1 / 45

A Technical and Economic Feasibility Study of Chilled Water Storage

การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ ของระบบสะสม ความเย็นด้วยน้ำเย็นสำหรับการปรับอากาศ ในอาคารธุรกิจขนาดเล็ก. A Technical and Economic Feasibility Study of Chilled Water Storage for Air Conditioning Systems in a Small Commercial Building. โดย นายอนันต์ เงินประเสริฐ.

Download Presentation

A Technical and Economic Feasibility Study of Chilled Water Storage

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ ของระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นสำหรับการปรับอากาศ ในอาคารธุรกิจขนาดเล็ก A Technical and Economic Feasibility Study of Chilled Water Storage for Air Conditioning Systems in a Small Commercial Building โดย นายอนันต์ เงินประเสริฐ

  2. บทนำ ….ความสำคัญและที่มา การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น • โรงจักรผลิตไฟฟ้าทุกแห่งจะต้องมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ครอบคลุมกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดที่อาจเกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาใดๆของวันได้โดยไม่ให้เกิดสภาวะไฟตกหรือดับอันจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างมหาศาล รัฐบาลต้องจัดหาแหล่งผลิตพลังไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ • จัดหางบประมาณและแหล่งก่อสร้างโรงไฟฟ้า • ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมและการต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากชุมชน

  3. บทนำ ….ความสำคัญและที่มา แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาและชะลอการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า คือการหาแนวทางกระจายความต้องการในการใช้ไฟฟ้าออกไปให้มี ความสม่ำเสมอตลอดทั้งวันโดยไม่มีช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดที่เกิดความ ต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ • Peak cut • ใช้มาตรการสิ่งจูงใจทางด้านราคาค่าไฟฟ้าเช่นอัตราค่า ไฟฟ้าแบบเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาการใช้ (TOU rate )

  4. บทนำ …. วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะและรูปแบบการทำงานของระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาใช้แทนระบบปรับอากาศแบบเดิมสำหรับการปรับอากาศในอาคารธุรกิจขนาดเล็ก 2. เพื่อวิเคราะห์ตรวจวัดหาอัตราการประหยัดจากอาคารตัวอย่างที่ศึกษา 3. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน 4. ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในการจัดหาแหล่งพลังงานทั้งจากภายและภายนอกประเทศ

  5. บทนำ …. ขอบเขตการศึกษาวิจัย 1. การศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารตัวอย่างที่ศึกษา 2. ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของระบบ 3. ประเมินศักยภาพการประหยัดพลังงานของระบบ 4. ศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนติดตั้งระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น 5. ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการใช้ระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นที่มีต่อการจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเพียงช่วงขณะและชะลอการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า

  6. บทนำ …. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัย 1. สามารถใช้เป็นข้อมูลผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งใช้งานระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นในอาคารธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยได้ 2. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปพิจารณาตัดสินใจในการลงทุนเพื่อดำเนินการจัดการใช้พลังงาน เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดได้ 3. ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยอาคารธุรกิจขนาดเล็กอื่นสามารถนำไปจัดรูปแบบแนวทางและวิธีการที่ดีในการใช้งานของระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นได้

  7. ทฤษฎี …. ระบบสะสมความเย็น คืออะไร? ระบบเก็บความเย็น คือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บความเย็นไว้ชั่วคราวในรูปน้ำเย็นหรือแข็ง เพื่อนำออกมาใช้ภายหลังในเวลาที่ต้องการความเย็น ดังนั้นจึงสามารถทำความเย็นในช่วงที่อัตราค่าไฟฟ้าถูก แล้วนำความเย็นมาใช้ในช่วงที่อัตราค่าไฟฟ้าแพงได้

  8. ทฤษฎี …. รูปแบบของระบบสะสมความเย็น รูปแบบของระบบสะสมความเย็น ระบบสะสมความเย็นสามารถแบ่งได้ 2 แบบตามชนิดของสารที่ใช้เก็บความเย็นคือ 1. ระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น (chilled water storage system) 2. ระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำแข็ง (ice storage sysytem)

  9. ทฤษฎี …. ระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น

  10. ทฤษฎี …. ประเภทของระบบเก็บความเย็น Full storage system

  11. ทฤษฎี …. ประเภทของระบบเก็บความเย็น Demand limited storage

  12. วิธีการทดลอง … ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.   ศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารสำนักงานกรณีศึกษา 2.   ศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารธุรกิจขนาดเล็กกรณีศึกษา 3. ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในส่วนระบบปรับอากาศกรณีที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบเดิมและกรณีที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบสะสม ความเย็นด้วยน้ำเย็น

  13. วิธีการทดลอง … ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย(ต่อ) 4. ประเมินศักยภาพการประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศกรณีที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบเดิมและกรณีที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น 5. ศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนติดตั้งระบบทำ ความเย็นด้วยน้ำเย็นในอาคารธุรกิจที่ศึกษา

  14. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน • สภาพทั่วไปและลักษณะการใช้งานของอาคาร - เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 15 ชั้นมีพื้นที่ใช้งานรวม 41,500 m2โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปรับอากาศ 35,500 m2 -  การใช้งานของอาคารคือช่วงเวลา 6.00 – 16.30 น. รวมระยะเวลาการ ใช้งาน 10.5 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานวันจันทร์-วันศุกร์ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์

  15. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน • ศึกษาระบบปรับอากาศของอาคาร - ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิม - ระบบทำความเย็นด้วยน้ำเย็น โดยมีรายละเอียดดังรูป

  16. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน

  17. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน • การศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานที่ศึกษา -การใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งระบบตลอดปีพ.ศ. 2547 เป็นจำนวน 6,411,997 kWh โดยมีรายละเอียดการใช้ไฟฟ้าแยกตามระบบดังรูป

  18. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน ระบบอื่นๆ 12.28% ระบบเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนาดเกิน 20 kW 3.33% ระบบแสงสว่าง 31.44% ระบบเครื่องสูบน้ำขนาดเกิน 20 kW 0.73% ระบบปรับอากาศ 52.22%

  19. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารสำนักงาน • ศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในส่วนของการปรับอากาศในกรณีใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิมและในกรณีใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางร่วมกับระบบทำความเย็นด้วยน้ำเย็น (1) การใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิม (2) การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยของระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิมร่วมกับระบบทำความเย็นด้วยน้ำเย็น(CO-SYSTEMS)

  20. (1)การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยของระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิม (1)การใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยของระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิม 9,333.83 kW.h

  21. (2) CO-SYSTEMS 3,378.5 kW.h + 6,022 kW.h = 9,400.5 kW.h

  22. วิธีการทดลอง … ศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก ศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก ดังนี้ 1.   ศึกษาสภาพทั่วไปของอาคารและลักษณะการใช้งาน 2.   ศึกษาระบบปรับอากาศของอาคารที่ใช้อยู่ปัจจุบัน 3.  คำนวณภาระความเย็นที่ต้องการของอาคารธุรกิจ 4.  ศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศของอาคารในส่วนระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันและกรณีจำลองใช้ระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น

  23. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็กการตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็ก • สภาพทั่วไปและลักษณะการใช้งานของอาคาร เป็นอาคารชั้นเดียวมีขนาดกว้าง 38 m ลึก 12 m และสูง 6.5 m พื้นที่ใช้งานรวม 456 m3ซึ่งเป็นพื้นที่ปรับอากาศทั้งหมด การใช้งานของอาคารเป็นลักษณะของร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันซึ่งเปิดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดทั้งปี

  24. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… N

  25. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็กการตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็ก • คำนวณภาระความเย็นที่ต้องการของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก ภาระการทำความเย็นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 อย่างดังนี้ 1. ภาระที่ผ่านผนังเข้ามา (Wall gain load) 2. ภาระจากอากาศใหม่ (Air change load) 3. ภาระจากผู้ใช้อาคาร(Occupants load) 4. ภาระจากอุปกรณ์ต่างๆ (Miscellaneous load) .      

  26. การคำนวณค่า OTTV และ RTTV ของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก

  27. การคำนวณค่า OTTV และ RTTV ของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก • จากข้อมูลสามารถคำนวณค่า OTTV และ RTTV ได้ • ค่า OTTV ของอาคาร= 50.296 W/m2 • ค่า RTTV ของอาคาร= 11.5 W/m2 • ดังนั้นค่าภาระที่ผ่านผนังเข้ามาทั้งหมด = 50,800.21 x 3.413 =173,381.11 btu/hr

  28. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… 2. ภาระจากอากาศใหม่ (Air change load) ภาระจากอากาศใหม่(W)= m(h0-hi) = 1500 x 0.0056(304.49-299.47) x 3.413 3.6 = 39.98 btu/hr

  29. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… 3. ภาระจากผู้ใช้อาคาร(Occupants load) กำหนดให้มีจำนวนผู้เข้ามาใช้งาน 100 คน/ชั่วโมง ภาระจากผู้ใช้อาคาร(W) =Average adjusted metabolic ratex จำนวนคน = 450 x 100 = 45,000 btu/hr

  30. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… 4. ภาระจากอุปกรณ์ต่างๆ (Miscellaneous load) อาคารธุรกิจที่ศึกษาเป็นอาคารที่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายประเภท เช่น หม้อต้มน้ำ ไมโครเวฟ หม้อนึ่ง เป็นต้น ภาระจากอุปกรณ์ต่างๆ(W) = 92,900.95 btu/hr

  31. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็กการตรวจวัดและเก็บข้อมูล…อาคารธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้นภาระความเย็นที่อาคารธุรกิจขนาดเล็กต้องการ =173,381.11 + 143.92 + 45,000 + 92,900.95 = 311,425.98 btu/hr   

  32. การตรวจวัดและเก็บข้อมูล… อาคารธุรกิจขนาดเล็ก • ศึกษาระบบปรับอากาศและพลังงานที่ใช้ในส่วนของระบบปรับอากาศของอาคาร เครื่องปรับอากาศที่ใช้อยู่ของอาคารเป็นแบบท่อส่งลมไกลชนิดแยกส่วนขนาด 98,000 btu/hr จำนวน 5 เครื่องมีอัตราการใช้พลังงาน10.65 kW/เครื่องเมื่อใช้งานจะเปิดครั้งละ 4 เครื่องสลับกัน ดังนั้นถ้ากรณีที่ใช้เครื่องปรับอากาศ 4 เครื่องตลอด 24 ชั่วโมงภายในหนึ่งเดือนจะมีการใช้พลังงานเท่ากับ การใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ = 4 x 10.65 x 24 x 30 = 30,672 หน่วย/เดือน

  33. การวิเคราะห์ข้อมูล …. การวิเคราะห์ทางด้านค่าไฟฟ้า การคำนวณค่าไฟฟ้าของอาคารสำนักงานต่อเดือน 43,770.82 บาท

  34. การวิเคราะห์ข้อมูล …. การวิเคราะห์ทางด้านค่าไฟฟ้า การคำนวณค่าไฟฟ้าของอาคารธุรกิจขนาดเล็กต่อเดือน 91,855.22 – 53,083.81 = 38,771.68 บาท

  35. การวิเคราะห์ข้อมูล….การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล….การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ 1. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของโครงการ - ค่าลงทุนประมาณ 5,000,000 บาท - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาปีละ 150,000 บาท แบ่งออกเป็น -เงินเดือนสำหรับผู้ดูแลระบบประมาณปีละ120,000 บาท - ค่าบำรุงรักษาประมาณปีละ 30,000 บาท 2. ผลตอบแทนสุทธิต่อปี ผลตอบแทนสุทธิต่อปี = ผลตอบแทนของโครงการ – ค่าใช่จ่าย = (38,771.41 x 12) – 150,000 = 315,256.92

  36. การวิเคราะห์ข้อมูล….การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล….การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PBP) ระยะเวลาคืนทุน = เงินลงทุน ผลตอบแทนสุทธิต่อปี = 5,000,000 315,256.92 ระยะเวลาคืนทุน = 15.86 ปี

  37. กรณีเงินลงทุนลดลง % เงินลงทุน ผลตอบแทนสุทธิต่อปี ระยะเวลาคืนทุน(ปี) 5 4,750,000 315,256.92 15.07 10 4,500,000 315,256.92 14.27 15 4,250,000 315,256.92 13.48 20 4,000,000 315,256.92 12.69 25 3,750,000 315,256.92 11.90 การวิเคราะห์ข้อมูล…. การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis)

  38. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารสำนักงาน จากผลการวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิมเปรียบเทียบกับการใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางแบบเดิมร่วมกับระบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นพบว่า -      การใช้ระบบ CO-SYSTEMS จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยมากกว่า 1,467 หน่วยต่อเดือน

  39. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารสำนักงาน -      การใช้ระบบ CO-SYSTEMS ถึงแม้จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแต่เมื่อนำมาคำนวณค่าไฟฟ้าแบบอาคารธุรกิจขนาดใหญ่ประเภท 4.2 ภายใต้การคิดค่าไฟฟ้าแบบตามช่วงเวลาการใช้งาน(TOU rate) พบว่าสามารถประหยัดเงินค่าไฟฟ้าได้ถึง 43,770.82 บาทต่อเดือนคิดเป็น 5.58% ของค่าไฟฟ้าในระบบปรับอากาศแบบเดิม

  40. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารธุรกิจขนาดเล็ก จากผลการวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ระบบปรับอากาศแบบปัจจุบันเปรียบเทียบกับการจำลองการใช้ระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็น พบว่า การใช้ระบบปรับอากาศแบบสะสมความเย็นด้วยน้ำเย็นจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4,842 หน่วยต่อเดือน หรือคิดเป็น 15.79% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

  41. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารธุรกิจขนาดเล็ก การใช้ระบบปรับอากาศแบบทำความเย็นด้วยน้ำเย็นถึงแม้ว่าจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแต่เมื่อนำมาคำนวณค่าไฟฟ้าแบบอาคารธุรกิจขนาดเล็กแบบอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (TOU rate) สามารถลดค่าไฟฟ้าถึง 38,771.41 บาท/เดือนหรือลดลงคิดเป็น 42.21% ของค่าไฟฟ้าในระบบปรับอากาศที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

  42. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารธุรกิจขนาดเล็ก กรณีถ้าอาคารธุรกิจที่ศึกษาในลักษณะดังกล่าวมีการลงทุนใช้ระบบปรับอากาศแบบทำความเย็นด้วยน้ำเย็นจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5,000,000 บาทและมีผลตอบแทนสุทธิต่อปีเท่ากับ 315,256.92 บาทจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในด้านระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PBP) พบว่าโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาคืนทุน 15.86 ปี -     

  43. สรุปผลการศึกษา …. กรณีศึกษาอาคารธุรกิจขนาดเล็ก จากการวิเคราะห์ความไวถ้าภาครัฐให้การสนับสนุนและช่วยเหลือด้านเงินลงทุนโดยให้เงินลงทุนลดลง 5% ถึง 25% จะทำให้ระยะเวลาคืนทุนลดลงประมาณ 1 ถึง 5 ปีตามลำดับ

  44. ข้อเสนอแนะ …. ถ้าภาครัฐมีนโยบายที่สนับสนุนในด้านต่างๆ เช่นมีการสนับสนุนให้อุปกรณ์ระบบกักเก็บความเย็นด้วยน้ำเย็น มีราคาถูกลง โดยอาจใช้มาตรการปรับลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรดังกล่าว หรือให้การช่วยเหลือในด้าน เงินกู้ยืมสำหรับการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย เป็นต้น ก็สามารถทำให้โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีความสนใจที่จะติดตั้งระบบดังกล่าว

  45. ขอขอบพระคุณ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน อ.ดร.จันทนา กุญชรรัตน์ (เมธีวิจัย) อ.ดร.อัมพร กุญชรรัตน์

More Related