1 / 73

หลักสูตรและการสอนตามกรอบ TQF ระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรและการสอนตามกรอบ TQF ระดับบัณฑิตศึกษา. ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ วิทย บริการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ม.ทักษิณ : 13 มกราคม 2553. เรื่องที่จะคุย. เงื่อนไข ความเป็นมา/ความหมาย/ความสำคัญ องค์ประกอบหลัก

beck
Download Presentation

หลักสูตรและการสอนตามกรอบ TQF ระดับบัณฑิตศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรและการสอนตามกรอบ TQF ระดับบัณฑิตศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิทยบริการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ทักษิณ : 13 มกราคม 2553

  2. เรื่องที่จะคุย • เงื่อนไข • ความเป็นมา/ความหมาย/ความสำคัญ • องค์ประกอบหลัก - โครงสร้าง (Structure) - มาตรฐานคุณวุฒิ (Domains) - กระบวนการ (Process) - การดำเนินงาน (Specifications) • มาตรฐานคุณวุฒิ (Domains) / คุณลักษณะของบัณฑิต - ของมาเลเซีย / อังกฤษ - ของ สกอ. - กรอบการพัฒนา- ต้มยำกุ้งโมเดล • เงื่อนไขการเรียนรู้ - กระบวนการ - หลักสูตร/การสอน/กิจการนักศึกษา/สิ่งแวดล้อม • กระบวนการของ TQF • ลายแทง 7 ฉบับ Specifications / Report • แนวปฏิบัติ TQF ในสถาบัน - การกำหนดเป้าหมาย - จัดทำรายละเอียดของหลักสูตร - พัฒนาเอกสารรายวิชา - รายงานการดำเนินงาน • ตัวอย่าง มคอ.3, 5

  3. เงื่อนไข/การดำเนินงานหลักเงื่อนไข/การดำเนินงานหลัก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (2 กรกฎาคม 2552) ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (12 กรกฎาคม 2552)  ใช้ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2553 (ใหม่) ปรับปรุงเก่า ปีการศึกษา 2555 • วัตถุประสงค์หลัก เพื่อคุณภาพของบัณฑิต โดยการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการสอนและการบริหารจัดการที่เอื้อต่อคุณภาพ • คุณภาพบัณฑิตพื้นฐานมี 5 ประการหลักคือ (1) คุณธรรม จริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ดูที่ผลการเรียนรู้ • คิดพัฒนาวางแผนจัดทำเป็นเอกสาร  จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาวิชาต่างๆ ของแต่ละระดับ (มคอ 1)  จัดทำหลักสูตร (มคอ 2) รายละเอียดของรายวิชา (มคอ 3) รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) (มคอ 4)  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานรายได้ (มคอ 5) รายงานผลการดำเนินงานประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) มคอ 6 และผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ 7)

  4. ความเป็นมา  2545 ดำเนินการวิจัยเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์)  2546 ขอความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย (สกอ.)  2547 ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียเสนอแนวคิด (Ian Allen) คณะกรรมการดูงานออสเตรเลีย (จิรณี ตันติรัตน์วงศ์)  2548 จัดทำร่างข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ (Ian Allen)  2549 จัดทำร่างกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิในสาขาวิทย์ คณิต คอมพิวเตอร์  2550 จัดทำร่างประกาศกรอบมาตรฐาน  2551 จัดทำ Program and Course Specifications (สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาโลจิสติกส์, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์) European Qualifications Framework (EQF) Southern African Development Community Qualifications Framework (SADCQF)

  5. Status of Implementation of NQFs (worldwide)

  6. เงื่อนไขบังคับ : จาก ทบวง ถึง สมศ. ถึง สกอ.  ประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติฯ 2539  พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 (หมวด 6, มาตรา 47-53)  ศูนย์การประกันคุณภาพฯ ภายในของ สกอ. 2550 มีกรรมการ / หน่วยงานดูแล มีการประเมินภายใน / ภายนอกดูแล มีการจัดทำรายงาน / ตรวจสอบ / เผยแพร่ มีเอกสาร / หลักฐาน / ยืนยัน มีการให้คำตอบตัวเลข

  7. แล้วก็ยังไม่ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพแล้วก็ยังไม่ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ • เกมส์ของตัวเลขและการตีความ • ดึงสู่ส่วนกลางไม่ Creative • เกณฑ์เดียวทำเหมือนๆ กันไม่มีเอกลักษณ์ • เป็นแค่เอกสารและอยู่แค่นั้นยังไม่เป็นวัฒนธรรม • ยังไม่แสดงลักษณะเฉพาะของไทยเท่าที่ควร • ขาดความสัมพันธ์กับสังคม • ยังไม่มุ่งสู่ความเป็นเลิศแค่ขั้นต่ำ • ส่วนใหญ่ผ่านแต่ข้อวิจารณ์เรื่องคุณภาพก็ยังมีอยู่ • คุณภาพบัณฑิตยังไม่ชัดเจน ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงอีกรอบแล้ว

  8. ความหมายและความสำคัญ (1) นิยาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Qualifications Frameworks) คือระบบที่แสดงความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการศึกษาของชาติ ระบบดังกล่าวจะบ่งบอกโครงสร้างและระดับของการศึกษา ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของแต่ละระดับ การเข้าสู่แต่ละระดับ วุฒิหรือผลลัพธ์ของผู้จบการศึกษาแต่ละระดับ ในบางกรณีจะแสดงผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการศึกษาแต่ละระดับ รวมทั้งกระบวนการจัดไว้ด้วย (Allen, 2003, Adhoc Inter Agency Meeting, 2003) คำนิยามนี้เป็นการประมวลภาพของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่สมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้เห็นภาพของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้ชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว รายละเอียดของคำนิยามก็จะออกมาในลักษณะของผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นหลัก (Young, 2003) จากคำนิยามของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิดังกล่าวทำให้เห็นภาพว่า กรอบคุณวุฒินั้นแสดงถึงระบบการศึกษาที่แสดงระดับต่างๆ ในแต่ละระดับสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ละระดับเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะมีคุณวุฒิอะไรเป็นหลัก คุณวุฒินั้นเป็นอย่างไรบ้าง การที่จะให้ได้คุณวุฒินั้นทำอย่างไร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิถือได้ว่าเป็นเครื่องมือของการประกันคุณภาพ เป็นการสื่อสารถึงกันในหมู่ผู้ให้การศึกษาและผู้ใช้การศึกษาเองและจะเป็นหลักประกันว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับนั้นมีคุณสมบัติตรงตามที่เข้าใจกันหรือไม่ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องในการเทียบเคียงคุณภาพระหว่างประเทศอีกด้วย ที่มา : ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ “รายงานการวิจัยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย, 2548

  9. ความหมายและความสำคัญ (2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Frameworks for Higher Education : TQF : HEd) หมายถึง กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นในในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่มา : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552

  10. องค์ประกอบของกรอบมาตรฐานองค์ประกอบของกรอบมาตรฐาน 1.โครงสร้างของระดับการศึกษา/และจุดเน้น  ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก/ประกาศนียบัตร/นก. เวลา ฯลฯ 2.มาตรฐานคุณวุฒิในแต่ละกลุ่ม (Domains)  ความรู้ ความคิด ทักษะ คุณธรรม  คุณธรรมจริยธรรมความรู้ ทักษะเชาวน์ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ ทักษะวิเคราะห์และการสื่อสาร 3. กระบวนการที่จะเป็นเงื่อนไข/ปัจจัย แห่งความสำเร็จ  หลักสูตร การสอน กิจกรรม สิ่งแวดล้อม 4. แนวทางปฏิบัติ Specifications

  11. มาตรฐานคุณวุฒิ คุณลักษณะบัณฑิตของผู้จบปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ของมาเลเซีย ที่มา : Adhoc Inter Agency Meeting, (2003)

  12. มาตรฐานคุณวุฒิ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกของอังกฤษ ระดับปริญญาเอก ผู้ศึกษาระดับปริญญาเอกจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1) มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ 2) องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบต้องเกี่ยวข้องกับงานวิชาการและวิชาชีพของตนเอง 3) ความสามารถในการสร้างแนวคิด ออกแบบและดำเนินการเพื่อสร้างความรู้ใหม่ การประยุกต์ใช้ หรือความเข้าใจ และสามารถปรับการออกแบบโครงการให้พร้อมรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 4) ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคเพื่อการวิจัยโดยละเอียด โดยรวมแล้ว นักศึกษาระดับปริญญาเอกมีความสามารถต่อไปนี้ 1) ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อน และสามารถสื่อสารความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 2) สามารถสานต่องานวิจัยทั้งงานวิจัยบริสุทธิ์และงานวิจัยประยุกต์ในระดับสูงได้ โดยมีการพัฒนา เทคนิคและแนวคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ 3) มีคุณสมบัติและทักษะที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งใน สภาพแวดล้อมที่เป็นมืออาชีพหรือปกติก็ตาม ที่มา : England National Qualification Framework, (2003)

  13. ผลลัพธ์การเรียนรู้จาก 7 ประเทศ 1. ความรู้ความชำนาญทั่วไป (Generic Knowledge, Skills, Competence)1.1 ความรู้และความเข้าใจ - รู้และเข้าใจข้อเท็จจริงในศาสตร์ที่ศึกษา - รู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด และทฤษฏี - รู้และเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติ - ความรู้เชิงสหวิทยาการ1.2 ทักษะการคิด - คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ สังเคราะห์ - คิดประยุกต์ บูรณาการ สร้างสรรค์1.3 สมรรถนะ - Interpersonal Skills - Communication Skills - Responsibility ด้านตนเองและสังคม1.4 คุณธรรมและจริยธรรมด้านสังคมและอาชีพ(Ethics and Value) - จริยธรรม / ค่านิยม / ทัศนคติ / ศักดิ์ศรีในวิชาชีพ 2. ทักษะปฏิบัติเฉพาะทาง (Specific Skills)

  14. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย(1) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นในตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้บัณฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้านดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม (2) ด้านความรู้ (Knowledge)หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

  15. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (2) (3) ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)หมายถึงความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบ ในการเรียนรู้ตนเอง (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านนี้ บางสาขาวิชาต้องการทักษะทางกายภาพสูง เช่น การเต้นรำ ดนตรี การวาดภาพ การแกะสลัก พลศึกษา การแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงต้องเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skill)

  16. “ปัญจลักษณ์” เป้าหมายเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิต

  17. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

  18. TQF เป้าหมาย และกระบวนการ เพื่อคุณภาพของบัณฑิตไทย กำหนดเป้าหมาย • การกำหนดเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตให้ชัดเจน (มีกรอบใหญ่ 5 ประการ) • กำหนดผลการเรียนรู้ด้วยว่าเมื่อจบแล้วจะมีลักษณะอย่างไร • กำหนดมาตรฐานคุณวุฒิกลาง (มคอ.1)

  19. การจัดทำรายละเอียดหลักสูตร/การสอนการจัดทำรายละเอียดหลักสูตร/การสอน  สาระและรายวิชา  การสอน  การประเมิน  การทบทวนการสอน  คนที่จะเข้าเรียน  เข้าอย่างไร  เทียบโอนได้หรือไม่  คณาจารย์  บุคลากร  การพัฒนาอาจารย์และบุคลากร  ทรัพยากร  สภาพแวดล้อม  การจัดการ  ระบบการประกันคุณภาพและการสอบทาน  การเผยแพร่ (Registered)  ภาคผนวก

  20. พัฒนาเอกสารรายวิชา  กำหนดจุดมุ่งหมายของวิชาให้ชัดและสอดคล้องกับหลักสูตร  กำหนดผลการเรียนรู้ (เท่ากับหรือมากกว่า) 5 ประการ  แนวการสอนและการประเมินผลเพื่อให้ได้ 5 ประการ  แผนการดำเนินงานที่ละเอียดพอตามแนวการสอน  ทรัพยากร / สภาพแวดล้อม / เงื่อนไขของความสำเร็จ  การประเมินและการปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้น เมื่อทำหลักสูตรแล้วอาจารย์แต่ละท่านต้องทำรายละเอียดของวิชา (Course Specification)ก็คือ Course Syllabus ที่ละเอียดขึ้น (บางคนไม่เคยทำ / บางคนทำพอผ่าน / บางคนมี 1-2 แผ่น, etc.) ถ้ามีวิชาประสบการณ์ภาคสนามก็ต้องทำเช่นเดียวกัน

  21. รายงานผลการดำเนินงาน • สอนเสร็จต้องประเมินว่าสอนเป็นอย่างไร • ถ้ามีภาคสนามก็ต้องประเมินเช่นกัน • เมื่อสอนครบปีก็ต้องรายงานการประเมิน • นำไปสู่การปรับปรุง

  22. จากแนวคิดสู่กระบวนการปฏิบัติจากแนวคิดสู่กระบวนการปฏิบัติ ทิศทางของสถาบัน มาตรฐานคุณวุฒิระดับ / สาขา รายละเอียดของหลักสูตร รายการปรับปรุงและพัฒนา รายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ ภาคสนาม รายการปรับปรุงและพัฒนา รายการปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการเรียนการสอน

  23. Templates for Specificationsแบบฟอร์ม Qualifications Standard มาตรฐานคุณวุฒิ มคอ. 1  ProgramSpecifications Program Report มคอ. 7 รายละเอียดของหลักสูตร มคอ. 2  Course Specifications Course Report มคอ. 5 รายละเอียดของรายวิชา มคอ. 3  Field Experience Specifications Field Experience Reportมคอ. 6 รายละเอียดของประสบการณ์ ภาคสนาม มคอ. 4 ลายแทง 7 ฉบับ

  24. ฉบับที่ 1 : มคอ. 1 มาตรฐานคุณวุฒิ 11. คุณสมบัติและผู้เข้าศึกษาและการเทียบโอน12. คณาจารย์และบุคลากร13. ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการ14. แนวทางการพัฒนาคณาจารย์15. การประกันคุณภาพ16. การเผยแพร่17. รายชื่อคณาจารย์18. ภาคผนวก (ถ้ามี) 1. ชื่อสาขา / สาขาวิชา2. ชื่อปริญญา และสาขาวิชา3. ลักษณะเฉพาะสาขา / สาขารับ4. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์5. มาตรฐานผลการเรียนรู้6. องค์กรราชการที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 7. โครงสร้างหลักสูตร8. เนื้อหาสาระสำคัญของสาขา / สาขาวิชา9. กลยุทธ์การสอนและการประเมิน10. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้

  25. ฉบับที่ 2 :มคอ. 2 รายละเอียดของหลักสูตร หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและประเมินผล หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร

  26. ฉบับที่ 3 :มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

  27. ฉบับที่ 4 :มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

  28. ฉบับที่ 5 :มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การจัดการเรียนการสอนเปรียบเทียบกับแผนการสอน หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ 4 ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ หมวดที่ 5 การประเมินรายวิชา หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

  29. ฉบับที่ 6 :มคอ. 6 รายงานผลการดำเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การดำเนินการที่ต่างไปจากแผนการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 3 ผลการดำเนินการ หมวดที่ 4 ปัญหาและผลกระทบด้านการบริหาร หมวดที่ 5 การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

  30. ฉบับที่ 7 :มคอ. 7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเชิงสถิติ หมวดที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร หมวดที่ 4 ข้อมูลสรุปรายวิชาของหลักสูตร หมวดที่ 5 การบริหารหลักสูตร หมวดที่ 6 สรุปการประเมินหลักสูตร หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน หมวดที่ 8 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมินอิสระ หมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร

  31. การพัฒนาหลักสูตรและการสอนตามแนวของ TQF หลักสูตรกลาง VS รายวิชา 1. เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ 2. กำหนดแนวคิด ปรัชญา พื้นฐานในการผลิตบัณฑิต 3. พัฒนา (ทบทวน) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4. พัฒนา (ทบทวน) รายวิชาที่เปิดสอน 5. พัฒนามิติของจุดมุ่งหมายกับรายวิชาที่สอนให้สอดคล้องกัน 6. พัฒนาการสอน (จัดกระบวนการเรียนรู้) ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย 7. กำหนดแนวทางประเมินผลนักศึกษา 8. การเตรียมบุคลากร / ทรัพยากร 9. แนวทางการประเมิน / พัฒนา พัฒนา (ปรับปรุง) หลักสูตรกลางก่อน พัฒนา (ปรับปรุง)รายวิชา

  32. ความเข้าใจพื้นฐาน TQF • กำหนดเป้าหมาย • จุดเปลี่ยนของสังคม • การดำเนินชีวิตของคนยุคหลังอุตสาหกรรม • ข้อสรุปโลกยุคใหม่ • ปรัชญาอุดมศึกษาไทย / คนรุ่นใหม่ • พัฒนาเอกสารรายวิชา • คุณลักษณะบัณฑิตกับเงื่อนไขการสอน • กระบวนการสอนที่ควรเน้น • สภาพแวดล้อมกับการสอนใหม่ • สัตตศิลาของครูผู้เอื้อความรู้ • จัดทำรายละเอียดของหลักสูตร • Curriculum Mapping • อย่ามองข้ามความสำคัญ • อเมริกากลุ่มนำ • - แนวคิดเกียวกับบัณฑิตศึกษา • รายงานการดำเนินงาน • มิติการบริหาร • การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา • Creative & Productive HE

  33. จุดเปลี่ยนของสังคม ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2552

  34. การดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล หลังยุคอุตสาหกรรม (Post-industrial) มืออาชีพหลากหลาย (Multiple careers) ทำงานหลายอย่าง (Multiple jobs) ไม่มีความชัดเจนในตัวตน (Blurred identity) การเรียน-การงานขาดความสัมพันธ์ (Work-study mismatch) มีโอกาสทำงานอิสระ (Possible free-lancing) ตกงานบ่อย (Frequent off-jobs) รายได้ไม่แน่นอน (Precarious incomes) สถานภาพปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง (Fluctuating status) อนาคตไม่แน่นอน (Unpredictable future) มีการเปลี่ยนเครือข่าย (Varying networks) มีการเปลี่ยนคู่ความสัมพันธ์ (Changing partners) ความไม่มั่นคง/ไม่แน่นอน (Insecurity, uncertainty) Kai-ming cheng, 2007/ ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร

  35. จากแฮมเบอเกอร์สู่ต้มยำกุ้งโมเดลจากแฮมเบอเกอร์สู่ต้มยำกุ้งโมเดล Hamburgerization TomYam Kung-ization ส่วน ประกอบ ลูกค้า เป็นหลัก • แฮมเบอร์เกอร์ 1. ลูกค้าเป็นหลัก • . ส่วนประกอบนานาชาติ • . รสชาติเดียวทั่วโลก • . ขาดคุณค่าทางอาหาร • . บริหารแบบเดียว • 6. ขายทั่วโลก ระบบต้มยำกุ้ง 1. แม่ครัวมีบทบาท 2. คิดและทำในท้องถิ่น 3. พัฒนารสชาติต่างๆ กัน 4. มีคุณค่า/ประโยชน์สูง 5. ยืดหยุ่นได้หลากหลาย 6. จัดได้ทั้งใน/นอกประเทศ สนองทุกฝ่าย สร้างสรรค์หลายแบบ คุณค่าครบ หลากหลายรส

  36. ข้อสรุปโลกยุคใหม่ 1. มีความหลากหลาย 2. มีทักษะหลายอย่าง (Trainable) 3. ปรับตัวได้ / เปลี่ยนได้ / ทำได้ (เปลี่ยนงาน) 4. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ / ตามทัน 5. มีข้อมูล / มีเหตุผล / รับสื่อใหม่ได้ 6. คิดวิเคราะห์ / สังเคราะห์ / ประเมิน 7. เรียนรู้ปัญหา / มีสำนึกร่วม 8. รู้จักตัวเอง / เป็นตัวของตัวเอง / มีความโดดเด่น 9. มีทางเลือก / สร้างทางเลือกเอง 10. มีความดี / ความงาม / เฉพาะตัว วิชาชีพไม่พอ ต้องการศึกษาทั่วไป

  37. ปรัชญาอุดมศึกษาไทย จุดเน้น / ผสมผสาน / ภาพรวม • อุดมคตินิยม / พระธรรมปิฎก / พระไพศาล / ส.ศิวรักษ์ มนุษย์ ความหลุดพ้น ศาสนา / อุดมคติ / ความเสียสละ / จิตใจ • ปัญญานิยม / หมอจรัส / หมอวิจารณ์ / อ.ไพฑูรย์ มนุษย์ ความสามารถทางปัญญา ปรัชญา / ที่มา / ประวัติศาสตร์ / อภิปราย / วิเคราะห์

  38. ปรัชญาอุดมศึกษาไทย (ต่อ) • ชุมชนนิยม / ศ.เสน่ห์ / ดร.เสรี / ดร.นิธิ มนุษย์ รู้จัก / เข้าใจ / ชุมชน เรียนรู้สังคม / มีส่วนร่วม / ตระหนักสำนึก • ปฏิบัตินิยม / ดร.โอฬาร / กลุ่มนักธุรกิจ / โลกาภิวัตน์ มนุษย์ ปรับเปลี่ยนตามสังคม ภาษา / คอมพิวเตอร์ / ธุรกิจ / นานาชาติ • เทคโนโลยีนิยม / ดร.ศรีศักดิ์ / ดร.ชัยยงค์ / อ.ยืน มนุษย์ ใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี / นวัตกรรม / Media / E-education

  39. C ritical Mind C reative Mind P roductive Mind R esponsible Mind บริโภคนิยม บริโภค/ตามอย่าง  บริโภค/สร้างสรรค์  สร้างสรรค์ ตามอย่าง ผลิตผล/ตามอย่าง  ผลิตผล/สร้างสรรค์  ผลิตผลนิยม ลักษณะคนรุ่นใหม่-CCPR Model

  40. หมายเหตุ 3 = ทำหน้าที่หลัก 2=ทำหน้าที่รอง และ 1 = ผลพลอยได้

  41. อย่ามองข้ามความสำคัญ • เป็นข้อบังคับของหลักสูตร • ทุกคนต้องเรียนกับเรา • เรียนถึง 30 หน่วยกิต • เท่ากับ ¼ ของวิชาทั้งหมด • จะหล่อหลอมได้อย่างดี

  42. อะไรที่ใช่และไม่ใช่การศึกษาทั่วไปอะไรที่ใช่และไม่ใช่การศึกษาทั่วไป • ไม่ใช่วิชาเบื้องต้น Introduction to… • ไม่ใช่วิชาเรียนก่อน Physics 1 • ไม่ใช่วิชาพื้นฐานวิชาชีพ Economics for … • ไม่ใช่วิชาเติมเต็ม History of … • ไม่ใช่วิชาทดลอง Experiment in … • ความเป็นคนที่สมบูรณ์ (ตามที่มหาวิทยาลัยเชื่อ) • เข้าใจโลก / สังคม / ชีวิต (อย่างดีตีให้แตก) • เชื่อมโยงวิชาที่เรียนกับชีวิตประจำวัน (มีความรับผิดชอบ) • พัฒนาคิดวิเคราะห์ สื่อความคิดได้ดี (เหตุผล/ที่มาที่ไป) • เรียนรู้ด้วยตนเองได้ / ใฝ่รู้ • รู้จักเลือก (Judgment)

  43. Ability and Skills in ASEAN Countries Malaysia Singapore Vietnam จุดมุ่งหมาย • Communication • Team work • Problem solving • Examining issues in totality • Balance this with the benefits of community and individuals • Creative thinking • Lifelong learning • Lateral Thinking • Well rounded graduate • Writing • Innovative • Articulate • Groomed to lead • Thinking Skills • Communication • Leadership • Civilization ลักษณะรายวิชา • Foreign Languages • Social Sciences • Humanities • Natural Sciences and Mathematics • National Defend Education • Physical Education • Well-trained vs Well-educated doctors • Synthesize and integrate knowledge from diverse discipline to establish a connection between all human knowledge and infuse students with a concrete understanding of the process of human creation • One module each from Writing Program and History • Select modules from the Humanities and Social Sciences and from areas of Science and Mathematics

  44. Americaกลุ่มกลาง University of Missoury Indiana State University SanFrancisco State University จุดมุ่งหมาย • Critical thinking • Communication skills • Quantitative literacy • Lifelong learning • Issue of value and belief • Critical thinking • Written Communication • Oral Communication • Quantitative reason • Reason and Think clearly • Write and speak coherently • Understand the important issues • Understand the important of international affairs • Understand our culture and history • Appreciate the fine arts and Humanities • Understand major scientific and technological influence in society ลักษณะรายวิชา • Segment 1 Basic Subjects • Written/Oral Communication • Critical thinking/Qualitative Reasoning • Segment 2 Arts and Sciences • Physical and biological science Area • Behavioral and Social Sciences Area • Integrative Science • Humanities and Creative Arts Area • Skills • Math • English • American History and Government • Math Proficiency Course • Understanding • Biological Science • Physical Science • Mathematical Science • Behavioral and Social Science • Humanity and / or Fine Arts • Basic Studies • English/Foreign Language • Math/it/physical edu • Liberal Studies • Scientific of Mathematical • Social and Behavior Studies • Literary Artistic and Philosophical Studies • Historical Studies • Multicultural Studies

  45. Americaกลุ่มนำ Harvard University Columbia University Stanford University จุดมุ่งหมาย • To introduce students to a broad range of fields and areas of study within the humanities, social sciences, natural sciences, applied sciences, and technology • To help students prepare to become responsible members of society. • The requirements are also intended to introduce students to the major social, historical, cultural, and intellectual forces that shape the contemporary world. • General education prepares for civic engagement. • General education teaches students to understand themselves as products of – and participants – traditions of art, ideas, and values. • General education prepares students to respond critically and constructively to change. • General education develops students’ understanding of the ethical dimensions of what they say and do. • Interactive Pedagogy • Taught in seminars limited to approximately twenty-two students • Active intellectual engagement. • Intellectual relationships with their College career • Shared process of intellectual inquiry • Skills and habits : observation, analysis, arrangement, imagination • Provide arigorous preparation for life an intelligent citizen ลักษณะรายวิชา • Writing and Speaking • Aesthetic and Interpretive Understanding • Culture and Belief • Empirical Reasoning • Ethical Reasoning • Science of Living Systems • Science of the Physical Universe • Societies of the World • The United States in the World • University Writing • Contemporary Civilization • Literature Humanities • Art Humanities • Literature Humanities • Music Humanities • Major Cultures Requirement • Frontiers of Science • Science • Foreign Language Requirement • Physical Education Requirement Foundations:writing/freshman seminar Area 1 Introduction to the Humanities courses Area 2 Natural Sciences, Applied Science and Technology, and Mathematic Area 3 Humanities and Social Sciences Area 4 World Cultures, American Cultures, and Gender Studies

  46. คุณลักษณะบัณฑิตกับเงื่อนไขการสอน (จากงานวิจัย)

  47. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethics)

  48. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความรู้ (Knowledge)

  49. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความคิด (Thinking)

  50. กระบวนการผลิตบัณฑิตด้านความสามารถ (Skill)

More Related