1 / 32

รูปแบบการจัดพิมพ์สารนิพนธ์

รูปแบบการจัดพิมพ์สารนิพนธ์. สันปก. ปกให้พิมพ ์ ชื่อ เรื่องบทสาร นิพนธ์ ชื่อผู้เขียน และ พ.ศ.เรียง ตามลําดับ โดยจัด ระยะห่างให้ เหมาะสมตามความยาวของสันปก

avedis
Download Presentation

รูปแบบการจัดพิมพ์สารนิพนธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รูปแบบการจัดพิมพ์สารนิพนธ์รูปแบบการจัดพิมพ์สารนิพนธ์

  2. สันปก • ปกให้พิมพ์ชื่อเรื่องบทสารนิพนธ์ ชื่อผู้เขียน และ พ.ศ.เรียงตามลําดับ โดยจัดระยะห่างให้ เหมาะสมตามความยาวของสันปก • ชื่อเรื่องสารนิพนธ์ให้พิมพ์เฉพาะภาษาไทย หากชื่อเรื่องมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัดให้พิมพ์ แบบปิระ มิดหงายชื่อผู้ทำสารนิพนธ์ให้พิมพ์เฉพาะภาษาไทย โดยไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ (นาย นาง นางสาว) ยกเว้นผู้มีฐานันดรศักดิ์ และยศทางทหารหรือตํารวจ ปีการศึกษาให้พิมพ์ปีที่ส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

  3. ตัวอย่าง

  4. ปกนอก • ปกนอกให้ใช้ปกแข็งสีน้ำเงิน พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สีทอง ฟอนท์18 หนา • ข้อความส่วนบน ประกอบด้วย ชื่อเรื่องสารนิพนธ์ภาษาไทย • ข้อความส่วนกลาง ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุลผู้เขียนสารนิพนธ์ภาษาไทย • ข้อความส่วนล่าง ประกอบด้วย ข้อความดังนี้ สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา………………… คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี • ปีการศึกษา 2554 ลิขสิทธิ์ของคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

  5. กระดาษรองปก กระดาษรองปกใช้กระดาษขาวปราศจากข้อความใดๆ ทั้งสิ้น มีทั้งปกหน้าและปกหลัง ปกในภาษาไทย ปกในภาษาไทยข้อความเหมือนปกนอกทุกประการ ใบรับรองสารนิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์จะเป็นผู้ออกใบรับรองสารนิพนธ์ สําหรับวันที่สอบผ่านคือวันที่ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ลงนามในใบรับรองบทนิพนธ์

  6. บทคัดย่อภาษาไทย • บทคัดย่อภาษาไทยประกอบด้วยหัวข้อสารนิพนธ์ ชื่อนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ระดับการศึกษา คณะและปีการศึกษา • กิตติกรรมประกาศ เป็นหน้าที่ผู้ศึกษากล่าวขอบคุณชื่อบุคคลที่มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือจน สารนิพนธ์สําเร็จด้วยดีซึ่งได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) และผู้ร่วมมือในการ ให้ข้อมูล รวมทั้งแหล่งทุน (ถ้ามี)

  7. สารบัญ สารบัญเป็นหน้าที่แสดงเลขหน้าตามลําดับของส่วนประกอบสําคัญในสารนิพนธ์โดยใช้อักษรโรมัน ตั้งแต้บทคัดย่อ จนถึงหน้าสารบัญและเริ่มใช้เลขอารบิคตั้งแต่เนื้อหาบทที่ 1 ไปจนถึงหน้า สุดท้ายของสารนิพนธ์ทั้งเล่ม • สารบัญตาราง (ถ้ามี) สารบัญตารางเป็นรายการแสดงเลขหน้าตามลําดับของตารางต่างๆ รวมทั้งตารางในภาคผนวกที่มีอยู่ในสารนิพนธ์นั้นด้วย • สารบัญภาพ (ถ้ามี) สารบัญภาพเป็นรายการแสดงเลขหน้าตามลําดับของรูปภาพ รวมทั้งแผนที่และกราฟ ทั้งหมดที่มีอยู่ในสารนิพนธ์

  8. ตาราง (ถ้ามี) ให้แทรกปนไปในแต่ละบทของตัวเนื้อเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันโดยพิมพ์คําว่า “ตารางที่” ตามด้วยลําดับตัวเลขไว้มุมซ้ายบรรทัดแรก แล้วพิมพ์ชื่อตารางในบรรทัดเดียวกัน ถ้าชื่อตารางยาว มากกว่า 1 บรรทัดให้ขึ้นบรรทัดใหม่ตรงกับชื่อตาราง ตัวตารางห่างจากชื่อตาราง 1.5 ช่วงบรรทัดส่วนบรรทัดใต้ ตารางเป็นคําอธิบายตาราง ให้พิมพ์ในหน้าเดียวกัน ถ้าตารางมีความกว้างมากให้ • ย่อส่วนลงแต่ต้องอ่านได้ชัดเจน หรือจะพิมพ์ตามแนวขวางของกระดาษก็ได้ ถ้าตารางมีความยาวมาก จนไม่สามารถไว้หน้าเดียวกันได้ ให้พิมพ์ตารางต่อในหน้าถัดไป โดยพิมพ์ตารางที่พร้อมระบุเลข ลําดับ ตามด้วย (ต่อ) ไม่ต้องใส่ชื่อตาราง

  9. ตารางที่ 10คาเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของปญหาการบริหารอาคารสถานที่ในภาพรวม จําแนก ตามขนาดของโรงเรียน และที่ตั้งของโรงเรียน

  10. จากตารางที่ 10 ……..………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………

  11. ภาพ (ถามี) ภาพ หมายถึง รูปภาพ แผนที่ แผนผัง สําหรับภาพถายที่นํามาอางอิงจากที่อื่นใหใชภาพถายอัดสําเนาบนกระดาษใหชัดเจนพรอมแจงแหลงที่นํามาตามรูปแบบการ อางอิงของเนื้อหาแตถาเปนภาพถายของผลการวิจัยใหใชภาพจริงทั้งหมดเปนภาพสีหรือภาพขาวดําใหใสหมายเลขลําดับ“ภาพที่” พรอมชื่อเชนเดียวกับตาราง แตใหพิมพไวใตภาพ เวนระยะหาง1.5 ชวงบรรทัด

  12. ตัวเนื้อเรื่องประกอบด้วยบทต่างๆ 5 บท • บทที่ 1 บทนําเป็นส่วนเริ่มต้นของส่วนเนื้อหาจะกล่าวถึงความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ความสําคัญของการศึกษา ขอบเขตของการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษาและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เนื้อหาไม่ควรเกิน 4- 5 หน้า แต่ไม่น้อยกว่า 2 หน้า

  13. บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี และสารนิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง • จะแบ่งออกเป็นกี่ตอนกี่เรื่องให้ดูตามความ จําเป็นของเนื้อเรื่อง ตอนใดต้องกล่าวถึงสิ่งใดให้ปฏิบัติตามที่แต่ละหลักสูตรกําหนดไว้โดยต้องมีเอกสารอ้างอิง ประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาให้น่าเชื่อถือและเป็นเอกสารที่ทันสมัย ต้องเป็นทฤษฎีที่ตรงกับเรื่องของตนเอง เช่น สารนิพนธ์เกี่ยวกับการผลิตรายการสารคดี ก็เลือกทฤษฎีเรื่องรูปแบบของรายการ ไม่ต้องเอาประวัติของวิทยุโทรทัศน์มา กำหนดไว้ หนังสือ 3 เล่ม,สารนิพนธ์ 5 เล่ม ตั้งแต่ปี 49 ขึ้นไป

  14. บทที่ 3 ระเบียบวิธีการศึกษา • ระเบียบวิธีการศึกษา ให้บรรยายขั้นตอนการดําเนินการศึกษาสารนิพนธ์ตามความเป็นจริงทุกๆประการ ไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ

  15. บทที่ 4 ผลการศึกษา • ผลการศึกษา เสนอข้อมูล จะเป็นรูปตารางข้อมูลหรือแผนภูมิหรือกราฟ แล้วแต่ความเหมาะสม ของข้อมูลให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ต้องจัดหมวดหมู่ของ ข้อมูลที่ค้นพบ และวิเคราะห์ข้อมูล ไว้ใต้ตารางทุกตอน • ex ศึกษากระบวนการผลิตสารคดี ต้องศึกษาทุกตอน วิเคราะห์ทุกตอนที่ผลิตหรือการเขียนข่าว ก็ต้องศึกษาทุกข่าวที่เขียน วิเคราะห์ทุกข่าว

  16. บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ • เป็นบทสุดท้ายที่ผู้ศึกษาสรุปสาระสำคัญของการศึกษา โดยเขียนเป็นความเรียงต่อเนื่อง ส่วนข้อเสนอแนะผู้ศึกษาต้องเสนอแนะการนำผลการศึกษาไปใช้เป็นประโยชน์ รวมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการเสนอแนะเกี่ยวกับการทำสารนิพนธ์เรื่องต่อไป การสรุปผลการศึกษา ไม่ควรเกิน 3 หน้า

  17. บรรณานุกรม เปนสวนสําคัญของสารนิพนธที่แสดงถึงการศึกษาคนควา ผูศึกษาตองรวบรวมสารสนเทศทุกรายการมาเรียงลําดับไวเพื่อความนาเชื่อถือ ภาคผนวก ในสารนิพนธจะนําเอกสารที่เสริมขอมูลใหสมบูรณขึ้น เชน แบบสอบถาม หนังสือนําสง เพื่อเก็บขอมูล รวมทั้งตารางวิเคราะหความนาเชื่อถือ แบบสอบถาม มารวมไวที่ภาคผนวก โดยมีหนาบอกตอน “ภาคผนวก” เหมือนบรรณานุกรม กรณีที่มีเนื้อหามาก อาจแบงเปนภาคผนวก ก , ข , … ตาม ความเหมาะสม และมีหนาบอกตอนคั่นทุกภาคผนวก โดยเริ่ม “ภาคผนวก ก” กอน หมายเหตุ การนับเลขหนาใหนับหนาบอกตอนตอเนื่องจากเนื้อหาจนถึงหนาสุดทาย

  18. ประวัติผู้เขียนสารนิพนธ์ประวัติผู้เขียนสารนิพนธ์ เป็นส่วนสุดท้ายของงานสารนิพนธ์ ให้ลงรายการประวัติของผู้ศึกษา

  19. หมายเหตุ - ใหใชอักษรโรมันกํากับเลขหนาตั้งแตหนาบทคัดยอ ภาษาไทยถึงหนาสารบัญและใหใชเลขอารบิคกํากับเลขหนาตั้งแต หนาบทที่ 1 ถึงหนาประวัติผูจัดทําสารนิพนธในการเขียนภาษาอังกฤษในเลมสารนิพนธใหใชลักษณะการเขียนเหมือนกันทั้งเลมเชน ถาขึ้นตน ดวยตัวพิมพใหญตัวแรกคําตอไปใหขึ้นดวยตัวพิมพใหญเหมือนกันทั้ง เลม เชน (Media) หรือถาใชตัวพิมพเล็ก คํา ตอไปตองใชตัวพิมพเล็กเหมือนกันทั้งเลม เชน (media)

  20. รูปแบบการเขียนอ้างอิงรูปแบบการเขียนอ้างอิง • รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (ใช้บ่อย) • การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาใช้วงเล็บ โดยมีชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าที่อ้าง • (ชื่อ / ชื่อสกุล, / ปี, / หน้าที่อ้าง) สําหรับภาษาไทย • (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2543, หน้า 15) • (ชื่อสกุล, / ปี, / หน้าที่อ้าง) สําหรับภาษาอังกฤษ • (McDonald, 2003, pp. 12-18)

  21. การลงชื่อผู้แต่ง • 2.1 ผู้แต่งคนไทย และผู้มีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ยศทางตํารวจและทหารและนักบวชให้เขียนตามปกติ • 2.2ผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะนามสกุล หากจะกล่าวถึงผู้แต่งไปในเนื้อหาด้วยให้ เขียนเป็นภาษาไทย ส่วนในวงเล็บใช้ภาษาอังกฤษ • 2.3ผู้แต่งที่เป็นองค์การ สมาคม หน่วยงานทางราชการ ให้ลงชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้จัดทํา เช่น ธนาคารกสิกรไทย สมาคมนักบัญชี กระทรวงศึกษาธิการ 3. การอ้างอิงผู้แต่งไม่เกิน 2 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน ทุกครั้งที่อ้างอิง ใช้คําว่า และ หรือ & ก่อนชื่อผู้แต่งคนที่ 2 ถ้ามีผู้แต่ง 3 ถึง 5 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคนในครั้งแรกที่อ้างอิง ให้ใช้, คั่นระหว่าง ชื่อ ใช้คําว่า และ หรือ & ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ครั้งต่อๆไปที่อ้างอิง ให้ลงชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคําว่า และคณะ ในภาษาไทย หรือ et al. ในภาษาอังกฤษ ถ้ามีผู้แต่ง 6 คนขึ้นไป ให้ลงชื่อเฉพาะผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคําว่า และคณะ ในภาษาไทย หรือ et al. ในภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ครั้งแรกที่อ้างอิง

  22. ตัวอย่าง ผู้แต่งหลายคน • บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว • อนันต์ อนันตกูล, ติณ ปรัชญพฤทธิ์, ลิขิต ธีรเวคิน และทินพันธ์ นาคะตะ วรเดช จันทร์ศร และคณะ • Bergman & Moore Green, Salkind & Akey Phillip et al.

  23. ตัวอย่างอื่นๆดูจากคู่มือการพิมพ์สารนิพนธ์ หน้าเว็บคณะนิเทศศาสตร์

  24. หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรมหลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรม • 1.เขียนคําว่า บรรณานุกรม ไว้กลางหน้ากระดาษ • 2. เมื่อเริ่มต้นเขียนให้ชิดขอบกระดาษที่เว้นไว้ประมาณ 1.5 นิ้ว หากบรรทัดเดียวไม่จบบรรทัด ถัดไปให้ย่อเข้ามา 7 ช่วงตัวอักษร • 3. เมื่อรวบรวมแหล่งสารสนเทศที่อ้างอิงไว้ได้ครบถ้วนทั้งหมดแล้วให้นํามาเรียงลําดับตามตัวอักษรของรายการแรกโดยเรียงตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (รายละเอียดดูได้จากคู่มือการพิมพ์สารนิพนธ์)

  25. การเขียนบรรณานุกรม กรณีที่เป็นหนังสือ • ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง / (ครั้งที่พิมพ์). / / เมืองที่พิมพ์: / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. EX เปลื้อง ณ นคร. (2543). สร้างกําลังใจ:หลักในการพัฒนาตนเองและสร้างกําลังใจสู่ความสําเร็จ(พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

  26. การเขียนบรรณานุกรมจากสารนิพนธ์การเขียนบรรณานุกรมจากสารนิพนธ์ • ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / /ระดับวิทยานิพนธ์/ ชื่อสาขาวิชา, / คณะ / ชื่อมหาวิทยาลัย. เรวดี เรียนดี (2538). การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาในเขตจังหวัด ชลบุรี. สารนิพนธ์นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

  27. รายละเอียดแบบอื่นดูได้จากคู่มือ

  28. การพิมพ์สารนิพนธ์ • ตัวพิมพ์ควรเป็นตัวพิมพ์แบบเดียวกันตลอดเล่ม รูปแบบตัวอักษรใช้AngsanaUPC หรือCordiaUPC ใช้ตัวอักษร 16พอยท์(point) • บทที่ และชื่อบทใช้ตัวหนาขนาด 20 พอยท์ • หัวข้อสําคัญชิดขอบซ้าย ใช้ตัวหนาขนาด 18 พอยท์ • หัวข้อย่อยใช้ตัวหนาขนาด 16 พอยท์ • ยกเว้นกรณีตัวพิมพ์ในภาพประกอบ ตาราง และแผนภูมิ อาจใชัตัวพิมพ์ที่เล็กลงหรือย่อส่วนเพื่อให้อยู่ในกรอบของการวางรูปกระดาษที่กําหนด

  29. การเว้นบรรทัด • ให้เป็นแบบเดียวกันตลอดเล่ม โดยเว้นห่างกัน 1 ช่วงบรรทัด ยกเว้น ช่วงบรรทัดระหว่างหัวข้อสําคัญที่ชิดขอบซ้ายให้เว้นห่าง 1.5 ช่วงบรรทัด • หมายเหตุ - การเว้น 1 ช่วงบรรทัด คือการพิมพ์ระยะปกติ ส่วนการเว้น 1.5 ช่วงบรรทัดใน Microsoft words ทําได้ โดย • 1. เข้าไปที่ย่อหน้า (paragraph) • 2. เลือกระยะห่างบรรทัด (line spacing) เท่ากับ 1.5 บรรทัด (line)

  30. การเว้นระยะ • การเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ ด้านบนและด้านซ้ายมือ เว้นห่างจากขอบกระดาษ 1.5 นิ้ว • ด้านล่างและด้านขวามือเว้นห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท ด้านบนให้เว้นห่างจากขอบกระดาษลงมา 2 นิ้ว • การเว้นระยะในการพิมพ์การย่อหน้าให้เว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษร โดยเริ่มพิมพ์ช่วงตัวอักษรที่8 (เข้าไปที่แท็ป (tap) ตั้งค่าที่ 0.6 นิ้ว)

  31. การพิมพ์เครื่องหมาย • 1. หลังเครื่องหมายมหัพภาค (.) เว้น 2ช่วงตัวอักษร • 2. หลังเครื่องหมายอื่นๆ เว้น 1ช่วงตัวอักษร (,) (:) (;) • 3. ต้องพิมพ์เครื่องหมายไว้ท้ายข้อความเสมอ เช่น กรุงเทพฯ: อนันต์อนันตกูล, ติณ ปรัชญพฤทธิ์ • 4. หลังตัวย่อเว้น 1ช่วงตัวอักษร เช่น v./5 p./27 • 5. ระหว่างคําย่อที่มีมากกว่า 1 ตัวอักษร ไม่ต้องเว้น เช่น รป.ม. ม.ป.ป. ม.ร.ว.n.d. n.p.

More Related