1 / 47

Money Stock Fluctuation

Money Stock Fluctuation. ความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิต. - ถ้าความผันผวนในปริมาณเงินลดลง ความผันผวนในผลผลิตจะลดลงด้วย ความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต 1. ปริมาณเงินและผลผลิตที่แท้จริงสัมพันธ์กันในทางบวก 2. การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทำให้ผลผลิตที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง

berny
Download Presentation

Money Stock Fluctuation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Money Stock Fluctuation

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิตความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิต • - ถ้าความผันผวนในปริมาณเงินลดลง ความผันผวนในผลผลิตจะลดลงด้วย • ความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต • 1. ปริมาณเงินและผลผลิตที่แท้จริงสัมพันธ์กันในทางบวก • 2. การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทำให้ผลผลิตที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง • 3. อัตราดอกเบี้ยช่วยในการหาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร • 4. เงินและผลผลิตสัมพันธ์กันในรูป Deposit-currency ratio

  3. A Model of Currency and Deposit ข้อสมมติ - ประชาชนเลือกถือเงินได้ 2 รูปแบบ 1. เงินฝากในธนาคาร ( Inside Money ) 2. เงินสดในมือตนเอง ( Fiat Money ) - ไม่มีReserve requirement

  4. A Model of Inside and Outside Money ข้อสมมติ จะใช้ Overlapping Feneration Modelมาพิจารณา - จำนวนประชากรคงที่ ปริมาณเงินคงที่ - คนมี 2 period ในชั่วชีวิต คือ หนุ่มและแก่ - มีคน 3 ประเภท คือ แรงงาน นายทุน และนายธนาคาร ซึ่งเป็น Risk neutralทั้งหมด

  5. A Model of Inside and Outside Money แรงงาน - ผลิตได้สินค้าที่เก็บไว้ไม่ได้ ลงทุนด้วยตัวเองไม่ได้ - ถือเงินเพื่อแลกกับสินค้าบริโภคในตอนแก่ - มีสินค้าเริ่มต้นและถือเงินในปริมาณที่ต่างกัน - คนงาน iต้องการถือเงิน Si หน่วยของสินค้าบริโภค - Identity cost ของแรงงานแต่ละคน =ø

  6. A Model of Inside and Outside Money นายทุน - มีสินค้าเริ่มต้น รู้ความต้องการของแรงงาน และลงทุนเองได้ - สินค้าทุนให้ผลผลิต x ในperiod หน้า - สินค้าที่ได้จากการลงทุนเป็นทั้งที่ผลิตเองและสินค้าของคนอื่น - อัตราผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากจะยิ่งลงทุนเองมากขึ้น นายธนาคาร - ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือลงทุนได้เอง - สามารถ locate นายทุนได้ และ identity cost = 0

  7. A Model of Inside and Outside Money • - แรงงานจะถือ Fiat money ได้เพียงรูปแบบเดียว มี rate of return = 1 • นายทุนลงทุนได้ rate of return = x • - นายธนาคารสร้างกำไรได้จากการยืมเงินจากแรงงานปล่อยให้นายทุนกู้ • นายทุนจะหยุดกู้เมื่อ ดอกเบี้ยเงินกู้ = x • แรงงานจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด = x • - การทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร Transaction cost = Ø

  8. A Model of Inside and Outside Money • ถ้าธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก = x แรงงานจะได้ผลตอบแทน • xSi - Ø • ผลตอบแทนเงินฝากโดยเฉลี่ย • ถ้าเป็นเงินสด Ø = 0 และ rate of return = 1

  9. A Model of Inside and Outside Money • Htคือมูลค่าที่แท้จริงของ total inside money (เงินฝาก) ในช่วงเวลา t • Qtแทนด้วยมูลค่าที่แท้จริงของ total fiat money (เงินสด) ในช่วงเวลา t • อัตรา deposit-to-currency ratio – s* ในเศรษฐกิจ • ใช้เงินสด เมื่อ rate of return 1 • ใช้เงินฝาก เมื่อ rate of return > 1

  10. Rates of Return x 1 0 Purchase Size (Si) S* Use checks Use currency

  11. A Model of Inside and Outside Money พิจารณาระดับราคา ptหาจาก หรือ จาก (M1)t มาจากเงินสดและเงินฝากที่ไม่มี reserve จะได้ว่า (M1)t = Mt + ptHt

  12. A Model of Inside and Outside Money เราสามารถเขียนใหม่ได้ว่า คือ money multiplier ขึ้นกับความพอใจของประชาชนในการเลือกถือเงินสดหรือเงินฝาก ถ้าเงินฝากเพิ่ม ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มด้วย ดังนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ผลตอบแทนของเงินฝากและเงินสดเปลี่ยนก็จะส่งผลต่อ Ht/Qtด้วย

  13. Linking Output and Money Multiplier พิจารณาตลาดเงิน ถ้าประสิทธิภาพการผลิตของทุนดีขึ้น ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นจาก x เป็น x’ จะทำให้ rate of return ของเงินฝากเพิ่มขึ้น ทำให้ s* ลดลงเป็น s*’ คนจะฝากเงินเพิ่มขึ้นถือเงินสดลดลง Ht/Qtเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อคนถือเงินสดลดลง Qt ลดลง demand for currency ลดลง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น [pt = Mt/Qt ] ในทุกช่วงของชีวิต

  14. Rates of Return X’ x 1 0 S*’ S* Purchase Size (Si)

  15. Linking Output and Money Multiplier พิจารณาตลาดผลผลิต ถ้าประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น เมื่อทุนคงที่ ยิ่งผลตอบแทนการลงทุนสูง ( x มีค่ามาก) จะลงทุนมากขึ้นทั้งทางตรงจากนายทุน และทางอ้อมจากแรงงานผ่านเงินฝากธนาคาร ดังนั้นผลผลิตรวม ณ t+1 มาจากการลงทุนทั้งสองทาง ณ t

  16. Linking Output and Money Multiplier GDPt+1 = Yt+1 + x’ Ht + x’ Kt Yt+1 = ผลรวมของรายได้ของคนงานและผู้ประกอบการหนุ่มที่เกิดในเวลา t+1 x’Ht = ผลผลิตที่เกิดขึ้นในเวลา t+1 จากทุนที่เกิดขึ้นในเวลา t x’Kt = ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากทุนที่เกิดจากการลงทุนทางตรง (M1)t มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลผลิตที่แท้จริง โดยผ่านการเปลี่ยนแปลงใน Money multiplier ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงใน Ht/Qt แต่ การเปลี่ยน (M1)tไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลผลิตที่แท้จริง

  17. A Once-and-for-All Change in the Fiat Money Stock คือ การเพิ่มจำนวนเงินเพียงครั้งเดียว แต่ส่งผลถึงปริมาณเงินใน periodอื่นๆ ด้วย Mt คงที่ - ด้านตลาดเงิน rate of return = 1 ไม่ทำให้ s* หรือ Ht/Qt เปลี่ยนแปลง money multiplier คงที่ - ด้านผลผลิต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน Ht ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการลงทุน คือผลผลิตคงที่

  18. A Once-and-for-All Change in the Fiat Money Stock ระดับราคาได้รับผลกระทบจาก Mt ที่เพิ่มขึ้น ณ period t=0 ถ้า Mtเพิ่มขึ้น 2 เท่า Ptเพิ่มขึ้น 2 เท่า (M1)t เพิ่มขึ้น 2 เท่าด้วย เมื่อ money multiplier คงที่ การเพิ่มขึ้นของ Mt ณ period t = 0 ส่งผลต่อระดับราคาและปริมาณเงินรวมให้สูงขึ้น แต่ไม่ทำให้ระดับผลผลิตเปลี่ยนแปลง เพราะ ผลผลิตจะถูกกระทบจาก การที่ x เปลี่ยนแปลงไปจาก Ht ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น x เป็นตัวแปรที่เข้ามาช่วยในการอธิบายความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต

  19. A Monetary Stabilization Policy สมมติว่า ความสามารถในการผลิตสินค้าทุน x ลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเงินภายนอก ( Qt ) และการลดลงของเงินภายใน ( Ht ) ทำให้ Ht/Qt ลดลง ซึ่งทำให้ ( M1 )t ลดลง เป็นผลทำให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “ เราจะสามารถป้องกันการลดลงของผลผลิตในช่วงเวลาต่อไป โดยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น ( ใช้นโยบายการเงิน ) ได้หรือไม่ ” จาก

  20. A Monetary Stabilization Policy คำตอบ คือ “ ไม่ ” เพราะ (M1)tเชื่อมโยงกับผลผลิต ในกรณีที่ [1+Ht/Qt] เชื่อมโยงกับผลผลิต นโยบายการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น Mt เพิ่มขึ้น เพื่อให้หักล้างอย่างสมบูรณ์กับการที่ [1+Ht/Qt]ลดลง ทำให้ (M1)t ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ทำให้ผลผลิตคงที่ด้วย เพราะผลผลิตลดลงเนื่องจากการที่ [1+Ht/Qt] ลดลง

  21. Another Look at Monetary Aggregates total money stockเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของระดับราคา ซึ่งเราพบว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการเพิ่มขึ้นของ money stock ไม่ว่าจะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของฐานเงิน (Mt) หรือการเพิ่มขึ้นของตัวคูณ [1+Ht/Qt]จะทำให้ระดับราคาสูงขึ้น แต่ total money stockไม่ได้เป็นตัววัดที่ดีในการดูผลผลิตใน modelนี้ โดยที่เงินภายในและเงินภายนอกมีความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนกับผลผลิต ขณะที่เงินภายในมีความเชื่อมโยงกับผลผลิต แต่เงินภายนอกไม่มีความเกี่ยวข้อง

  22. Another Look at Monetary Aggregates ถ้ามองเฉพาะภายรวมของ total money stock โดยที่ไม่สนองค์ประกอบจะทำให้เข้าใจผิดได้ ความผิดพลาดนี้สามารถป้องกันได้ ถ้านักเศรษฐศาสตร์แบ่งแยกระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเงินภายในและเงินภายนอกในการศึกษา เพราะผลผลิตจะสัมพันธ์กับเงินภายใน ( เงินฝากธนาคาร ) เท่านั้น

  23. Anticipated Inflation and Output Revisited ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นในฐานเงินจะไม่เกี่ยวข้องกับผลผลิต แต่การเพิ่มขึ้นของฐานเงินจะมีผลต่อตัวคูณ ทุน และการผลิต สมมติว่า เกิดอัตราคาดการณ์ของ Fiat money creation โดยกำหนดให้ประชากรคงที่ เพิ่มจาก zเป็น z’ อัตราผลตอบแทนของ fiat moneyจะลดลง ตามรูปทำให้ s* ลดลงเป็น s*’ ทำให้คนฝากเงินเพิ่มขึ้น ถือเงินลดลง Ht/Qtเพิ่มขึ้น เมื่อ Htเพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นด้วย

  24. Rates of Return x 1/z 1/z’ 0 S*’ S* Purchase Size (Si)

  25. Anticipated Inflation and Output Revisited • คำถาม “ ภาวะเงินเฟ้อเป็นที่ต้องการในระบบเศรษฐกิจใช่หรือไม่ ? ” • คำตอบ คือ “ไม่ใช่” เพราะการที่ปริมาณเงินทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากการเกิดเงินเฟ้อ ( ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ) • (M1)t = Mt + pt Ht • จะกระทบต่อผลผลิตเพียงเล็กน้อยเพราะผลผลิตขึ้นกับปริมาณเงินภายในมากกว่า และการที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทำให้ transaction costเพิ่มขึ้นด้วย

  26. Fully Backed Money

  27. Paying Interest on Money ข้อสมมติ ใช้ Overlapping Generation Model ในการพิจารณา - คนมี 2 periods ในชีวิต - สินค้าทุนให้อัตราผลตอบแทนเพียง 1 ช่วงอายุ โดยมีอัตราผลตอบแทนเท่ากับ x ( x > 1 ) สินค้าทุนไม่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆได้ - สถาบันการเงินเอกชนเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยให้อัตราผลตอบแทน เท่ากับ x แก่เงินฝาก - จำนวนประชากรคงที่ endowment ของคนหนุ่ม = y คนแก่ = 0 - ธนาคารกลางทำ OMOในตอนต้น ขาย Stock of Money ปริมาณ เท่ากับ M นำไปใช้ในการลงทุนเท่ากับ Kg

  28. Paying Interest on Money Periodที่ 1 ธนาคารกลางขายพันธบัตร และนำเงินลงทุนสินค้าทุนจำนวนเท่ากัน v1M = Kg และจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ที่ถือพันธบัตรจำนวน  ดอลลาร์ เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในสินค้าทุน อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตร

  29. Paying Interest on Money จากอุปสงค์และอุปทานของพันธบัตรจะได้ vtM = N ( y – c1,t - ht ) ตามกฎ Stationary Equilibrium ดังนั้น อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงคือ

  30. Paying Interest on Money อัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารกลางจะจ่ายแก่ผู้ถือพันธบัตร ต้องมากกว่าหรือเท่ากับที่ทางสถาบันการเงินเสนอ จะได้ 1 +  ≥ xหรือ  ≥ x– 1 ผลตอบแทนสุทธิที่ธนาคารกลางได้จากการลงทุน xKg - Kg = ( x - 1 ) Kg เส้นงบประมาณของธนาคารกลาง ( x - 1 ) Kg = Mv Kg = vM

  31. Another Look at the Quantity Theory พิจารณาผลกระทบของการขายพันธบัตรต่อระดับราคา จาก v = Kg / M  p = 1 / v = M / Kg เมื่อเพิ่มปริมาณพันธบัตร (M) ขึ้น 2 เท่า และนำเงินไปลงทุนในสินค้าทุน ทำให้ปริมาณสินค้าทุน (Kg) ก็เพิ่ม 2 เท่าด้วย ทำให้มูลค่าของเงินและระดับราคาคงที่

  32. Another Look at the Quantity Theory แต่ละคนจะต้องตัดสินใจเลือกว่าจะถือเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออก หรือจะฝากเงินกับธนาคารของเอกชนBudget Constraints ในช่วงเวลาแรกของชีวิตดังต่อไปนี้ c1 + vm + h = y การบริโภคในช่วงเวลาที่สองของชีวิตนั้นจะได้เงินมาจากเงินที่ถือไว้ และผลตอบแทนจากการถือพันธบัตรที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกและธนาคารเอกชนเป็นผู้ออกในรูปของเงินฝาก Budget Constraints ในช่วงเวลาที่สองของชีวิต ได้แก่ c2 = ( 1 +  ) vm + xh

  33. Another Look at the Quantity Theory เนื่องจากเงินทั้ง 2 ชนิดให้ผลตอบแทนในอัตราเดียวกัน ( 1 +  = x ) จะได้ c2 = xvm + xh = x (vm + h) ผลรวมของ vm + h แสดงถึงยอดการถือเงินที่แท้จริงของแต่ละคนในสังคม เนื่องจากเงินทั้ง 2 ชนิดให้ผลตอบแทนในอัตราเดียวกัน ทำให้คนในสังคมจะไม่เกิดความแตกต่างไม่ว่าจะถือเงินชนิดใดLifetime Budget Constraints ของแต่ละคนในสังคม

  34. Another Look at the Quantity Theory คนแต่ละคนจะเลือก c1* และ c2* ที่ทำให้เกิดความพอใจสูงสุดบน Lifetime Budget Constraints ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยอดโดยเปรียบเทียบของการถือเงินของธนาคารกลาง และการฝากเงินกับธนาคารเอกชน (vm และ h) หากยิ่งถือเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกมากเท่าไร เขาจะต้องถือเงินที่ธนาคารเอกชนน้อยลงเท่านั้น กรณีนี้ การทำ Open Market Operation ของธนาคารกลางไม่มีผลต่อสวัสดิการที่คนในสังคมได้รับ รวมทั้งไม่มีผลต่อขนาดของทุนที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจด้วย

  35. Another Look at the Quantity Theory อุปทานและอุปสงค์ของเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออก vM = N ( y – c1* - h ) Nh + Kg = N ( y – c1* ) ถ้าปริมาณที่แท้จริงของเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกเพิ่มขึ้นขณะที่การบริโภคของคนในสังคมยังคงเดิม ปริมาณเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนจะต้องลดลงในปริมาณที่เท่ากับปริมาณเงินของธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเปลี่ยนจากการถือเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนมาถือเงินที่ออกโดยธนาคารกลางแทนจะไม่ทำให้ทุนที่มีอยู่โดยรวมเปลี่ยนแปลง

  36. Another Look at the Quantity Theory ธนาคารกลางจะไม่สามารถเพิ่มปริมาณเงินที่ออกมาได้เกิน N( y – c1* ) การที่ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินจะไม่ส่งผลต่อมูลค่าของเงินและไม่ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น เพียงแต่ทำให้ปริมาณเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนลดลง จากสมการของอุปสงค์และอุปทานของเงินนั้น M + pNh = pN ( y – c1* ) เมื่อ M เพิ่มขึ้น และ N ( y – c1* ) ปริมาณเงินฝากจะปรับตัวลดลง โดยระดับราคาคงที่ ดังนั้นสรุปได้ว่าทฤษฎีปริมาณเงินใช้ไม่ได้กับ Fully Backed Money

  37. Another Look at the Quantity Theory ผลกระทบต่อระดับราคาเมื่อธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินในกรณี Fully Backed Money แตกต่างจากกรณี Fiat Money เมื่อปริมาณเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกเพิ่มขึ้น จะนำเงินนั้นไปซื้อสินค้าเพื่อสร้างความพอใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แทนที่จะนำเงินที่ออกนั้นไปลงทุน

  38. Another Look at the Quantity Theory จาก เมื่อปริมาณเงิน ( M ) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ทุน ( Kg) ไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารกลางต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เนื่องจากมีเงินที่ไว้จ่ายผลตอบแทนเท่าเดิม ในกรณีนี้มูลค่าของเงินที่ธนาคารกลางออกไปทั้งหมดจะต้องลดลง 50 % ( ระดับราคาสูงขึ้นเป็น 2 เท่า )

  39. Deflation Deflation คือ การลดปริมาณเงินของธนาคารกลางโดยการนำผลตอบแทนจากสินค้าทุนไปซื้อและทำลายเงินในมือประชาชน แทนที่จะจ่ายเป็นผลตอบแทนแก่ผู้ถือเงิน

  40. Deflation Mt = zMt-1 ปริมาณเงินลดลงจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยที่ z < 1 มูลค่าของเงินที่ลดลงในแต่ละช่วงเวลา คือ เราพบว่าผลตอบแทนสุทธิของสินค้าทุนเมื่อเวลาผ่านไป 1 ช่วงคือ (x - 1) Kg

  41. Deflation การซื้อคืนเงินของธนาคารกลางจะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลาง คือ แต่ vtMt = Kg จะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลางดังนี้ ดังนั้น อัตราการลดลงปริมาณเงิน

  42. Deflation จากอุปสงค์และอุปทานของ fiat money ภายใต้ Stationary Equilibrium vtMt = N ( y - c1 - h ) จะได้ว่า

  43. Deflation เมื่อธนาคารลดปริมาณเงินในอัตรา z = 1 / x ผลตอบแทนของ Fiat money จะเท่ากับผลตอบแทนของสินค้าทุน ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนเดียวกันกับที่ธนาคารเอกชนจ่ายให้ ดังนั้นการลดปริมาณเงิน โดยไม่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือเงินของธนาคารกลาง จะทำให้ผู้ที่ถือเงินของธนาคารกลางได้ผลตอบแทนอัตราเดียวกับสินค้าทุนและเป็นอัตราเดียวกับที่ธนาคารเอกชนจ่าย

  44. Currency Boards การใช้ Backed money หรือการออกขายพันธบัตรผ่าน Open Market Operation ของธนาคารกลางสามารถป้องกันการเก็งกำไรของค่าเงินในตลาดสกุลเงินระหว่างประเทศได้ โดยการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน และธนาคารกลางมีทรัพยากรที่เพียงพอในการซื้อคืน Backed Money ทั้งหมดที่ได้พิมพ์ออกไป ธนาคารกลางมีปริมาณพันธบัตรที่เป็นตัวเงินจำนวน M* มีมูลค่าหน่วยละ v* และนำไปลงทุนในสินค้าทุนจำนวน Kg* ซึ่งจะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลางดังนี้ v*M* = Kg*

  45. Currency Boards ถ้าซื้อคืนพันธบัตร ให้พันธบัตรลดลงครึ่งหนึ่ง จาก M* เป็น M*/2 ธนาคารกลางก็จะขายสินค้าทุนที่ได้ลงทุนไว้ออกไปครึ่งหนึ่งด้วย จาก Kg* เป็น Kg* /2 เพื่อนำเงินจากการขายสินค้าทุนมาชดเชยปริมาณพันธบัตรที่ออกขายได้ลดลง โดยไม่ทำให้มูลค่าของพันธบัตรลดลง นั่นคือ v* มีค่าคงที่ สามารถแสดงด้วยสมการดังนี้

  46. Currency Boards ประเทศอาร์เจนตินาได้ทำ Currency Board โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนของเงินเปโซ เท่ากับ e* โดยมีปริมาณเงินในระบบเท่ากับ M เปโซ เพื่อใช้ในการซื้อพันธบัตรจำนวน $A ซึ่งมีค่าเท่ากับ e*M แสดงด้วยสมการดังนี้ e*M = A โดย e* แทนด้วย v และ A แทนด้วย Kg* ถ้าผู้ถือเงินของอาร์เจนตินาต้องการแลกเปลี่ยนเงินเป็นจำนวนหนึ่งในสามของเงินทั้งหมด นั่นคือ e*M / 3 ดอลลาร์ ทาง Currency Board ก็สามารถขายหนึ่งในสามของพันธบัตรที่ถือครองอยู่ออกมาได้ โดยไม่ทำให้ค่าเงินเปโซลดค่าลงเป็นการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้คงอยู่ ณ ระดับเดิมได้

  47. Currency Boards การทำ Currency Board เป็นการให้ผลประโยชน์แก่รัฐบาลประเทศอื่นมากขึ้น ถ้าประเทศที่ทำ Currency Board แสดงให้ประเทศอื่นเห็นว่ารายได้ของประเทศหรือกำไรมาจากการทำ Currency Board มาก จะทำให้เกิดการเก็งกำไรขึ้นมา เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน รัฐบาลต้องแสดงว่ารายได้จากการทำ Currency Board ไม่ได้มีความสำคัญต่อประเทศของตน

More Related