1 / 27

การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่. ( Work Methods Design for A New Product ). การออกแบบวิธีการทำงานเพื่อพัฒนา. ( WORK METHODS DESIGN FOR DEVELOPING A BETTER METHODS ). จุดประสงค์. ทราบถึงขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานได้

Download Presentation

การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ( Work Methods Design for A New Product ) การออกแบบวิธีการทำงานเพื่อพัฒนา ( WORK METHODS DESIGN FOR DEVELOPING A BETTER METHODS )

  2. จุดประสงค์ ทราบถึงขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานได้ ทำการพัฒนาวิธีการออกแบบกระบวนการผลิต และวิธีการทำงานได้

  3. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิตนั้น นักออกแบบวิธีการทำงานจะใช้กระบวนการแก้ปัญหาทั่วไป มาช่วยกำหนดการผลิตและวิธีการทำงานที่จะนำมาใช้ ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ การวางแผน การเตรียมการผลิต การผลิต

  4. 1. การวางแผน เป็นขบวนการตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด โดยให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วในการออกแบบวิธีการทำงาน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ 1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ 1.2 การออกแบบขบวนการผลิต 1.3 การออกแบบวิธีการปฏิบัติงาน 1.4 การออกแบบเครื่องมือและเครื่องใช้ 1.5 การออกแบบผังโรงงาน 1.6 การกำหนดเวลามาตรฐาน

  5. 1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการเขียนแบบลงในพิมพ์เขียวแสดงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก วัสดุที่ใช้และประโยชน์ใช้สอยต่างๆ 1.2 การออกแบบขบวนการผลิต เป็นการกำหนดระบบการผลิตในรูปของเส้นทางการผลิต(Process Routing ) ซึ่งได้แก่ ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็น ลำดับขั้นตอนของการ ปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการวางเครื่องจักร ขนาด และค่าความคลาดเคลื่อนในการผลิต รวมถึงเครื่องมือวัดและเครื่องใช้ที่จำเป็น

  6. 1.3 การออกแบบวิธีการปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกวิธีการทำงาน ที่จะต้องใช้ภายในบริเวณปฏิบัติงานได้แก่ บันทึกว่า คนงานปฏิบัติงานอย่างไร ในบริเวณปฏิบัติงาน พื้นที่ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการไหลของงาน (flow) ในการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานนั้น อาจใช้การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุด ณ จุดนี้จะต้องมีการประสานด้านข่าวสารเกี่ยวกับการวางแผนใน ขั้นอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้แน่ในว่า งานทุกอย่างที่จะทำสามารถปฏิบัติ ได้จริง และสัมพันธ์กับวิธีการควบคุมการทำงานที่ได้ตั้งไว้

  7. 1.4 การออกแบบเครื่องมือและเครื่องใช้ เป็นรายการแสดง เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานประกอบด้วย jigs, fixture ,dies ,gauges, เครื่องจักร ฯลฯ 1.5 การออกแบบผังโรงงาน เป็นการกำหนดเนื้อที่ใช้งานทั้งหมดภายในโรงงานโดยแสดงรายละเอียดของสถานที่ตั้งของเครื่องมือและเครื่องใช้ สถานที่ตั้งของอะไหล่ สถานที่ตั้งของฝ่ายให้บริการ เช่น ไฟฟ้าฯลฯ ผังแสดงบริเวณ ปฎิบัติงานผังแสดงที่ตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับเครื่องจักร

  8. 1.6การกำหนดเวลามาตรฐาน เป็นการตั้งข้อมูลเวลาสำหรับกิจกรรมที่เครื่องจักรปฏิบัติหรือเวลา สำหรับ กิจกรรมที่คนงานปฏิบัติ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจเป็น วัฏจักร ( cyclic ) หรือไม่เป็นวัฏจักร ( no- cyclic ) ก็ได้ ผลของการกำหนดเวลาจะเป็นข้อมูลเวลาที่ใช้ใน การประมาณต้นทุนและควบคุมแรงงานโดยทั่วไป การวางแผนทั้ง 6 ด้าน เมื่อสำเร็จ จะเป็นข่าวสาร ด้านการวางแผนที่สมบูรณ์ เมื่อนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันและ ตรวจสอบความสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง แล้วติดตามการทำงานตามแผนนั้นให้แน่ใจว่าทุกด้านทำได้ทันเวลา

  9. 2. การเตรียมการผลิต ข่าวสารด้านการวางแผนทั้งหมดเมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ส่งไปยังหน่วยผลิต เพื่อดำเนินการดังนี้ (1 ) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทำงานกับเวลา ที่ตั้งไว้ (2) เลือกและฝึกหัดพนักงานให้ปฏิงานตามวิธีที่กำหนดไว้ (3) มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงาน (4) ทดลองใช้วัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (5) ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะอาด

  10. 3. การผลิต เป็นขั้นตอนการผลิตสินค้าตามที่ได้วางแผนและเตรียมการผลิตไว้เป็นขั้นของการใช้พนักงาน-เครื่องจักรและวัสดุ เพื่อผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดย มีสิ่งสำคัญที่จะต้องแสดงให้เห็นเด่นชัดในการออกแบบวิธีการทำงานคือ • 3.1 การป้องกันวิธีการทำงานไม่ให้เบี่ยงเบนจาก มาตรฐานวิธีการทำงานที่ตั้งไว้ • 3.2 ทำกาตรวจสอบวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้นำไปสู่วิธีการทำงานที่ดีกว่า

  11. การปฏิบัติจะศึกษาในหัวข้อ การวางแผนการผลิต โดยเน้นที่การออกแบบกระบวนการผลิต และการออกแบบวิธีการทำงาน 1. จากรูปชิ้นงานในรูปให้ออกแบบกระบวนการผลิต และวิธีการ ทำงานในการผลิตชิ้นงานโดยการผลิตจะเริ่มตั้งแต่มีวัตถุดิบ 2. ออกแบบวิธีการผลิตต้องมีรายละเอียดของเครื่องจักรที่ใช้ ขั้นตอนการผลิต 3. การออกแบบวิธีการทำงานแสดงรายละเอียดลำดับการทำงาน ลงในใบสั่งงาน 4. ให้ออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานให้ใช้ทรัพยากร ภายใต้ขอบเขตที่มีอยู่

  12. ในกรณีที่มีวิธีการทำงานอยู่แล้วและต้องการจะปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหลักการแล้ว ยังใช้กระบวนการแก้ปัญหาโดยทั่วไปมาช่วย ในการ ออกแบบวิธีการทำงาน โดยศีกษาการทำงานเดิม ตรวจตราและพัฒนาไปสู่วิธีใหม่ ซึ่งจะเรียกรวม ๆ ว่าเป็น การศีกษาวิธีการทำงาน ( Methods Study ) หมายถึง การบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิธีการทำงานที่ง่าย มีประสิทธิภาพและประหยัด

  13. การบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบการบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบ

  14. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิธีการทำงานวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิธีการทำงาน 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยหาวิธีการทำงานที่ดีกว่า 2. ลดการใช้วัตถุดิบ หรือลดของเสียลง 3. เพื่อปรับปรุงการวางผังโรงงานให้ดีขึ้น 4. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายให้ถูกสุขลักษณะ 5. เพื่อหาวิธีการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม 6. เพื่อใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ได้เต็มกำลังการผลิต 7. เพื่อลดความเมื่อยล้าของพนักงาน

  15. ขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงานขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงาน แนวทางการศึกษาวิธีการทำงานเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกันคือทำการเลือก จดบันทึก ตรวจ พัฒนา ตั้งนิยาม ทำการใช้และดำรงรักษาวิธีการ

  16. 2.1 เลือกงานที่จะศึกษา งานที่ออกแบบวิธีการทำงานเลือกมาศึกษา เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานนั้น ควรจะมีสิ่งบอกเหตุว่า สมควรที่จะนำมาศึกษา เช่น 1. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย งานที่เสียเวลารอคอยในกระบวนการผลิต 2. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี ต้องศึกษาวิธีการทำงาน เพื่อให้รับกับเทคโนโลยีใหม่ได้ 3. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับพนักงาน อันเป็นผลมาจากลักษณะของงานที่น่าเบื่อหน่าย ควรพิจารณาถึงปฏิกิริยาของคนงานด้วยว่าจะมีแรงต่อต้านมากน้อยเท่าใด

  17. 2.2 การบันทึกวิธีการทำงาน คือ การบันทึกวิธีการทำงานจริงที่ทำอยู่ปัจจุบัน ซึ่งการบันทึกนั้นจะต้องง่ายสำหรับการอ่าน สามารถเข้าใจวิธีการทำงานได้ทันที จึงใช้แผนภูมิ และ ไดอะแกรม ที่มีแบบฟอร์มเป็นมาตรฐานเดียวกัน

  18. 2.3 การตรวจตราข้อมูลที่ได้อย่างละเอียดการตรวจตราข้อมูลที่บันทึกไว้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม คำถามสำหรับการตรวจตราส่วนมากจะเป็น คำถามสำเร็จรูป (Check list) ที่ตั้งไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องกับจุดประสงค์ของการตรวจตราก็เพื่อให้ทราบต้นเหตุของปัญหาและนำไปสู่ การพัฒนาวิธีการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งแยกเป็น 4 ด้านด้วยกันดังนี้ 1. เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น 2. เพื่อรวมขั้นตอนการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน 3. เพื่อเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงาน 4. เพื่อทำให้ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็นนั้นง่ายขึ้น

  19. 2.3.1 เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น (Eliminate All Unnecessary Work) 1. เลือกงานที่มีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง ถ้าสามารถขจัดงานนี้ได้จะทำให้ลดต้นทุนค่าแรงทางตรง 2. กรณีที่ตอบว่าเป็นงานที่ยังจำเป็น เพราะมีวัตถุประสงค์และเหตุที่แน่นอน ควรแยกวัตถุประสงค์ให้เห็นชัดว่าทำงานนั้นเพื่ออะไรบ้าง 3. ตั้งคำถามเพื่อขจัดวัตถุประสงค์ของงาน

  20. ประโยชน์ของการขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกมีดังนี้ - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงวิธีการทำงาน - ไม่เสียเวลาในการปรับปรุงวิธีการทำงานและติดตั้ง วิธีการทำงานใหม่ - ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกหัดพนักงานสำหรับวิธี การทำงานใหม่ - ปัญหาเรื่องคนงานคัดค้านมีน้อย - เป็นวิธีการปรับปรุงให้ง่ายขึ้น ผลของงานเท่าเดิม หรือดีกว่า แต่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย

  21. ในขบวนการผลิตปกติจะแตกงานออกเป็นขั้น การปฏิบัติงานหลายขั้นเพื่อให้ง่ายสำหรับการแบ่งงานตามความชำนาญของคนงานแต่ละคน การรวมขั้น การปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน หรือบางครั้งการเปลี่ยนลำดับการทำงานก็เปิดโอกาสให้มีการปฏิบัติงาน เข้าด้วยกัน 2.3.2 เพื่อรวมขั้นตอนการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน (Combine Operation or Element)

  22. 2.3.3 เพื่อเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงาน (Change the Sequence of Operation)ในการผลิตสินค้าใหม่ มักเริ่มต้นผลิตจำนวนน้อยก่อน เพราะเป็นขั้นทดลอง แต่เมื่อขยายปริมาณการผลิตขึ้นทีละน้อย หากลำดับขั้นการปฏิบัติงานยังคงเหมือนเดิม มักเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในเรื่องการเคลื่อนย้ายวัสดุและการไหลของงาน จะใช้วิธีการตั้งคำถาม เพื่อดูว่าจะสามารถเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงานใหม่ได้หรือไม่ เพื่อให้งานง่ายและรวดเร็วขึ้น การใช้แผนภูมิและไดอะแกรมต่าง ๆ บันทึกการทำงานจะช่วยชี้ให้เห็นว่าสมควรจะเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อลดการเคลื่อนย้ายวัสดุ และทำให้การไหลของงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว

  23. 2.3.4 เพื่อทำให้ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็นนั้นง่ายขึ้น (Simplify the Necessary Operation)เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น รวมขั้นการปฏิบัติงานและเปลี่ยนลำดับการปฏิบัติงาน ถ้าขั้นการปฏิบัติงานเหล่านั้นยากและมีวิธีการทำงานอื่นที่ง่ายกว่า สามารถทำงานนั้นให้เสร็จได้เช่นเดียวกัน การตั้งคำถามเพื่อให้งานง่าย จะเริ่มคำถามทุกอย่างที่เกี่ยวกับงานนั้นคำถามที่ตั้งจะขึ้นต้นด้วย “อะไร, ที่ไหน, เมื่อใด, ใคร, อย่างไร และทำไม

  24. 2.4 พัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมเมื่อวิเคราะห์วิธีการทำงานโดยการตั้งคำถามอย่างครบถ้วนและเป็นระบบต่อเนื่องแล้ว ในขั้นนี้จึงเป็นการบันทึกวิธีการทำงานที่เสนอแนะลงบนแผนภูมิ และ ไดอะแกรมต่าง ๆ พร้อมกับตรวจสอบไปด้วยในตัวว่า มีสิ่งใดหลุดรอดไปจากการพิจารณาบ้าง เปรียบเทียบจำนวนครั้งของขั้นการปฏิบัติงาน ระยะทางการเคลื่อนย้าย การประหยัดเวลา ของวิธีการทำงานเดิมกับวิธีการที่เสนอแนะ

  25. 2.5 ตั้งนิยามการทำงานเป็นการกำหนดรายละเอียดของวิธีการที่เสนอแนะไว้ ในแผ่นปฏิบัติงานมาตรฐาน (Standard Practice Sheet) แต่ก่อนที่ทำได้ ควรดำเนินการขออนุมัติวิธีการทำงานที่เสนอแนะโดยการทำเป็นรายงานแสดงถึง 1. ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบวิธีการทำงานเดิม 2. ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งวิธีการใหม่ 3. สิ่งที่ผู้บริหารจะต้องกระทำเพื่อสนับสนุนวิธีการทำงานใหม่ คือ บันทึกวิธีการทำงานลงในแผ่นปฏิบัติงานมาตรฐาน โดยใช้คำง่าย ๆ อธิบายถึงวิธีการทำงานโดยไม่ใช้สัญลักษณ์อื่นใด

  26. 2.6 ทำการใช้วิธีการทำงานใหม่ ก่อนจะเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ต้องพยายามโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งหมดให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ตั้งแต่ผู้ควบคุมโรงงานฝ่ายบริหารคนงานหรือตัวแทน จำเป็นต้องมีการฝึกคนงานตามวิธีการที่เสนอแนะ เมื่อฝึกคนงานเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มทำการใช้วิธีการนั้นในการทำงานจริง

  27. 2.7 ดำรงการปฏิบัติตามวิธีการใหม่อย่างสม่ำเสมอ เป็นการควบคุมดูแลความก้าวหน้าของงานจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถทำงานได้ตามวิธีที่เสนอแนะ และก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพขึ้นจริง ถ้าสามารถปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีกว่าเดิมได้อีก ก็ให้ดำเนินการศึกษาวิธีการทำงานใหม่

More Related