1 / 60

ดร . สุทิน ลี้ปิยะชาติ หัวหน้าโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท คิดดี ทำดี แจ่มใส รู้รักสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง. โดย. ดร . สุทิน ลี้ปิยะชาติ หัวหน้าโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด. ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก .พ. และ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด.

avery
Download Presentation

ดร . สุทิน ลี้ปิยะชาติ หัวหน้าโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท คิดดี ทำดี แจ่มใส รู้รักสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง โดย ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ หัวหน้าโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนสำนักงาน ก .พ. และ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

  2. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ วันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

  3. “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคม พร้อมพรั่งด้วยบุคคลจากทุกสถาบันในชาติตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอำนวยพรและการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงาม น้ำใจไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้ง ที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  4. “…จึงขอขอบใจทุกๆคน จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคนทุกฝ่ายนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรักสามัคคี ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอด รอดฝั่ง...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  5. “…ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสาน ประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  6. “...หากความคิดจิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ ยังมีพร้อมมูลในกายในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้ จึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้ไว้ให้เหนียวแน่น และถ่ายทอดความคิดจิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาดสาย เพื่อให้ประเทศชาติของเราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็น เป็นสุข ทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  7. “...ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล จงคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทย ให้ปลอดพ้นจากภัยอันตราย ทุกสิ่ง และอำนวยความสุขความเจริญสวัสดี ให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั่วกัน” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  8. “บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆคนให้มีความสุข ความเจริญ และความสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา ความปรารถนาของแต่ละคนคงไม่แตกต่างกันนัก คือปรารถนาความสุขกายสบายใจ ความสมบูรณ์ด้วยพลานามัย ด้วยทรัพย์ ด้วยเกียรติยศ พร้อมทั้งความสงบร่มเย็น พูดถึงความสงบร่มเย็น อาจจะแยกได้เป็นสองส่วน คือ ความสงบภายนอก กับความสงบภายใน…” พรปีใหม่ ๒๕๔๙ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย

  9. “…ภายนอกได้แก่ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมที่เป็นปกติ ไม่มีภัยอันตราย หรือความยุ่งยากเดือดร้อน เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือการขัดแย้ง มุ่งร้ายทำลายกัน ภายในได้แก่จิตใจที่สะอาดแจ่มใส ไม่มีกังวล ไม่มีความขุ่นเคืองขัดข้อง จิตใจที่สะอาดและสงบนี้สำคัญมาก เพราะทำให้บุคคลมีสติรู้ตัว มีวิจารญาณเที่ยงตรงถูกต้องสามารถคิดอ่านสร้างสรรค์ สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุข ความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนชื่อเสียงเกียรติคุณ อันเป็นสิ่งที่แต่ลพคนต้องการให้สัมฤทธิ์ผลได้...” พรปีใหม่ ๒๕๔๙ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย

  10. “…ในปีใหม่นี้ ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลาย พยายามทำความคิดจิตใจให้สงบแจ่มใส ทำความเข้าใจอันดีในกันและกันให้เกิดขึ้น ผู้ที่ทำประโยชน์เกื้อกูลกัน ก็ควรแสดงไมตรีตอบขอบใจกัน ด้วยความรักความหวังดี ทุกคนทุกฝ่ายจะได้สามารถร่วมมือ ร่วมความคิดกัน ปฏิบัติงานของตน ของชาติให้ดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นและมั่นคง บรรลุถึงจุดประสงค์ตามที่มุ่งหมาย...” พรปีใหม่ ๒๕๔๙ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย

  11. “…ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ปราศจากภัย ให้มีความสุขสมบูรณ์ และความสำเร็จสมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน” พรปีใหม่ ๒๕๔๙ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘

  12. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ดี เก่ง มีความสุข การเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง มีคุณธรรมอันมั่นคง จะทำให้สังคมไทยใสสะอาด ดี เก่ง มีความสุข ด้วยการคิดดี ทำดี วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

  13. นานาประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ สื่อทั่วโลก ต่างเทิดพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ แห่งพระมหากษัตริย์ The King of the Kings

  14. พระบรมราโชวาท พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “...ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูด ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรืองดเว้น…” คิดดี

  15. พระบรมราโชวาท พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “…เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ…” ทำดี

  16. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา “...ให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจ พยายามเข้าถึงประชาชน และร่วมกันพัฒนา...”

  17. พระราชดำรัส ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ “ ...ขอให้ท่านมาที่นี่ได้มีความแจ่มใส วันนี้รู้สึกว่าท่านจะแจ่มใสดี ต้องแจ่มใส เพราะถ้าไม่แจ่มใส ทำงานไม่ได้ ต้องให้ท่านทำงานได้ดี ๆ แล้วก็คิดถึงงานที่มี ที่จะต้องทำ ทำให้ดี ๆ ไม่ทำให้เละ ถ้าทำให้เละ ประเทศชาติก็เละ ขอให้มีความสุข ความสำเร็จทุกประการ... ”

  18. “…ในมาตรา ๗ นั้น ไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์ สั่งได้ ไม่มี ลองไปดู และขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไร ที่ไม่มีกฎเกณฑ์บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  19. “…มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับแล้ว ก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำอะไรตามใจชอบ ก็คง บ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  20. “…ศาลจะเป็นผู้ทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะนายกพระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  21. “…ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากที่เอะอะอะไร ก็ขอ พระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบ ประชาธิปไตย...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  22. “…ถ้าไปอ้างมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด มาตรา ๗ ว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้เป็นไปตาม ประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  23. “…ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญ เรามีศาลอื่น ๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร ไม่มีความข้อ ที่จะสำคัญมากกว่าศาลฎีกา ที่จะมีสิทธิ ที่จะตัดสิน...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  24. “…ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้เอาไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไรก็ดี ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร และต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองจะต้องล่มจม ...” พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกาและคณะ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙

  25. “…วิถึชีวิตของคนเรานั้น จะให้มีแต่ความปกติสุขอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทุกข์ มีภัย ผ่านเข้ามาด้วยเสมอ ยากที่จะหลีกเลี่ยงพ้นในปีใหม่นี้ ข้าพเจ้าจึงขอให้ทุกคนรักษาความสามัคคีและจิตใจอันดีนี้ไว้เป็นนิจ เพราะสิ่งนี้คือคุณลักษณะพิเศษที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองของเราอยู่รอดปลอดภัย และช่วยให้เราทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขมาช้านาน...” พรปีใหม่ ๒๕๔๘ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๗

  26. “…ในปีใหม่นี้ ทุกคนจึงชอบที่จะตั้งตนอยู่ในความ ไม่ประมาท. ไม่ว่าจะคิด จะทำสิ่งใด ก็ขอให้คิดให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง. ผลของการคิดดีทำดี ทำถูกต้องนั้น จะได้ ส่งเสริมให้แต่ละคน ตลอดจนประเทศชาติดำเนินก้าวหน้าต่อไปด้วยความมั่นคงสวัสดี” พรปีใหม่ ๒๕๔๗ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

  27. ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จะต้องมุ่งปฏิบัติภาระทั้งปวง ด้วยความอุจสาหะเพ่งพินิจ ใช้ความรู้ความคิด ความเฉลียวฉลาด และ ความรู้ผิดชอบชั่วดี เป็นเครื่องวิจัยวิจารณ์ ปรับปรุงตัวปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเสมอ งานที่ทำจึงจะสำเร็จผลสมบูรณ์ และก่อให้เกิดประโยชน์ที่พึงประสงค์เป็นความเจริญมั่นคง ทั้งแก่ตน แก่งาน และแก่ส่วนรวมพร้อมทุกส่วน. พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ณ วังไกลกังวล วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

  28. ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จะต้องรู้ตระหนักแน่ในการสละ อันได้แก่การสละสำคัญสองประการ คือสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ยิ่งใหญ่และเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง กับสละความคิดจิตใจที่ต่ำทรามต่างๆ อีกประการหนึ่ง จึงจะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนทั้งปวง และสามารถดำรงตำแหน่งหน้าที่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีความเจริญมั่นคงตลอดไป พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน วังไกลกังวล วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘

  29. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ดี เก่ง มีความสุข ดี คือไม่คิดชั่ว มีสติรู้ตัวควบคุมและหยุดความคิดชั่วได้ เก่ง(ทำดี) คือ ทำหน้าที่ถูกต้องสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์และความเจริญแก่ครอบครัว ชุมชน ชาติ ด้วยรู้รักสามัคคี สุจริตกาย วาจา ใจ มีความสุข คือ มีสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง บริหารจัดการอย่างมีสติ รอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต (ทางสายกลาง)

  30. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ครอบครัวดี เก่ง มีความสุข ครอบครัว ดี เก่ง มีความสุข คนในครอบครัวคิดดี ทำดี ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ด้วยเมตตาธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ทำหน้าที่ถูกต้องสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์สุขและความเจริญแก่ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ รวมพลังเครือข่ายครอบครัว เอื้ออาทร ดูแลซึ่งกันและกัน ด้วยรู้รักสามัคคี ตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง

  31. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ชุมชนดี เก่ง มีความสุข ชุมชนดี เก่ง มีความสุข คนในชุมชนคิดดี ทำดี ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ด้วยเมตตาธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ทำหน้าที่ถูกต้องสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์สุขและความเจริญแก่ชุมชน ประเทศชาติ ด้วยกิจกรรมกลุ่ม เช่น ธนาคารหมู่บ้านตามแนว พระราชดำริ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ด้วยรู้รักสามัคคีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  32. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ประเทศชาติดี เก่ง มีความสุข ประเทศชาติดี เก่ง มีความสุข คนในชาติคิดดี ทำดี ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ด้วยเมตตาธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ทำหน้าที่ถูกต้องสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์สุขและความเจริญแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ด้วยการบริหารจัดการที่ดี ยึดหลักการมีส่วนร่วม มีกิจกรรมกลุ่ม เช่น ธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย รู้รักสามัคคี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  33. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักธรรมของคนดี ขยายสัมพันธ์ประสาน • รู้ รัก สามัคคี • ทำงานเป็นทีม • ประสานประโยชน์กับทุกฝ่ายให้ได้ผล สมบูรณ์ทุกส่วน • อาศัยมิตรจิตและความเข้าใจอันดี

  34. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักธรรมของคนดี รู้ รัก สามัคคี • รู้รู้ถึงปัญหา รู้ถึงสาเหตุ รู้ทางแก้ไข • รักรักและปรารถนาดีที่จะเข้าไปแก้ไข • สามัคคีมีความปรารถนาแก้ไขปัญหา ทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกัน

  35. “...ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวแก่ทุกท่านว่า การทำนุบำรุงประเทศชาตินั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่จะต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อธำรงรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญมั่นคงและผาสุกร่มเย็น...” พระราชดำรัส พระราชทานต่อพระราชอาคันตุกะ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙

  36. “...ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นกันกับคนไทยทั้งมวล จึงขอขอบใจทุก ๆ คน ที่ต่างพยายามกระทำหน้าที่ของตนด้วยเต็มกำลังความสามารถ และให้ความร่วมมือสนับสนุนข้าพเจ้าในภารกิจทั้งปวงด้วยดีตลอดมา ทั้งขอขอบพระทัยพระประมุขและพระราชวงศ์จากประเทศต่าง ๆ ที่ทรงอุตสาหะเสด็จฯ มาร่วมในงานครั้งนี้ด้วยเช่นกัน...” พระราชดำรัส พระราชทานต่อพระราชอาคันตุกะ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙

  37. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักธรรมของคนดี รับผิดชอบ • รับผิดชอบต่อหน้าที่ • รับผิดชอบต่อองค์กร • รับผิดชอบต่อประชาชน • รับผิดชอบต่อสังคม • รับผิดชอบต่อประเทศชาติ

  38. ทศพิธราชธรรม ๑. ทาน ให้ทาน ๒. ศีล รักษาศีล ๓. ปริจจาคะ สละประโยชน์ส่วนตน ๔. อาชชวะ ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น ๕. มัททวะ อ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ๖. ตปะ พากเพียรไม่เกียจคร้าน ๗. อักโกธะ ระงับความโกรธ ๘. อวิหิงสา ไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ แน่วแน่ในความถูกต้อง

  39. “…อีก ๑ - ๒ ปี เศรษฐกิจจะดีขึ้น ผู้ว่าซีอีโอเริ่มลงมือทำงานอายุ ๕๐ ปี มีเวลาทำงานอย่างมากก็ ๑๐ ปี ซึ่งถ้าตั้งใจทำกันจริง ภายใน ๑๐ ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุด การทุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง…” พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

  40. “…ต้องเป็นคนที่สุจริต ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป และถ้าทำแต่สิ่งที่สุจริตด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่นสร้างความเจริญ ก็ขอให้ต่ออายุได้ถึง ๑๐๐ ปี ส่วนคนไหนมีอายุมากแล้ว ขอให้แข็งแรง ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย…” พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

  41. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

  42. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

  43. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  44. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง หลักสายกลาง “ทางสายกลาง” “ความพอเพียง” “ความพอประมาณ” “ความมีเหตุผล”

  45. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง หลักประสิทธิภาพ “ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน”

  46. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง หลักคุณธรรม “เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ... ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต... ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ”

  47. เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับจุลภาค และในระดับมหภาค • บุคคลธรรมดาหรือครัวเรือน • กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ชุมชน หรือสหกรณ์ หรือองค์กรธุรกิจต่าง ๆ • สังคม ประเทศ ภูมิภาค

  48. แนวทางปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียง ๑. ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด ๒. พึ่งพาตนเองเป็นหลัก รวมตัวกันและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ๓. ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่ พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ ให้สูงขึ้นและหลากหลายมากขึ้น ๔. เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

  49. ทำจิตใจสะอาด สว่าง สงบ “…ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูดนั้น ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรือควรงดเว้น. เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์และเป็นความเจริญ...”

  50. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักธรรมของคนเก่ง ให้สำเร็จทันการ • ให้สำเร็จลุล่วงตรงตามเป้าหมาย โดยไม่ชักช้า • นำพาประเทศชาติให้ก้าวไปถึงความเจริญ • มุ่งหมายเอาประสิทธิภาพ ปริมาณงาน และความรวดเร็วเป็นสำคัญ

More Related