3.2 ใช้หลักกัลยาณมิตร 7 อย่างคือ น่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง รู้จักพูด อดทนต่อถ้อยคำ ชี้แจงเรื่องลึกซึ้งได้ และไม่สอนในทางเสื่อม 3.3 จัดเวลาสอนในกิจวัตรประจำวัน 3.4 ไม่เลือกปฏิบัติในการสอนกับคนในฐานะต่าง ๆ อ้างอิง :“คุณสมบัติของผู้สอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 1. เริ่มคุยเรื่องที่เขาสนใจแล้วนำไปสู่คำสอน พบช่างฟิตก็คุยเรื่อง เครื่องยนต์ พบคนควบคุมการผลิตก็ถามถึงผลผลิต แล้วก็เชื่อมสิ่งนั้นไปสู่คำ สอนที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน 2. สร้างบรรยากาศการสอนแบบปลอดโปร่งไม่ตึงเครียด เพื่อให้เกิด ความเพลิดเพลินไม่อึดอัดใจ ให้เกียรติผู้เรียน ให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง 3. สอนมุ่งเนื้อหาให้เกิดความรู้เป็นสำคัญ ไม่ควรสอนกระทบตนและ ผู้อื่น ไม่ยกตน ไม่เสียดสีใคร ๆ ไม่ดูหมิ่นคนที่เห็นเป็นอย่างอื่นที่เคยสอนกัน ไว้แต่เดิม ไม่รุกรานที่ประชุม 4. สอนโดยความเคารพจริงจังตั้งใจต่อผู้เรียน สร้างความรู้สึกว่าสิ่ง ที่สอนมีค่า ไม่สักแต่ว่าทำ หรือเห็นนักเรียนเป็นคนโง่เขลา ชั้นต่ำ ฐานะยาก จน หรือคนละระดับชั้น 5. สอนโดยสุภาพนุ่มนวล สบายใจ เข้าใจง่าย ใช้วาจาสุภาพ สละสลวย ไม่มีโทษ ฟังเนื้อความได้ชัดแจ้ง อ้างอิง : พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต (17) (18)

  16. ตัวผู้เรียน 1. สอนให้เหมาะกับประเภทบุคคล คนมีความแตกต่างและมีพฤติ กรรมต่างกัน (จริต 6) และเทียบคนกับบัว 4 เหล่า 2. ปรับวิธีการสอนให้เหมาะกับผู้เรียน แม้สอนเรื่องเดียวกัน อาจใช้ คนละวิธี 3. สอนให้เหมาะกับระดับของผู้เรียน เมื่อถึงเวลาในแต่ละช่วงแล้ว เขา ควรจะเรียนอะไร เรียนแค่ไหน สิ่งที่ต้องการให้เขารู้ เขาพร้อมที่จะเรียน ได้หรือยัง (สุกงอมพอ) 4. สอนโดยให้ลงมือทำ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจสัมผัสเอง ชัดเจน แม่นยำ และได้ผลจริง 5. สอนในรูปแบบร่วมมือกัน มีบทบาทร่วมกันในการหาความจริง แสดงความคิดเห็นเสรีมีอิสระ ส่งเสริมให้เขาคิด วิเคราะห์และพูด ผู้สอน เป็นเพียงชี้นำช่องทาง ผู้สอนจึงมักจะถามมากกว่าจะตอบ 6. เอาใจใส่พิเศษเป็นราย ๆ (บางครั้ง) ให้เกียรติเฉพาะ ให้แสดงความ เห็นในที่ประชุม ให้คนนั้นได้ประโยชน์เต็มที่ 7. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย คนมีปัญหา เพื่อแก้ปัญหาคนบางคน อ้างอิง :“หลักทั่วไปในการสอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 4 หมวดผู้เรียน (19) (20)

  17. การปฏิบัติต่อผู้สอน แนวทางการฟังในการเรียนรู้ 1. ไม่ดูถูกดูแคลนวิชาความรู้ที่ตนฟัง ว่าไร้สาระ ต่ำต้อย ไม่มีประโยชน์ 2. ไม่ดูถูกดูแคลนผู้สอน แม้นว่าเขาจะเป็นลูกน้องเรา คนงาน ก็สามารถ สอนวิชาที่เขาทำอยู่ให้เราได้ 3. ไม่ดูถูกดูแคลนตัวเอง ว่าไร้ความสามารถ ไม่สามารถเรียนได้ 4. ไม่กระสับกระส่ายขณะฟัง ตั้งจิตใจให้สงบ 5. ทำในใจโดยแยบคาย โดยพิจารณาให้ซาบซึ้ง อย่างละเอียดด้วย ปัญญาตนเอง อ้างอิง : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิปาต พระไตรปิฏกเล่มที่ 22 ข้อ 151 จากทฤษฎีและ เทคนิคการให้คำปรึกษาพุทธธรรม โดย มั่นเกียรติ โกศลนิรัตน์วงษ์ 1. เข้าไปหา 2. เข้าไปนั่งใกล้ 3. เงี่ยหูสดับคำของท่าน 4. ฟังความรู้จากท่าน 5. จำความรู้ที่ฟังนั้น 6. พิจารณาความรู้นั้นให้ดี 7. จงพิจารณานำไปปฏิบัติ 8. พยายามปฏิบัติ 9. ทำให้เกิดผลจากปฏิบัติ 10. ทำให้เกิดวิธีการบรรลุผลลัพธ์ และเป้าหมาย ให้แจ่มแจ้งชัดเจน อ้างอิง : มงคลคาถา จากทฤษฎีและเทคนิค การให้คำปรึกษาพุทธธรรม โดย มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์ (21) (22)

  18. ผู้เรียนต้องเป็นคนว่านอนสอนง่ายผู้เรียนต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย บุคคลที่กำลังทำกิริยา 16 ประการที่ไม่ควรสอน เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลร้าย เป็นอันตรายต่อผู้สอน จึงไม่ควรสอน บุคคลที่กำลังทำกิริยา 16 ประการ ดังนี้ 1. ไม่เจ็บป่วย แต่กางร่ม 2. ถือไม้พลอง 3. ถือศัสตรา 4. ถืออาวุธ 5. สวมเขียงเท้าหรือรองเท้าไม่มีส้น (รองเท้าแตะ) 6. สวมรองเท้ามีส้น รองเท้าบู๊ท 7. ไปในยานพาหนะรถเรือ 8. อยู่บนที่นอน 9. นั่งรัดเข่า 10. พันศรีษะ 11. คลุมศรีษะ หรือสวมหมวก 12. นั่งบนที่รองนั่ง แต่ผู้สอนนั่งพื้น 13. นั่งบนที่รองนั่งที่สูงกว่า 14. นั่งอยู่ แต่ผู้สอนยืน 15. เดินออกหน้าผู้สอน 16. เดินในทางแต่ผู้สอนเดินนอกทาง หมายเหตุ ข้อ 12 - 16 ยกเว้นกรณีคนนั้นป่วยไข้อยู่ อ้างอิง : ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษาพุทธธรรม โดย มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์ เพื่อแสดงว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังคำสอนพร้อมปฏิบัติ ตาม และทำให้ผู้สอนเกิดความเมตตา มีหลัก 16 ประการ ดังนี้ 1. ไม่ต้องการแอบแฝงที่ชั่วในการเรียน 2. ไม่ยกตนข่มผู้สอน 3. ไม่โกรธผู้สอน 4. ไม่ผูกใจเจ็บเมื่อถูกตำหนิ 5. ไม่ด่าคนอื่นขณะเรียน 6. ไม่พูดที่ก่อให้เกิดความโกรธ 7. ไม่โต้ตอบเมื่อถูกทักท้วงใส่ร้าย 8. ไม่รุกรานผู้ท้วงเมื่อถูกค้านใส่ร้าย 9. ไม่คิดทำโทษผู้พูดด้านใส่ร้าย 10. ถูกกล่าวใส่ร้ายก็ไม่ปกปิด 11. ไม่ย้อนถามความประพฤติเมื่อถูกพูดใส่ร้าย 12. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นบุญคุณผู้สอน 13. ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ 14. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา 15. ไม่กระด้าง ไม่ถือดี 16. ไม่ยึดมั่นความเห็นตน เมื่อยังไม่เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา “ผู้ตำหนิ หรือผู้ชี้บอกข้อบกพร่อง คือ ผู้ชี้บอกขุมทรัพย์” อ้างอิง :“ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่านอนสอนง่าย” การให้คำปรึกษาทฤษฎี และ เทคนิคการให้คำปรึกษาพุทธธรรม โดย มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์ (23) (24)

  19. ผลจากการฟัง หากผู้ฟัง มาฟังแล้ว ผลลัพธ์ไม่ต่างจากก่อนฟัง ก็แสดงว่า การ สอนนั้นย่อมไร้ผล ผลจากการฟังที่ทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์มี 5 อย่าง ดังนี้ 1. ย่อมได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 2. สิ่งใดฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัดขึ้น 3. บรรเทาความสงสัยเสียได้ 4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ 5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส อ้างอิง :“วิถีนักเทศน์” โดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี (25) (26)

  20. ปรัชญาของการสอน 1. ทำให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อสิ่งนั้น และสามารถจัดการสิ่งนั้นตาม ที่ควรเป็น ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น ต่อองค์กร และต่องาน 2. พัฒนาปัญญา เป็นความรู้ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโดยไม่ใช่ จำได้ แต่ไม่เข้าใจในข้อเท็จจริง และสภาวะของสิ่งทั้งหลาย 3. ผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้ทาง โดยพยายามหาอุบาย กลวิธี อุปกรณ์ต่าง ๆ มาช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงปัญญาได้ง่าย หรือผู้สอนเป็น “กัลยาณมิตร” 4. ผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือกระทำ ผู้สอนต้องคำนึงถึงความสามารถ ความถนัด อุปนิสัยต่าง ๆ ของผู้เรียน เพื่อจัดสภาพการเรียน และกลวิธีการ สอนต่าง ๆ ให้ผู้เรียนลงมือกระทำจนได้ผลดี 5. ผู้เรียนซักถามจนสิ้นสงสัยแล้วเกิดศรัทธา ผู้เรียนเป็นอิสระทาง ความคิด ซักถามโต้ตอบสืบเสาะ ค้นหา ความจริงต่าง ๆ จนเข้าใจอย่างแท้ จริง อ้างอิง :“ปรัชญาพื้นฐาน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 5 หมวดวิธีการสอน (27) (28)

  21. ความยากในการสอน ในการบริหารจัดการนั้นจะต้องมอบหมายให้ตัวแทนหรือลูกน้องไป ดำเนินการ ซึ่งจำเป็นต้องสอนเขาให้รู้ ทำเป็น และได้ผล ความยากในการสอน มีดังนี้ 1. หลากหลายตำรา ในปัจจุบันมีวิชาการต่าง ๆ เผยแพร่เข้ามาทั้งใน ด้านการบริหารและด้านเทคนิค บางครั้งก็ไม่เก็บเงิน แต่ส่วนใหญ่มาในรูป แบบการค้า ความยากจึงอยู่ที่จะต้องมาประลองปัญญา ลบล้างของเก่า เพื่อ ให้เขาเชื่อในทฤษฎีใหม่ 2. แย้งวัฒนธรรมเดิม แนวทางใหม่อาจแย้งความเชื่อเดิม หรือวัฒน - ธรรมองค์กร และอาจต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สลายการตั้งป้อม ขัดแย้ง 3. พบคนหลายระดับ การสอนนั้นจะต้องพบกับคนหลายระดับ ทั้ง ตำแหน่งหน้าที่ ความต่างอยู่ที่การศึกษา นิสัย สติปัญญา ความเชื่อ และ ฐานะ ต้องทำให้คนทุกระดับเชื่อถือ และยินยอมปฏิบัติตามโดยดี 4. ต้องทำให้คำสอนเจริญอย่างยั่งยืน คำสอนนั้นจะต้องเป็นจริง ตลอดกาล ขยายผลไปเรื่อย ๆ อย่างยั่งยืนยาวนาน เพราะยืนอยู่บนหลัก ความจริง อ้างอิง : พุทธวิธีในการสอน โดย พระธรรมปิฏก (ป0อ0 ปยุต0โต) (29) (30)

  22. ลำดับขั้นตอนในการสอน วิถีการสอน ขั้นตอนการสอนมี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเสนอหลักการ โดยการแสดงหลักการเนื้อหาหลัก ๆ ให้ได้ทราบ เป็นพื้นฐาน 2. ขั้นซักไซร้ไล่เลียงให้เห็นประจักษ์ โดยการซักถาม แล้วให้ตอบทีละขั้น ๆ ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจนเห็นประจักษ์ เกิดการยอมรับ โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง 3. ขั้นสรุปใจความสำคัญ โดยจะสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องทั้งหมดที่บรรยาย และซักไซร้ไล่ เลียงมาตั้งแต่ต้น เพื่อให้ผู้ฟังยึดถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป อ้างอิง : “การสอนแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม วิถีการสอน คือ แนวทางที่จะเอาความรู้มาแสดงให้ผู้ฟังได้รู้และ เข้าใจ จนสามารถเอาไปปฏิบัติตามให้ได้ผลโดยสมควรแก่การปฏิบัติ รู้ คือ ได้รู้ตามหลักเกณฑ์หรือระดับที่กำหนด เข้าใจ คือ รู้ถึงความรู้ รู้ทำ รู้ผล ว่าคืออะไร ใช้เมื่อไร อย่างไรจึงจะ ได้ผลทั้งคุณและโทษ ผู้ฟัง คือ ระดับผู้ฟังทั้ง 4 คือ สอนแค่ยกหัวข้อ หรือบรรยายนิด หน่อย หรือแนะนำสั่งสอน หรือไม่ต้องสอนเพราะเป็นคนประเภทฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา ผู้สอน คือ ครูมี 2 แบบ คือสอนตามที่เตรียมมา (แต่งเรื่องมาก่อน) หรือสอนสด (แต่งในใจและพูดไป) วิถี คือ แนวทางที่จะทำให้ได้ผล โดยรู้ถึง ทำเพื่ออะไร และผลจาก การสอนคืออะไร อ้างอิง :“วิถีนักเทศน์” โดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี (31) (32)

  23. เทคนิคต่าง ๆ ในการสอน เทคนิคการสอนตามแนวกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนสนใจ แล้วดึงเข้าสู่บทเรียนได้ง่าย เรา มักจะสอนแสดงถึงผลก่อนที่เห็นได้ง่าย แล้วค่อยแสดงถึงเหตุภายหลัง ซึ่งจะ ใช้แนวกระบวนการแก้ปัญหา ดังนี้ 1. เริ่มด้วยชี้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนเห็นปัญหาเห็นโจทย์ เช่น โรงงานเรามีปัญหาด้าน ความสกปรก ของเสียมาก เครื่องจักรชำรุดบ่อย ลูกค้าส่งสินค้าคืนบ่อย ๆ 2. ตามด้วยเหตุแห่งปัญหา ค่อย ๆ โยงผล หรือปัญหานี้มาจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ละปัจจัย ไม่ ว่าจะเรื่องคนละเลย รู้ไม่พอ เครื่องจักรบกพร่อง วัตถุดิบมีปัญหาไม่ตรงข้อ กำหนด 3. ชี้ให้เห็นผลหากปัญหาหมดไป หากปัญหาหมดไป เราก็ไม่ถูกนายด่า ขายของได้มาก ควบคุม เครื่องจักรได้สบายขึ้น ของเสียลดลง หน้างานสะอาดขึ้น 4. ตามด้วยการทำความฝันให้เป็นความจริง หากปัญหาจะหมดไปนั้นจะต้องแก้ที่เหตุแห่งปัญหา โดยใช้วิธี การต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น อ้างอิง : อริยสัจ 4 เพื่อให้เหมาะกับจริต และภูมิหลังของผู้ฟัง อาจใช้เทคนิคใน การสอน ดังต่อไปนี้ 1. ใช้อารมณ์ขัน เช่น คำที่คนหยอกล้อว่าบ่อย ๆ ก็นำคำพูด บ่อย ๆ มาผูกเป็นคำสอนต่อหรือโดยยกอุปมาขึ้นมาเปรียบเทียบ 2. เร้าให้เกิดความกลัว โดยยกการกระทำอันน่าหวาดกลัว ต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบให้กลัว จะได้เชื่อฟังปฏิบัติตาม 3. เร่งเร้าให้รีบเร่งปฏิบัติ โดยตำหนิความเกียจคร้าน ประมาทมัวเมา ที่ยังไม่เริ่มทำสักที 4. ใช้วิธีรุนแรงในการสอน ใช้วิธีขับไล่ไปเสียให้พ้น เพื่อให้ผู้มีนิสัยหยาบบางคนได้สำนึก 5. ใช้ปฏิภาณไหวพริบในการตอบโต้ ต้องตอบโต้ฉับพลัน ด้วยคำพูดที่ผลิกผันเตือนใจ เพื่อเปลี่ยนท่าทีจิตใจของผู้ฟัง 6. ไม่ก้าวร้าวใคร สอนแนวคิดใหม่ที่ค้านแนวคิดเดิม ที่ยึดมั่น เหนียวแน่น ต้องสอนด้วยไมตรี ไม่มุ่งแต่จะสอนตามความเชื่อตนเองฝ่าย เดียว ให้ฟังของเขาด้วย อ้างอิง :“ทรงใช้เทคนิคต่างๆ ในการสอน” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม (33) (34)

  24. กลวิธีอุบายประกอบการสอนกลวิธีอุบายประกอบการสอน หลากหลายวิธีการสอน 1. ยกอุทาหรณ์และเล่านิทานประกอบ เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายชัดเจน จำง่าย เห็นจริง และเพลิดเพลินสนุก 2. เปรียบเทียบด้วยอุปมา ทำเรื่องเข้าใจยาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น 3. ใช้อุปกรณ์การสอน โดยใช้วัตถุสิ่งของรอบตัวในธรรมชาติ เครื่องใช้ สอยต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไป ถ้าเป็นเด็กอาจใช้วิธีทายปัญหา 4. ทำเป็นตัวอย่าง เป็นการสอนโดยไม่ต้องพูด ให้ทำปฏิบัติให้ดู 5. เล่นภาษาเล่นคำและใช้คำในความหมายใหม่ จากคำพูดสำนวน ของผู้ฟัง ก็จะนำคำพูดนั้นในความหมายใหม่ที่ดีงาม จะทำให้ผู้ฟังสนใจ และกำหนดคำสอนได้ง่าย เพียงแต่มาทำความเข้าใจใหม่ 6. อุบายเลือกคนและปฏิบัติรายบุคคล การสอนคนนั้นจะต้องกำหนด ว่าจะสอนใครก่อน เช่นผู้มีปัญญาพอที่จะรับได้ ผู้นำที่มีคนในปกครองมาก จะทำให้ความรู้นั้นกระจายได้เร็ว และกำหนดคนบางรายในที่ประชุมได้รับ ประโยชน์เฉพาะจะดูเหมือนไม่ใช่การสอนแบบสาด 7. รู้จักจังหวะและโอกาส หากผู้เรียนไม่พร้อมก็ไม่ดึงดัน ให้ตื่นตัวรอ จังหวะโอกาส หากพร้อมก็สอนทันที 8. ยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ เลือกกลวิธีสอนว่าเมื่อใดควรโอนอ่อนผ่อน ตาม ขัด ยอมทำตาม ปลอบ ให้เกียรติ เมื่อจับจุดได้ก็ดึงเข้าสู่การสอน 9. ลงโทษและให้รางวัล ไม่ใช้วิธีการลงโทษและชมเชยอย่างเด่นชัด แต่ จะให้พิจารณาตนเองเทียบกับวินัย การลงโทษที่รุนแรงที่สุดคือ ไม่สอน 10. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ตอบแบบปฏิภาณ ถามย้อนให้คิด เอง ยกอุทาหรณ์เทียบ อ้างอิง :“กลวิธีและอุบายประกอบการสอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0ปยุต0โต 1. สอนแบบสนทนา วิธีการสอนนี้มักใช้บ่อย ๆ กับผู้ฟังที่ยังไม่เลื่อมใสในความรู้ที่จะสอน ในลักษณะสนทนา สอบถามความรู้นั้น ๆ หรือให้ยกหัวข้อแล้วระดมสมอง หลักการกันเอง 2. สอนแบบบรรยาย วิธีการสอนนี้เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีผู้ฟังมารวมตัวประชุมกันมาก ๆ และส่วนใหญ่มีพื้นความรู้บ้าง จะสอนให้ความรู้เพิ่มเติม และต้องสร้าง บรรยากาศว่ากำลังสอนกันแบบตัวต่อตัว 3. สอนแบบตอบปัญหา วิธีการสอนนี้ผู้ฟังจะมีความรู้บ้างแต่มีข้อสงสัย บางคนก็ต้องการ เทียบเคียงความรู้ตนกับผู้สอน บางคนก็มาลองภูมิ ก็จะใช้วิธีถามมาตอบไป วิธีการตอบมี 4 อย่าง คือ ปัญหาที่ตายตัวก็ตอบถูกหรือผิด ปัญหาที่มีหลาย แง่ก็ต้องย้อนถามแง่ไหนแล้วจึงตอบ ปัญหาที่มีองค์ประกอบหลายอย่างก็ ต้องตอบแยกคำตอบ และปัญหาที่ไร้สาระก็ให้ยับยั้งแล้วชักนำสู่เรื่องต่อไป เหตุแห่งคำถามมี 5 อย่างคือ ไม่เข้าใจ อยากได้ (โลภ) อวดเด่น อยากรู้ และซักซ้อมความเข้าใจ 4. สอนแบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อมีคนทำผิดเป็นครั้งแรกแล้ว เมื่อรู้ ความจริงว่าเป็นผลเสีย ก็ให้สอนว่าที่ถูกต้องคืออะไร แล้วบัญญัติไว้เป็นกฎ ระเบียบข้อปฏิบัติต่อไป อ้างอิง : “วิธีการสอนแบบต่าง ๆ” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต (35) (36)

  25. ลีลาการสอน หลักธรรมการแสดงคำสอน 5 ประการ 1. ชัดเจนแจ่มแจ้ง (แจ่มแจ้ง) เหมือนไปเห็นกับตาของตนเอง 2. ชักจูงใจให้เห็นจริงคล้อยตาม (จูงใจ) เกิดการยอมรับและนำไป ปฏิบัติ 3. เร้าใจให้เกิดกำลังใจ (หาญกล้า) เกิดความแกล้วกล้า ปลุกให้เกิด ความขยันขันแข็ง มั่นใจว่าจะทำได้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก 4. ชโลมใจให้แช่มชื่นร่าเริงเบิกบาน (ร่าเริง) รู้สึกฟังไม่เบื่อ เปียม ด้วยความหวัง มองเห็นประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ “ แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง “ หรือ “ ชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน ” อ้างอิง :“ลีลาการสอน” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต 1. ชี้แจงไปตามลำดับ 2. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดง(สอน)ให้เข้าใจ 3. แสดงด้วยอาศัยเมตตา ปรารถนาให้เขาได้รู้ 4. ไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิสสินจ้าง ของรางวัล 5. จักแสดงไปโดยไม่กระทบตนเและผู้อื่น อ้างอิง : พระธรรมกถึก ตรัสกับพระอานนท์ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิปาต พระไตรปิฎก เล่มที่ 22 ข้อ 159 หน้า 205 โดย ป0อ0 ปยุต0โต (37) (38)

  26. วิธีสอนแบบวิธีดักใจ หลักการสอนงาน วิธีสอนแบบนี้ต้องรู้สภาพจิตใจของผู้เรียน ผู้ฟังก่อน แล้วถึงปรับวิธี การสอนตามสภาพจิตใจนั้น ๆ เหมาะสำหรับสอนคนที่มีปัญญาบารมีสูง มี เทคนิค ดังนี้ 1. ใช้คำพูดสั้น ๆ ที่เคยพูดมาแล้วให้จำระลึกได้ 2. ใช้คำพูดสั้น ๆ ที่กระตุ้นให้คิดว่าสิ่งใดสำคัญกว่ากัน 3. ใช้คำพูดสั้น ๆ เกิดความงุนงน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสนใจ ต่อไป แล้วใช้คำพูดปริศนาต่อไปให้ได้คิด 4. สอนอย่างย่อ ๆ ให้ได้คิด จนเกิดความรู้สึก 5. สอนอย่างย่อ ๆ โดยใช้บทสอนที่เป็นหลักใหญ่ ๆ มาสะดุดให้คิด 6. สอนแบบไม่พูดแต่ให้ลงมือทำ เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะจิตใจ ไม่ปกติอย่างมาก จนไม่พร้อมที่จะฟัง 7. ส่งให้ทำของซ้ำ ๆ พร้อมกับท่องไป โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น จน จิตเป็นสมาธิก็จะรู้เอง 8. ให้ไปลองทำดู จนรู้เอง โดยเลือกโจทย์ที่เหมาะสม ข้อเสียของวิธีการสอนแบบวิธีดักใจนั้น ผู้มีศรัทธาก็ว่าดี แต่ผู้ไม่ศรัทธา ก็เยาะเย้ยว่าไม่ใช่ของแปลกอะไร อ้างอิง : “วิธีสอนแบบอาเทสนาปาฏิหาริย์” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม หลักการสอนงานมี 3 ขั้นตอน คือ 1. สอนให้รู้ หมายถึง การสอนที่ต้องอดทน จ้ำจี้จ้ำไช พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนกว่าเขา จะรู้ จะเข้าใจ อาจจะเป็นการพูดบรรยาย การเอาหนังสือให้เขาอ่าน 2. ทำให้ดู หมายถึง มีกิจกรรมลงมือปฏิบัติ โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ สอนแค่บรรยายอย่างเดียว เช่น สอนวิธีการขับรถ ก็ต้องขับให้เขาดู เป็นต้น 3. อยู่ให้เห็น หมายถึง ทำให้เกิดศรัทธาน่าเชื่อถือ ด้วยความซาบซึ้งต่อตัวผู้สอน คนสอนไม่น่าเชื่อถือ ลูกศิษย์เขาไม่ศรัทธา เขาก็ไม่ฟัง เช่น ครูสอนขับรถก็ ไม่ควรมีประวัติอุบัติเหตุโชกโชน เป็นต้น อ้างอิง :วิธีการสอนของหลวงพ่อชา (39) (40)

  27. วิธีสอนแบบใช้เทคนิคพิเศษวิธีสอนแบบใช้เทคนิคพิเศษ วิธีสอนแบบวิธีดักใจของเซ็น วิธีสอนแบบนี้มักใช้กับพวกหัวดื้อ ต้องปราบให้สิ้นพยศก่อน จึง ค่อยสอนภายหลัง มีดังนี้ 1. ป้องกันอุปสรรคที่จะมารบกวนการรับรู้ที่จะสำเร็จเรียน แล้วจึง ค่อยสอนต่อ 2. ปราบในสิ่งที่ผู้ที่จะเรียนรู้เกรงกลัวให้สำเร็จก่อน แล้วจึงค่อยสอน 3. ทำข้อห้าม ข้อแม้ ให้หมดไปจนได้คุณสมบัติครบถ้วนแล้วจึง ค่อยสอน 4. แสดงตนเข้าช่วยเหลือศิษย์ที่จะไปสอนคนอื่น 5. ใช้ความสามารถที่เหนือกว่าคนที่จะเป็นลูกศิษย์ให้ไล่ไม่ทันจน เหนื่อย แล้วค่อยสอน อ้างอิง : “วิธีสอนแบบอิทธิปาฏิหาริย์” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม หลักการของเซ็น จงทำให้เกิดปัญญาแล้วพฤติกรรมและจิตใจก็ จะมาเอง เนื่องจากสภาวะอยู่เหนือเหตุเหนือผล การใช้เหตุผลย่อมปิดบัง ปัญญาที่อยู่ภายในมิให้ออกมา วิธีการสอนของเซ็นมี 2 วิธี คือ 1. แบบใช้คำพูด ใช้คำพูดสั้น ๆ แต่กินใจลึกซึ้งเหนือคลองแห่ง เหตุผล มี 6 แบบ ดังนี้ 1) คำพูดขัดแย้งกันในตัว เช่น ฉันไปมือเปล่า แต่มีจอบอยู่ใน มือ แล้วให้ศิษย์เอาคำปริศนาไปพิจารณา 2) คำพูดเหนือลักษณะตรงกันข้ามที่เป็นคู่ เช่น มืด-สว่าง ชั่ว-ดี จงพูดที่พ้นกรอบของสิ่งที่เป็นคู่ 3) คำพูดคัดค้าน ที่ตรงกันข้ามกับความจริงเพื่อให้จิตอยู่ เหนือสิ่งที่เรายึดว่าถูกต้อง 4) คำพูดยืนยัน ตอบยืนยันแบบไม่ธรรมดา ฟังดูแล้วเหมือน คนละเรื่อง 5) คำพูดแบบย้ำ โดยการตอบโดยสะท้อนคำถามประโยค เดียวกันกลับไป เหมือนเสียงสะท้อนกลับ 6) คำอุทาน โดยสอนออกมาเป็นคำเดียวบ้าง เป็นประโยคบ้าง 2. แบบใช้การกระทำ โดยผู้สอนไม่พูดอะไร แต่ใช้การกระทำ กระตุ้นให้ศิษย์เข้าใจความจริงเอง เช่น เรียกมาประชุมแล้วไล่กลับไป แล้ว ใช้คำพูดสั้น ๆ สอน อ้างอิง :“วิธีสอนแบบอาเทศนาปาฏิหาริย์” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม (41) (42)

  28. วิธีการสอนแบบปาฏิหาริย์วิธีการสอนแบบปาฏิหาริย์ วิธีการสอนคนบัว 4 เหล่า ปาฏิหาริย์ หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ วิธีการสอนแบบให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างน่าอัศจรรย์มี 3 แบบ ดังนี้ 1. สอนโดยใช้เทคนิคพิเศษ โดยใช้ความสามารถของผู้สอนที่มีเทคนิคเฉพาะพิเศษ เพื่อปราบคนที่หัวดื้อ แข็งขืน อยากลองดี ลองภูมิ ที่ไม่ยอมรับคำสอนง่าย ๆ ให้สิ้นพยศ และยอมรับคำสอนแต่โดยดี 2. สอนโดยวิธีดักใจ หมายถึงการรู้สภาพจิตใจของผู้เรียนผู้ฟังแล้ว ก็สอนเขาตามสภาพจิตใจนั้น วิธีเหมาะสำหรับสอนคนที่มีปัญญาบารมีสูง มี 2 วิธี คือ 1) สอนด้วยคำพูดสั้น ๆ แต่ประทับใจหรือกินใจ 2) สอนด้วยการไม่พูด แต่ให้ลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง จน เกิดความรู้ด้วยตนเอง 3. สอนด้วยการบรรยาย เป็นการสอนแบบธรรมดา ๆ ใช้กันทั่ว ๆ ไป พบเห็นกันบ่อย ๆ ซึ่งจะประสบผลสำเร็จเนื่องจาก 1) รู้จักจริต ภูมิปัญญาของผู้ฟัง 2) ใช้ภาพง่ายๆและเป็นภาษาของคนฟัง 3) จัดลำดับขั้นตอนการสอน และ 4) ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ยกอุปมาอุปมัย เล่านิทานต่างๆ ยกเหตุการณ์ปัจจุบัน และใช้อุปกรณ์จริงประกอบการสอน อ้างอิง :“วิธีการสอน 3 แบบ (ปาฏิหาริย์ 3) “ วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม 1. บัวพ้นน้ำ (บานในวันนั้น) บุคคลผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน เพียงแค่ยกหัวข้อขึ้นแสดง 2. บัวปริ่มน้ำ (บานในวันรุ่งขึ้น) บุคคลผู้นั้นสามารถรู้เข้าใจได้ ต่อเมื่อได้อธิบายความพิสดาร หรือลง รายละเอียด 3. บัวในน้ำ (จักบานในวันต่อ ๆ ไป) บุคคลนั้นผู้ที่จะรู้เข้าใจได้ โดยหาทางค่อย ๆ ชี้แจง แนะนำ ใช้กลวิธี การ ให้เข้าใจต่อ ๆ ไป 4. บัวในตม (เป็นอาหารปลาและเต่า) บุคคลนั้นอับปัญญา ไม่สามารถที่จะเข้าใจ ในความรู้นั้น ๆ ได้ ก็คง ไม่ต้องไปเสียเวลาสอน อ้างอิง : วิสุทธิมรรค ปริเฉทที่ 3 (43) (44)

  29. การสอนในชีวิตการทำงานการสอนในชีวิตการทำงาน แนวทางการสอนในงานต่าง ๆ ในการสอนคนนั้น เรามักจะจัดเวลาอย่างเป็นทางการ เป็นการ อบรม สัมมนา ทำให้การสอนคนนั้นเป็นเรื่องใหญ่มีค่าใช้จ่ายมาก แท้จริง แล้ว นายสอนลูกน้อง เพื่อนสอนเพื่อน สอนกันได้ทุกวันทั้งวัน แนวทาง สอนงานในชีวิตการทำงานประจำวัน ทำได้ตามเวลาดังนี้ 1. ช่วงเช้า เดินตรวจโรงงาน เข้าหาคนหน้างาน หรือเรียกลูกน้องเข้ามา หา แล้วก็สอนเขาในเรื่องที่เขากำลังทำอยู่ 2. หลังอาหาร ทานอาหารในโรงอาหารเสร็จก็ชวนคุย แล้วก็สอนในเรื่อง งานและข่าวจากโทรทัศน์ที่สัมพันธ์กัน 3. ภาคบ่าย คนมาเยี่ยม ลูกน้องมาหาปรึกษาปัญหา วาระประชุม ประจำเดือน หรือได้รับเชิญไปบรรยายก็ถือโอกาสสอนงาน 4. กลางคืน ญาติมาเยี่ยมพบคนที่บ้าน มีกิจกรรมบันเทิงเลี้ยงฉลอง นั่งทานอาหารด้วยกัน ก็หาจังหวะสอนให้สอดคล้องกับบรรยากาศ 5. ก่อนนอน กำหนดจิตสอดส่องดูว่า ลูกน้องเรานั้นใครบ้างมีปัญหาหรือ เดือดร้อน ก็วางแผนไปสอนในวันพรุ่งนี้ อ้างอิง :“พุทธกิจประจำวันของพระพุทธเจ้า” พุทธวิธีในการสอน โดย ป0อ0 ปยุต0โต การสอนจะต้องวางโครงเรื่องที่จะสอน โดยเฉพาะที่มา ความสำคัญ ของงานนั้น ๆ ผู้เกี่ยวข้อง ลักษณะความเกี่ยวข้อง ผลดีผลเสีย ตัวอย่างใน อดีต ตัวอย่างเช่น งานศพ พรรณนาความดีของผู้ตาย ถ้าผู้ตายเป็นพ่อแม่ ก็บรรยาย คุณพ่อแม่ ถ้าเจ้าภาพเป็นลูกก็พูดถึงหน้าที่ลูก ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตาย กับเจ้าภาพ งานก่อสร้าง ประวัติการก่อสร้าง ใครทำเป็นคนแรก ประโยชน์ จากสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ จำเป็นอย่างไร หน้าที่ของผู้ก่อสร้างและผู้ช่วยเหลือ ประโยชน์ที่ผู้ก่อสร้างได้รับ งานบวช บวชคืออะไร จำเป็นอย่างไรจึงต้องบวช ไม่บวชเป็นอย่าง ไร บวชมีมาตั้งแต่ครั้งไหน ผู้บวชต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการ บวช ผู้บวชและให้บวช ได้ประโยชน์อะไร งานฉลอง ฉลองคืออะไร มูลเหตุของการฉลอง มีมาตั้งแต่ครั้งไหน สำคัญอย่างไรจึงต้องมาฉลอง ผลประโยชน์ของการฉลอง อ้างอิง : วิถีนักเทศน์ โดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี (45) (46)

  30. แนวทางการสอนให้ถึงจุดหมายแนวทางการสอนให้ถึงจุดหมาย “เล่นเรียน” การสอนแบบไม่สอน เพื่อให้การสอนสามารถนำให้ผู้ฟังเข้าถึงจุดหมายได้นั้น ผู้สอนควร วางโครงเรื่องเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1. ยกหัวข้อเรื่องเป็นหลัก (ยกเรื่อง) โดยยกเรื่องที่เหมาะกับบุคคล (อาชีพ วัย เพศ นิสัย) ถูกกาละ (จังหวะเวลา เวลาที่ใช้สอน) ถูกเทศะ (เหมาะกับสถานที่) และกิจกรรมงาน (สร้างอาคาร งานศพ งานเรี่ยไร งานฉลอง) 2. ขยายความอธิบายความ (เนื้อเรื่อง) พูดในแนวเรียนรู้ ปฏิบัติตาม ดูแลผล เหมือนสอนถึงตัวยา วิธีใช้ และสรรพคุณ ควรเน้นสอนให้ปฏิบัติ เป็นปฏิบัติบูชา ค้นหาเหตุว่าทำไมเขา จึงไม่ปฏิบัติทั้ง ๆ ที่ก็รู้ว่าไม่ดี เช่น รู้ว่าดื่มสุราไม่ดี แต่ก็ยังดื่มอยู่ ถ้าเลิกไม่ ได้ ก็ให้ลดให้คลายก็ยังดี 3. สรุปความเฉพาะส่วนสำคัญมาย่อแสดงอีกครั้ง (สรุปความ) เนื่องจากการสอนใช้เวลานาน ผู้เรียนก็จะลืม จึงจำเป็นต้องมา สรุปมาเน้นอีกครั้งในตอนสุดท้ายของการสอน อ้างอิง :วิถีนักเทศน์ โดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี ให้ผู้เรียนเสนอเรื่องที่เขาสนใจ แล้วให้เขาดำเนินการ ดังนี้ 1. คิดจะทำอะไร (เรื่องที่จะทำ) 2. ทำอย่างไร (วางแผน) 3. ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง (เตรียมอุปกรณ์) 4. ทำการทดลอง (ปฏิบัติตามแผน) 5. ผลเป็นไปตามที่คิดไหม (ประเมินผล) 6. ถ้าผลเป็นไปตามที่คิด คิดสร้างสิ่งใหม่ (พัฒนาต่อ) 7. ถ้าผลยังไม่เป็นตามที่คิด (ปรับปรุง) 8. ได้ผลดี แล้วเผยแพร่ (ขยายผล) อ้างอิง : “เรียนเล่น ๆ เขียนมาให้อ่าน” โดย ชาตรี สำราญ (47) (48)

  31. การสอนแบบฉากเรื่องราวการสอนแบบฉากเรื่องราว วิธีการตอบปัญหา การสอนแบบฉากเรื่องราว (Story Line) นั้นผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ กำหนดฉากตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์ขึ้นเอง ครูจะเป็นเพียงสร้าง คำถามที่ชักไปสู่ประตูแห่งการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1. ฉาก ใช้ห้องเรียนแบบธรรมชาติ ใต้ร่มไม้ที่ทำงาน อาคารควบคุม หน้าเครื่องจักรที่จ่ายงาน ให้เปลี่ยนฉากไปเรื่อย ๆ ตามลักษณะงาน 2. ตัวละคร แต่ละคนของผู้เรียนจะกำหนดบทบาทของสมาชิกกลุ่ม มี ประธาน เลขา สมาชิก คนหาข้อมูล คนแปลผล 3. วิถีชีวิต ใช้แบบเรียบง่าย ทำงานไปเรียนไป แบ่งหน้าที่กัน ตั้งคำถาม ทำไมเราจึงมาทำงาน ทำงานคนเดียวได้หรือไม่ พึ่งพากันอย่างไร หาก เครื่องจักรเสียจะทำอย่างไร 4. เหตุการณ์ สร้างเหตุการณ์ทำงานจริง ๆ เมื่อทำปกติหรือเกิดภาวะฉุกเฉิน ให้เรียนแบบเป็นชีวิตแห่งการทำงาน ชีวิตแห่งการเรียนรู้คู่กับการทำงาน อ้างอิง : “เล่น ๆ เรียน ๆ เพื่อจะรู้เรื่องที่ถาม” หลากหลายวิธีสอนที่ไม่หลอกหลอน วิธีเรียนรู้ โดย ชาตรี สำราญ การสอนนอกจากให้เหมาะกับคน เหมาะกับเวลาแล้ว การถาม ตอบปัญหาก็เป็นวิธีการสอนแบบหนึ่งที่ให้ความกระจ่างได้เป็นดี มี 4 แบบ ดังนี้ 1. ปัญหาที่พึงตอบทันที มักเป็นปัญหาง่าย ๆ ผู้ถามถามด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากรู้จริง ๆ พอฟังแล้วได้ประโยชน์ 2. ปัญหาที่ควรตอบอย่างมีเงื่อนไข ปัญหานี้มักเป็นปัญหาคลุมเครือ มีสองแง่สองมุม ถ้าตอบอย่างตรง ไปตรงมาอาจจะผิดได้ จึงตอบแบบอย่างมีเงื่อนไข บางทีคนถามเองก็มี เจตนาไม่บริสุทธิ์ ประสงค์จะเล่นเล่ห์เหลี่ยมกับผู้ตอบ เพื่อจับผิดผู้ตอบ 3. ปัญหาที่พึงย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ ปัญหานี้ผู้ถามมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ ถามเข้าใจประเด็นหรือเงื่อนไขที่เป็นปัญหาได้ถูกต้อง จึงต้องย้อนถามใน เรื่องอุปมาง่าย ๆ เสียก่อน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจปัญหาที่สลับซับซ้อนได้ 4. ปัญหาที่ไม่พึงตอบเลย ปัญหานี้ เป็นปัญหาชั้นสูงลึกซึ้งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการคุยชวนทะเลาะมากกว่าหรืออวดภูมิกัน แม้นว่าจะยั่วยุให้ตอบเพียง “ใช่” หรือ “ไม่” ก็ไม่ตอบ อ้างอิง : “วิธีการตอบปัญหา” วิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดย แสง จันทร์งาม (49) (50)

  32. หลักการเรียนที่ให้ผลสัมฤทธิ์หลักการเรียนที่ให้ผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีหลักการเรียนที่ให้ผลสัมฤทธิ์ หรือ นำไปสู่ความสำเร็จ แห่งผลที่มุ่งหมายไว้มี 4 ประการ ดังนี้ 1. ความพอใจ นั่นคือ มีความพึงพอใจใฝ่ใจรักในวิชาที่จะเรียนรู้ มีความต้องการ ที่จะทำในสิ่งที่เรียน และปรารถนาที่จะทำให้ผลการเรียนดียิ่ง ๆ ขึ้นไป 2. ความเพียร นั่นคือ มีความขยันหมั่นที่จะทำ ที่จะเรียน ด้วยความพยายาม อย่างเข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย 3. เอาจิตฝักใฝ่ นั่นคือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่เรียน ทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป 4. ใช้ปัญญาใคร่ครวญ นั่นคือ ความไตร่ตรอง ทดลอง หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผล ตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนบกพร่อง มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น อ้างอิง : อิทธิบาท 4 6 หมวดวิธีการเรียน (51) (52)

  33. เทคนิคการเรียนเพื่อการเข้าใจที่ดีขึ้นเทคนิคการเรียนเพื่อการเข้าใจที่ดีขึ้น ในการเรียนนั้น ในชั้นแรกจะต้องศรัทธาในสิ่งที่จะเรียนก่อน เพื่อ จูงใจให้ศึกษา หลังจากนั้นจะยอมรับหลักการนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาและ การปฏิบัติของเราเอง เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรียนให้ดีขึ้น มี 4 อย่าง ดังนี้ 1. สุ (ฟัง) การฟัง ก็คือ กระบวนการรับรู้จากครูถึงตัวเรา ทั้งนี้รวมถึงการอ่าน และการมองเห็นด้วย ทั้งนี้เราควรเลือกฟังเลือกอ่านด้วย เพื่อไม่ให้เสียเวลา โดยเปล่าประโยชน์ 2. จิ (คิด) หลังจากการฟังและอ่านแล้ว ต้องติดตามจะได้แตกฉานในการเข้า ใจ หรือตั้งข้อสงสัยได้ 3. ปุ (ถาม) เมื่อสงสัยก็ต้องถาม ถามทั้งตัวเอง ผู้อื่น และครูผู้สอน เพื่อมอง ปัญหาจากหลาย ๆ มุม จากการฟังความเห็นคนอื่น ไม่ควรถามเพื่อลองภูมิ ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน 4. ลิ (เขียน) ความรู้ที่เกิดจากการอ่าน การฟัง การคิด การซักถาม หากทิ้งไว้ ไม่ จัดระเบียบความรู้ แล้วเอามาเขียนก็จะลืมหมด หรือคนอื่นไม่สามารถ เรียนรู้ข้อมูลจากเราได้ คนต่อไปจะได้ต่อบ่าได้ อ้างอิง : สุ จิ ปุ ลิ (53) (54)

  34. สถานที่เหมาะสำหรับการสอนสถานที่เหมาะสำหรับการสอน สถานที่เหมาะสำหรับการสอน ซึ่งจะพิจารณาถึงความเรียบง่าย สงบ และสงัด กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 1. ไม่ไกลไม่ใกล้จนเกินไป ไปมาสะดวก 2. กลางคืนมีเสียงน้อย กลางวันไม่พลุกพล่าน 3. ไม่ถูกรบกวนจากยุง เหลือบ ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน หรือถูก รบกวนน้อย 4. หาปัจจัย 4 ได้ไม่ยาก มีอาหาร ที่อยู่ ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม 5. พอมีผู้รู้คนอื่นอยู่พอที่จะไต่ถามแก้ความสงสัยได้ อ้างอิง : อังคุตตรนิกาย ทสกนิปาต พระไตรปิฎก เล่มที่ 24 ข้อ 11 หน้า 17 7 หมวดสถานที่เรียน (56) (55)

  35. สถานที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการสอนสถานที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการสอน สถานที่เหมาะสำหรับการสอน 7 สบาย สถานที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการสอน ที่พึ่งหลีกเลี่ยงมี 8 ลักษณะ ดังนี้ 1. พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่ราบเรียบ 2. พื้นที่มีภัย เป็นที่หวาดเสียว สะดุ้ง ตกใจ 3. ลมพัดแรงจัด 4. ที่กำบัง อับทึบ ไม่ปลอดโปร่ง อากาศไม่ดี 5. ที่เทวสถาน ศาลเทพารักษ์ 6. ที่เป็นทางคนเดิน 7. ที่ย่างขึ้นย่างลง หรือบันได 8. บริเวณท่าน้ำ อ้างอิง : ปริวัชชนียฐาน เพื่อให้การสอนเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ มี 7 ลักษณะดังนี้ 1. มีสถานที่เหมาะสม ไม่พลุกพล่าน จอแจ 2. การไปมาสะดวก มีหมู่บ้านหรือชุมชนอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป 3. มีหมู่คณะที่พูดคุยในเรื่องที่เหมาะสมนำไปสู่การแก้ปัญหา 4. มีผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษา 5. มีอาหารที่เกื้อกูลต่อสุขภาพ 6. มีดิน ฟ้า อากาศ และสิ่งแวดล้อม เหมาะสม 7. มีสถานที่ที่พอเหมาะแก่อิริยาบถ อ้างอิง : สัปปายะ 7 โดย ป0อ0 ปยุต0โต (58) (57)

  36. ความปรีชาสามารถที่องค์กรต้องการความปรีชาสามารถที่องค์กรต้องการ ปัจจุบันนี้ ในด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เขานิยมสอนคนให้มี ความปรีชาสามารถเฉพาะตัว หรือความแก่กล้า (Competency) ของ พนักงานที่องค์กรต้องการ (สิ่งเหล่านี้องค์กรต้องสอนจึงจะเกิดกับ พนักงาน) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านคือ 1) ความรู้ (รู้ดี) คือ รู้ในสิ่งที่ต้องทำหรือลักษณะงานได้เป็นอย่างดี 2) ทักษะ (ทำเป็น) คือ สามารถทำงานในภารกิจขององค์กรได้ อย่างชำนาญ 3) ลักษณะเฉพาะ (ได้ผล) คือ มีคุณลักษณะเฉพาะตัว หรือพฤติ กรรมเฉพาะตัวที่สามารถทำงานได้อย่างสัมฤทธิ์ผล เข้าเป้าได้โดย ไม่ยากนัก นิยาม ความปรีชาสามารถ หมายถึง คุณลักษณะด้านความรู้ ทักษะ และลักษณะเฉพาะของคนที่จำเป็นต่อการทำงานในภารกิจหนึ่ง ๆ ให้ ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี อ้างอิง : Competency Based Management หลัก ปัญญา ศีล สมาธิ และ หลัก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 8 หมวดส่งท้าย ลักษณะเฉพาะ ความปรีชาสามารถฉพาะตัว ความรู้ ทักษะ (59) (60)

  37. คิดแบบหมวก 6 ใบ การเรียนเป็นกลุ่ม อาจให้ผู้เรียนสวมบทบาท คิดคนละแบบ หลาย มุมมอง โดยไม่ยึดติดกับกรอบความคิดเก่า ๆ ที่เห็นแก่ได้เห็นแก่ตน โดยใช้ เทคนิคคิดแบบหมวก 6 ใบ ดังนี้ 1. หมวกสีขาว (ข้อมูล) ใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง มีความเป็นกลาง 2. หมวกสีแดง (ความรู้สึก) เน้นความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ลางสังหรณ์ ความ ประทับใจ ความโกรธ ความสนุก 3. หมวกสีดำ (เหตุผลด้านลบ) มองด้านลบ ข้อเสีย เหตุผลในการปฏิเสธ หาจุดอ่อน ข้อ ผิดพลาด ความยุ่งยาก 4. หมวกสีเหลือง (เหตุผลด้านบวก) มองในแง่ดี ผลดี ความเป็นไปได้ ความมั่นใจ การยอมรับ 5. หมวกสีเขียว (ความคิดสร้างสรรค์) มองในแง่ความเจริญเติบโต การพัฒนาความคิดใหม่ มุม มองใหม่ 6. หมวกสีฟ้า (ควบคุมวิธีการระดมความคิด) มองภาพรวม การควบคุม การจัดระเบียบ ขั้นตอน ความ เย็น ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อะไรที่ต้องการ อ้างอิง : “คิด 6 แบบ แบบหมวก 6 ใบ” โดย ชาตรี สำราญ (61) (62)

  38. สิงโตสอนลูก หน้าที่ของครูและของศิษย์ สิงโตมีวิธีการสอนลูกแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีการบรรยาย ดังนี้ 1. จำเป็นต้องรู้ ภารกิจหลักคือ จับสัตว์มากินให้ได้ มิเช่นนั้นจะต้องอด ตาย เริ่มจากบทเรียนกินนมแม่ การทำตัวเงียบ ๆ 2. เตรียมตนให้พร้อม โดยเล่นกันเอง 3. ทำให้ดูและติดตาม แม่พาลูกไปดูแม่จับสัตว์แล้วให้คิดเอาเอง 4. เข้าใจเอาเองจากการเฝ้าสังเกตุ ทำให้เกิดภูมิปัญญาขึ้นมาเองจาก ความผิดพลาดของแม่ การถูกแย่งเหยื่อ 5. เรียนรู้เทคนิคตามสถานการณ์ต่าง ๆ รู้ถึงวิธีการแยกฝูงโคป่า วิธี การกัดคอ การไล่ล่าแบบหมู่ 6. เริ่มงานจริงจากสิ่งที่ง่าย ๆ ก่อน เริ่มจากไล่ล่าสัตว์เล็กจนเกิดความ ชำนาญ ก่อนไปคิดจับสัตว์มีเขา มีอันตราย 7. ฝึกงานใหม่โดยมีพี่เลี้ยง เข้าร่วมไล่ล่าโดยมีแม่เป็นพี่เลี้ยง 8. ทำงานด้วยตนเอง ลูกเริ่มไล่ล่าเอง 9. ดูแลห่าง ๆ ถือว่าโตแล้ว ถือว่าพึ่งพาตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม อ้างอิง : นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ หน้าที่ของศิษย์ที่มีต่อครูมี 5 อย่าง ดังนี้ 1. ลุกขึ้นยืนรับ 2. เข้าไปยืนคอยรับใช้ 3. เชื่อฟัง 4. ช่วยเหลือสนับสนุนความเป็นอยู่ 5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ หน้าที่ของครูที่มีต่อศิษย์ 5 อย่าง ดังนี้ 1. แนะนำดี 2. ให้เรียนดี 3. บอกศิลปะให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง 4. ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง 5. ทำการป้องกันในทิศทั้งหลาย (ไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก) อ้างอิง : ทิศหก “ทักขิณทิส” ทิศเบื้องขวา (63) (64)

  39. น้ำใสใบยอกอไผ่ไข่เน่าน้ำใสใบยอกอไผ่ไข่เน่า บันได 5 ขั้นของการสอนงาน ในการพัฒนาคนเพื่อให้รู้ในสิ่งที่ขาด องค์กรอยากได้และเขาสามารถ นำความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. อ่านให้เขาฟัง โดยสอนให้เขาทราบทฤษฏีและแนวปฏิบัติ โดยการพูด หรืออ่านให้ฟัง ซักถามตอบจนเข้าใจ 2. ทำให้เขาดู โดยปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดูทีละขั้น ๆ จนกว่าจะเข้าใจในภาค สนาม 3. ให้เขาทำให้เราดู โดยให้เขาทำดู แล้วผู้สอนคอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ ใน ลักษณะพี่เลี้ยง แล้วมีแบบฟอร์มให้เขียนไว้ว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้างแล้ว 4. ปล่อยให้เขาทำ โดยปล่อยให้เขาทำเพียงคนเดียว หลังจากที่เขามั่น ใจว่าทำได้แล้ว 5. ทิ้งไว้นานแล้วตามเข้าไปดู โดยเข้าไปตรวจติดตาม หลังจากที่เขาทำ ไป 2-3 เดือน แล้วว่าเขายังคงทำได้ เก่ง พอ แก้ปัญหาได้ ให้เขียนเพิ่มเติม ในแบบฟอร์มเดิมว่าที่เดิมเรียนไว้นั้น มีอะไรที่ตนเห็นว่าได้เรียนรู้เพิ่มเองอีก สุดท้ายเป็นการแจกประกาศนียบัตร เพื่อประกาศเกียรติคุณที่มีความรู้ระดับ ไหนแล้ว ระดับมี 1,2,3,4,5 เมื่อระดับ 5 เก่งมากจนสามารถเป็นครูได้ อ้างอิง : แนวทางการสอนงานแบบ OJT ของ ปูนท่าหลวง การสอนคนนั้น วิธีการสอนอาจต้องพิจารณาให้เหมาะกับจริตของ ผู้เรียนด้วย ดังนี้ 1. น้ำใส หมายถึง ให้ใช้น้ำใจ เหตุผล สั่งสอน ด้วยความเมตตา เหมาะ สำหรับผู้เรียนที่ยินดีรับการสอน (น้ำใสใจจริง) 2. ใบยอ หมายถึง เมื่อเห็นเขาจำได้ ฟังเข้าใจในสิ่งที่สอน นำเอาไปปฏิบัติได้ ผู้สอนต้องกล่าวคำชมเป็นระยะ ๆ (ใบยอหรือคำยอ) 3. กอไผ่ หมายถึง ผู้เรียนที่ดื้อดึง ไม่เชื่อฟังก็ต้องมีการลงโทษกันบ้าง แต่ไม่ ควรใช้พร่ำเพรื่อ ไม่รุนแรงเกินเหตุ ไม่ทำด้วยอารมณ์โกรธ (กอไผ่คือไม้เรียว) 4. ไข่เน่า หมายถึง ผู้เรียนเหลือขอ เหลือเดน สอนเท่าไรก็ไม่รู้จักจำ ไม่ว่าจะ ใช้วิธีการเชียร์ให้กำลังใจ หรือไม้เรียวก็ไร้ผล ก็คงต้องปล่อยเขาไป (ไข่เน่า คือเลิกสอน) (65) (66)

  40. เทคนิคการสอนเหมาะสำหรับใครเทคนิคการสอนเหมาะสำหรับใคร คำคมท้ายเล่ม เมื่อเราพูดถึงการสอน เรามักคิดถึงครูกำลังสอน หากเราแปลการสอน คือการเทศน์ เราก็มักคิดถึงพระเทศน์ เทคนิคการสอน สามารถใช้ได้กว้างขวางมากกว่านั้น ดังนี้ 1. พ่อแม่สอนลูก 2. ครูสอนศิษย์ 3. นายสอนลูกน้อง หรือนายสอนบ่าว 4. รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง 5. ข้าราชการสอนประชาชน 6. พระเทศน์หลักธรรมแก่ชาวบ้าน 7. เพื่อนสอนเพื่อน 8. วิทยากรสอนวิชาอบรม 9. สถาบันฝึกอบรม 10. บริษัทที่กำลังทำ TPM, TQM, ISO อ้างอิง : สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ “ผู้มีคุณต่อเรา แม้ว่าจะไม่ตั้งใจ เราก็สำนึกในคุณนั้น” “พ่อค้าเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลก็เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง การสอนก็เอานักเรียนเป็นศูนย์” “การเป็นผู้รู้มากนั้นต้องฟัง จำได้ คล่องปาก และเจนใจ” “เรียนเพื่อรู้แต่ไม่ปฏิบัติ ย่อมไม่ต่างจากไม่ได้เรียนอะไรเลย” “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด เพราะปฏิบัติไม่เป็น” “ถามตัวเองทุกครั้ง ว่าเรียนไปแล้วจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในชีวิต และการงาน” “เรียนให้สนุก มีความสุขกับการเรียน” “เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้” (67) (68)

  41. สรุปความ หนังสืออ้างอิง ทำไมต้องเรียน เพื่อต้องการบรรลุเป้าหมายในชีวิต เรียนเรื่องอะไร ชีวิตและการทำงาน ใครคือครูเรา ผู้รู้ บัณฑิต ใครคือผู้เรียน ตัวเรา สอนกันอย่างไร ให้เหมาะกับผู้เรียนตามกาละเทศะ เรียนกันอย่างไร อ่าน ฟัง ดู คิด เขียน จำ ใช้ สอนกันที่ไหน นอกและในเหตุการณ์จริง อะไรคืออุปกรณ์สอน ทำขึ้นมาเฉพาะหรือมีอยู่ในธรรมชาติ พระธรรมปิฎก (ป0อ0 ปยุต0โต) “พุทธวิธีในการสอน” พิมพ์ครั้งที่ 6 ISBN 974-87563-2-7 พ.ศ. 2542 (100 หน้า) แสง จันทร์งาม “วิธีสอนของพระพุทธเจ้า” พิมพ์ครั้งที่ 1 ISBN 974-580-663-3 มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 (176 หน้า) ชาตรี สำราญ “หลากหลายวิธีสอน ที่ไม่หลอกหลอนวิธีเรียนรู้” พิมพ์ครั้งที่ 6 ISBN 974-87205-9-4 มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์ พ.ศ.2542 (120 หน้า) สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี ป.ธ.๙) “วิถีนักเทศน์” ISBN 974-493-461-1 โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง พ.ศ..2542 (144 หน้า) มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์ “การให้คำปรึกษาทฤษฎีและเทคนิคการให้ คำปรึกษาพุทธธรรม” พิมพ์ครั้งที่ 1 ISBN 974-8264-38-5 สุวีริยาสาส์น กทม. พ.ศ..2541 (256 หน้า) (69) (70)

  42. อุดมการณ์ 4 ประการ ของเครือซิเมนต์ไทย ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถือมั่นในความรับผิดชอบ ต่อสังคม บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานเขาวง ปี พ.ศ. ๒๕๔๖

More Related